พูดคุย:จตุคามรามเทพ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จตุคามรามเทพ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ จตุคามรามเทพ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

วัตถุมงคลในพุทธศาสนา[แก้]

ผมลบลิงก์ วัตถุมงคลในพุทธศาสนา ใน ดูเพิ่ม ออก เหลือไว้แต่ วัตถุมงคล เท่านั้น -- bact' 08:27, 11 เมษายน 2007 (UTC)


เห็นด้วยขอรับ ชอบด้วยธรรมแล้ว

--Tmd 11:02, 11 เมษายน 2007 (UTC)

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]

ถ้าจะว่ากันไปแล้วตอนนี้หลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อของ องค์ จตุคาม รามเทพ แต่ก็คงมีหลายคนที่สงสัยว่า องค์จตุคาม นั้นคือใคร เป็น พระพุทธ หรือเปล่า เป็นเทพของ ฮินดู-พราหมณ์ หรือเปล่า และทำไมถึงพึ่งจะมามีชื่อเสียงเอาตอนนี้ จุดประสงค์ของ Wiki นี้คือการรวบรวมข้อมูลและมุมมองต่างๆเข้ามาเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของความรู้เกี่ยวกับ องค์จตุคาม บนอินเทอร์เน็ต

ปัญหาที่ยากที่สุดในการเข้าใจ องค์จตุคาม ก็คือ ชื่อนี้ยังไม่ปรากฏในคัมภีร์ไดๆเลย ถ้าใครโต้แย้งได้โปรดช่วยให้ความรู้ด้วย

มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของ องค์จตุคาม แต่มักจะเป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่า องค์จตุคาม นั้นเป็นเทพเจ้าผู้ปกป้องเมือง นครศรีธรรมราช ซึ่งอาจจะเคยเป็นเมืองหลวงของ อาณาจักรศรีวิชัย เมื่อ 1,200 ปีก่อน เนื่องจากเชื่อกันว่าท่านเป็นเทพ ท่านจึงต่างกับ เกจิอาจารย์ หรือ พระพุทธรูป ที่พวกเรานับถือกันทั่วไป รูปแบบของท่านจะวิจิตรพิสดารและมีความหลากหลายกว่า การทำพิธี ก็จะมีทั้ง พุทธาภิเษก และ เทวาภิเษก ซึ่งจะมีการใช้ ร่างทรง หรือการอัญเชิญจิตของท่าน เรื่องที่ขึ้นชื่อมากในการประกอบพิธีบูชา องค์จตุคาม คือการที่จะมี พระอาทิตย์ทรงกลด เป็นทุกครั้งไป และจะมีการถ่ายภาพหรือวิดีโอมาให้ดูกัน

ยังมีความเชื่ออื่นๆเกี่ยวกับ องค์จตุคาม ที่ได้รวบรวมไว้ใน Wiki นี้ ซึ่งมีทั้งความเชื่อที่สนับสนุนกัน และก็มีที่ขัดแย้งกันเอง

องค์จตุคาม ปรากฏตัว พ.ศ. 2530

องค์จตุคาม ถูกบูชาอย่างเป็นทางการขึ้นครั้งแรกในปี 2530 พร้อมกับการสร้าง ศาลหลักเมือง นครศรีธรรมราช ซึ่งมีบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ประกอบพิธี

พล.ต.ท. สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบสวน พล.ต.ต. ขุนพันรักษ์ราชเดช (ขุนพัน) นายตำรวจผู้เคยมีชื่อเสียงด้านการปราบจอมโจรขมังเวทย์ อะผ่อง สกุลอมร (โกผ่อง) เป็นร่างทรงของ องค์จตุคาม

เราจะได้ยินกันว่า พระเครื่อง องค์จตุคาม รุ่นปี 30 นั้นเป็นรุ่นที่หายากที่สุดและราคาแพงที่สุด ตอนนี้ราคาก็หลายแสนบาท และยังเป็นที่ประจักษ์ว่ามีคนมีชื่อเสียงในบ้านเมืองเราหลายคนก็ได้พกพา องค์จตุคาม ปี 30 ไว้ติดตัว รวมทั้งคนที่เป็นข่าวอยู่เนืองๆ ยิ่งทำให้ องค์จตุคาม รุ่นปี 30 เป็นที่หมายตาของผู้คนจำนวนมาก

ใครค้นพบ องค์ จตุคาม

มีสองเรื่องเล่าที่ขัดแย้งกัน

ราวปี 2530 ท่าน สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ได้พบกับ ดวงวิญญาณ ตนหนึ่ง ผู้มาประทับร่างทรง ที่ วัดนางพระยา นครศรีธรรมราช ซึ่งได้วาดรูปของตนเองผ่านร่างทรง แล้วบอก ท่าน สรรเพชญ ให้นำไปให้ ไอ้หนวด (ขุนพัน) ดู ซึ่งเขาจะรู้ว่าตนเป็นใคร หลังจากที่ ขุนพัน ดูภาพแล้วจึงกล่าวว่าเป็น อดีตกษัตริย์ แห่ง ศรีวิชัย มีนามว่า จันทรภานุ หรือ จตุคามรามเทพ ต่อมาวิญญาณตนนั้นได้ขอให้ ท่าน สรรเพชญ สร้าง ศาลหลักเมือง นครศรีธรรมราช ขึ้น อีกเรื่องกล่าวว่า ขณะกำลังจะสร้าง ศาลหลักเมือง นครศรีธรรมราช โกผ่อง ซึ่งเป็นคนทรงได้ถูกเข้าทรงโดยดวงวิญญาณตนหนึ่ง ซึ่งได้วาดรูปตัวเองเพื่อให้โก่ผ่องนำไปให้ ไอ้หนวด (ขุนพัน) ดู ซึ่ง ขุนพัน ดูแล้วกล่าวว่าเป็น อดีตกษัตริย์แห่งศรีวิชัย จตุคามรามเทพ ซึ่งเป็นเทพประจำศาลหลักเมืองมาเป็นพันปีแล้ว

การบูชา องค์จตุคาม ในปัจจุบัน

ณ ปัจจุบันนี้ได้มีหลากหลายเจ้าภาพในการบูชาและปลุกเสก พระเครื่อง องค์จตุคาม ทีมงานปี 30 ได้แยกย้ายกันไปแล้ว เราจึงได้เห็น พระเครื่อง องค์จตุคาม ที่ปลุกเสกจากหลายวัดวาอารามหรือสำนัก ซึ่งแต่เริ่มแรก (ก่อนปี 2549) มีทีมงานดังต่อไปนี้

วัดพุทไธศวรรย์, อยุธยา วัดคอหงส์, หาดใหญ่ วัดเขากุน, สุราษฎร์ธานี วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร และศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์

ในตอนนี้ได้มีหลายวัดหรือสำนักที่ปลุกเสก องค์จตุคาม จนไม่สามารถรวบรวมไว้ทั้งหมดใน Wiki นี้ได้แล้ว หลังจากที่ การปลุกเสก องค์ จตุคาม ได้รับความนิยมอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ตั้งแต่ ปี 2549 เป็นต้นไป

ตำนาน องค์ จตุคาม รามเทพ

ถึงแม้จะเป็นที่เห็นพ้องกันว่า องค์จตุคาม เป็นเทพเจ้าผู้ปกป้องเมือง นครศรีธรรมราช แต่ตัวตนจริงๆของท่านนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และไม่ใช้เป็นการถกเถียงระดับในประเทศเท่านั้น อินเดีย อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เพราะว่าต่างเคยมีส่วนร่วมในตำนานอันยิ่งใหญ่แห่ง อาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งอาจจะเคยมีเมืองหลวงอยู่ที่ นครศรีธรรมราช

ทฤษฎ ีพระเจ้า อินทรา หรือ มหาราช พังพะกาฬ

ทฤษฎีนี้ถูกเริ่มต้นโดยหนังสืิอ "จริงๆ เล่นๆ" และเป็นทฤษฎีที่หาอ้างอิงจากข้อมูลในประเทศไทยได้น้อยมาก แต่มีการอ้างอิงประวัติศาสตร์ที่สามารถหาข้อมูลจากต่างประเทศมาเสริมได้มาก

ทฤษฎีนี้มีอยู่ว่า อดีตชาติ ของ องค์จตุคาม คือหนึ่งใน ปฐมกษัตริย ์แห่ง ราชวงค ์ไสเลนทะ (Sailendra) "จริงๆ เล่นๆ" เสนอว่า องค์จตุคาม นั้นคือ พระเจ้า อินทรา (Indra) ผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ก่อตั้ง อาณาจักรตามพรลิงก์ เมือประมาณ 1,200 ปีก่อน พระเจ้าอินทรา ความจริงแล้วได้สืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์จันเดละ (Chandela Dynasty) แห่งแคว้นมัธยประเทศของอินเดีย พระเจ้าอินทราได้ทรงสถาปนานครศรีธรรมราชขึ้นในปี พ.ศ. 1313 เป็นอาณาจักรตามพรลิงก์ ซึ่งครอบครองดินแดนลังกาสุกะ(ปัตตานี) และ แหลมมลายูทั้งหมด แล้วได้สถาปนาราชวงศ์ ไสเลนทะ ขึ้น

อาณาจักร ตามพรลิงค ์นั้นอาจถูกมองได้ว่าเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับ อาณาจักร ศรีวิชัย หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของ ศรีวิชัยเลย ก็ได้ อย่างไรก็ตามกษัตริย์ของศรีวิชัยในสมัยนั้นคือ กษัตริย์แห่ง ราชวงศ์สัญชัย (Sanjaya Dynasty) ผู้มีเมืองหลวงอยู่ในชวา ซึ่งได้มาเป็นพ่อตาของพระเจ้าอินทรา และได้แสดงให้เห็นในการยอมรับอาณาจักรตามพรลิงก์

ภาพข้างบนมาจาก Wikipedia

พระเจ้าอินทรานี้มีชื่อที่รู้จักกันอีกหลายชื่อ ซึ่งล้วนมีความหมายว่ามหาราชผู้อยู่เหนือกาลเวลา ผู้พิชิตศัตรู:

ศรีมหาราชพังพนา (Pancapana) ศรีมหาราชพนังกาล (Pranangkaran) ศรีมหาราชพลังกาล (Parangkaran) ศรีมหาราชพระนามกาล (Pranamkaran) ศรีมหาราชพังพะกาฬ

คำว่าอินทรานั้นยังแปลเป็นไทยได้อีก 2 ความหมายคือ พระอินทร์ และ พระสุริยา จากการค้นคว้าเพิ่มเติมได้พบว่าราชวงศ์ไสเลนทะนั้นอาจจะได้แตกหักกับราชวงศ์จันเดละต้นตระกูลของตน โดยที่กลุ่มไสเลนทะได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธในขณะที่กลุ่มจันเดละยังคงนับถือพราหมณ์เหมือนเดิม กลุ่มไสเลนทะจึงได้อพยบมาที่เอเซียอาคเนย์ในขณะที่กลุ่มจันเดละพยังคงอยู่ในอินเดียดังเดิม พระเจ้าอินทรายังคงมีชื่อเสียงในการบุกโจมตีและครอบครอง อาณาจักรขอม อยู่เป็นเวลา 12 ปี และยังคงมีการอ้างอิงว่าราชวงศ์ไสเลนทะได้ประกาศในสมัยนั้นว่าบรรพชนของพวกตนมาจากลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมาถึงตอนนี้แล้วได้มีข้อกังขาหลักๆดังนี้ที่ยังสรุปไม่ได้:

นครศรีธรรมราชเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ไสเลนทะหรือไม่ แล้วเมืองหลวงของราชวงศ์ไสเลนทะอยู่ที่ใหน นครศรีธรรมราชหรือนครอื่นในอินโดนีเซีย ราชวงศ์ไสเลนทะมาจากใหน ลุ่มแม่น้ำโขงหรืออินเดีย

นอกจากการเป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่แล้ว พระเจ้าอินทรายังมีบทบาทที่สำคัญในการสนับสนุน ศาสนาพุทธ ผลงานที่สำคัญที่สุดคือการสร้าง บุโรพุทโธ (Borobudur) ขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นพุทธสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว ยังคงเป็น 1 ใน 7 มหัศจรรย์ของโลกอีกด้วย ถึงแม้ว่าบุโรพุทโธจะสร้างเสร็จในสมัยของ พระเจ้าสะมาระตุงคะ (Sanmaratungga) ผู้เป็นบุตรชาย แต่เป็นที่ยอมรับกันว่าพระเจ้าอินทรานั้นเป็นผู้ริเริ่มการสร้าง เป็นที่น่าสังเกตุว่าบุโรพุทโธนั้นไม่ได้อยู่บนแหลมอินโดจีน แต่อยู่บนเกาะชวาของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งก็แสดงให้เห็นถีงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรตามพรลิงก์ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอินทรา แต่ก็อาจเป็นข้อโต้แย้งได้ว่าเมืองหลวงของราชวงศ์ไสเลนทะอาจจะไม่ใช่นครศรีธรรมราช เพราะว่าทำไมจึงไปสร้างบุโรพุทโธอยู่ที่อื่น แต่ก็มีอีกข้อสังเกตุว่าพ่อตาของพระเจ้าอินทรานั้นเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรศรีวิชัยผู้ปกครองอยู่บนหมู่เกาะอินโดนีเซีย ก็เลยอาจช่วยอธิบายได้ว่าเพราะอะไร บุโรพุทโธไม่ได้อยู่บนแหลมอินโดจีน ยังมีข้อกังขาอีกว่าผู้ที่เริมสร้างบุโรพุทโธนั้น ความจริงแล้วคือ พระเจ้าวิษณุ พระบิดาของพระเจ้าอินทรา พระเจ้าวิษณุมีอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าธรรมะตุงคะ คำว่าวิษณุนั้นแปลว่าพระนารายณ์ เทพเจ้าของพราหมณ์ ซึ่งเทพองค์นี้มีพระนามหนึ่งว่าพระราม จากตำนานของรามเกียรติ์ ดังนั้นคำว่า รามเทพ อาจจะมาจากพระนามของ พระเจ้าวิษณุ ก็เป็นได้ นี่ก็เป็นอีกทฤษฎีหนึ่งว่า องค์จตุคามฯ นั้นคือ พระเจ้าวิษณุ

ทฤษฎี พระเจ้า จันทรภาณุ

พลตำรวจโทสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้เป็นหนึ่งในทีมงานปี 30 ได้กล่าวไว้ว่าองค์จตุคามฯนั้นคือ พระเจ้าจันทรภาณุ กษัตริย์ผู้สถาปนา กรุงศรีธรรมโศก ศูนย์กลางแห่งศรีวิชัย ทฤษฎีขุนอินทรไสเรนทร์ และ ขุนอินทรเขาเขียว เทวราชโพธิสัตว์ เครื่องหมายต่างๆบนวัตถุมงคลองค์จตุคามฯ

ข้อสงสัยอื่นเกี่ยวกับ องค์ จตุคาม รามเทพ

จตุคาม และ รามเทพ เป็นองค์เดียวกัน หรือสององค์

ข้อมูลอ้างอิง

"สิบสองนักษัตร" ข้อมูลอ้างอิง "จริงๆ เล่นๆ" โดย พบพล ชลธิชานนท์, วิเชียร แสงกิติกร, และ เทียนชัย เจริญณัฐพงศ์ พ.ศ. 2548 "พระเทวราชโพธิสัตว์แห่งอาณาจักรทะเลใต้ จตุคามรามเทพ" โดย อุ๊ กรุงสยาม พ.ศ. 2539

แก้ไขโดย จอมยุทธ์ เมื่อ 16/04/07 ณ 13