พูดคุย:คาร์ล ฟรีดริช เกาส์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิคณิตศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศเยอรมนี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศเยอรมนี ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิทวีปยุโรปและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับทวีปยุโรป ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

[ไม่มีชื่อ][แก้]

ตกใจหมดเลยพี่มะ ดันมา edit พร้อมกัน อยู่ดีๆ มีภาษาไทยอื่นขึ้นได้ไง ฮะๆๆ : ) -- Jung

พี่มะนาวทำตรง number theory ให้หน่อยนะครับ ส่วนตรง non-euclidean geometry กับ method of least square เดี๋ยวผมลุยเอง -- Jung 16.19 เวลาไทย

ทำรูป 17 เหลี่ยม แล้วล่ะ ไว้มาทำเพิ่มให้อีกที.. เวลาลงชื่อ พิมพ์ "~ ~ ~ ~" ติดกัน 4 ตัว มันจะทำให้เอง Jittat 09:40, 28 ก.พ. 2005 (UTC)

fundamental theorem of algebra[แก้]

อืม พี่ ตรง "ซึ่งช่วยเพิ่มให้ความกระจ่างเกี่ยวกับคุณสมบัติของจำนวนเชิงซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ" ผมว่ามันดูด้อยไปนะ เพราะว่าเมื่อเกาส์พิสูจน์ได้ว่า จำนวนเชิงซ้อน เนี่ยเพียงพอสำหรับคำตอบของสมการ polynomial ใดๆ ก็เป็นการบอกถึงความยิ่งใหญ่ของจำนวนเชิงซ้อนได้อย่างดี เพราะว่า

  • เราพบว่า จำนวนเต็มไม่เพียงพอในการอธิบายปริมาณ เราจึงค้นพบจำนวนตรรกยะ หรือจำนวนเศษส่วนขึ้นมาได้
  • ต่อมาปิทาโกรัสพบว่าจำนวนตรรกยะไม่พอ ในการอธิบายคำตอบของสมการ และค้นพบจำนวนอตรรกยะ รวมกับจำนวนตรรกยะ เป็นจำนวนจริง
  • ต่อมาคาร์ดาโนพบว่า จำนวนจริงไม่เพียงพอในการอธิบายคำตอบของ polynomial degree 3 ได้
  • ด่อมา ออยเลอร์ ค้นพบว่า จำนวนเชิงซ้อน นั้นสามารถอธิบายคำตอบของ polynomial degree 3 ได้
  • ถึงจุดนี้เราไม่มีอะไรรับประกันเลยว่า จำนวนเชิงซ้อนจะพียงพอในการอธิบายคำตอบในรูปทั่วไปของสมการ polynomial แต่เกาส์ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามัน จำเป็นและเพียงพอ ใน fundamental theorem of algebra นี้ ผมจึงเห็นว่า ควรจะใช้คำพูดว่า "ช่วยให้วงการคณิตศาสตร์เข้าใจว่าจำนวนเชิงซ้อนมีบทบาทสำคัญมากเพียงใด" จะเหมาะสมกว่า

ฉะนั้น ผมแก้กลับก่อนนะครับ จุง 16:53, 28 ก.พ. 2005 (UTC)

เติม เอกสารอ้างอิงครับ William Dunham. The Mathematical Universe,Wiley, 1997. คลิก

อืม คือ คำว่า "ซึ่งช่วยเพิ่มให้ความกระจ่างเกี่ยวกับคุณสมบัติของจำนวนเชิงซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ"น่าจะเหมาะกับ ตอนออยเลอร์ค้นพบคุณสมบัติของจำนวนเชิงซ้อนมากกว่า นอกจากตอนคำตอบของสมการ polynomial degree 3 แล้วก็มีเมื่อค้นพบสมการ -- จุง 17:49, 28 ก.พ. 2005 (UTC)

ไม่ใช่อย่างนั้นนะ ประโยคว่า "ซึ่งช่วยเพิ่มให้ความกระจ่างเกี่ยวกับคุณสมบัติของจำนวนเชิงซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ" ขยายเหตุการณ์ที่เกาส์คิดบทพิสูจน์ของทฤษฎีบทนั้นไว้ถึง 4 แบบ แต่ละแบบมันเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของจำนวนเชิงซ้อนมากขึ้นต่างหาก มันไม่ได้หมายความว่า thm นั้น เพิ่มความเข้าใจเรื่อยๆ คือ ตัวทฤษฎีน่ะ มันทำให้เห็นว่าจำนวนเชิงซ้อนสำคัญ แต่พิสูจน์ไป 4 แบบ มันเพิ่มความเข้าใจให้ลึกซึ้งขึ้นนะ ผมเลยจัดประโยคใหม่เก็บไว้ทั้งสองประโยค ฮ่า ฮ่า (รักทั้งสองคน) มะนาว 07:04, 1 มี.ค. 2005 (UTC)

เยี่ยมครับพี่ เอาตามนั้นเลยครับ =) -- จุง 09:17, 1 มี.ค. 2005 (UTC)

K Phisite[แก้]

ขอบคุณคุณ Phisite กับคุณ Sukolsak ด้วยครับที่ช่วยมาแก้ไขคำที่สะกดผิด โดยเฉพาะชื่อของนักคณิตศาสตร์ต่างๆ ให้ ไม่ทราบคุณ Phisite เอาข้อมูลชื่อนักคณิตศาสตร์หรือนักฟิสิกส์ชาติต่างๆ มาจากไหนเหรอครับ ว่าสะกดเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร -- จุง 09:17, 1 มี.ค. 2005 (UTC)
ชื่อบุคคลส่วนใหญ่ผมจะดูก่อนว่าเป็นคนชาติอะไร แล้วใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยฯ ของภาษาชาตินั้น ๆ เทียบเอาครับ ถ้าภาษาไหนไม่มีในหลักเกณฑ์ฯ ถึงจะค้นวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ หาข้อมูลการออกเสียงในภาษานั้น ๆ แล้วเทียบเอาครับ รวมทั้งฟังเสียงจาก bartleby.com ด้วย อันที่จริงชื่อบางชื่อนี่ก็ยังไม่เป็นที่ยุตินะครับว่าควรจะถอดเป็นอักษรไทยยังไง เช่น Lagrange นี่ แกเคยอาศัยอยู่ทั้งในอิตาลี ฝรั่งเศส และเยอรมนี แต่ชื่อที่คนรู้จักมากที่สุดเป็นชื่อแบบฝรั่งเศส ผมเลยถอดตามหลักภาษาฝรั่งเศสเป็น ลากรองช์ ซึ่งบางคนจะคุ้นกับการถอดแบบอังกฤษเป็น ลากรานจ์ มากกว่า อาจจะต้องคุยกันเรื่องหลักพวกนี้อีกทีครับ :) --Phisite 09:40, 1 มี.ค. 2005 (UTC)
อ๋อ ขอบคุณมากครับคุณ Phisite แต่ไม่ทราบว่า "หลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยฯ ของภาษาชาตินั้น ๆ" มีในอินเตอร์เน็ตไหมครับ ผมลองเข้าไปดูที่ web ของราชบัณฑิตย์แต่เจอแค่ภาษาอังกฤษ -- จุง 11:15, 3 มี.ค. 2005 (UTC)
เข้าใจว่าบนอินเทอร์เน็ตจะมีแต่เฉพาะของภาษาอังกฤษน่ะครับ เพราะผมเคยลองค้นดูเหมือนกัน ถ้ามีเวลาผมคิดว่าจะเอาหลักเกณฑ์ของภาษาอื่น ๆ ขึ้นบน Wikisource คิดว่าไม่น่ามีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในข่ายสิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 (3) หลักเกณฑ์ฯ ฉบับที่ผมมีอยู่นี่พิมพ์ตั้งแต่ปี 2535 แล้ว (ซื้อจากศูนย์หนังสือจุฬาฯ) เข้าใจว่าปัจจุบันน่าจะหาซื้อได้ยาก แต่ทางราชบัณฑิตยฯ จะออกร้านในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติทุกปี อาจจะพอหาซื้อได้ในงานครับ --Phisite 13:10, 4 มี.ค. 2005 (UTC)

K Mreult and K Sukolsak[แก้]

ขอถามคุณ Mreultและคุณ Sukolsak หน่อยครับ ในบทความของ เกาส์ ผมเรียกชื่อวิชา mathematical analysis ว่า "คณิตศาสตร์วิเคราะห์" ไม่ทราบว่าถูกต้องรึเปล่าครับ ผมลองหาดูชื่อวิชานี้ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ปรากฏว่าใช้ชื่อไม่เหมือนกัน บ้างก็ "การวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์" บ้างก็ "การวิเคราะห์" เฉยๆ -- จุง 11:15, 3 มี.ค. 2005 (UTC)

ผมค้นจากเว็บศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน เจอคำว่า mathematical analysis แปลว่า "คณิตวิเคราะห์" ครับ :) --Sukolsak 15:49, 3 มี.ค. 2005 (UTC)
อ้อ ขอบคุณมากครับ คุณ Sukolsak =) ผมจะได้นำไปแก้ไขให้ถูกต้องครับ -- จุง 01:42, 4 มี.ค. 2005 (UTC)