พูดคุย:กรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง[แก้]

จากการที่พบการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในตารางแสดงผลการเลือกตั้งรายเขตเลือกตั้งอยู่บ่อยครั้ง ด้วยความสับสนในการเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งจากปี 2562 ไปสู่ปี 2566

ผมจึงเขียนอธิบายความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่เลือกตั้งเพิ่มให้ภาพความเปลี่ยนแปลง และการเกิดขึ้นของเขตเลือกตั้งใหม่ในหน้าเนื้อหานี้ ทั้งนี้ผมจะแปะGG Sheet ว่าด้วยการคำนวณเพื่อทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของเขตเลือกตั้งในครั้งนี้[1] ประกอบเพื่อให้ทราบถึงวิธีการคำนวณหาเขตใหม่ และความเปลี่ยนแปลงของเขตเลือกตั้งครับ

หากมีคำถามใดๆสามารถสอบถามได้ครับ Ooooooòojkddff (คุย) 00:37, 2 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

RKC Vakwai คุณมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ Ooooooòojkddff (คุย) 09:49, 3 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

พรรคเจ้าของที่นั่งเดิม[แก้]

สืบเนื่องจากตัวกระผม และ@RKC Vakwai ได้ถกกันถึงการระบุพรรคเจ้าของที่นั่งเดิมในเขตเดิมที่ส.ส.ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย (เขตที่ 22 และ26) และเขตที่ผ่านการเลือกตั้งซ่อม (เขตที่ 8) ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะถือเอาพรรคที่เคยชนะเลือกตั้งเดิมในปี 62 หรือพรรคที่ครองเขตก่อนการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

@Pongsak ksm@NorthernTH@Potapt@NELLA32@Billner2009@Iamike@Manman5524 ผมอยากทราบความเห็นจากทุกท่านว่าควรถือเอาเกณฑ์ใดครับ Ooooooòojkddff (คุย) 23:36, 24 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ยิ่งไปกว่านั้น ผมรบกวนช่วยให้ความเห็นต่อประเด็นก่อนหน้าด้วยนะครับ Ooooooòojkddff (คุย) 00:21, 25 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ผมสนับสนุนพรรคที่มีผู้สมัครได้การเลือกตั้งในปี 2562 ไม่งั้นวุ่นวายในการแก้ข้อมูลซึ่งจะไม่ใช่เพียงแค่ปีการเลือกตั้ง 2566 เพราะ นี้ไม่ใช่ปีแรกที่ผู้สมัคร สส. มีการย้ายพรรคก่อนเลือกตั้ง ที่ผ่านมาเท่าที่อ่านย้อนหลัง เขาก็ยึดจากพรรคเจ้าของพื้นที่เดิมเป็นพรรคที่ชนะครั้งเลือกตั้งครั้งก่อนครับ RKC Vakwai (คุย) 01:21, 25 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
สำหรับผมสนับสนุนพรรคที่ครองเขตเลือกตั้งก่อนการเลือกตั้งล่าสุดครับ เพราะถือว่าเขตเลือกตั้งนั้นมีการเปลี่ยนแปลง ส.ส. ไปแล้วอย่างเป็นทางการ ทั้งการไปสมัครสมาชิกพรรคใหม่ของ ส.ส.คนเดิม หรือการได้รับเลือกตั้งซ่อมของ ส.ส.คนใหม่ ที่เป็นพรรคการเมืองอื่น โดยผ่านการรับรองตามกฎหมายทั้งหมดแล้ว
  • แนวคิดของผมมีแบบนี้ครับ
  1. ย้ายพรรคเนื่องจากพรรคเดิมถูกยุบ ส่งผลให้ ส.ส.อยู่ในสถานะไม่มีพรรคต้องไปหาพรรคใหม่สังกัด ให้ถือเป็นเก้าอี้ของพรรคใหม่ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงตามกฎหมายและสถานภาพ ส.ส.ยังคงอยู่ (กรณีนี้รวมถึง ส.ส.อนาคตใหม่ ที่ย้ายไปเป็น ส.ส.ก้าวไกล ด้วยครับ ว่าเก้าอี้ตัวนี้เป็นของพรรคก้าวไกลแล้ว ไม่ใช่ของพรรคอนาคตใหม่อีก)
  2. เลือกตั้งซ่อม ให้ถือเป็นเก้าอี้ของพรรคใหม่ครับ เพราะเก้าอี้พรรคเดิมสิ้นสุดลงตามกฎหมายเมื่อ ส.ส.คนเดิมพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว
  3. งูเห่าที่ยังอยู่ในพรรคเดิม (เช่นกรณีจังหวัดศรีสะเกษ) ให้ถือว่าเป็นเก้าอี้ของพรรคเดิม เพราะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงสมาชิกภาพตามกฎหมายและยังมีสถานภาพเป็น ส.ส.อยู่ ถึงแม้ใจจะไปอยู่อีกพรรคแล้วก็ตาม
  4. ลาออกไปสมัครพรรคใหม่ ในช่วง 180 วันสุดท้าย (เช่น กทม. เขต 1 กับ 31) ให้ถือว่าเป็นเก้าอี้ของพรรคเดิมครับ เพราะเป็นเก้าอี้ว่างไม่มีการเลือกตั้งใหม่ทดแทนตามกฎหมาย และลาออกพ้นสมาชิกภาพ ส.ส.ไป
  5. ย้ายพรรคหลังยุบสภา อันนี้เป็นพรรคเดิม 100% ครับเพราะตอนย้ายพรรคไม่มีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
  • สรุปปิดท้ายสำหรับผมก็คือเอาสถานภาพ ส.ส. ตั้งก่อน แล้วจึงตามด้วยสมาชิกสภาพที่ไปสังกัดพรรคครับ
NorthernTH (คุย) 19:12, 25 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ผมเห็นด้วยกับหลักของ@NorthernTHครับ เราควรยึดสถานะปัจจุบันของพรรคเจ้าที่นั่งเดิมจะดีที่สุดครับ Ooooooòojkddff (คุย) 09:47, 28 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
@Poompong1986@Pongsak ksm@NELLA32@Iamike@Potapt
พวกคุณมีความเห็นอย่างไรบ้างครับ รบกวนตอบหน่อยครับ Ooooooòojkddff (คุย) 20:12, 29 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
เห็นด้วยว่าควรยึดตามต้นสังกัดสุดท้ายก่อนลงเลือกตั้งครับ Iamike (คุย) 20:35, 29 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
มีความเห็นเพิ่มเติมอีกไหมครับ Ooooooòojkddff (คุย) 10:33, 30 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ถ้าใช้คำว่าเจ้าของที่นั่งเดิม ก็เห็นด้วยกับแนวคิดข้างต้นครับ เมื่อสังกัดพรรคใด พรรคนั้นก็คือเจ้าของที่นั่งเดิม Pongsak ksm (คุย) 15:09, 30 มิถุนายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ถ้าสังกัดพรรคใดก่อนการเลือกตั้ง พรรคนั้นเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมก่อนการเลือกตั้ง รบกวนทุกคนไปแก้พรรคเจ้าของที่นั่งเดิมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เลยนะครับ ขี้เกียจแก้ และขัดแย้งกับความเป็นจริงด้วย ที่จริงความคิดของท่าน NorthernTH ควรสิ้นสุด และตรงกับความเป็นจริงแล้วครับ RKC Vakwai (คุย) 12:50, 1 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ถ้ามีใครแก้ แล้วต่างไปจากคุณ NorthernTH ผมแก้กลับแน่นอน และส่งไปให้เจ้าหน้าที่ดูแล wiki ภาษาไทย พิจารณาด้วย ทำอะไรให้มันตรงกับความเป็นจริง ตามข่าวที่เขาออกมา ไม่ใช่ยึดแต่หลักคิด หลักการณ์ แต่ผลลัพธ์มันขัดแย้งกับความเป็นจริง ใครจะไปเชื่อข้อมูลเรา ทุกวันนี้คนเขาก็ยี้ wiki อยู่แล้วว่าเชื่ออะไรไม่ได้ เราไปทำให้น่าเชื่อถือน้อยลงทำไม RKC Vakwai (คุย) 12:55, 1 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
โอเคครับ ถือว่าตกลงตามนั้นครับ Ooooooòojkddff (คุย) 08:05, 2 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ผมร้องเรียนกับหัวหน้าของ wiki ภาษาไทยแล้วครับ[แก้]

ในเมื่อคุณ Ooooooòojkddff ไม่ยึดหลักการตามคุณ NorthernTH บอก ผมให้ทางหัวหน้า wiki ภาษาไทยตัดสินครับ ระหว่างนี้ผมแก้กลับทุกกรณี เพราะ ไม่ตรงกับความเป็นจริง

RKC Vakwai (คุย) 18:30, 1 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ผมว่าผมทำตามหลักการของคุณ@NorthernTH แล้วนะครับ แต่คุณดูเหมือนจะไม่อ่านโดยละเอียด เอาเป็นว่าผมไล่ลำดับก็แล้วกันครับ
เขต 1 : คุณกานต์กนิษฐ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 1/66)
เขต 2 : คุณพัชรินทร์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 2/66)
เขต 3 : คุณวรรณวรี ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 3/66)
เขต 4 : คุณกรณิศ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 4/66)
เขต 5 : คุณประเดิมชัย ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 6/66)
เขต 6 : คุณภาดาท์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขตถูกยุบ /66)
เขต 7 : คุณธณิกานต์ ถูกศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 7/66)
เขต 8 : คุณกษิดิ์เดช ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 13/66)
เขต 9 : คุณสิระ ถูกศาลตัดสิทธิ์ทางการเมือง คุณสุรชาติได้รับเลือกตั้งซ่อม อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 8/66)
เขต 10 : คุณการุณ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 10/66)
เขต 11 : คุณอนุดิษฐ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 11/66)
เขต 12 : คุณอนุสรณ์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 9 หรือ 12/66)
เขต 13 : คุณฐิติภัสร์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 14/66)
เขต 14 : คุณพลภูมิ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 15/66)
เขต 15 : คุณชาญวิทย์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 19/66)
เขต 16 : คุณจิรายุ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 16/66)
เขต 17 : คุณศิริพงษ์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 17/66)
เขต 18 : คุณธีรรัตน์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 20/66)
เขต 19 : คุณประสิทธิ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 21/66)
เขต 20 : คุณมณฑล ย้ายไปภูมิใจไทย อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ภูมิใจไทย (เขต 22/66)
เขต 21 : คุณสมเกียรติ ย้ายไปก้าวไกล ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 23/66)
เขต 22 : คุณเท่าพิภพ ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 32/66)
เขต 23 : คุณโชติพิพัฒน์ ย้ายไปภูมิใจไทย อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ภูมิใจไทย (เขต 26/66)
เขต 24 : คุณทศพร ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 25/66)
เขต 25 : คุณณัฐชา ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 27/66)
เขต 26 : คุณวัน อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 28/66)
เขต 27 : คุณจิรวัฒน์ ย้ายไปก้าวไกล ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 31/66)
เขต 28 : คุณณัฐพงษ์ ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 29/66)
เขต 29 : คุณสุภาภรณ์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขตถูกยุบ หรือ 30/66)
เขต 30 : คุณจักรพันธ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 33/66)
ผมว่าคุณใจเย็นๆ และเช็คข่าวประกอบด้วยน่าจะดีนะครับ ผมเป็น Editor ร่วมในสภาชุดที่ 25 มาแล้ว ผมย่อมทราบสถานะและข้อกฎหมาย หลายคนที่ผมแท็คมาร่วมต่างก็เคยทำในหน้านั้นมาแล้วทั้งนั้น ผมว่าคุณต้องเปิดใจบ้าง ผมเปิดใจ และพยายามหาทางออกร่วมกันแล้ว หวังว่าคุณจะทำสิ่งนี้เพื่อลดประเด็นพิพาทเช่นเดียวกัน
Ooooooòojkddff (คุย) 20:19, 2 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
เขต 1 : คุณกานต์กนิษฐ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 1/66) ---> ถูกครับ
เขต 2 : คุณพัชรินทร์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 2/66) ---> ถูกครับ
เขต 3 : คุณวรรณวรี ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 3/66) ---> ถูกครับ
เขต 4 : คุณกรณิศ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 4/66) ---> ถูกครับ
เขต 5 : คุณประเดิมชัย ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 6/66) ---> ถูกครับ แต่คุณบอกเขตเลือกตั้งใหม่ ซึ่ง
ผิดครับ มี สส.เจ้าของที่นั่งอยู่ และอยู่
ในเขตที่ 5
เขต 6 : คุณภาดาท์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขตถูกยุบ /66) ---> ผิดครับ เขตไม่ได้ยุบ เขตพญาไท
ยังมีอยู่ครับ อยู่เขตที่ 6
เขต 7 : คุณธณิกานต์ ถูกศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 7/66) ---> ถูกครับ
เขต 8 : คุณกษิดิ์เดช ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 13/66) ---> ถูกครับ
เขต 9 : คุณสิระ ถูกศาลตัดสิทธิ์ทางการเมือง คุณสุรชาติได้รับเลือกตั้งซ่อม อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 8/66) ---> ถูกครับ
เขต 10 : คุณการุณ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 10/66) ---> ถูกครับ
เขต 11 : คุณอนุดิษฐ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 11/66) ---> ถูกครับ
เขต 12 : คุณอนุสรณ์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 9 หรือ 12/66) ---> ถูกครับ เขตที่ 12 คุณอนุสรณ์ไม่อยู่ เป็นเขตเลือกตั้งใหม่ครับ
และ แต่คุณบอกเขตที่ 9 เขตเลือกตั้งใหม่ ซึ่งผิดครับ มี
สส.เจ้าของที่นั่งอยู่
เขต 13 : คุณฐิติภัสร์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 14/66) ---> ถูกครับ
เขต 14 : คุณพลภูมิ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 15/66) ---> ถูกครับ
เขต 15 : คุณชาญวิทย์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 19/66)
เขต 16 : คุณจิรายุ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 16/66) ---> ถูกครับ
เขต 17 : คุณศิริพงษ์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 17/66) ---> ถูกครับ
เขต 18 : คุณธีรรัตน์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 20/66) ---> ถูกครับ
เขต 19 : คุณประสิทธิ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 21/66) ---> ถูกครับ
เขต 20 : คุณมณฑล ย้ายไปภูมิใจไทย อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ภูมิใจไทย (เขต 22/66) ---> ดูย้อนหลัง มีเหตุการณ์ของคุณ สากล ม่วงศิริ ที่พรรค
ไทยรักไทยยุบ ไปพรรคประชาธิปัตย์ โอเคครับ ถูก
ครับ
เขต 21 : คุณสมเกียรติ ย้ายไปก้าวไกล ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 23/66) ---> ถูกครับ
เขต 22 : คุณเท่าพิภพ ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 32/66) ---> ถูกครับ แต่คุณบอกเขตเลือกตั้งใหม่ ซึ่งผิดครับ มี
สส.เจ้าของที่นั่งอยู่ เขตที่ 24
เขต 23 : คุณโชติพิพัฒน์ ย้ายไปภูมิใจไทย อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ภูมิใจไทย (เขต 26/66) ---> ถูกครับ เหตุผลเหมือนเขตที่ 20
เขต 24 : คุณทศพร ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 25/66) ---> ถูกครับ
เขต 25 : คุณณัฐชา ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 27/66) ---> ถูกครับ
เขต 26 : คุณวัน อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขต 28/66) ---> ถูกครับ
เขต 27 : คุณจิรวัฒน์ ย้ายไปก้าวไกล ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 31/66) ---> ถูกครับ
เขต 28 : คุณณัฐพงษ์ ย้ายไปก้าวไกล อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: ก้าวไกล (เขต 29/66) ---> ถูกครับ
เขต 29 : คุณสุภาภรณ์ อยู่จนสภาถูกยุบ > ที่นั่ง: เพื่อไทย (เขตถูกยุบ หรือ 30/66) ---> ถูกครับ เขตที่ 30 ครับ
เขต 30 : คุณจักรพันธ์ ลาออกจากส.ส. ในช่วง 180 วันก่อนสภาสิ้นอายุ > ที่นั่ง: พลังประชารัฐ (เขต 33/66) ---> ถูกครับ RKC Vakwai (คุย) 21:35, 2 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ขยายความจากอภิปรายครั้งก่อนและเสนอแนวทางระงับข้อพิพาท[แก้]

จากที่ผมได้รับการแจ้งเตือนมาตลอด 1 สัปดาห์เรื่องการนิยามเขตเลือกตั้งและพรรคที่ครองเก้าอี้ก่อนการเลือกตั้ง แล้วมีลักษณะว่าจะไม่ได้ข้อยุติและอาจบานปลายไปถึงการแจ้งผู้ดูแลระบบให้จัดการกับผู้ใช้งานอีกฝั่งที่คิดเห็นไม่ตรงกัน เพื่อระงับข้อพิพาทดังกล่าวไม่ให้ลุกลามมากขึ้น ผมจึงจะเสนอแนวทางและอธิบายในแนวคิดที่ผมเสนอไปแบบละเอียดอีกครั้งหนึ่งครับ

  • ประเด็นเรื่องเขตการเลือกตั้ง

ประเด็นนี้ผมค่อนข้างเห็นใจตรงที่ว่าการเลือกตั้งในปีนี้ (พ.ศ. 2566) เขตการเลือกตั้งของกรุงเทพมหานครถูกตัดแบ่งโดยใช้หลักเกณฑ์ใหม่ที่แตกต่างจากการเลือกตั้งก่อน (พ.ศ. 2544, 2548, 2554, 2562) อย่างสิ้นเชิง จนทำให้ไม่เหลือเค้าโครงของเขตเลือกตั้งเดิมที่ ส.ส.เคยครองเก้าอี้ไว้ จนทำให้เป็นปัญหาว่าเขตเลือกตั้งในปีนี้ (พ.ศ. 2566) คือเขตเลือกตั้งไหนเมื่อครั้งก่อน (พ.ศ. 2562) ผมจึงจะเสนอแนวทางไว้อย่างนี้ครับ

  1. ให้ทั้งสองฝ่ายตกลงหาข้อสรุปให้ได้ว่าเขตเลือกตั้งใหม่ที่เพิ่มมา 3 เขตนั้นที่เขตเลือกตั้งใด เมื่อระบุได้ครบถ้วนแล้วจะได้ไม่มีการใส่เขตเลือกตั้ง "เขตใหม่" ซ้ำซ้อนกันอีกครั้ง
  2. เขตเลือกตั้งเดิมที่เหลืออีก 30 เขต ผมเสนอว่าให้ใช้การเทียบพื้นที่ครับว่าเขตเลือกตั้งแห่งนี้ในปี พ.ศ. 2566 มีพื้นที่ของเขตเลือกตั้งใดในปี พ.ศ. 2562 อยู่มากที่สุดแล้วให้เปรียบว่าเป็นการทดแทนเขตเลือกตั้งนั้นไปเลย ยกตัวอย่างเช่น

เขตเลือกตั้งที่ 28 จะพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับเขตเลือกตั้งที่ 26 ในปี พ.ศ. 2562 มากที่สุด ให้เปรียบว่า ส.ส.เขตที่ 26 ในครั้งนั้นครองเก้าอี้ในเขตนี้มาก่อน

  • ประเด็นเรื่องพรรคที่ครองเก้าอี้ก่อนการเลือกตั้ง

ครั้งก่อนผมได้อภิปรายเรื่องแนวคิดของผมโดยแบ่งออกเป็น 5 แนวทางคร่าวๆ แต่ดูเหมือนว่าอาจจะยังไม่ละเอียดพอจนให้เห็นภาพและทำให้เกิดมีประเด็นข้อพิพาทกันต่อ ดังนั้นผมจึงจะแจกแจงอีกครั้งแบบละเอียดทุกกรณีของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครทั้ง 30 คนที่อยู่ในสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 (พ.ศ. 2562 - 2566) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้

    • กลุ่มที่อยู่พรรคเดิมมาตลอด ไม่เปลี่ยนแปลง
  1. นางสาววรรณวรี ตะล่อมสิน พรรคก้าวไกล
  2. นายอนุสรณ์ ปั้นทอง พรรคเพื่อไทย
  3. นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ พรรคเพื่อไทย
  4. นายชาญวิทย์ วิภูศิริ พรรคพลังประชารัฐ
  5. นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ พรรคเพื่อไทย
  6. นายศิริพงษ์ รัสมี พรรคพลังประชารัฐ
  7. นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ พรรคเพื่อไทย
  8. นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร พรรคก้าวไกล
  9. นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ พรรคก้าวไกล
  10. นายวัน อยู่บำรุง พรรคเพื่อไทย
  11. นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ พรรคก้าวไกล
  12. นางสุภาภรณ์ คงวุฒิปัญญา พรรคเพื่อไทย

กลุ่มนี้ไม่มีปัญหาอะไรเนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งสถานภาพ ส.ส. และสมาชิกภาพพรรคที่สังกัด ฉะนั้นให้นับว่าเก้าอี้ในเขตเลือกตั้งดังกล่าวเคยเป็นของพรรคเดิม ที่ทั้ง 12 คนสังกัดอยู่จนถึงวันยุบสภา

    • กลุ่มเลือกตั้งใหม่ทดแทน (เลือกตั้งซ่อม)

กลุ่มนี้มีกรณีเดียวคือนายสิระ เจนจาคะ พรรคพลังประชารัฐ (ส.ส.เดิมที่ได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562) กับนายสุรชาติ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย (ส.ส.ใหม่ที่ได้รับเลือกตั้งทดแทนในปี พ.ศ. 2565) กรณีให้ถือว่าเป็นเก้าอี้ของพรรคเพื่อไทยครับ เพราะสถานภาพความเป็น ส.ส. ของนายสิระที่สังกัดพรรคพลังประชารัฐสิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 101 (6) เนื่องด้วยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว จึงส่งผลให้เก้าอี้ของเขตเลือกตั้งนี้กลับมาอยู่ในสถานะ "ว่าง" อีกครั้ง เพื่อรอการเลือกตั้งทดแทน และเมื่อมีการเลือกตั้งทดแทนแล้วผู้ได้รับเลือกตั้งมาจากพรรคเพื่อไทยไม่ใช่พรรคพลังประชารัฐที่เป็นพรรคเจ้าของเก้าอี้เดิมอีก เก้าอี้จึงเป็นเปลี่ยนเป็นของพรรคเพื่อไทยและขาดจากพรรคพลังประชารัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565

    • กลุ่มพรรคอนาคตใหม่ ที่ไม่ย้ายไปพรรคก้าวไกล
  1. ร้อยตำรวจตรี มณฑล โพธิ์คาย ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย
  2. นายโชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย

กรณีของทั้งสองคนนี้ให้ถือว่าเป็นเก้าอี้ของพรรคภูมิใจไทยครับ อ้างอิงจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 101 (10) ตั้งแต่วันที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรคจนถึงวันที่ทั้งสองคนเข้าไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย ทั้งสองคนนี้ "ยังมีสถานภาพ เป็น ส.ส. โดยสมบูรณ์เช่นเดิม" ตามบทบัญญติมาตรา 101 (10) ที่ให้เวลา ส.ส. 60 วันในการเข้าสังกัดพรรคการเมืองใหม่หากพรรคการเมืองเดิมที่สังกัดอยู่ถูกยุบ เก้าอี้นี้จึงขาดจากพรรคอนาคตใหม่ (ที่ทั้งสองคนนี้เคยสังกัด) ไปนับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนพรรคภูมิใจไทยแจ้งต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าทั้งสองคนได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทยโดยสมบูรณ์แล้ว

    • กลุ่มที่ลาออกกลางสมัยไปสังกัดพรรคใหม่
  1. นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ ไปสังกัดพรรคเพื่อไทย
  2. นางสาวพัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ ไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย
  3. นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ ไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย
  4. นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ลาออกจากพรรคเพื่อไทย ไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย
  5. นางสาวภาดาท์ วรกานนท์ ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ ไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย
  6. นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ ไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย
  7. นายการุณ โหสกุล ลาออกจากพรรคเพื่อไทย ไปสังกัดพรรคไทยสร้างไทย
  8. นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ลาออกจากพรรคเพื่อไทย ไปสังกัดพรรคไทยสร้างไทย
  9. นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันท์ ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ ไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ
  10. นายประสิทธิ์ มะหะหมัด ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ ไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ
  11. นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ ลาออกจากพรรคก้าวไกล ไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
  12. นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ ลาออกจากพรรคก้าวไกล ไปสังกัดพรรคเพื่อไทย
  13. นายจักรพันธุ์ พรนิมิตร ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ ไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย

กลุ่มนี้ให้ถือว่าเป็นเก้าอี้ของพรรคเดิมที่ขีดเส้นใต้ไว้ครับ เพราะอ้างอิงจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 101 (3) ว่าการลาออกคือ "การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส." โดยทันที การย้ายพรรคใดๆหลังจากการลาออกไม่ได้นำพาการเปลี่ยนแปลงจำนวนที่นั่งของแต่ละพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่อย่างใด (ย้ายไปแต่ตัว ไม่ได้เอาความเป็น ส.ส. ไปด้วย) และทั้ง 13 คนนี้ลาออกช่วงกรอบเวลา 180 วันสุดท้ายของอายุสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 105 (1) ที่จะไม่มีการเลือกตั้งใหม่ทดแทนซึ่งหมายความว่าเก้าอี้ในเขตเลือกตั้งดังกล่าวจะมีสถานะ "ว่าง" ไปจนกว่าจะถึงการเลือกตั้งใหญ่เป็นการทั่วไปทั้งประเทศ การนับจึงนับที่พรรคมี "สถานะ ส.ส." ล่าสุดครองเขตเลือกตั้งนั้น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพดังนี้

เขตเลือกตั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร เดิมมี ส.ส.คือนางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ เมื่อนางกรณิศลาออกจากตำแหน่ง ส.ส.เพื่อไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย เขตเลือกตั้งที่ 4 จะอยู่ในสถานะ "ไม่มี ส.ส." เมื่อถึงการเลือกตั้งใหญ่และต้องระบุพรรคที่เคยครอบครองเขตเลือกตั้งนี้ล่าสุดจึงต้องระบุพรรคที่ครองเก้าอี้ก่อนจะมีสถานะว่างนั่นก็คือพรรคพลังประชารัฐ (ที่นางกรณิศเคยสังกัด) ไม่ได้ระบุว่าเป็นของพรรคภูมิใจไทยแต่อย่างใดเพราะเขตเลือกตั้งนี้ไม่เคยมี ส.ส.กรณิศ พรรคภูมิใจไทย มีแต่ ส.ส.กรณิศ พรรคพลังประชารัฐ (นางกรณิศไม่ได้เอาสถานะ ส.ส. ตามไปพรรคภูมิใจไทยด้วย ต่างจากกรณีร้อยตำรวจตรีมณฑล-นายโชติพิพัฒน์)

    • กลุ่มที่ย้ายพรรคหลังจากยุบสภา

กลุ่มนี้มีกรณีเดียวคือนายทศพร ทองศิริ พรรคก้าวไกล ที่ย้ายไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ กรณีนี้ให้ถือว่าเป็นเก้าอี้ของพรรคก้าวไกลครับ เพราะสภาผู้แทนราษฎรได้สิ้นสุดลงจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 101 (1) นายทศพรย้ายพรรคโดยที่ไม่มีสถานะ ส.ส. แล้วเนื่องจากการยุบสภาสภาผู้แทนราษฎร

    • กลุ่มอื่นๆ

กลุ่มนี้มีกรณีเดียวคือนางสาวธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ พรรคพลังประชารัฐ ที่ต้องคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในปี พ.ศ. 2565 จนเป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่งตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 101 (13) ซึ่ง ณ วันที่ศาลฯได้มีคำพิพากษา สภาผู้แทนราษฎรได้เข้าสู่ช่วงกรอบเวลา 180 วันสุดท้ายของอายุสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 105 (1) ที่จะไม่มีการเลือกตั้งใหม่ทดแทนซึ่งหมายความว่าเก้าอี้ในเขตเลือกตั้งดังกล่าวจะมีสถานะ "ว่าง" ไปจนกว่าจะถึงการเลือกตั้งใหญ่เป็นการทั่วไปทั้งประเทศ กรณีนี้จึงถือว่าเป็นเก้าอี้ของพรรคพลังประชารัฐครับ นับที่พรรคมี "สถานะ ส.ส." ล่าสุดครองเขตเลือกตั้งนั้น

  • กล่าวโดยสรุป

การเปลี่ยนแปลงสมาชิกภาพพรรคการเมืองมีผลต่อการครองเก้าอี้ ส.ส.เขต นั้น "ไม่ทุกกรณีเสมอไป" ครับ จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นได้ชัดเจนว่ามีกรณีรูปแบบไหนบ้างที่มีผลหรือไม่มีผลต่อการระบุว่าพรรคไหนครองเก้าอี้เขตเลือกตั้งนี้มาแต่เดิม ดังที่เคยที่สรุปไว้สั้นๆครับว่าให้นำ "สถานภาพ ส.ส." ของตัวบุคคลนั้นเป็นตัวตั้ง แล้วจึงค่อยตามด้วยสมาชิกภาพที่บุคคลนั้นสังกัดอยู่เป็นตัวรองลงมา

ส่วนเรื่องการนับจำนวน ส.ส.ก่อนการเลือกตั้งในหน้ากล่องข้อความ เพื่อยุติปัญหาในการถกเถียงตัวเลขแนะนำว่าให้ลงจำนวนทั้ง last_election และ seat_before ควบคู่กันครับ (ตอนผมปรับปรุงบทความเลือกตั้งช่วงปี พ.ศ. 2550, 2554 และ 2562 ใช้แต่ seat_before อย่างเดียว เพราะกรณีพ้นจากตำแหน่งแล้วไม่มีเลือกตั้งใหม่ภายใน 180 วันสุดท้ายมีน้อยมากหรือแทบไม่มีในการเลือกตั้งสามครั้งนี้ เลยสามารถลงจำนวนแค่บรรทัดเดียวแบบเข้าใจได้เลย ยกเว้นปี พ.ศ. 2548 ที่มีเรื่องของการควบรวมพรรคการเมืองมาด้วยจึงต้องมี last_election ในบางจังหวัดเพิ่มขึ้นมา)

ในบรรทัด last_election อันนี้เข้าใจได้ง่ายเพราะเป็นตัวเลข ณ วันเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 ที่ข้อมูลตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว (พลังประชารัฐ 12, อนาคตใหม่ 9, เพื่อไทย 9) ส่วนจำนวน ส.ส.ที่มีการขยับหลังจากการรับรองของ กกต. อย่างเป็นทางการไปแล้วค่อยมาระบุจำนวนในบรรทัด seat_before ครับ (ซึ่งขยับที่ว่าไม่นับคนที่ลาออกในช่วง 180 วันสุดท้ายนะครับ เช่นกรณีมี ส.ส. 6 คนลาออกไปอยู่ภูมิใจไทย ในช่องของพรรคภูมิใจไทยก็จะมี seat_before เพียง 2 เหมือนเดิม ไม่นำอีก 6 คนนี้มารวมเพิ่มเพราะลาออกจาก ส.ส.ไปแล้ว)

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ขยายความเพิ่มแบบละเอียดจากแนวคิดที่ให้ไว้เมื่อคราวที่แล้วครับ @Ooooooòojkddff @RKC Vakwai คาดหวังว่าความคิดเห็นนี้จะช่วยเหลือหาข้อสรุปร่วมกันได้ในประเด็นดังกล่าว รวมถึงหลีกเลี่ยงข้อพิพาทในบทความจังหวัดอื่นๆที่เหลือหลังจากนี้ NorthernTH (คุย) 02:07, 3 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ขอบคุณคุณ@NorthernTHด้วยครับ สำหรับแนวทางแก้ไขในครั้งนี้ ผมหวังว่าสิ่งนี้จะเป็นบรรทัดฐานในการทำงานของพวกเราต่อไป และเพื่อการสื่อสารดำเนินไปด้วยเหตุผล และหลักฐานเพื่อหาข้อสรุปอย่างสร้างสรรค์ต่อไปครับ Ooooooòojkddff (คุย) 10:01, 30 กรกฎาคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]