พูดคุย:กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร/กรุ 1

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชื่อบทความ และ links

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้  Verapat (พูดคุยหน้าที่เขียน) 14:17, 8 พฤษภาคม 2554

บทความปัจจุบันในวิกิพีเดียหมายถึงหัวข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอย่างรวดเร็วนะครับ อย่างเช่น บทความรอบชิงชนะเลิศของกีฬานัดหนึ่ง ที่ทางวิกิพีเดียภาษาอังกฤษถึงกับอัปเดตข้อมูลก่อนที่การแข่งขันจะจบด้วยซ้ำ --Horus | พูดคุย 22:36, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)
  • ใช่ครับ เว็บศาลฯ เข้าไม่ได้มาสองสามวันแล้วครับ
  • แต่ผมอยากจะบอกว่า ชื่อคดีที่ยาว ๆ ก็มีนะครับ เช่น "Monetary Gold Removed from Rome in 1943 (Italy v. France, United Kingdom and United States) แต่ถ้าให้เลือก เลือกอันสั้นดีกว่าครับ
  • ที่ผมยังไม่เลือกตั้งชื่อว่าเป็นคดี, กรณี, เหตุการณ์ ฯลฯ เพราะผมยังไม่รู้ว่าสรุปแล้วศาลจะใช้ชื่อคดีนี้อย่างเป็นทางการว่าอะไร (อันเนื่องมาจากเว็บศาลฯ เข้าไม่ได้นั้นแหละครับ)
--Aristitleism 23:41, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)
  • ลองดูสำเนาตรงนี้นะครับhttp://www.scribd.com/doc/54500173/Press-Release-Cambodia-Files-Application-to-ICJ
  • ชื่อเต็มๆ คือชื่อภาษาอังกฤษที่ผมใส่ไว้ที่ต้นบทความครับ ชื่อทางการภาษาไทยคงไม่มีเร็วๆนี้ ผมจึงเสนอให้ชื่อบทความ สื่อได้เข้าใจง่าย กระชับ ได้ใจความ คนที่สนใจแต่ไม่คุ้นเคยกับวันที่ของคำพิพากษาเห็นยาวๆ อาจจะงงครับ ผมว่านี่คือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของชื่อบทความ อีกทั้งชื่อยาวเต็มๆก็ปรากฏในบรรทัดแรก ไม่น่าเสียหายอะไร
  • ผมเห็นว่า motion เป็นทรัพย์เฉพาะทาง common law ครับ กระบวนพิจารณาของ common law ก็จะใช้คำว่า move บ่อยเช่น "move to strike" ผมเห็นว่าการแปล motion หรือ application หรือ request ให้มีคำแปลเฉพาะคงไม่สมจริงเท่าไรนัก ยกตัวอย่างใน ICJ Statute และ Rules of Court ไม่มีการใช้คำว่า motion เลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในศาล ICJ จะยื่นคำร้องไม่ได้ หรือยื่นคำขอได้อย่างเดียว ผมเลือกใช้คำร้องเพราะ คำร้อง ศาลพิจารณาให้ไหรือม่ให้ตามกฎหมาย คำขอ ศาลพิจารณาตามดุลยพินิจครับ กรณีนี้ศาลต้องวินิจฉัยไปตามเงื่อนไขครับ (อันนี้ความรู้สึกผมเองในบริบทนี้ แต่หากเราไปเทียบกับ วิ.แพ่ง คงเทียบได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เช่น คำขอให้ทำเป็นคำร้อง ฯลฯ)
  • คำว่าศาลโลกเป็นคำที่สื่อโดยทั่วไปถึงศาล ICJ ทั้งในวงวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน และสื่อมวลชน และหากมีผู้นึกถึงศาลอื่นเช่น ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC ก็ไม่น่าจะเป็นความเข้าใจที่ถูกเพราะ ICC หรือ ศาลอื่นมิได้มีการสร้างพันธกรณีที่คลุมเกือบทุกประเทศทั่วโลกดั่งกรณี ICJ (UN members ipso facto parties to ICJ Statute) และรัฐบาลไทยเองก็ใช้คำว่าศาลโลกเป็นคำย่อโดยปกติสำหรับ ICJ เช่น
  • อีกทั้งเป็นการใช้ที่ตรงกับบทความอื่นที่มีอยู่ และที่สำคัญคำว่าศาลฯ อาจสับสนได้หากมีกรณีที่มีศาลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเห็นว่าการใช้คำว่า "ศาลโลก" ตามที่กำกับไว้ในวงเล็บที่บทความตอนต้นของบทความ น่าจะเหมาะสมแล้วครับ
--Verapat 23:56, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)
  • แน่นอนครับว่าชื่อทางการภาษาไทยคงไม่มีในเร็ววัน และคงอีกยาว และผมสนับสนุนให้มีชื่อที่กระชับ แต่สอดคล้องกับหลักการ (อาจใช้ว่า "คดีว่าด้วยปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2554" ก็ได้มั้งครับ ผมอยากจะเปลี่ยนคดีก่อนหน้าเป็น "คดีว่าด้วยปราสาทพระวิหาร" ตามชื่อทางการของคดี และหลักในวิกิฯ อังกฤษก็ต้องทำแบบนี้อยู่แล้ว หรืออาจจะใส่ "พ.ศ. 2502" ไปด้วยก็ได้ แต่เพราะผมเห็นว่า ผมจะไม่มีเวลาปรับปรุงเนื้อหาในนั้น จึงไม่ได้ทำครับ)
  • ผมไม่เห็นควรใช้คำว่า "ศาลโลก" ครับ เพราะ (1) คำนี้เป็นภาษาปาก และ (2) จริงอยู่เมื่อก่อนหมายถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ แต่เดี๋ยวนี้หมายถึงศาลอาญาระหว่างประเทศก็ได้ บทความในวิกิฯ อังกฤษก็ระบุเช่นนั้น ตอนศาลอาญาฯ มาประเทศไทย ผมก็เห็น BBC เรียกศาลอาญาฯ ว่า "World Court" ผมเห็นควรใช้ว่า "ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ" เต็ม ๆ ไปเลยครับ หรือถ้าจะย่อ ก็วงเล็บไว้แต่ต้นว่า "("ศาลฯ")" แล้วต่อมาก็เรียก "ศาลฯ" ก็ได้ครับ
--Aristitleism 00:14, 9 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ขอบคุณคุณ Aristitleism ที่แลกเปลี่ยนและให้ความรู้ครับ ผมไม่ขัดข้องกับข้อเสนอทั้งสองประการครับ ตอนแรกก็เล็งๆ ทำนอง "คดีว่าด้วยปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2554" อยู่ แต่เห็นชื่อคดีเดิม ใช้ปีที่ตัดสิน คือ 2505 เลยลังเลที่จะใส่ พ.ศ. ครับ ก็เลยนึกทำนอง "คดีว่าด้วยการตีความคำพิพากษาปราสาทพระวิหาร" แต่ก็ยังฟังไม่รื่น เลยไปจบที่ข้อเสนอที่บันทึกในตอนแรกว่า "คดีปราสาทพระวิหาร (กรณีการตีความคำพิพากษา)" และมาจบที่ชื่อปัจจุบันว่า "กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร" Verapat 01:15, 9 พฤษภาคม 2554 (ICT)