คุยกับผู้ใช้:Verapat

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยินดีต้อนรับคุณ Verapat สู่วิกิพีเดียภาษาไทย
เขียนอะไร ?
เขียนได้ทุกอย่างถ้า • มีความสำคัญไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่โฆษณาหรือมีสิ่งอื่นที่ไม่เหมาะสมเป็นกลางใช้ภาษาและการจัดรูปแบบเป็นสารานุกรม • ไม่มีอยู่เดิมในวิกิพีเดียหรือช่วยปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น
เขียนอย่างไร ?
ใช้ภาษามาร์กอัปของวิกิ เป็นภาษาอย่างง่ายที่ช่วยในการจัดรูปแบบเอกสารรวมถึงจัดหมวดหมู่ ท่านสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว
ชุมชนวิกิพีเดียคืออะไร ?
• เราคืออาสาสมัครที่ทำงานร่วมกันเพื่อแบ่งปันความรู้สู่สาธารณชน • ชาววิกิพีเดียมักบอกเล่าเรื่องราวของตนเองและพูดคุยกันผ่านหน้าผู้ใช้ • เราร่วมมือกันในโครงการต่างๆ และออกเสียงอย่างเป็นประชาธิปไตยในการตัดสินใจที่สำคัญ เช่น การคัดเลือกบทความคัดสรรและบทความคุณภาพ • เรามีนโยบายและแนวปฏิบัติเป็นกรอบกติกามารยาทในการอยู่ร่วมกัน
เริ่มต้นอย่างรวดเร็ว
• ถ้ายังไม่ทราบว่าจะทำอะไรกรุณาดูหน้านี้ • ถ้ามีเรื่องที่อยากเขียนแล้วโปรดดูบทความที่ใกล้เคียงกัน ทั้งในวิกิพีเดียภาษาไทยและวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ท่านสามารถคัดลอกโค้ดของบทความดังกล่าวมาเป็นโครงบทความที่ท่านต้องการสร้าง เรียนรู้วิธีการตั้งชื่อบทความและการจัดรูปแบบจากบทความต้นแบบ
ข้อควรระวัง
• ทุกหน้าในวิกิพีเดียมีไว้เพื่อการพัฒนาสารานุกรม ห้ามใช้ทำอย่างอื่น • ทุกคนสามารถเข้าถึงประวัติการแก้ไขของทุกหน้าได้ • บทความของท่านอาจถูกติดป้ายมากกว่าหนึ่งป้ายหรือถูกลบข้อมูลออกไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด อย่ากลัว แต่ก่อนกดบันทึกทุกครั้งพึงระลึกว่างานจะถูกแก้ไขได้ทันที • โปรดเชื่อว่าผู้อื่นมีเจตนาดีและพูดคุยกันเพื่อยุติความขัดแย้ง • เมื่อพูดคุยในหน้าสำหรับแสดงความคิดเห็น กรุณาลงชื่อด้วยปุ่ม ​ซึ่งเมื่อบันทึกแล้ว --~~~~ จะกลายเป็นชื่อผู้ใช้และวันเวลาเอง • อย่าลืมเขียนคำอธิบายอย่างย่อก่อนบันทึกเพื่อให้ให้ง่ายต่อการแก้ไขร่วมกันของชาววิกิพีเดีย
หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม กรุณาดูโรงเรียนเตรียมพร้อมวิกิ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าในความร่วมมือของท่านในการพัฒนาวิกิพีเดียอย่างต่อเนื่อง
Hello Verapat! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook. Have a nice day!

--taweethaも 17:16, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ปราสาทพระวิหารคดีใหม่[แก้]

ผมเปลี่ยนทางไปบทความคดีเดิมแทน เพราะรายละเอียดยังไม่มีอะไรมาก --Aristitleism 14:15, 7 พฤษภาคม 2554 (ICT)

หากบทความนี้กล่าวถึงบทความหนึ่งบทความใดที่มีอยู่แล้ว คิดว่ารวมไปดีกว่าครับ รอแยกบทความใหม่อีกทีก็ยังไม่สาย --Horus | พูดคุย 14:07, 7 พฤษภาคม 2554 (ICT)

รอปรึกษากันก่อนไหมครับ คิดว่าคุยกับคุณ Aristitleism คงจะได้เรื่องมากกว่าผม --Horus | พูดคุย 22:17, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)

สำหรับชื่อบทความด้านบนสุด ผมเสนอให้ใช้ชื่อคดีที่กระชับและได้ใจความ เช่น "คดีปราสาทพระวิหาร (กรณีตีความคำพิพากษา)" ควบคู่ไปกับชื่อเต็มที่ตามมาในบรรทัดต่อมาครับ ตามแนวปฏิบัติมาในหลายคดีที่ย่อชื่อให้ได้ใจความ เช่น en:Pedra_Branca_dispute en:Application_of_the_Convention_on_the_Prevention_and_Punishment_of_the_Crime_of_Genocide_(Croatia_v._Serbia) รบกวนใครช่วยทำกล่องข้างๆ ด้านขวาได้ก็จะดีเลยครับ

อีกทั้งชื่อที่กระชับยังเป็นไปตาม นโยบายของวิกิพีเดียภาษาไทยอย่างเป็นทางการ

ส่วน "คำร้อง" คือ Application ครับ ซึ่งบทความนี้พูดถึงตัวคดี คำร้องเป็นเพียงส่วนหนึ่ง ดังนั้นชื่อของคดี (Request...) ถ้าจะใช้ชื่อยาวก็ควรเป็น

การขอให้ตีความคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ในคดีว่าด้วยปราสาทพระวิหาร (ระหว่างประเทศกัมพูชา กับประเทศไทย)

และเสนอให้เป็นบทความนี้เป็น เหตุการณ์ปัจจุบัน ครับ

จึงเสนอให้ช่วยปรับเปลี่ยนด้วยครับ หากปะคุยกันรบกวนไปคุยกันที่หน้าอภิปรายของบทความด้วยครับ --Verapat 22:27, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)

คำว่ากระชับในกรณีนี้ แตกต่างจาก คอมพิวเตอร์ กับ สมองกลฯ นะครับ อย่าลืมว่า "คอมพิวเตอร์" เป็นคำเรียกทั่วไป แต่คดีที่ว่ายังไม่มีครับ --Horus | พูดคุย 22:37, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ผมตีความว่านั้นเป็นกรณีตัวอย่างกรณีหนึ่งของหลายๆ กรณีที่สื่อถึงความกระชับ คงไม่ใช่ทั้งหมด ความคิดเห็นผมคือชื่อบทความไม่ควรยาว คนทั่วไปอ่านควรเข้าใจได้ทันที และชื่อยาวเต็มใส่ไว้ในบรรทัดถัดมา ก็ไม่เสียหายครับ

Verapat 22:46, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)

บทความที่มีชื่อยาว ๆ ก็เยอะครับ และส่วนใหญ่มักจะเป็นบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสียมาก --Horus | พูดคุย 22:59, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)
ผมไปแสดงความคิดเห็นไว้ที่ พูดคุย:กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร ครับ --Aristitleism 23:40, 8 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ใช้คำ[แก้]

ผมขอยกกลับมาที่นี่ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ยังไม่น่าเอาไปตรงนั้นนะครับ --Aristitleism 03:10, 9 พฤษภาคม 2554 (ICT)

ผมว่า ในภาษาไทย (ในบริบทที่ใช้อยู่ในกฎหมายไทย) คำว่า "ตัดสิน," "พิพากษา," "วินิจฉัย", "วินิจฉัยชี้ขาด" ฯลฯ มีความหมายต่างกันพอสมควร และคำว่า "ตัดสิน" ไม่น่าใช้กับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนะครับ อาจารย์ผม (จุมพต สายสุนทร) เคยว่าไว้ในตอนเรียนว่า สำหรับระบบกฎหมายระหว่างประเทศ ให้ใช้ "วินิจฉัย" (adjudge) และ "สั่ง" (declare) สำหรับศาลยุติธรรมฯ ครับ ทั้งนี้ ผมไำม่ได้หมายความว่า ในระบบกฎหมายไทย "adjudge" ตรงกับคำว่า "วินิจฉัย" และ "declare" คือ "สั่ง" นะครับ (ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้ "adjudge" ว่า "สั่ง" เช่น "สั่งให้เป็นคนล้มละลาย" = "adjudged bankrupt") --Aristitleism 02:29, 9 พฤษภาคม 2554 (ICT)

┌─────────────────────────────────┘

ความรู้ผมน้อยกว่า ศ. ดร. จุมพตมากครับ หากจะเปลี่ยนคำผมไม่ขัดข้องนะครับ
ความจริงก็น่าสนใจอยู่เพราะในตัวบทธรรมนูญ ICJ ก็ใช้คำว่า decide เต็มไปหมด
Article 38
1. The Court, whose function is to decide in accordance with international law such disputes as are submitted to it, shall apply...
Article 55
1. All questions shall be decided by a majority of the judges present.
Article 59
The decision of the Court has no binding force except between the parties and in respect of that particular case.
ไม่มีคำว่า adjudge แต่ใช้ judgment เยอะเหมือนกัน
Article 56
1. The judgment shall state the reasons on which it is based.
Article 57
If the judgment does not represent in whole or in part the unanimous opinion of the judges, any judge shall be entitled to deliver a separate opinion.
Article 58
The judgment shall be signed by the President and by the Registrar. It shall be read in open court, due notice having been given to the agents.
พอมาดู Rules เช่น ข้อ 100 ก็ยิ่งชัดครับ
2. The decision of the Court, or of the Chamber, on a request for interpretation or revision of a judgment shall itself be given in the form of a judgment.
และแนวปฏิบัติทั้งของทนายก็ใช้คำว่าขอให้ศาล adjudge โดยทั่วไป อ่านดูแล้วตามความเข้าใจของผมเอง decide/decision เน้นไปที่สาระของการตัดสิน แต่ judge/judgment เน้นไปที่ตัวรูปแบบ กระมัง
-- Verapat 02:52, 9 พฤษภาคม 2554 (ICT)
  • ใช่ครับ ไม่ปรากฏในระเบียบศาล (Rules of the Court) แต่เวลายื่นคำขอ/คำร้อง/คำบลา ๆ ๆ เขาจะว่า "May it please the Court to adjudge and declare that..." อาจารย์เลยบอกให้ใช้ "วินิจฉัย" สำหรับ "adjudge" และ "สั่ง" สำหรับ "declare" ครับ เป็นไปตามลักษณะของผลที่จะออกมา (ผมเคยแปลประโยคนั้นว่า "ข้าแต่ศาลที่เคารพ ขอให้ท่านวินิจฉัยและสั่งว่า..." อาจารย์ว่า ในทางปฏิบัติ เขาใช้ "ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ขอให้ท่าน..." ซึ่งผมก็เห็นว่า ตรงกับ "May it please..." ดีครับ)
  • ทั้งนี้ สำหรับกรณีทั่วไป ผมจะแปล decide ว่า วินิจฉัย ครับ ที่ผมถามในหน้าผู้ใช้ของคุณ เพราะ... ไม่รู้สิครับ สงสัยเรียนกฎหมาย เลยทำให้คิดลึกเรื่องถ้อยคำแต่ละคำ 55 พูดไปพูดมาผมเริ่มเห็นว่า เข้ารกเข้าพงไปเรื่อย ที่จริงจะใช้คำอะไรอาจไม่สำคัญก็ได้มั้งครับ
--Aristitleism 03:10, 9 พฤษภาคม 2554 (ICT)