พูดคุย:กฎหมาย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Age of consent in Thailand?[แก้]

Please excuse my writing in English here. A question has arisen regarding the Thai age of consent, over at en:Talk:Ages of consent in Asia. Most websites list an age of consent of 15 (or 18 if prostitution is involved), but recently the lead singer of the Thai music group Big Ass was charged with statutory rape for allegedly having sex with a girl who was 16 at the time. It has been suggested that the criminal code #283 might be involved, but I don't have the text of that article. Can anybody offer any insights in this matter? Thanks a lot, AxelBoldt 19:55, 5 มกราคม 2007 (UTC)

เตรียมการแก้ไข[แก้]

ผมพบว่าบทความ กฎหมาย มีความไม่ชัดเจน และรวมเอานิติปรัชญากับประวัติศาสตร์กฎหมายเข้ามาด้วย โดยไม่ได้จำแนกกฎหมายอย่างแน่ชัด หลังจากนี้จะขอแก้ไขเพิ่มเติมหน้านี้ทั้งหมดให้ชัดเจนเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ให้รายละเอียดมีเหตุระบุด้วยค่ะ

ผู้ที่จะร่วมการจำแนกหมวดหัวข้อ โปรดช่วยเหลือในการปรับปรุงด้วย Sharky 08:05, 5 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)

นิติปรัชญา[แก้]

จะแยกเอาสำนักกฎหมายไปใส่หัวข้อนิติปรัชญา ส่วนของกฎหมายนี้ ขอให้เป็นคำอธิบายกฎหมายแท้ๆ Sharky 07:55, 16 มีนาคม 2007 (UTC)

เห็นด้วยที่ควรแยกเอาหัวข้อประวัติศาสตร์ออกไปต่างหากครับ -- Vetbook 04:00, 20 เมษายน 2551 (ICT)

กฎหมายจารีตประเพณี[แก้]

ผมไม่อยากให้แปล common law ว่ากฎหมายจารีตประเพณีครับ เพราะจะมีปัญหาขึ้นมา เวลาที่เขียนบทความถึงกฎหมายจารีตประเพณีจริง ๆ ซึ่งหมายถึงประเพณีหรือจารีต ที่ประพฤติปฏิบัติกันอย่างสมำ่เสมอและนมนาน และได้รับการยอมรับให้เป็นกฎหมายจารีตประเพณี ซึ่งถูกอ้างได้ตามมาตรา 4 ครับ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและการเข้าใจผิด จึงเขียนว่ากฎหมายทั่วไป แต่ถ้าอยากจะบอกว่าเป็นระบบกฎหมายจารีตประเพณี ความชี้แจงไว้ข้างท้ายว่า บางตำราอาจเรียกว่าระบบกฎหมายจารีตประเพณี ซึ่ง...แล้วอธิบายความครับ (ความจริงกรณีนี้ผมไม่อยากให้แปลใช้ทับศัพท์ไปเลยน่าจะดีกว่า)--Shā Azunaburu | คุยกันได้ 14:12, 7 พฤษภาคม 2007 (UTC)

หลักทฤษฎีพื้นฐานของการใช้กฎหมาย[แก้]

ผมเห็นว่าหัวข้อนี้เป็นการนำหลักการใช้กฎหมายต่างๆ มารวมกันอย่างสับสน

เช่น หลัก Golden Rule เป็นเพียงหลักการตีความหนึ่งเท่านั้น ซึ่งจะต้องบอกรายละเอียดด้วยว่ากรณีเช่นใดจึงใช้การตีความแบบนี้

อีกทั้งหัวข้อนี้ก็อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการใช้กฎหมายด้วย เพราะไม่อาจนำหลักการใช้ทุกอย่างมาใส่ไว้ได้ จึงสมควรแยกเป็นหัวข้อต่างหาก --Vetbook 12:26, 6 เมษายน 2551 (ICT)

ย้ายมาไว้ตรงนี้ก่อน[แก้]

วิวัฒนาการของคำว่ากฎหมาย[แก้]

แต่เดิม คำว่า "กฎหมาย" เป็นคำกริยา ซึ่งประกอบขึ้นจากกริยา "กฎ" มีความหมายว่า "จดบันทึก, จดไว้เป็นหลักฐาน, ตรา" อันเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรว่า "กต่" มีความหมายว่า "จด" + นาม "หมาย" ซึ่งแปลว่า "หนังสือ"[1]

โบราณใช้กริยา "กฎหมาย" ในความหมายต่าง ๆ กันดังต่อไปนี้[1]

  • 1. "จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน" ตัวอย่างว่า "สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้" ซึ่งมีความหมายว่า "สั่งให้นายอินทำบัญชีรายชื่อของบุคคลดังกล่าวทั้งปวง"
  • 2. "ทำหนังสือเป็นหลักฐาน" ตัวอย่างว่า "อนึ่ง มีผู้ทำหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า..."
  • 3. "ออกหมายกำหนด" ตัวอย่างว่า "ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตุลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ" ซึ่งมีความหมายว่า "ให้ฝ่ายมหาดไทยและฝ่ายกลาโหมทำหนังสือแจ้งแก่ตุลาการ ถ้าแจ้งไปไม่ทั่วถึงทั้งสองฝ่ายซึ่งมีหน้าที่ทำหนังสือแจ้งนั้นจะมีโทษ"
  • 4. "ตราสั่ง" ตัวอย่างว่า "จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดำรัสให้เร่งคืนมา" เป็นร้อยกรองมีความหมายว่า "ได้มีหมายรับสั่งให้ทั้งสามคนเดินทางไป อีกเดือนหนึ่งจึงมีพระราชดำรัสให้กลับคืนมา"
  • 5. "กำหนดขีดขั้น" ตัวอย่างว่า "ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย"

ต่อมา นิยามตามตัวอักษรของคำว่า "กฎหมาย" ได้จำกัดลงแต่เพียงว่า "หนังสือที่ทำขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร" และมีความหมายแคบลงตามที่เข้าใจกันทั่วไปในปัจจุบันว่าเป็นข้อบังคับอันตราขึ้นโดยกระบวนการตามแต่กรณี

วรรค มาตรา อนุมาตรา[2][แก้]

ในการเขียนบทความทั่ว ๆ ไป ข้อความที่เป็นเรื่องเดียวกันโดยมีเนื้อความขยายต่อเนื่องสอดคล้องจนจบความที่เริ่มต้นเขียนที่บรรทัดใหม่และร่นจากแนวขอบซ้ายทั่วไป ข้อความแต่ละตอนที่มีลักษณะเช่นนั้นเรียกว่า "ย่อหน้า" (อังกฤษ: paragraph) ในบทความหรือเรื่อง ๆ หนึ่งจะมีกี่ย่อหน้าก็ได้สุดแต่เนื้อหาของเรื่องนั้น ๆ เมื่อจำเป็นต้องอ้างถึงเนื้อความที่อยู่ในตอนใด ก็จะระบุลำดับเลขโดยนับเรียงจากย่อหน้าแรกไปตามลำดับ ตามจำนวนย่อหน้าที่ปรากฏในบทหรือเฉพาะหน้านั้น ๆ เช่น ย่อหน้าหนึ่ง ย่อหน้าสอง ฯลฯ

แต่ภาษาทางกฎหมายมิได้เรียกบทของข้อความดังกล่าวว่า "ย่อหน้า" หากเรียกว่า "วรรค" (อังกฤษ: paragraph) ซึ่งมีความหมายคนละอย่างกับ "วรรค" ในภาษาทั่วไปที่หมายถึงการเว้นช่องระหว่างคำหรือข้อความ ตัวอย่างเช่น

มาตรา ๑๓๖ คณะกรรมการเลือกตั้ง ประกอบด้วย … และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่ง

มาตรา (อังกฤษ: section) ใดอาจมีรายละเอียดที่แยกเป็นข้อย่อย ๆ ก็ได้ โดยจะมีตัวเลขกำกับในวงเล็บที่แต่ละข้อ ดังนี้

มาตรา ๑๓๗ กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ … ดังต่อไปนี้

(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(๒) เชื้อชาติไทย

(๓) นับถือศาสนาพุทธ

ฯลฯ

อันข้อย่อย ๆ ของมาตราดังที่ปรากฏในวงเล็บนั้น คงรวมเป็นส่วนหนึ่งของวรรคต้นกำเนิด

การอ่านตัวเลขข้อย่อยของมาตรา ภาษาทางกฎหมายจะใช้ว่า "อนุมาตรา (หนึ่ง/สอง/สาม …)" (อังกฤษ: subsection) ไม่อ่านว่า "ข้อหนึ่ง (สอง, สาม …)"

การลำดับมาตราย่อย[แก้]

เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย จะมีการแทรกมาตราใหม่เข้าไประหว่างมาตรา โดยมีข้อชวนทราบเกี่ยวกับการลำดับมาตราที่แทรกเข้าไปใหม่ดังต่อไปนี้

แบบโบราณ[แก้]

แต่เดิม วงการนิติบัญญัติไทยจะใช้คำบาลีและสันสกฤตลำดับมาตราเช่นว่า โดยราชบัณฑิตยสถานได้รับหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2540 ขอความอนุเคราะห์ให้ราชบัณฑิตยสถานแปลคำบาลีสันสกฤตที่ระบุลำดับที่เลขมาตราของกฎหมาย ซึ่งราชบัณฑิตยสถานเห็นควรให้ใช้ดังนี้[2]

หมายเหตุ คำบาลีหรือสันสกฤตที่ปรากฏเครื่องหมายดอกจันทน์ (" * ") อยู่เบื้องหลัง หมายความว่า คำนั้นเป็นคำที่ใช้ในการนิติบัญญัติของไทย

คำบาลี คำสันสกฤต คำอ่านของคำที่ใช้ ความหมาย คำละติน ตัวอย่างการใช้
เอก* เอก /เอ-กะ/ หนึ่ง primo "มาตรา 123 เอก ให้มี..."
ทวิ* ทวิ /ทะ-วิ/ สอง bis "มาตรา 123 ทวิ ให้มี..."
เต ตรี* /ตฺรี/ สาม ter "มาตรา 123 ตรี ให้มี..."
จตุ จัตวา* /จัด-ตะ-วา/ สี่ quarter "มาตรา 123 จัตวา ให้มี..."
เบญจ* เบญจน /เบ็น-จะ/ ห้า quarter "มาตรา 123 เบญจ ให้มี..."
ฉ* ษัฑ /ฉะ/ หก sex "มาตรา 123 ฉ ให้มี..."
สัตต* สัปต /สัด-ตะ/ เจ็ด septum "มาตรา 123 สัตต ให้มี..."
อัฏฐ* อัษฎ /อัด-ถะ/ แปด octo "มาตรา 123 อัฏฐ ให้มี..."
นว* นว /นะ-วะ/ เก้า novem "มาตรา 123 นว ให้มี..."
ทส ทศ* /ทะ-สะ/ สิบ decem "มาตรา 123 ทศ ให้มี..."
เอกาทส เอกาทศ* /เอ-กา-ทะ-สะ/ สิบเอ็ด undecim "มาตรา 123 เอกาทศ ให้มี..."
ทวาทส ทวาทศ* /ทะ-วา-ทะ-สะ/ สิบสอง duodecim "มาตรา 123 ทวาทศ ให้มี..."
เตรส* เตรตา /เต-ระ-สะ/ สิบสาม tredecim "มาตรา 123 เตรส ให้มี..."
จตุทส จตุทศ* /จะ-ตุ-ทะ-สะ/ สิบสี่ quattuordecim "มาตรา 123 เจตุทศ ให้มี..."
ปัณรส* ปัญจทศ /ปัน-นะ-ระ-สะ/ สิบห้า quindecim "มาตรา 123 ปัณรส ให้มี..."
โสฬส* โษษฑ /โส-ละ-สะ/ สิบหก sedecim "มาตรา 123 โสฬส ให้มี..."
สัตตารส* สัปตทศ /สัด-ตา-ระ-สะ/ สิบเจ็ด septemdecim "มาตรา 123 สัตตารส ให้มี..."
อัฏฐารส* อัษฎทศ /อัด-ถา-ระ-สะ/ สิบแปด duodeviginti "มาตรา 123 อัฏฐารส ให้มี..."
เอกูนวีสติ* เอโกนวิงศติ /เอ-กูน-นะ-วีด-สะ-ติ/ สิบเก้า undeviginti "มาตรา 123 เอกูนวีสติ ให้มี..."
วีสติ* วิงศติ /วีด-สะ-ติ/ ยี่สิบ viginti "มาตรา 123 วีสติ ให้มี..."

การใช้คำบาลีและสันสกฤตลำดับมาตรานี้เป็นการเอาอย่างวงการนิติบัญญัติต่างประเทศที่ใช้คำละตินดังข้างต้นลำดับ

แบบปัจจุบัน[แก้]

เนื่องจากปัจจุบัน การใช้ภาษาบาลีและสันสกฤตลำดับมาตราดังข้างต้นนั้น ผู้ร่างกฎหมายเห็นว่าเป็นปัญหา ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมาย และตนก็ไม่รู้จะใช้คำอะไรต่อไปเมื่อมีลำดับมากขึ้น จึงเปลี่ยนมาใช้ตัวเลขด้วยการเพิ่มเครื่องหมาบทับ (" / ") เข้าไปหลังมาตราหลักแทน ตัวอย่างเช่น "มาตรา 123/2 ให้มี..." แทนที่ "มาตรา 123 ทวิ ให้มี..." อย่างของเดิม

——YURi | จิ๊จ๊ะ - ๑๖ กันยายน ๒๕๕๑, ๑๗:๕๔ นาฬิกา (GMT+7)

merge article[แก้]

เนื้อหาจาก ผู้ใช้:Zambo/กฎหมาย มีส่วนที่สมบูรณ์กว่าบทความนี้ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก มาแจ้งให้ทราบเผื่อใครสนใจจะรวมบทความครับ --Nullzero (พูดคุย) 22:48, 10 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)

(ขอวิจารณ์) อ่านแล้วยังเป็นภาษาหุ่นยนต์ ไม่ค่อยเป็นภาษามนุษย์ครับ เกรงว่าคนทั่วไปจะไม่เข้าใจ --浓宝努 22:50, 10 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
รอไว้ผู้มีความรู้ด้านนี้มาปรับแก้นั่นแหละครับ อยู่ในกระบะทรายต่อไปก็ไร้ค่า ไม่มีใครเข้ามาเปิดดู (ผุ้ใช้ดังกล่าว inactive แล้ว) นำมาแจ้งไว้เผื่อจะได้ทุ่นแรงในการเขียนบทความ --Nullzero (พูดคุย) 22:57, 10 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ RoyinDict2002
  2. 2.0 2.1 สุจิตรา กลิ่นเกษร. (2540, สิงหาคม). "ภาษากฎหมาย". จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน, (ปีที่ 7, ฉบับที่ 75). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1007. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2551).