ข้ามไปเนื้อหา

พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ

พิกัด: 17°07′44″N 98°22′50″E / 17.12889°N 98.38056°E / 17.12889; 98.38056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ บ้านแม่หละ
พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ บ้านแม่หละตั้งอยู่ในจังหวัดตาก
พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ บ้านแม่หละ
พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ บ้านแม่หละ
พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ บ้านแม่หละตั้งอยู่ในประเทศไทย
พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ บ้านแม่หละ
พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ บ้านแม่หละ
พิกัด: 17°07′44″N 98°22′50″E / 17.12889°N 98.38056°E / 17.12889; 98.38056
ประเทศ ไทย
จังหวัดตาก
อำเภอท่าสองยาง
พื้นที่
 • ทั้งหมด4 ตร.กม. (2 ตร.ไมล์)
ประชากร
30,000 คน
เขตเวลาUTC+7 (UTC+7)

พื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ บ้านแม่หละ ก่อตั้งขึ้นในปี 2527 อยู่ในอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในเขตทิวเขาดอยมอนกุจู ปัจจุบันให้ที่อยู่แก่ผู้ลี้ภัย 50,000 คน[1] ซึ่งมีเพิ่มทุกสัปดาห์จากประเทศพม่า พื้นที่พักพิงแห่งนี้เป็นค่ายผู้ลี้ภัยสำหรับชาวพม่าแห่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผู้ลี้ภัยกว่า 90% มีเชื้อสายกะเหรี่ยง[2]

เดิมพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละตั้งขึ้นหลังฐานทัพสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) แตก ที่หมู่บ้านแม่หละของไทยตรงพรมแดนในปี 2527 โดยมีประชากร 1,100 คน ไม่นานหลังจากนั้น พื้นที่พักพิงฯ ถูกย้ายไปยังจุดอันเป็นที่ตั้งของโซนซีในปัจจุบัน เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคง หลังมาเนอปลอว์แตกในเดือนมกราคม 2538 พื้นที่พักพิงฯ จำนวนหนึ่งถูกโจมตีในการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดน และทางการไทยเริ่มรวบรวมพื้นที่พักพิงเพื่อเพิ่มความมั่นคง พื้นที่พักพิงที่บ้านแม่หละได้รับการกำหนดเป็นพื้นที่พักพิงหลักในพื้นที่

ในเดือนเมษายน 2538 พื้นที่พักพิงฯ เพิ่มขนาดจากที่รองรับได้ 6,969 คน เป็น 13,195 คน ในปีต่อมา ค่ายเพิ่มขนาดเป็นสองเท่าอีก เป็น 26,629 คน เนื่องจากผู้ลี้ภัยที่สูญหายไประหว่างการย้ายที่ตั้งกลับมายังพื้นที่พักพิงฯ

พื้นที่พักพิงฯ ถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาสำหรับผู้ลี้ภัย ฉะนั้น ประชากรปัจจุบันจึงมีนักเรียนหลายพันคนที่มาศึกษาในพื้นที่พักพิงฯ ด้วย บ้างมาจากค่ายผู้ลี้ภัยอื่น แต่ส่วนใหญ่มาจากพม่า นักเรียนเหล่านี้ได้รับการลงทะเบียนเป็นผู้อยู่อาศัยชั่วคราว

พื้นที่พักพิงฯ ถูกโจมตีในปี 2540 โดยกำลังกองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ (ดีเคบีเอ) ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยกองทัพพม่า ไม่มีการรุกล้ำอีกหลังจากนั้น แต่กระสุนปืนครกตกในส่วน เอ5 ในเดือนมีนาคม 2541 ทุกฤดูแล้ง พื้นที่นี้ค่อนข้างตึงเครียดกับความมั่นคงของพื้นที่พักพิงฯ มีการขู่จะโจมตีด้วยอาวุธหรือความพยายามเผาพื้นที่พักพิงฯ

พื้นที่รัฐกะเหรี่ยงที่ตั้งอยู่ตรงข้ามพื้นที่พักพิงฯ นั้นอยู่ห่างไกล โดยไม่มีนิคมขนาดใหญ่หรือโครงสร้างพื้นฐาน กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นแอลเอ) ยังมีกองบัญชาการกองพลน้อยที่ 7 อยู่ใกล้เคียง และมีกองรักษาด่านจำนวนมากของกองทัพพม่าและกองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธอยู่ในพื้นที่[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "TBBC, Camps - Populations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2013-03-02.
  2. UNHCR Thailand and Japan’s Pilot Resettlement Program เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 25 August 2010
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-03. สืบค้นเมื่อ 2013-03-02.