ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทาก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bkkbrad (คุย | ส่วนร่วม)
ลิงก์ข้ามภาษา
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ภาพ:ทาก005.jpg|thumb|ทากชูตัวคอยเหยื่อที่จะผ่านมา]]
[[ภาพ:ทาก005.jpg|thumb|ทากชูตัวคอยเหยื่อที่จะผ่านมา]]
'''ทาก'''มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Haemadipsa sylvestris จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ[[ไส้เดือนดิน]]ใน[[ไฟลัมแอนนีลิดา]](Phylum Annelida) จัดอยู่ใน[[คลาสฮิรูดินี]](Class Hirudinae) สามารถพบได้ทั่วไปตาม[[ป่าดิบชื้น]]ถือว่าทากเป็นดัชนีชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า
'''ทาก''' มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ''Haemadipsa sylvestris'' จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ[[ไส้เดือนดิน]]ใน[[ไฟลัมแอนนีลิดา]](Phylum Annelida) จัดอยู่ใน[[คลาสฮิรูดินี]](Class Hirudinae) สามารถพบได้ทั่วไปตาม[[ป่าดิบชื้น]]ถือว่าทากเป็นดัชนีชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า


[[ภาพ:ทาก003.jpg|thumb|ทากใช้แว่นดูดเพื่อดูดเลือดของเหยื่อ]]
[[ภาพ:ทาก003.jpg|thumb|ทากใช้แว่นดูดเพื่อดูดเลือดของเหยื่อ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:55, 26 มิถุนายน 2550

ไฟล์:ทาก005.jpg
ทากชูตัวคอยเหยื่อที่จะผ่านมา

ทาก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Haemadipsa sylvestris จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไส้เดือนดินในไฟลัมแอนนีลิดา(Phylum Annelida) จัดอยู่ในคลาสฮิรูดินี(Class Hirudinae) สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นถือว่าทากเป็นดัชนีชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่า

ไฟล์:ทาก003.jpg
ทากใช้แว่นดูดเพื่อดูดเลือดของเหยื่อ

ลักษณะ

ทากมีลักษณะคล้ายปลิง โดยทั่วไปลำตัวเป็นปล้องมีเมือกเหนียวหุ้มไว้ไม่ให้ตัวแห้งรูปร่างเรียวยาว ลำตัวด้านหลังจะโค้งนูนเล็กน้อยส่วนด้านท้องจะเรียบ

ไฟล์:ทาก004.jpg
กำจัดทากช้าไป ด้วยสารฮีสตามีนและฮีรูดีนซึ่งทำให้เลือดไหลไม่หยุด

การดำรงชีวิต

ทากดำรงชีวิตด้วยการดูดเลือดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและเนื่องจากไม่มีดวงตาจึงอาศัยการจับแรงสั่นสะเทือนจากการเดินของเหยื่อ โดยมันจะคอยชูตัวอยู่ตามพื้นดินหรือไต่ขึ้นไปบนกิ่งไม้ เมื่อเหยื่อเข้าใกล้มันจะใช้อวัยวะที่เรียกว่าแว่นดูด(Sucker) ซึ่งมีทั้งด้านหน้าและด้านท้าย โดยมันจะใช้แว่นท้ายในการยึดเกาะ

เมื่อมันสามารถเกาะผิวเนื้อของเหยื่อแล้วมันจะค่อยๆ ไต่อย่างแผ่วเบาเพื่อหาที่ซ่อนตัว (ในช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 80-90 วินาที ที่เราจะปัดหรือดึงทากออกโดยไม่ต้องเสียเลือด) หลังจากนั้นมันจะใช้แว่นหน้าลงบนผิวเนื้อของเหยื่อเพื่อดูดเลือด โดยทากจะปล่อยสารชนิดหนึ่งคล้ายกับยาชาและเวลาที่ทากดูดเลือดมันจะปล่อยสารออกมา 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ สารฮีสตามีน(Histamine) ช่วยกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว และสารฮีรูดีน(Hirudin) มีคุณสมบัติต้านทานการแข็งตัวของเลือด (ด้วยเหตุนี้เลือดของเหยื่อจะไหลไม่หยุด)

เมื่อทากดูดเลือดอิ่มแล้วจะมีลักษณะตัวอ้วนสีดำแล้วจึงจะปล่อยตัวเองร่วงลงสู่พื้นดิน

ไฟล์:ทาก002.jpg
ภาพ X-ray ของทาก

การห้ามเลือดหลังจากโดนทาก

ใช้ใบสาบเสือ ยาเส้นหรือยาฉุนมาขยี้ปิดบาดแผล

ประโยชน์ทางด้านการแพทย์

วงการแพทย์สมัยโบราณมีการนำทากมาดูดพิษหรือเลือดเสียออกจากร่างกาย ในปัจจุบันแพทย์นำคุณสมบัติของทากมาทำให้เส้นเลือดในร่างกายไม่อุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดหัวใจหรือนำมาช่วยให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น

อ้างอิง