ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐสวัสดิการ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.2+) (โรบอต เพิ่ม: ku:Hukmeta jînfirehiyê
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.3) (โรบอต: แก้ไขจาก sh:Država blagostanja ไปเป็น sh:Socijalna država
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
[[pt:Estado de bem-estar social]]
[[pt:Estado de bem-estar social]]
[[ru:Социальное государство]]
[[ru:Социальное государство]]
[[sh:Država blagostanja]]
[[sh:Socijalna država]]
[[simple:Welfare state]]
[[simple:Welfare state]]
[[sk:Štát blahobytu]]
[[sk:Štát blahobytu]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:43, 9 กุมภาพันธ์ 2556

รัฐสวัสดิการ (อังกฤษ: Welfare state) เป็นระบบทางสังคมที่รัฐให้หลักประกันแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันในด้านปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น หลักประกันด้านสุขภาพ ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการป้องกันและรักษาโรคฟรี หลักประกันด้านการศึกษา ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตามความสามารถโดยได้รับทุนการศึกษาฟรีจนทำงานได้ตามความสามารถในการเรียน หลักประกันด้านการว่างงาน รัฐต้องช่วยให้ทุกคนได้งานทำ ใครยังหางานไม่ได้รัฐต้องให้เงินเดือนขั้นต่ำไปพลางก่อน หลักประกันด้านชราภาพ รัฐให้หลักประกันด้านบำนาญสำหรับผู้สูงอายุทุกคน หลักประกันด้านที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน เป็นต้น

ประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการจะใช้ระบบการเก็บภาษีแบบก้าวหน้า คือเก็บภาษีจากคนรวยในอัตราต่อรายได้สูงกว่าคนจนมาก เก็บจากชนชั้นกลางในระดับพอประมาณ และเก็บจากคนจนน้อยหรือไม่เก็บเลยถ้าจนมาก นอกจากนั้นอาจมีการเก็บเบี้ยประกันสังคมจากคนที่มีงานทำตามอัตราเงินเดือน เงินที่เก็บได้ทั้งหมดรัฐก็จะนำมาใช้จ่ายสำหรับบริการทางสังคมทั้งหมดในระบบรัฐสวัสดิการ ระบบนี้จึงเป็นการ ‘เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข’ คนที่มีรายได้ดีต้องช่วยจ่ายค่าบริการทางสังคมส่วนหนึ่งแก่คนที่ยากจนกว่า

นอกจากนี้จะเน้นไปที่ภาษีทางตรง คือเก็บจากรายได้ มากกว่าภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะอย่างหลังจะถูกบวกในราคาสินค้า รวมถึงสินค้าจำเป็นอุปโภคบริโภค ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม เพราะคนรวยคนจนก็บริโภคสิ่งจำเป็นพอๆกัน ทำให้คนจนเสียภาษีทางอ้อมในอัตราที่มากกว่าคนรวย

อ้างอิง

สรุปจากข้อมูลบางส่วนในหนังสือ "รัฐสวัสดิการ ทางเลือกที่ดีกว่าประชานิยมของไทยรักไทย" โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ และเก่งกิจ กิติเรียงลาภ

แหล่งข้อมูลอื่น