ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เล็บครุฑ (นวนิยาย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Panyatham (คุย | ส่วนร่วม)
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต: แทนที่คำ
บรรทัด 50: บรรทัด 50:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.nabaanwannagum.com/detail_book.php?bookid=229 ข้อมูลเรื่อง ฑูตนรก (ตอน 2) ธรณีแดเดือด]
* [http://www.nabaanwannagum.com/detail_book.php?bookid=229 ข้อมูลเรื่อง ทูตนรก (ตอน 2) ธรณีแดเดือด]
* [http://www.all-magazine.com/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/allMagazine%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/974/---.aspx พนมมือคารวะ พนมเทียน นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค]
* [http://www.all-magazine.com/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/allMagazine%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99/tabid/106/articleType/ArticleView/articleId/974/---.aspx พนมมือคารวะ พนมเทียน นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:52, 24 ธันวาคม 2555

เล็บครุฑ
รายละเอียด
ผู้ประพันธ์พนมเทียน
ลิขสิทธิ์นายฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ
ปีที่เริ่มประพันธ์พ.ศ. 2498
ประเภทนวนิยาย
จำนวนเล่ม8 เล่ม ได้แก่
ภาคแรก
พยัคฆ์ร้าย 6 6 6 1-4 เล่ม
ภาคสอง
นรกจางซูเหลียง 1-4 เล่ม
จำนวนตอน2 ตอน
ความยาว1,342 หน้า
สำนักพิมพ์ณ บ้านวรรณกรรม
ปีที่พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539

เล็บครุฑ เป็นนวนิยายแนวสืบสวนสอบสวน บทประพันธ์ของ พนมเทียน โดยเป็นเรื่องราวของ คมน์ สรคุปต์ ชายหนุ่มนักสืบราชการจากกลาโหม มีภารกิจคือถอนรากเง้าสักหลาดของพวกเล็บครุฑในไทย โดยอยู่ในคราบของ "ชีพ ชูชัย" เพื่อสืบหารากหรือต้นตอของเล็บครุฑ ฉากหน้าของชีพคือรับจ้างทำทุกอย่างเพื่อเงิน คือความรู้สึกเสียสละอันยิ่งใหญ่ มีสำำนึกยิ่งในคุณธรรม หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ควรค่าแก่คำว่า "ผู้พิทักษ์สันติราษฏร์" ถ้อยคำเหล่านี้ทรงความหมายเช่นใด ชีพ ชูชัย หนึ่งในนามปฏิบัติการของ คมน์ สรคุปต์ ก็สมคำเฉกเช่นนั้น

"เล็บครุฑ" คือสัญลักษณ์ของสมาคมหมายครองชิ้นส่วนของอินทรี แต่คนแล้วคนเล่าที่พาตัวเองเข้าไปเกี่ยวกับมันมีความกระเหี้ยนที่อยากจะได้มันมาเป็นกรรมสิทธิ์ ผลสุดท้ายที่ไม่ต่างกันคือความตาย เพราะอาถรรพ์ของเจ้านกร้ายยังคงอยู่ ตราบใดที่กิเลสมนุษย์ครอบงำหวังอยากได้มันมา

เรื่อง เล็บครุฑ ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2525 และเป็นละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2530

เนื้อเรื่องย่อ

ร้อยตรีคมน์ สรคุปต์ แห่งกองทัพบกไทย ได้ถูกเรียกตัวจากกรมสืบราชการลับให้มาปฏิบัติภารกิจของชาติ ในการปราบปรามเล็บครุฑทรชนนาม "ชีพ ชูชัย" ในประเทศไทยได้มี อั้งยี่ เข้ามาระบาด ภายใต้การนำของ จางซูเหลียง(สาขาประเทศไทย) ซึ่งในประเทศไทยได้ตั้งชื่อคณะกู้ชาติจากมลายูคณะนี้ว่า "เล็บครุฑ" สารวัตรกริช กำจร ผู้ที่เป็นนายตำรวจ หัวที่ทำตามคำพูดที่ว่า ผู้พิทักษ์สันติราชโดยแท้จริง เป็นคนตามคดีของเล็บครุฑ อีกฝ่ายคือ ทางกลาโหมที่ได้ส่งคมป์เข้ามาเป็นชีพ โดยให้ทำตัวเป็นโจร และคอยสืบพวกเล็บครุฑ ซึ่งเนื้อเรื่องก็จะเข้มข้นไปทุกตอน กับแผนการของพวกเล็บครุฑ และการติดตามปราบของกริช และชีพผู้ที่เข้าไปเป็นเล็บครุฑ

ตัวละครหลัก

  • ชีพ ชูชัย วายร้ายกวนเมืองชั้นแนวหน้าของเมืองไทย(ในคราบของชีพ ชูชัยตัวจริง) จริงๆ แล้วคือ คมน์ สรคุปต์ นักสืบจากกลาโหม เข้าไปเป็นหนอนบ่อนไส้ของเล็กครุฑ
  • ร้อยตำรวจเอกกริช กำจร สารวัตรแห่งกองปราบปรามพิเศษกรมตำรวจไทย ผู้มีนิสัยไม่ลงกับใครไม่ว่าหน้าไหน และปฏิบัติหน้าที่สมคำว่า "พิทักษ์สันติราษฎร์" ค่อนข้างเถื่อน ใจร้อน มุทะลุ ดุดัน
  • มรกต กำจร น้องสาวของกริช เป็นสายลับพิเศษของกรมตำรวจไทย
  • นักสืบเชลยศักดิ์อุกฤษดิ์ ดำเก่ง นักสืบพิเศษช่วยราชการไทย
  • สิงห์ หรือสุภาพบุรุษเลอพงศ์ โจรชั้นแนวหน้าของไทย มือทรชนชาติเสือนามสิงห์ ผู้โลดแล่นในฉากหน้าสังคมชั้นสูงในฐานะสุภาพบุรุษเลอพงศ์
  • จางซูเหลียง จอมโจรอัจฉริยะ มีผู้ดวงตาทรงอานุภาพ และฉากหน้าที่ตำตาเย้ยฟ้ามือกฎหมาย
  • ตวนกูปรีดะ ฮนัม เจ้าหญิงรัฐเคดาห์ เสรีมลายูชั้นสั่งการคนสำคัญ ของขบวนการกู้ชาติมลายู
  • กินรี หรือบริมบรา หนึ่งในผีเสื้อไฟของเล็บครุฑ ซึ่งกว่าชีพ ชูชัยเป็นที่สุด ทำงานปกติฉากหน้าเป็นนักเต้น ตามผับหรือบาร์ต่างๆ

ประโยคที่ให้แง่คิดจากเรื่อง

  • ยามเมื่อความจำเป็นอันหลีกเลี่ยงไม่ได้มาถึง เกี่ยวกับประเทศชาติเป็นข้อใหญ่ และในยามเช่นนี้ การแบ่งสีสันหมู่คณะ ก็ดูเหมือนจะสลัดออกไปจากความทรงจำของเลือดไทย ทุกคนมุ่งคำนึงถึงหน้าที่อย่างเดียว...

    — บทบรรยายในเรื่อง,หน้า 398


  • ถึงกูจะเป็นมหาโจ แต่กูก็ไม่เคยขายชาติ ไม่เคยทำให้คนไทยยี่สิบกว่าล้านนี่ตกเป็นขี้ข้าน้ำเงินของใคร ไม่เคยชักนำหรือสนับสนุนให้ต่างชาติใด เข้ามาข่มวางหมู่อำนาจกับคนไทยด้วยกันเอง

    — สิงห์พูดกับชีพ,หน้า 1238


  • ผู้ประพฤติผิดและสำนึกในผิดชอบ จะได้รับการอภัยโทษเสมอ

    — คมน์พูดกับมรกต,หน้า 1341

อ้างอิง

  • หนังสือเรื่องเล็กครุฑ ของพนมเทียน

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูเพิ่ม