ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต เพิ่ม: sr:Надбискуп кентерберијски
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
[[simple:Archbishop of Canterbury]]
[[simple:Archbishop of Canterbury]]
[[sk:Arcibiskup canterburský]]
[[sk:Arcibiskup canterburský]]
[[sr:Надбискуп кентерберијски]]
[[sv:Ärkebiskop av Canterbury]]
[[sv:Ärkebiskop av Canterbury]]
[[uk:Архієпископ Кентерберійський]]
[[uk:Архієпископ Кентерберійський]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:10, 3 เมษายน 2554

โรวัน วิลเลียมส อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีองค์ปัจจุบัน

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี[1] (อังกฤษ: Archbishop of Canterbury) เป็นประมุขของบิชอปและผู้นำหลักของคริสตจักรแห่งอังกฤษ, เป็นประมุขเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียน (Anglican Communion) และบิชอปประจำมุขมณฑลแคนเทอร์เบอรี (Diocese of Canterbury)

อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีองค์ปัจจุบันคือโรวัน วิลเลียมส (Rowan Williams) ผู้เป็นอาร์ชบิชอปองค์ที่ 104 ในที่สืบกันมากว่า 1400 ปีตั้งแต่อาร์ชบิชอปออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีผู้ก่อตั้งมุขมณฑลแคนเทอร์เบอรีที่เป็นมุขมณฑลที่เก่าที่สุดในอังกฤษ ในปีค.ศ. 597

ตั้งแต่สมัยของนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีขึ้นตรงต่อมุขมณฑลแห่งโรม (See of Rome) ระหว่างการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษคริสตจักรอังกฤษก็แยกตัวจากอำนาจการปกครองของพระสันตะปาปาและคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อเริ่มแรกเป็นการชั่วคราวแต่ต่อมาก็เป็นการถาวร ตั้งแต่นั้นมาระบบฐานันดรต่างๆ ก็แยกตัวจากระบบของโรมันคาทอลิกมาเป็นระบบอิสระของตนเอง

ในยุคกลางการเสนอชื่อและแต่งตั้งอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีและบิชอปอื่นๆ ก็มีด้วยกันหลายวิธี บางครั้งก็เลือกโดยแคนนอนของมหาวิหารแคนเตอร์บรี บางครั้งก็โดยพระมหากษัตริย์ หรือบางครั้งก็โดยพระสันตะปาปา แต่ตั้งแต่การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษแล้วคริสตจักรแห่งอังกฤษก็เป็นคริสตจักรประจำชาติ (state church) และอำนาจการเลือกก็เป็นของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบันการแต่งตั้งเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีผู้ทำหน้าที่แทนพระองค์ที่มาจากรายนามสองนามที่เสนอโดย “คณะกรรมมาธิการส่วนพระมหากษัตริย์ในการเสนอชื่อ” (Crown Nominations Commission)


อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 43

ดูเพิ่ม