ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาวะเงินเฟ้อ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
The Mark-7032 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
Txp158 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9662098 สร้างโดย The Mark-7032 (พูดคุย) ไม้ยมก (ๆ) ให้เว้นวรรคหน้าและหลังไม้ยมกเสมอ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2:%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99#%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81_(%E0%B9%86)
ป้ายระบุ: ทำกลับ ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
== ภาวะเงินเฟ้อในประวัติศาสตร์ ==
== ภาวะเงินเฟ้อในประวัติศาสตร์ ==
[[ไฟล์:US Historical Inflation Ancient.svg|thumb|upright=1.55|อัตราเงินเฟ้อประจำปีของอเมริกาตั้งแต่ปีค.ศ. 1666 ถึง 2019]]
[[ไฟล์:US Historical Inflation Ancient.svg|thumb|upright=1.55|อัตราเงินเฟ้อประจำปีของอเมริกาตั้งแต่ปีค.ศ. 1666 ถึง 2019]]
การเพิ่มขึ้นของปริมาณ[[เงิน]]ที่หมุนเวียนในระบบเกิดขึ้นในสังคมทุกยุคทุกสมัย จะแตกต่างก็เพียงชนิดของเงินที่ใช้ (เช่นธนบัตร เปลือกหอย หรือ อัญมณี) <ref>{{Cite news | last = Dobson | first = Roger | title = How Alexander caused a great Babylon inflation | newspaper = [[The Independent]] | date = January 27, 2002 | url = http://www.independent.co.uk/news/world/europe/how-alexander-caused-a-great-babylon-inflation-671072.html | archiveurl = https://www.webcitation.org/5ovyhfeCD?url=http://www.independent.co.uk/news/world/europe/how-alexander-caused-a-great-babylon-inflation-671072.html | archivedate = 2010-04-12 | accessdate = April 12, 2010 | ref = harv | postscript = <!--None--> | url-status = dead }}</ref><ref>{{Cite journal | last = Harl | first = Kenneth W. | author-link = Kenneth W. Harl | title = Coinage in the Roman Economy, 300 B.C. to A.D. 700 | place = [[Baltimore]] | publisher = [[The Johns Hopkins University Press]] | date = June 19, 1996 | isbn = 0-8018-5291-9 | ref = harv | postscript = <!--None-->}}</ref> ยกตัวอย่างสมัยที่ยังมีการใช้เหรียญทองคำแทนเงิน รัฐบาลสามารถนำเหรียญทองมาเจือจางด้วยโลหะอื่น ๆ เช่น เงิน ทองแดง หรือ ตะกั่ว แล้วนำกลับไปใช้ในระบบที่มูลค่าหน้าเหรียญเท่าเดิม การเพิ่มเหรียญให้มากขึ้นโดยใช้ปริมาณทองคำเท่าเดิมถือเป็นการทำกำไรซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า [[:en:seigniorage|การออกหนี้ (หรือเงิน) โดยไม่มีต้นทุน (หรือลดต้นทุน)]]<ref>{{cite web|url=http://www.mint.ca/royalcanadianmintpublic/RcmImageLibrary.aspx?filename=RCM_AR06_E.pdf |title=Annual Report (2006), Royal Canadian Mint, p. 4 |publisher=Mint.ca |accessdate=May 21, 2011}}</ref> เมื่อปริมาณเหรียญในระบบเพิ่มขึ้นมูลค่าที่แท้จริงของเหรียญแต่ละเหรียญจึงลดลง ผู้บริโภคจึงต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการในปริมาณเท่าเดิม<ref>Frank Shostak, "[https://mises.org/story/3018 Commodity Prices and Inflation: What's the connection", Mises Institute]</ref>
การเพิ่มขึ้นของปริมาณ[[เงิน]]ที่หมุนเวียนในระบบเกิดขึ้นในสังคมทุกยุคทุกสมัย จะแตกต่างก็เพียงชนิดของเงินที่ใช้ (เช่นธนบัตร เปลือกหอย หรือ อัญมณี) <ref>{{Cite news | last = Dobson | first = Roger | title = How Alexander caused a great Babylon inflation | newspaper = [[The Independent]] | date = January 27, 2002 | url = http://www.independent.co.uk/news/world/europe/how-alexander-caused-a-great-babylon-inflation-671072.html | archiveurl = https://www.webcitation.org/5ovyhfeCD?url=http://www.independent.co.uk/news/world/europe/how-alexander-caused-a-great-babylon-inflation-671072.html | archivedate = 2010-04-12 | accessdate = April 12, 2010 | ref = harv | postscript = <!--None--> | url-status = dead }}</ref><ref>{{Cite journal | last = Harl | first = Kenneth W. | author-link = Kenneth W. Harl | title = Coinage in the Roman Economy, 300 B.C. to A.D. 700 | place = [[Baltimore]] | publisher = [[The Johns Hopkins University Press]] | date = June 19, 1996 | isbn = 0-8018-5291-9 | ref = harv | postscript = <!--None-->}}</ref> ยกตัวอย่างสมัยที่ยังมีการใช้เหรียญทองคำแทนเงิน รัฐบาลสามารถนำเหรียญทองมาเจือจางด้วยโลหะอื่นๆเช่น เงิน ทองแดง หรือ ตะกั่ว แล้วนำกลับไปใช้ในระบบที่มูลค่าหน้าเหรียญเท่าเดิม การเพิ่มเหรียญให้มากขึ้นโดยใช้ปริมาณทองคำเท่าเดิมถือเป็นการทำกำไรซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า [[:en:seigniorage|การออกหนี้ (หรือเงิน) โดยไม่มีต้นทุน (หรือลดต้นทุน)]]<ref>{{cite web|url=http://www.mint.ca/royalcanadianmintpublic/RcmImageLibrary.aspx?filename=RCM_AR06_E.pdf |title=Annual Report (2006), Royal Canadian Mint, p. 4 |publisher=Mint.ca |accessdate=May 21, 2011}}</ref> เมื่อปริมาณเหรียญในระบบเพิ่มขึ้นมูลค่าที่แท้จริงของเหรียญแต่ละเหรียญจึงลดลง ผู้บริโภคจึงต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการในปริมาณเท่าเดิม<ref>Frank Shostak, "[https://mises.org/story/3018 Commodity Prices and Inflation: What's the connection", Mises Institute]</ref>


[[ราชวงศ์ซ่ง]]ของจีนเป็นผู้ริเริ่มการตีพิมพ์เงินกระดาษหรือ[[ธนบัตร]]และถือเป็น[[:en:fiat money|เงินตราที่บังคับให้ประชาชนใช้โดยที่รัฐบาลไม่ต้องถือทุนสำรอง]]ครั้งแรกของโลก<ref name="Glahn">{{cite book|author=Richard von Glahn|title=Fountain of Fortune: Money and Monetary Policy in China, 1000–1700|accessdate=28 September 2012|date=27 December 1996|publisher=University of California Press|isbn=978-0-520-20408-9|page=48}}</ref> ในช่วง[[ราชวงศ์หยวน]]ของมองโกลรัฐบาลใช้เงินอย่างมากมายไปกับการศึกสงคราม จึงจัดให้มีการพิมพ์ธนบัตรอย่างมากมายและทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ<ref name="Ropp2010">{{cite book|author=Paul S. Ropp|title=China in World History|accessdate=28 September 2012|date=9 July 2010|publisher=Oxford University Press|isbn=978-0-19-517073-3|pages=82}}</ref> ปัญหาเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดผู้คนหยุดใช้ธนบัตรเนื่องจากเห็นว่าเป็นเพียง "กระดาษไร้ค่า"<ref name="Bernholz">{{cite book|author=Peter Bernholz|title=Monetary Regimes and Inflation: History, Economic and Political Relationships|accessdate=28 September 2012|year=2003|publisher=Edward Elgar Publishing|isbn=978-1-84376-155-6|pages=53–55}}</ref> รัฐบาลในสมัยราชวงศ์หมิงตอนต้นเกรงกลัวต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับราชวงศ์หยวน จึงอนุญาตให้ใช้เงินที่ทำจากเหรียญทองแดงเท่านั้นและไม่มีออกเงินกระดาษจนกระทั่งปีค.ศ. 1375<ref name="Bernholz"/>
[[ราชวงศ์ซ่ง]]ของจีนเป็นผู้ริเริ่มการตีพิมพ์เงินกระดาษหรือ[[ธนบัตร]]และถือเป็น[[:en:fiat money|เงินตราที่บังคับให้ประชาชนใช้โดยที่รัฐบาลไม่ต้องถือทุนสำรอง]]ครั้งแรกของโลก<ref name="Glahn">{{cite book|author=Richard von Glahn|title=Fountain of Fortune: Money and Monetary Policy in China, 1000–1700|accessdate=28 September 2012|date=27 December 1996|publisher=University of California Press|isbn=978-0-520-20408-9|page=48}}</ref> ในช่วง[[ราชวงศ์หยวน]]ของมองโกลรัฐบาลใช้เงินอย่างมากมายไปกับการศึกสงคราม จึงจัดให้มีการพิมพ์ธนบัตรอย่างมากมายและทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ<ref name="Ropp2010">{{cite book|author=Paul S. Ropp|title=China in World History|accessdate=28 September 2012|date=9 July 2010|publisher=Oxford University Press|isbn=978-0-19-517073-3|pages=82}}</ref> ปัญหาเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดผู้คนหยุดใช้ธนบัตรเนื่องจากเห็นว่าเป็นเพียง "กระดาษไร้ค่า"<ref name="Bernholz">{{cite book|author=Peter Bernholz|title=Monetary Regimes and Inflation: History, Economic and Political Relationships|accessdate=28 September 2012|year=2003|publisher=Edward Elgar Publishing|isbn=978-1-84376-155-6|pages=53–55}}</ref> รัฐบาลในสมัยราชวงศ์หมิงตอนต้นเกรงกลัวต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับราชวงศ์หยวน จึงอนุญาตให้ใช้เงินที่ทำจากเหรียญทองแดงเท่านั้นและไม่มีออกเงินกระดาษจนกระทั่งปีค.ศ. 1375<ref name="Bernholz"/>


หลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการนำทองหรือแร่เงินเข้าสู่ระบบมากขึ้นเรื่อย ๆ สามารถทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 15 จนถึงครึ่งแรกของศควรรษที่ 17 ประเทศยุโรปตะวันตกได้เผชิญกับวงจรเงินเฟ้อครั้งสำคัญซึ่งเรียกว่า [[:en:price revolution|การปฏิวัติทางราคา]]<ref>[[Earl J. Hamilton]], ''American Treasure and the Price Revolution in Spain, 1501–1650'' Harvard Economic Studies, 43 (Cambridge, Massachusetts: [[Harvard University Press]], 1934)</ref><ref>{{Cite web |url=http://www.chass.utoronto.ca/ecipa/archive/UT-ECIPA-MUNRO-99-02.pdf |title=John Munro: ''The Monetary Origins of the 'Price Revolution':South Germany Silver Mining, Merchant Banking, and Venetian Commerce, 1470–1540'', Toronto 2003 |access-date=2015-10-30 |archive-date=2009-03-06 |archive-url=https://web.archive.org/web/20090306002320/http://www.chass.utoronto.ca/ecipa/archive/UT-ECIPA-MUNRO-99-02.pdf |url-status=dead }}</ref> โดยที่สินค้ามีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณหกเท่าภายในเวลา 150 ปี สาเหตุหลักมาจากการหลั่งไหลของแร่เงินและทองจาก[[โลกใหม่]]เข้าสู่สเปนในสมัยราชวงศ์ฮับส์บูร์กอย่างรวดเร็ว<ref>{{cite book |author=Walton, Timothy R. |title=The Spanish Treasure Fleets |publisher=Pineapple Press (FL) |year= 1994|page=85 |isbn=1-56164-049-2 |oclc= }}</ref> แร่เงินได้กระจายเข้าสู่ยุโรปซึ่งขาดแคลนตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างกว้างขวาง<ref>[https://ideas.repec.org/p/bsl/wpaper/2007-12.html The Price Revolution in Europe: Empirical Results from a Structural Vectorautoregression Model. Peter Kugler and Peter Bernholz, University of Basel, 2007] (Demonstrates that it was the increased supply of precious metals that caused it and notes the obvious logical flaws in the contrary arguments that have become fashionable in recent decades)</ref><ref>{{cite book |author=Tracy, James D. |title=Handbook of European History 1400–1600: Late Middle Ages, Renaissance, and Reformation |publisher=Brill Academic Publishers |location=Boston |year= 1994|page=655 |isbn=90-04-09762-7 |oclc= }}</ref> ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของประชากรในยุโรปหลัง[[แบล็กเดท|การระบาดครั้งใหญของโรคกาฬโรค]]ถือเป็นส่วนเสริมให้มีการขยับขึ้นของราคาสินค้าเช่นเดียวกัน
หลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการนำทองหรือแร่เงินเข้าสู่ระบบมากขึ้นเรื่อยๆสามารถทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 15 จนถึงครึ่งแรกของศควรรษที่ 17 ประเทศยุโรปตะวันตกได้เผชิญกับวงจรเงินเฟ้อครั้งสำคัญซึ่งเรียกว่า [[:en:price revolution|การปฏิวัติทางราคา]]<ref>[[Earl J. Hamilton]], ''American Treasure and the Price Revolution in Spain, 1501–1650'' Harvard Economic Studies, 43 (Cambridge, Massachusetts: [[Harvard University Press]], 1934)</ref><ref>{{Cite web |url=http://www.chass.utoronto.ca/ecipa/archive/UT-ECIPA-MUNRO-99-02.pdf |title=John Munro: ''The Monetary Origins of the 'Price Revolution':South Germany Silver Mining, Merchant Banking, and Venetian Commerce, 1470–1540'', Toronto 2003 |access-date=2015-10-30 |archive-date=2009-03-06 |archive-url=https://web.archive.org/web/20090306002320/http://www.chass.utoronto.ca/ecipa/archive/UT-ECIPA-MUNRO-99-02.pdf |url-status=dead }}</ref> โดยที่สินค้ามีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณหกเท่าภายในเวลา 150 ปี สาเหตุหลักมาจากการหลั่งไหลของแร่เงินและทองจาก[[โลกใหม่]]เข้าสู่สเปนในสมัยราชวงศ์ฮับส์บูร์กอย่างรวดเร็ว<ref>{{cite book |author=Walton, Timothy R. |title=The Spanish Treasure Fleets |publisher=Pineapple Press (FL) |year= 1994|page=85 |isbn=1-56164-049-2 |oclc= }}</ref> แร่เงินได้กระจายเข้าสู่ยุโรปซึ่งขาดแคลนตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างกว้างขวาง<ref>[https://ideas.repec.org/p/bsl/wpaper/2007-12.html The Price Revolution in Europe: Empirical Results from a Structural Vectorautoregression Model. Peter Kugler and Peter Bernholz, University of Basel, 2007] (Demonstrates that it was the increased supply of precious metals that caused it and notes the obvious logical flaws in the contrary arguments that have become fashionable in recent decades)</ref><ref>{{cite book |author=Tracy, James D. |title=Handbook of European History 1400–1600: Late Middle Ages, Renaissance, and Reformation |publisher=Brill Academic Publishers |location=Boston |year= 1994|page=655 |isbn=90-04-09762-7 |oclc= }}</ref> ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของประชากรในยุโรปหลัง[[แบล็กเดท|การระบาดครั้งใหญของโรคกาฬโรค]]ถือเป็นส่วนเสริมให้มีการขยับขึ้นของราคาสินค้าเช่นเดียวกัน


ในช่วงศตวรรษที่ 19 นักเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าการขึ้นลงของราคาสินค้ามีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพื้นฐานหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า (2) การเปลี่ยนแปลงราคาของ[[:en:commodity|สินค้าโภคภัณฑ์]]ซึ่งก็คือแร่โลหะที่เกี่ยวข้องกับ[[เงินตรา|สกุลเงิน]]นั้น ๆ เช่น ทองคำ หรือ เงิน และ (3) "การลดค่าของสกุลเงิน" ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของปริมาณเงินตรากับปริมาณของโลหะสำรองที่เงินตรานั้น ๆ สามารถนำไปแลกได้ หลังจากมีการใช้[[บัตรธนาคาร]] (ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์) อย่างแพร่หลายในช่วง[[สงครามกลางเมืองอเมริกา]] คำว่า "ภาวะเงินเฟ้อ" จึงเริ่มมีความหมายตรงกับการลดค่าของสกุลเงิน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของบัตรธนาคารได้แซงปริมาณของโลหะที่บัตรธนาคารนั้น ๆ สามารถทำไปแลกได้ ในสมัยนั้น "ภาวะเงินเฟ้อ" จึงหมายถึงการลดค่าของสกุลเงินแทนที่จะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า<ref name="Bryan">Michael F. Bryan, "[http://www.clevelandfed.org/research/Commentary/1997/1015.pdf On the Origin and Evolution of the Word 'Inflation'] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20080819185226/http://www.clevelandfed.org/research/Commentary/1997/1015.pdf |date=2008-08-19 }}"</ref>
ในช่วงศตวรรษที่ 19 นักเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าการขึ้นลงของราคาสินค้ามีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพื้นฐานหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า (2) การเปลี่ยนแปลงราคาของ[[:en:commodity|สินค้าโภคภัณฑ์]]ซึ่งก็คือแร่โลหะที่เกี่ยวข้องกับ[[เงินตรา|สกุลเงิน]]นั้นๆเช่น ทองคำ หรือ เงิน และ (3) "การลดค่าของสกุลเงิน" ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของปริมาณเงินตรากับปริมาณของโลหะสำรองที่เงินตรานั้นๆสามารถนำไปแลกได้ หลังจากมีการใช้[[บัตรธนาคาร]] (ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์) อย่างแพร่หลายในช่วง[[สงครามกลางเมืองอเมริกา]] คำว่า "ภาวะเงินเฟ้อ" จึงเริ่มมีความหมายตรงกับการลดค่าของสกุลเงิน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของบัตรธนาคารได้แซงปริมาณของโลหะที่บัตรธนาคารนั้นๆสามารถทำไปแลกได้ ในสมัยนั้น "ภาวะเงินเฟ้อ" จึงหมายถึงการลดค่าของสกุลเงินแทนที่จะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า<ref name="Bryan">Michael F. Bryan, "[http://www.clevelandfed.org/research/Commentary/1997/1015.pdf On the Origin and Evolution of the Word 'Inflation'] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20080819185226/http://www.clevelandfed.org/research/Commentary/1997/1015.pdf |date=2008-08-19 }}"</ref>


นักเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิคเช่น [[เดวิด ฮูม]] และ [[:en:David Ricardo|เดวิด ริคาร์โด]] ชี้ให้สังคมเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่มากเกินไปของบัตรธนาคารและการลดค่าของตัวบัตร และภายหลังได้ทำการตรวจสอบและอภิปรายผลกระทบของ[[:en:Monetary inflation|การลดค่าของสกุลเงิน]]ที่มีต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า<ref>Mark Blaug, "[https://books.google.com/books?id=4nd6alor2goC&pg=PA127&lpg=PA127&dq=bullionist+inflation&source=web&ots=mG3_PT_O6q&sig=ViD-klPJPpaZxCBjdcPKh9zlwyU&hl=en&sa=X&oi=book_result&resnum=5&ct=result#PPA128,M1 Economic Theory in Retrospect]", pg. 129: "...this was the cause of inflation, or, to use the language of the day, 'the depreciation of banknotes.'"</ref>
นักเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิคเช่น [[เดวิด ฮูม]] และ [[:en:David Ricardo|เดวิด ริคาร์โด]] ชี้ให้สังคมเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่มากเกินไปของบัตรธนาคารและการลดค่าของตัวบัตร และภายหลังได้ทำการตรวจสอบและอภิปรายผลกระทบของ[[:en:Monetary inflation|การลดค่าของสกุลเงิน]]ที่มีต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า<ref>Mark Blaug, "[https://books.google.com/books?id=4nd6alor2goC&pg=PA127&lpg=PA127&dq=bullionist+inflation&source=web&ots=mG3_PT_O6q&sig=ViD-klPJPpaZxCBjdcPKh9zlwyU&hl=en&sa=X&oi=book_result&resnum=5&ct=result#PPA128,M1 Economic Theory in Retrospect]", pg. 129: "...this was the cause of inflation, or, to use the language of the day, 'the depreciation of banknotes.'"</ref>


ในช่วงศตวรรษที่ 18 หลายประเทศนำระบบเงินกระดาษที่รัฐบาลไม่ต้องถือทุนสำรองมาใช้ จึงทำให้เกิดสกุลเงินต่าง ๆ ขึ้นมากมาย นับตั้งแต่สมัยนั้นการเพิ่มขึ้นของการใช้เงินกระดาษส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดหลายครั้งในหลายประเทศ และในแต่ละครั้งมีความรุนแรงมากกว่าในสมัยที่ยังใช้เงินที่ทำจากแร่โลหะ [[:en:Hyperinflation in the Weimar Republic|ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในสาธารณรัฐไวมาร์]]ของเยอรมนีเป็นถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ
ในช่วงศตวรรษที่ 18 หลายประเทศนำระบบเงินกระดาษที่รัฐบาลไม่ต้องถือทุนสำรองมาใช้ จึงทำให้เกิดสกุลเงินต่างๆขึ้นมากมาย นับตั้งแต่สมัยนั้นการเพิ่มขึ้นของการใช้เงินกระดาษส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดหลายครั้งในหลายประเทศ และในแต่ละครั้งมีความรุนแรงมากกว่าในสมัยที่ยังใช้เงินที่ทำจากแร่โลหะ [[:en:Hyperinflation in the Weimar Republic|ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในสาธารณรัฐไวมาร์]]ของเยอรมนีเป็นถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ


== คำจำกัดความที่เกี่ยวข้อง ==
== คำจำกัดความที่เกี่ยวข้อง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:10, 2 ธันวาคม 2564

อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกในปี 2019

ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาสินค้าหรือบริการในระยะเวลาหนึ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง[1]

เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น เงินตราหนึ่งหน่วยจึงสามารถซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง ดังนั้นจึงอาจมองได้ว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นการสะท้อนถึงอำนาจการซื้อที่ลดลงต่อหนึ่งหน่วยเงินตรา หรือปริมาณการสูญเสียมูลค่าที่แท้จริงของตัวกลางที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าในเศรษฐกิจ[2][3] วิธีวัดค่าความเฟ้อของราคาสินค้าทำโดยการหาอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะคำนวณจากการเปลี่ยนแปลงประจำปีของดรรชนีราคาโดยมีหน่วยเป็นอัตราร้อยละ[4] เงินเฟ้อเป็นภาวะตรงข้ามกับภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินเฟ้อมีผลต่อเศรษฐกิจทั้งบวกและลบ ผลเสียที่เกี่ยวข้องกับภาวะเงินเฟ้อรวมถึงการเพิ่มของต้นทุนค่าเสียโอกาสในการไม่ใช้เงินและการทำให้ผู้บริโภคกักตุนสินค้าเนื่องจากประเมินว่าราคาจะเพิ่มขึ้นในอนาคต (หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มอย่างรวดเร็ว)

ผลเชิงบวกของอัตราเงินเฟ้อมีดังนี้:

  • โดยหลักการภาวะเงินเฟ้อช่วยสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนใช้จ่ายและลงทุนเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อทำให้เงินที่เก็บไว้มีมูลค่าน้อยลงเรื่อย ๆ การเพิ่มการใช้จ่ายและลงทุนถือเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจแต่ในขณะเดียวกันการกระตุ้นในลักษณะนี้อาจส่งผลให้ทรัพยากรไม่ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • ภาวะเงินเฟ้อช่วยลดภาระหนี้ที่แท้จริงของทั้งภาครัฐและเอกชน ตัวอย่างเช่นการทำสัญญาเงินกู้ซึ่งมีอัตราเบี้ยคงที่ ภาวะเงินเฟ้อทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นในขณะที่รายจ่ายต่อเดือนเพื่อใช้หนี้ยังคงเดิม ดังนั้นลูกหนี้จึงมีเงินเหลือต่อเดือนมากขึ้นว่าเดิม
  • ภาวะเงินเฟ้อช่วยรักษาอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางให้มากกว่าศูนย์ ดังนั้นธนาคารกลางจึงสามารถลดอัตราดอกเบี้ยเวลาจำเป็นเพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ[5]
  • อัตราเงินเฟ้อช่วยลดอัตราการว่างงานในกรณีที่การว่างงานมีสาเหตุมาจากความหนืดของอัตราค่าจ้าง ยกตัวอย่างเช่น หลายครั้งในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยอุปสงค์การจ้างแรงงานจะลดลงแต่ค่าจ้างที่เป็นตัวเงินยังเท่าเดิม เหตุการณ์นี้ทำให้อุปสงค์และอุปทานไม่สามารถเข้าถึงจุดสมดุลได้ (เนื่องผู้จ้างไม่ต้องการแรงงานแต่จำนวนของผู้ต้องการงานมีเท่าเดิมเพราะเงินเดือนเท่าเดิม) ผลจึงทำให้เกิดการว่างงาน การลดมูลค่าที่แท้จริงของค่าจ้างซึ่งเกิดจากภาวะเงินเฟ้อทำให้ผู้จ้างสามารถจ้างคนงานเพิ่มได้ดังนั้นจึงถือเป็นการลดอัตราการว่างงาน

นักเศรษฐศาสตร์โดยทั่วไปเชื่อว่าภาวะเงินเฟ้อที่มีอัตราสูงและภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดเกิดจากการขยายตัวของปริมาณเงินที่มากเกินไป[6] อย่างไรก็ดีการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินไม่จำเป็นต้องทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเสมอไป เช่น ในกรณีกับดักสภาพคล่องที่การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยธนาคารกลางไม่ทำให้เกิดการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์เนื่องจากมีความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เช่น ภาวะเงินฝืด อุปสงค์มวลรวมที่ไม่เพียงพอหรือสงคราม คนจึงเก็บเงินไม่ใช้จ่ายหรือกู้เพื่อลงทุน[7][8] มุมมองว่าปัจจัยใดทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อต่ำถึงปานกลางยังแตกต่างกันอยู่มาก ภาวะเงินเฟ้อต่ำจนถึงปานกลางอาจเกิดจากความผันผวนของอุปสงค์ที่แท้จริงในตัวสินค้าและบริการ หรืออาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าเช่นการแคลนสินค้า[9] อย่างไรก็ตามฉันทามติของการเกิดภาวะเงินเฟ้อในระยะยาวเกิดจากการขยายตัวของปริมาณเงินที่เร็วกว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ[10][11]

ในปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นชอบกับการมีอัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำและคงที่[12] อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ (แทนที่จะเป็นศูนย์หรือติดลบ) จะช่วยลดความรุนแรงของภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจด้วยการช่วยให้ตลาดแรงงานสามารถปรับตัวได้เร็วขึ้น (จากการลดมูลค่าที่แท้จริงของค่าจ้าง) และลดความเสี่ยงของการเกิดกับดักสภาพคล่องซึ่งทำให้นโยบายการเงินไม่สามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้[13] ธนาคารกลางมีหน้าที่รักษาอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำและมีเสถียรภาพโดยผ่านนโยบายการเงิน ไม่ว่าจะด้วยการตั้งค่าของอัตราดอกเบี้ย การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดเปิด หรือการตั้งค่าเงินสำรองขั้นต่ำที่ธนาคารพาณิชย์พึงมี[14]

ภาวะเงินเฟ้อในประวัติศาสตร์

อัตราเงินเฟ้อประจำปีของอเมริกาตั้งแต่ปีค.ศ. 1666 ถึง 2019

การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเกิดขึ้นในสังคมทุกยุคทุกสมัย จะแตกต่างก็เพียงชนิดของเงินที่ใช้ (เช่นธนบัตร เปลือกหอย หรือ อัญมณี) [15][16] ยกตัวอย่างสมัยที่ยังมีการใช้เหรียญทองคำแทนเงิน รัฐบาลสามารถนำเหรียญทองมาเจือจางด้วยโลหะอื่นๆเช่น เงิน ทองแดง หรือ ตะกั่ว แล้วนำกลับไปใช้ในระบบที่มูลค่าหน้าเหรียญเท่าเดิม การเพิ่มเหรียญให้มากขึ้นโดยใช้ปริมาณทองคำเท่าเดิมถือเป็นการทำกำไรซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า การออกหนี้ (หรือเงิน) โดยไม่มีต้นทุน (หรือลดต้นทุน)[17] เมื่อปริมาณเหรียญในระบบเพิ่มขึ้นมูลค่าที่แท้จริงของเหรียญแต่ละเหรียญจึงลดลง ผู้บริโภคจึงต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการในปริมาณเท่าเดิม[18]

ราชวงศ์ซ่งของจีนเป็นผู้ริเริ่มการตีพิมพ์เงินกระดาษหรือธนบัตรและถือเป็นเงินตราที่บังคับให้ประชาชนใช้โดยที่รัฐบาลไม่ต้องถือทุนสำรองครั้งแรกของโลก[19] ในช่วงราชวงศ์หยวนของมองโกลรัฐบาลใช้เงินอย่างมากมายไปกับการศึกสงคราม จึงจัดให้มีการพิมพ์ธนบัตรอย่างมากมายและทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ[20] ปัญหาเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดผู้คนหยุดใช้ธนบัตรเนื่องจากเห็นว่าเป็นเพียง "กระดาษไร้ค่า"[21] รัฐบาลในสมัยราชวงศ์หมิงตอนต้นเกรงกลัวต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับราชวงศ์หยวน จึงอนุญาตให้ใช้เงินที่ทำจากเหรียญทองแดงเท่านั้นและไม่มีออกเงินกระดาษจนกระทั่งปีค.ศ. 1375[21]

หลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการนำทองหรือแร่เงินเข้าสู่ระบบมากขึ้นเรื่อยๆสามารถทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 15 จนถึงครึ่งแรกของศควรรษที่ 17 ประเทศยุโรปตะวันตกได้เผชิญกับวงจรเงินเฟ้อครั้งสำคัญซึ่งเรียกว่า การปฏิวัติทางราคา[22][23] โดยที่สินค้ามีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณหกเท่าภายในเวลา 150 ปี สาเหตุหลักมาจากการหลั่งไหลของแร่เงินและทองจากโลกใหม่เข้าสู่สเปนในสมัยราชวงศ์ฮับส์บูร์กอย่างรวดเร็ว[24] แร่เงินได้กระจายเข้าสู่ยุโรปซึ่งขาดแคลนตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างกว้างขวาง[25][26] ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของประชากรในยุโรปหลังการระบาดครั้งใหญของโรคกาฬโรคถือเป็นส่วนเสริมให้มีการขยับขึ้นของราคาสินค้าเช่นเดียวกัน

ในช่วงศตวรรษที่ 19 นักเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าการขึ้นลงของราคาสินค้ามีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพื้นฐานหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า (2) การเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งก็คือแร่โลหะที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินนั้นๆเช่น ทองคำ หรือ เงิน และ (3) "การลดค่าของสกุลเงิน" ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของปริมาณเงินตรากับปริมาณของโลหะสำรองที่เงินตรานั้นๆสามารถนำไปแลกได้ หลังจากมีการใช้บัตรธนาคาร (ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์) อย่างแพร่หลายในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา คำว่า "ภาวะเงินเฟ้อ" จึงเริ่มมีความหมายตรงกับการลดค่าของสกุลเงิน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของบัตรธนาคารได้แซงปริมาณของโลหะที่บัตรธนาคารนั้นๆสามารถทำไปแลกได้ ในสมัยนั้น "ภาวะเงินเฟ้อ" จึงหมายถึงการลดค่าของสกุลเงินแทนที่จะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า[27]

นักเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิคเช่น เดวิด ฮูม และ เดวิด ริคาร์โด ชี้ให้สังคมเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่มากเกินไปของบัตรธนาคารและการลดค่าของตัวบัตร และภายหลังได้ทำการตรวจสอบและอภิปรายผลกระทบของการลดค่าของสกุลเงินที่มีต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า[28]

ในช่วงศตวรรษที่ 18 หลายประเทศนำระบบเงินกระดาษที่รัฐบาลไม่ต้องถือทุนสำรองมาใช้ จึงทำให้เกิดสกุลเงินต่างๆขึ้นมากมาย นับตั้งแต่สมัยนั้นการเพิ่มขึ้นของการใช้เงินกระดาษส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดหลายครั้งในหลายประเทศ และในแต่ละครั้งมีความรุนแรงมากกว่าในสมัยที่ยังใช้เงินที่ทำจากแร่โลหะ ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในสาธารณรัฐไวมาร์ของเยอรมนีเป็นถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ

คำจำกัดความที่เกี่ยวข้อง

ในอดีตคำว่า "ภาวะเงินเฟ้อ" มักถูกใช้เพื่ออ้างถึงการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินที่ไหลเวียนในระบบ[29] แต่ในปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้คำว่า "ภาวะเงินเฟ้อ" เพื่อกล่าวถึงการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้า โดยใช้คำว่าความเฟ้อของตัวเงิน (monetary inflation) เพื่อเจาะจงเวลาต้องการสื่อถึงการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน และใช้ความเฟ้อของราคา (price inflation) เพื่อบอกถึงการเพิ่มของราคาสินค้า[30]

ตามหลักการ "ภาวะเงินเฟ้อ" หมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทั่วๆไป หากราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเฉพาะสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งตัวอย่างเช่น ถ้ามะเขือเทศแพงขึ้นในขณะที่แตงกวาถูกลงนั่นไม่ถือว่าเกิดจากภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินเฟ้อสามารถเห็นได้ง่ายหากสกุลเงินถูกผูกไว้กับทองคำ หากมีการค้นพบทองคำมากๆปริมาณทองคำจะสามารถแลกสินค้าได้น้อยลง ดังนั้นผู้ซื้อต้องนำทองคำหรือสกุลเงินซึ่งถูกผูกไว้กับทองคำนั้นๆในปริมาณมากกว่าเดิมไปแลกสินค้า[31]

คำศัพท์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอัตราเงินเฟ้อรวมถึง ภาวะเงินฝืด (การลดลงของราคาสินค้า), ภาวะเงินเฟ้อลด (การลดลงของอัตราเงินเฟ้อ), ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวด (ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเรื่อยๆอย่างไม่สามารถควบคุมได้), ภาวะชะงักงันที่มีเงินเฟ้อ (เหตุการณ์ที่มีภาวะอัตราเงินเฟ้อร่วมกับการชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจและการว่างงานสูง), การเพิ่มอัตราการหมุนเวียนเงินในประเทศ (ความพยายามที่จะยกระดับของราคาสินค้าเพื่อที่จะรับมือภาวะเงินฝืด) และ เงินเฟ้อในราคาสินทรัพย์ (การเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของราคาของสินค้าและบริการ)

การวัดอัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อสามารถคำนวณได้จากดรรชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเกิดจากการนำราคาสินค้าและการบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคซื้อหาเป็นประจำมาคำนวณ และ ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งนำเอาราคาสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตในประเทศมาคำนวณ

ในประเทศไทยสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่รับผิดชอบในการคำนวณและประกาศตัวเลขเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการ

สาระสำคัญในการประเมินอัตราเงินเฟ้อ

การวัดอัตราเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจนั้นจำต้องใช้การวัดอย่างเป็นรูปธรรมโดยจะดูจากการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินค้าและบริการทั่ว ๆไป และจำต้องแยกจากการเปลี่ยนแปลงของราคาซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ คุณภาพ หรือ ประสิทธิภาพของสินค้า ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาของข้าวโพดกระป๋องขนาด 10 ออนซ์ เปลี่ยนจากราคา 30 บาทเป็น 35 บาทในห้วงเวลาหนึ่งปีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในคุณภาพและปริมาณ ความแตกต่างของราคาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ถือเป็นตัวแทนของอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเพียงชนิดเดียวไม่สามารถเป็นตัวแทนของของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของระบบเศรษฐกิจทั้งระบบได้ การวัดอัตราเงินเฟ้อโดยรวมจะต้องดูจากการเปลี่ยนแปลงราคาของ "ตะกร้า" สินค้าและบริการในปริมาณมาก ๆ นี่คือวัตถุประสงค์ของการหาค่าดรรชนีราคาซึ่งก็คือ ราคารวมของสินค้าและการบริการทั้งหมดใน "ตะกร้า" โดยราคารวมหมายถึง ผลรวมของราคาถ่วงน้ำหนักของสินค้าทั้งหมดที่อยู่ใน "ตะกร้า" และราคาถ่วงน้ำหนักจะสามารถหาได้จากราคาต่อหน่วยของสินค้าคูณด้วยจำนวนสินค้าชนิดนั้น ๆ ในตะกร้าของผู้บริโภค การหาราคาถ่วงน้ำหนักเป็นวิธีที่จำเป็นในการวัดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าต่อหน่วยที่มีต่อผลอัตราเงินเฟ้อโดยรวมของระบบเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่นดรรชนีราคาผู้บริโภคจะคำนวณจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยการสำรวจตามบ้านเพื่อหาว่าผู้บริโภคทั่วไปใช้เงินซื้อสินค้าแต่ละชนิดเป็นสัดส่วนเท่าไร และทำการถ่วงน้ำหนักราคาสินค้าเหล่านั้นตามปริมาณของสินค้าที่ถูกซื้อ และเพื่อที่ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ให้ดีขึ้น การทำดัชนีมักจะเลือกราคาใน "ปีฐาน" และกำหนดค่าให้เท่ากับ 100 โดยดัชนีราคาในปีถัดมาจะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กับราคาในปีฐาน[14] ดังนั้นการเปรียบเทียบอัตราเงินเฟ้อในหลาย ๆ ช่วงเวลาจึงควรคำนึงถึงราคาในปีฐานซึ่งอาจไม่เท่ากันด้วย

สาเหตุ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางแล้วว่าทฤษฎีปริมาณเงินเป็นทฤษฎีที่สามารถใช้อธิบายและคาดการณ์รูปแบบของเงินเฟ้อในระยะยาวได้ดีสุด ดังนั้นข้อตกลงในหมู่นักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับเงินเฟ้อก็คือ อัตราเงินเฟ้อในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับอัตราการขยายตัวของปริมาณเงิน อย่างไรก็ตามสาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อในระยะสั้นและกลางอาจมาจากแรงกดดันอุปสงค์ (ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น) และอุปทาน (ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น) ในระบบเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของค่าจ้าง ราคาสินค้า และ อัตราดอกเบี้ย[32] คำถามสำคัญจึงอยู่ที่ว่าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในระยะสั้นและกลางจะมีผลกระทบมากหรือน้อยต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมหรือไม่อย่างไร นี่คือหัวข้อหลักของการโต้เถียงระหว่างนักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมและนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยม ราคาและค่าจ้างมักปรับตัวไปพร้อม ๆ กันพอที่จะทำให้ไม่เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจระยะยาว ในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ ราคาสินค้าและค่าจ้างปรับมักปรับตัวไปไม่พร้อมกันทำให้ความเกิดความแตกต่างที่ทำให้เกิดผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจในระยะยาว

มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยม

นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมใช้ทฤษฎีปริมาณเงินเพื่ออธิบายว่า ภาวะเงินเฟ้อจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ ถ้ามีการพิมพ์ธนบัตรหรือผลิตเหรียญเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ จะทำให้มูลค่าของเงินลดลง เนื่องจากมีปริมาณของเงินในมือของผู้บริโภคและผู้ผลิตเพิ่มขึ้น อำนาจการซื้อที่เพิ่มขึ้นจากการมีเงินเพิ่มขึ้น ผลักดันให้มีการแย่งชิงสินค้าและบริการซึ่งหากเศรษฐกิจเติบโตไม่ทันกับการขยายตัวของปริมาณเงิน ก็จะทำให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น หรือเกิดภาวะเงินเฟ้อตามมา[33] ด้วยเหตุผลนี้นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมจึงพิจารณาว่าการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าขึ้นของรัฐบาลไม่ว่าจะโดยการออกนโยบายการคลัง โดยลดภาษีหรือเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐถือเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้จริง[34]

นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมมักกล่าวว่าการศึกษาเชิงประจักษ์ของประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเงินได้แสดงให้เห็นแล้วว่าอัตราเงินเฟ้อเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณของเงินในระบบเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว[35] ดูสมการทฤษฎีปริมาณเงิน MV = PQ M แทนปริมาณเงิน V แทนการหมุนเวียนของเงินเป็นครั้ง P แทนราคาสินค้า Q แทนปริมาณสินค้า %ΔM+%ΔV = %ΔP+%ΔQ %ΔM แทนอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน %ΔV แทนอัตราการหมุนเวียนของเงิน %ΔP แทนอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า หรืออัตราเงินเฟ้อ %ΔQ แทนอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้า หรือ GDP ตัวอย่างเช่น นาย A ไปซื้อของ 1 ชิ้นก็จะเป็นรายได้ของพ่อค้าซึ่งพ่อค้าก็จะเอาธนบัตร 100 บาทของนาย A ไปซื้อของต่อ ตามตัวอย่างนี้ปริมาณเงินทั้งระบบมีเพียงธนบัตร 100 บาทใบเดียว (M = 100) แต่ใช้ 2 ครั้ง (V = 2) จะเท่ากับซื้อของได้ 2 ชิ้น (Q = 2) ชิ้นละ 100 บาท (P = 100) เนื่องจาก V หรือ การหมุนเวียนของเงินของทั้งระบบเป็นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมเชื่อว่ารัฐบาลควบคุมไม่ได้และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ดังนั้น %ΔV จึงใกล้เคียงหรือเท่ากับ 0 หากรัฐบาลผลิตเงินตราเข้าสู่ระบบมากเกินกว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้า (%ΔM มากกว่า %ΔQ) ก็จะเป็นแรงกดดันให้ราคาสินค้าเพิ่ม (%ΔP จะเป็นบวก) หรือทำให้เกิดเงินเฟ้อ ในทางกลับกันหากรัฐบาลนำเงินตราเข้าระบบน้อยเกินไป (%ΔM น้อยกว่า %ΔQ) เมื่อเทียบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ก็อาจส่งผลให้เกิดเงินฝืด (%ΔP เป็นลบ) [36]

มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเคนส์กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงปริมาณของเงินในระบบเศรษฐกิจจะไม่ส่งผลโดยตรงต่อราคาสินค้า ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากแรงกดดันในทางเศรษฐกิจ สาเหตุหรือแรงกดดันที่นำไปสู่การเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 3 สาเหตุหลัก ๆ ซึ่งโรเบิร์ต เจ กอร์ดอน เรียกว่า "Triangle Model" ได้แก่

  • เงินเฟ้อแบบบิลท์อิน (Built-in inflation) ซึ่งเกิดจากการปรับตัวที่เป็นผลมาจากการคาดการณ์ เช่นพนักงานในบริษัทเรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือน (ในอัตราที่สูงกว่าเงินเฟ้อ) บริษัทจึงปล่อยให้ต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นภาระของลูกค้า แล้วราคาสินค้าและค่าแรงก็ผลัดกันเป็นต้นเหตุและผลเกลียวแล้วเกลียวเล่า Price/Wage Spiral จนกลายเป็นวงจรอุบาทว์ (vicious circle) ทำให้ราคาสินค้าลอยขึ้นไปค้างเติ่งบนยอดดอย (hangover inflation) [37]
  • ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้น (Cost-push inflation) ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าขึ้น สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน การเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ การเพิ่มกำไรของผู้ประกอบการ การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้านำเข้า ซึ่งอาจเพิ่มไปตามภาวะ ตลาดโลก หรือผลของอัตราแลกเปลี่ยน[38]
  • ความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่มีอยู่ในขณะนั้น ๆ จึงดึงให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (Demand-pull inflation) หรือ มีแรงดึงทางด้านอุปสงค์ การเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงิน การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐบาล การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน[38]

การควบคุมภาวะเงินเฟ้อ

นโยบายการเงิน

รัฐบาลและธนาคารกลางส่วนใหญ่ใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสหรัฐสามารถเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ชะลอหรือหยุดการผลิตเงิน เพื่อให้เกิดการลดปริมาณของเงินในระบบ ธนาคารกลางบางแห่งมีเป้าหมายควบคุมเงินเฟ้อแบบสมมาตร (symmetrical inflation target) กล่าวคือควบคุมไม่ให้อัตราเงินเฟ้อต่ำหรือสูงเกินไป ในขณะที่ธนาคารกลางบางแห่งจะเพียงควบคุมอัตราเงินเฟ้อเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้

ธนาคารกลางส่วนใหญ่จะได้รับมอบหมายให้รักษาอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารภายในประเทศในระดับที่ต่ำ ซึ่งโดยปกติจะมีเป้าหมายคงอัตราดอกเบี้ยนี้ไว้ที่ประมาณ 2% ถึง 3% ซึ่งจะอยู่ในช่วงเป้าหมายประจำปีของอัตราเงินเฟ้อซึ่งมีค่าประมาณ 2% ถึง 6% ธนาคารกลางมักกำหนดเป้าหมายอัตราเงินให้เฟ้อต่ำ แต่ไม่เป็นลบเพราะผู้บริหารธนาคารกลางส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเงินฝืดนั้นเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ

การปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นสามารถทำให้ปริมาณของเงินในระบบลดลงได้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้คนขอสินเชื่อน้อยลง โดยปกติเงินใหม่ที่จะถูกสร้างขึ้นจะถูกนำไปใช้ในรูปแบบของสินเชื่อหรือการปล่อยเงินกู้จากธนาคาร หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือหากธนาคารต้องการจะปล่อยเงินกู้ ธนาคารจำต้องสร้างเงินใหม่เพื่อนำไปใช้ปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการปล่อยกู้เงิน เงินในระบบจึงมีปริมาณมากขึ้น และหากลูกหนี้จ่ายคืนเงินกู้ ธนาคารก็สามารถที่จะทำลายเงินนั้นทำให้ปริมาณเงินในระบบลดลง ยกตัวอย่างเช่นในต้นปี 1980 เมื่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 15 ปริมาณเงินของธนาคารกลางสหรัฐมีค่าลดลงถึงร้อยละ 8.1 จาก 8.6 ล้านล้าน เหลือเพียง 7.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

นักเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีสำนักการเงินนิยมจะเน้นอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องของเงินและการใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมเงินเฟ้อโดยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและชะลอการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์จะเน้นการลดอุปสงค์รวมในช่วงที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการสร้างอุปสงค์ขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพ การควบคุมของอุปสงค์รวมในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์สามารถทำได้โดยใช้นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง (เช่นการเก็บภาษีเพิ่มหรือลดการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อลดอุปสงค์รวม)

การตรึงอัตราแลกเปลี่ยน

ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน หมายถึงการผูกมูลค่าของสกุลเงินนั้น ๆ ให้เท่ากับมูลค่าของสกุลเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง (ที่มีความแข็งแกร่งเช่น เงินดอลล่าร์สหรัฐ) หรือสกุลเงินของหลาย ๆ ประเทศ การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนสามารถนำมาใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ แต่เนื่องจากมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิงมีการเพิ่มและลดลงตลอดเวลา ดังนั้นมูลค่าของเงินในประเทศที่อยู่ภายใต้ระบบการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามมูลค่าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ซึ่งหมายความว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศนั้น ๆ จะถูกกำหนดโดยอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงินที่นำมาอ้างอิง ดังนั้นการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนจึงทำให้รัฐบาลไม่สามารถใช้นโยบายการเงินของตัวเองในการที่จะบรรลุเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคได้

ภายใต้ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ ประเทศหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้ทำการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้กับดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีประโยชน์ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ แต่ข้อเสียคือทำให้ประเทศเหล่านั้นตกเป็นเป้าของการโจมตีค่าเงิน ดังนั้นภายหลังจากที่ข้อตกลงเบรตตันวูดส์มีอันเป็นที่สิ้นสุดลงในช่วงต้นปี ค.ศ. 1970 ประเทศต่าง ๆ จึงได้ทยอยหันไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อย่างไรก็ดีในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 มีหลายประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกาใต้เช่น อาร์เจนตินา (ค.ศ. 1991 - 2002), โบลิเวีย, บราซิลและชิลี) ได้หวนกลับไปใช้การตรึงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

ระบบมาตรฐานทองคำ

ระบบมาตรฐานทองคำเป็นระบบการเงินที่ประเทศต่าง ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยแต่ละประเทศจะต้องกำหนดความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างหน่วยเงินของประเทศของตัวเองกับทองคำ ในระบบนี้สกุลเงินของประเทศต่าง ๆ ไม่ถือว่ามีมูลค่าด้วยตัวของมันเอง แต่ผู้ค้ายอมรับตัวเงินเนื่องจากสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นทองคำได้ ตัวอย่างเช่น ธนบัตรดอลล่าร์สหรัฐในอดีตจะมีการประทับตรารับรองบนธนบัตรว่าสามารถนำไปแลกเป็นแร่เงินได้จากรัฐบาล

มาตรฐานทองคำได้ถูกเลิกใช้ไปบางส่วนภายหลังการนำข้อตกลงเบรตตันวูดส์มาใช้ ภายใต้ระบบนี้เงินสกุลใหญ่ทุกสกุลจะถูกตรึงให้มีอัตราคงที่กับเงินดอลลาร์ ในขณะที่เงินดอลลาร์จะถูกผูกติดอยู่กับทองคำในอัตรา 35 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์ ระบบเบรตตันวูดส์มีอันเป็นที่สิ้นสุดลงในปี 1971 ทำให้ประเทศส่วนใหญ่เปลี่ยนไปใช้ระบบเงินกระดาษที่รัฐบาลไม่ต้องถือเงินทุนสำรอง ซึ่งหมายถึงการที่เงินตรามีค่าตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศเป็นผู้กำหนด

ศาสตราจารย์ไวท์ (Lawrence H. White) และฮาเยค (F. A. Hayek) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ของระบบเศรษฐกิจได้กล่าวไว้ว่า หากระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับมาตรฐานทองคำโอกาสที่ประเทศจะพบอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 2 ต่อปีนั้นมีอยู่น้อยมาก [39] อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมา สหรัฐต้องพบกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 2% หลายครั้งและจุดที่สูงที่สุดของอัตราเงินเฟ้อเกิดขึ้นภายใต้มาตรฐานทองคำ เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อภายหลังจากที่มาตรฐานทองคำได้ถูกยกเลิกไปแล้ว [40] ภายใต้ระบบมาตรฐานทองคำ อัตราเงินเฟ้อ (หรือภาวะเงินฝืด) ในระยะยาวจะถูกกำหนดโดยอัตราการเติบโตของปริมาณของทองคำที่ถูกผลิตขึ้น [41] จึงมีผู้วิจารณ์ว่าระบบทองคำทำให้เกิดความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ และนโยบายการเงินจะถูกกำหนดจากผลผลิตการทำเหมืองแร่ทองคำเป็นหลัก [42][43]

การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้า

การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้านั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีการนำมาใช้เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในอดีต การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้ามักจะทำให้เกิดผลดีในช่วงภาวะสงครามเมื่อนำมาใช้ร่วมกับการปันส่วนอาหารและเครื่องบริโภค อย่างไรก็ตามในบริบทอื่น ๆ ผลลัพธ์ของการควบคุมราคาสินค้ามีทั้งดีและร้าย ตัวอย่างความล้มเหลวของการควบคุมเงินเฟ้อด้วยวิธีนี้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในกรณีการกำหนดค่าจ้างและการควบคุมราคาโดยประธานาธิบดีบดี ริชาร์ด นิกสัน ในปีค.ศ. 1972 ในขณะที่ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จจะเห็นได้จากข้อตกลงราคาสินค้าและค่าจ้างของออสเตรเลีย และข้อตกลงวาสเสนน่าของประเทศเนเธอร์แลนด์

โดยทั่วไปการควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้าจะถูกมองว่าเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวซึ่งสามารถนำมาใช้เฉพาะในกรณีพิเศษ และจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อใช้ร่วมกับนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อแก้ต้นเหตุของภาวะเงินเฟ้อ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเข้าสู่ภาวะสงครามก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จึงใช้การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้าชั่วคราว ในขณะที่รัฐบาลควรออกนโยบายแก้ปัญหาต้นเหตุของภาวะเงินเฟ้อซึ่งก็คือการยุติหรือการมีชัยชนะจากสงคราม การควบคุมค่าจ้างและราคาสินค้าก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากเป็นการส่งสัญญาณที่บิดเบี้ยวไปยังตลาด การบังคับให้ขายสินค้าในราคาต่ำมักจะเป็นต้นเหตุของการจำกัดการกระจายและการขาดแคลนสินค้า และการทำให้นักลงทุนไม่อยากนำสินค้ามาขายในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสินค้าให้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม หากจะใช้การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์อาจกล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการใด ๆ ที่มีราคาต่ำจะมีการบริโภคสูง และเมื่อเป็นเช่นนั้น ปริมาณของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในตลาดจะลดต่ำลง หากไม่มีการปรับตัวของราคาสินค้าให้กลับมา ณ จุดเดิมก็จะไม่เกิดการลงทุนเพื่อที่จะผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เพิ่มเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในอนาคต และจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสินค้าอย่างรุนแรงในระยะยาว

อ้างอิง

  1. See:
  2. Why price stability? เก็บถาวร 2008-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Central Bank of Iceland, Accessed on September 11, 2008.
  3. Paul H. Walgenbach, Norman E. Dittrich and Ernest I. Hanson, (1973), Financial Accounting, New York: Harcourt Brace Javonovich, Inc. Page 429. "The Measuring Unit principle: The unit of measure in accounting shall be the base money unit of the most relevant currency. This principle also assumes that the unit of measure is stable; that is, changes in its general purchasing power are not considered sufficiently important to require adjustments to the basic financial statements."
  4. Mankiw 2002, pp. 22–32
  5. Mankiw 2002, pp. 238–255
  6. Robert Barro and Vittorio Grilli (1994), European Macroeconomics, Ch. 8, p. 139, Fig. 8.1. Macmillan, ISBN 0-333-57764-7.
  7. John Makin (November 2010). "Bernanke Battles U.S. Deflation Threat" (PDF). AEI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-17. สืบค้นเมื่อ 2015-10-28.
  8. Paul Krugman; Gauti Eggertsson. "Debt,Deleveraging, and the liquidity trap: A Fisher‐Minsky‐Koo approach" (PDF).
  9. "MZM velocity". สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
  10. Mankiw 2002, pp. 81–107
  11. Abel & Bernanke 2005, pp. 266–269
  12. Hummel, Jeffrey Rogers. "Death and Taxes, Including Inflation: the Public versus Economists" (January 2007).[1] p.56
  13. "Escaping from a Liquidity Trap and Deflation: The Foolproof Way and Others" Lars E.O. Svensson, Journal of Economic Perspectives, Volume 17, Issue 4 Fall 2003, pp. 145–166
  14. 14.0 14.1 Taylor, Timothy (2008). Principles of Economics. Freeload Press. ISBN 1-930789-05-X.
  15. Dobson, Roger (January 27, 2002). "How Alexander caused a great Babylon inflation". The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-12. สืบค้นเมื่อ April 12, 2010. {{cite news}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  16. Harl, Kenneth W. (June 19, 1996). "Coinage in the Roman Economy, 300 B.C. to A.D. 700". Baltimore: The Johns Hopkins University Press. ISBN 0-8018-5291-9. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  17. "Annual Report (2006), Royal Canadian Mint, p. 4" (PDF). Mint.ca. สืบค้นเมื่อ May 21, 2011.
  18. Frank Shostak, "Commodity Prices and Inflation: What's the connection", Mises Institute
  19. Richard von Glahn (27 December 1996). Fountain of Fortune: Money and Monetary Policy in China, 1000–1700. University of California Press. p. 48. ISBN 978-0-520-20408-9. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  20. Paul S. Ropp (9 July 2010). China in World History. Oxford University Press. p. 82. ISBN 978-0-19-517073-3. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  21. 21.0 21.1 Peter Bernholz (2003). Monetary Regimes and Inflation: History, Economic and Political Relationships. Edward Elgar Publishing. pp. 53–55. ISBN 978-1-84376-155-6. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  22. Earl J. Hamilton, American Treasure and the Price Revolution in Spain, 1501–1650 Harvard Economic Studies, 43 (Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, 1934)
  23. "John Munro: The Monetary Origins of the 'Price Revolution':South Germany Silver Mining, Merchant Banking, and Venetian Commerce, 1470–1540, Toronto 2003" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-10-30.
  24. Walton, Timothy R. (1994). The Spanish Treasure Fleets. Pineapple Press (FL). p. 85. ISBN 1-56164-049-2.
  25. The Price Revolution in Europe: Empirical Results from a Structural Vectorautoregression Model. Peter Kugler and Peter Bernholz, University of Basel, 2007 (Demonstrates that it was the increased supply of precious metals that caused it and notes the obvious logical flaws in the contrary arguments that have become fashionable in recent decades)
  26. Tracy, James D. (1994). Handbook of European History 1400–1600: Late Middle Ages, Renaissance, and Reformation. Boston: Brill Academic Publishers. p. 655. ISBN 90-04-09762-7.
  27. Michael F. Bryan, "On the Origin and Evolution of the Word 'Inflation' เก็บถาวร 2008-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  28. Mark Blaug, "Economic Theory in Retrospect", pg. 129: "...this was the cause of inflation, or, to use the language of the day, 'the depreciation of banknotes.'"
  29. Chisholm, Hugh, บ.ก. (1922). "Inflation". Encyclopædia Britannica (12th ed.). London & New York: The Encyclopædia Britannica Company.
  30. Michael F. Bryan, On the Origin and Evolution of the Word "Inflation"{research/Commentary/1997/]
  31. "What is inflation? - Inflation, explained - Vox". Vox. July 25, 2014. สืบค้นเมื่อ September 13, 2014.
  32. Federal Reserve Board's semiannual Monetary Policy Report to the CongressRoundtable Introductory statement by Jean-Claude Trichet on July 1, 2004
  33. "ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ. เหรียญ 2 บาท กับเงินเฟ้อ. คอลัมน์ นอกรอบ ประชาชาติธุรกิจ หน้า 2 วันที่ 06 มิถุนายน 2548". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 2012-05-14.
  34. Lagassé, Paul (2000). "Monetarism". The Columbia Encyclopedia (6th ed.). New York: Columbia University Press. ISBN 0-7876-5015-3.
  35. [Friedman, Milton. A Monetary History of the United States 1867-1960 (1963).]
  36. Monetarism The Basics
  37. [Robert J. Gordon (1988), Macroeconomics: Theory and Policy, 2nd ed., Chap. 22.4, 'Modern theories of inflation'. McGraw-Hill.]
  38. 38.0 38.1 http://www.vcharkarn.com/varticle/34764
  39. * White, Lawrence H. (2008). "Inflation". ใน David R. Henderson (ed.) (บ.ก.). Concise Encyclopedia of Economics (2nd ed.). Indianapolis: Library of Economics and Liberty. ISBN 978-0865976658. OCLC 237794267. {{cite encyclopedia}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  40. File:US Historical Inflation Ancient.svg
  41. Bordo, M. (2002) "Gold Standard" Concise Encyclopedia of Economics
  42. Barsky, Robert B (1991). "Forecasting Pre-World War I Inflation: The Fisher Effect and the Gold Standard". Quarterly Journal of Economics. 106 (3): 815–36. doi:10.2307/2937928. JSTOR 2937928. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-30. สืบค้นเมื่อ September 27, 2008. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  43. DeLong, Brad. "Why Not the Gold Standard?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-18. สืบค้นเมื่อ September 25, 2008.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น