ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ISO 639-2"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kirito (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 2001:FB1:11D:9351:4985:C8B0:4948:504B (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Kinkku Ananas
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว ถูกย้อนกลับแล้ว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
ในกรณีที่ภาษาเดียวกันแต่มีการเขียนต่างกันจะใช้รหัสแทนภาษาตัวเดียวกันแต่อาจมีมาตรฐาน
ในกรณีที่ภาษาเดียวกันแต่มีการเขียนต่างกันจะใช้รหัสแทนภาษาตัวเดียวกันแต่อาจมีมาตรฐาน
อื่นเพิ่มขึ้นเพื่อแยกให้เห็นระบบการเขียนที่แตกต่างกัน สำหรับกรณีภาษาท้องถิ่นก็จะใช้รหัสเดียวกับภาษานั้น ๆ ยกเว้นบ้างในกรณีที่ภาษาท้องถิ่นนั้นมีลักษณะที่ไม่สามารถบอกรากที่มาของภาษานั้น ๆ ได้ชัดเจนก็สามารถมีรหัสภาษาของตัวเองได้ (ซึ่งมีปรากฏอยู่น้อยกรณี)
อื่นเพิ่มขึ้นเพื่อแยกให้เห็นระบบการเขียนที่แตกต่างกัน สำหรับกรณีภาษาท้องถิ่นก็จะใช้รหัสเดียวกับภาษานั้น ๆ ยกเว้นบ้างในกรณีที่ภาษาท้องถิ่นนั้นมีลักษณะที่ไม่สามารถบอกรากที่มาของภาษานั้น ๆ ได้ชัดเจนก็สามารถมีรหัสภาษาของตัวเองได้ (ซึ่งมีปรากฏอยู่น้อยกรณี)

== ข้อแตกต่างของมาตรฐาน [[ISO 639-1]] และ ISO 639-2 ==


'''[[ISO 639]]''' เป็นมาตรฐานที่พยายามจัดรหัสแทนชื่อของภาษาต่าง ๆ แต่
'''[[ISO 639]]''' เป็นมาตรฐานที่พยายามจัดรหัสแทนชื่อของภาษาต่าง ๆ แต่

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:17, 2 มีนาคม 2564

ISO 639-2 เป็นส่วนที่สองของมาตรฐาน ISO 639 ที่จะใช้รหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนภาษาต่าง ๆ ซึ่งมาตรฐานชุดนี้ประกอบด้วย กลุ่มของตัวอักษร 3 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกใช้แทนชื่อของภาษาที่ใช้ใน งานบรรณาณุกรม ( bibliographic applications ) และกลุ่มที่สองใช้ใน งานที่ต้องเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ ( terminology applications ) รหัสที่ใช้แทนภาษาของทั้งสองกลุ่มเหมือนกันยกเว้นเพียง 23 ภาษา จากภาษาทั้งหมดมากกว่า 450 ภาษา ทั้งนี้เนื่องจากเงื่อนไขในการสร้างรหัสนั้น การใช้รหัสแทนภาษามาตรฐานนี้เริ่มต้นมาจากการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด การให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนงานพิมพ์ ที่ต้องใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รหัสเหล่านี้ได้มีการใช้แพร่หลายในกลุ่มงานห้องสมุด และต่อมาได้มีการปรับนำมาใช้โดยกลุ่มของนักภาษาศาสตร์ และในกลุ่มงานที่ต้องการคำนิยามเฉพาะ ซึ่งมาตรฐานส่วนนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานจากความต้องการใช้ภาษานั้น ๆ ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายอยู่ทั่วโลก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่รวมถึงโปรแกรมภาษาလိၵ်ႈတၢႆးလိၵ်ႈထႆး

การจัดทำรหัส

รหัสที่แสดงแทนภาษาต่าง ๆ นี้ ประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก 3 ตัว โดยที่ตัวอักษรเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องเป็นตัวอักษรย่อของ ภาษานั้น ๆ แต่สามารถใช้รหัสนั้นในการจำแนกภาษาได้

มาตรฐานกลุ่มนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ กลุ่มรหัสที่ใช้ในงานบรรณานุกรม (ISO 639-2/B) หรือ รหัสกลุ่ม B และ กลุ่มรหัสที่ใช้ในงานที่ต้องเกี่ยวกับบัญญัติศัพท์ (ISO 639-2/T) หรือ รหัสกลุ่ม T

โดยมีเงื่อนไขในการจัดรหัสสำหรับงานบรรณานุกรม หรือ รหัสกลุ่ม B คือ

  • รหัสที่ประเทศเหล่านั้นเลือกใช้
  • รหัสที่มีการใช้แล้วในระดับประเทศและนานาชาติ
  • ชื่อของภาษานั้นหรือสัญลักษณ์แทนในภาษาอังกฤษแทนภาษานั้น ๆ

เงื่อนไขในการจัดรหัสสำหรับงานที่ต้องเกี่ยวกับศัพท์บัญญัติเฉพาะทาง หรือ รหัสกลุ่ม T คือ

  • รหัสที่มีการใช้แล้วในระดับประเทศและนานาชาติ
  • ชื่อแทนของภาษานั้นหรือสัญลักษณ์แทนในภาษาอังกฤษแทนภาษานั้น ๆ

โดยการจัดรหัสทั้งสองแบบนี้มีเพียง 23 ภาษาเท่านั้นที่มีรหัสแตกต่างกัน โดยที่ในอนาคตการกำหนดรหัสจะขึ้นอยู่กับชื่อแทนของภาษานั้น ยกเว้นแต่กรณีที่ประเทศนั้น ๆ หรือกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษานั้น ๆ ร้องขอ แต่เพื่อให้เกิดความเสถียรภาพและความต่อเนื่อง การเปลี่ยนรหัสเหล่านี้จะทำได้เมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และรหัสเดิมจะยังคงต้องใช้อยู่ อย่างน้อย 5 ปีก่อนที่จะมีการใช้รหัสใหม่แทนที่หลังจากที่ได้มีการร้องขอให้มีการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามรหัสในกลุ่มบรรณานุกรมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงถ้าชื่อของภาษาหรือสัญลักษณ์ย่อของภาษาเปลี่ยนด้วยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ในกรณีที่ภาษาเดียวกันแต่มีการเขียนต่างกันจะใช้รหัสแทนภาษาตัวเดียวกันแต่อาจมีมาตรฐาน อื่นเพิ่มขึ้นเพื่อแยกให้เห็นระบบการเขียนที่แตกต่างกัน สำหรับกรณีภาษาท้องถิ่นก็จะใช้รหัสเดียวกับภาษานั้น ๆ ยกเว้นบ้างในกรณีที่ภาษาท้องถิ่นนั้นมีลักษณะที่ไม่สามารถบอกรากที่มาของภาษานั้น ๆ ได้ชัดเจนก็สามารถมีรหัสภาษาของตัวเองได้ (ซึ่งมีปรากฏอยู่น้อยกรณี)

ISO 639 เป็นมาตรฐานที่พยายามจัดรหัสแทนชื่อของภาษาต่าง ๆ แต่

  • ISO 639-1 ประกอบด้วยตัวอักษรแทนเพียง 2 ตัว ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1988 จากบุคคลในกลุ่มงานทางภาษาศาสตร์ งานทางด้านพจนานุกรม และงานทางบัญญัติศัพท์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ครอบคลุมภาษาหลักๆที่ใช้ในโลก
  • ISO 639-2 ประกอบด้วยตัวอักษร 3 ตัว ถูกริเริ่มในปี ค.ศ. 1989 เนื่องจากเริ่มตระหนักว่ามาตรฐานส่วนแรก คือ ISO 639-1 ไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมภาษาจำนวนมหาศาลได้ แต่มาตรฐานชุดนี้ได้กำหนดเป็นมาตรฐานครั้งแรกก็เมื่อในปี ค.ศ. 1998 หรือ 9 ปีต่อมา โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาก็เพื่อใช้ในงานบรรณานุกรมและงานที่ต้องนิยามคำศัพท์ ซึ่งมาตรฐานชุดนี้ครอบคลุมถึงมาตรฐาน ISO 639-1 และภาษาอื่น ๆ ที่มีปรากฏเป็นงานเขียนเชิงวรรณกรรมหรืออย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบที่แสดงงานเขียนเชิงวรรณกรรม ซึ่งก็เกี่ยวเนื่องถึงภาษาต่าง ๆ ทั้งหมดเกือบทั้งหมดเท่าที่มีปรากฏอยู่ทั่วโลก โดยในมาตรฐานชุดนี้มีการแยกกลุ่มรากของภาษานั้น ๆ ไว้ด้วย

ตัวอย่าง

ตัวอย่างของรหัสในกลุ่ม ISO 639-2 เทียบกับ ISO 639-1 โดยที่ ถ้ารหัสในกลุ่ม ISO 639-2 ใช้รหัสแทนไม่เหมือนกัน รหัสชุดแรกแสดงถึงรหัสในกลุ่มบรรณาณุกรม และชุดที่สองแสดงถึงรหัสในกลุ่มบัญญัติศัพท์

639-2 639-1 ชื่อของภาษา
ara ar ภาษาอาหรับ
aus กลุ่มภาษาในออสเตรเลีย
ban ภาษาบาหลี
baq/eus eu ภาษาบาสก์
bel be ภาษาเบลารุส
tib/bod bo ภาษาทิเบต
bur/mya my ภาษาพม่า
cze/ces cs ภาษาเช็ก
chi/zho zh ภาษาจีน
ger/deu de ภาษาเยอรมัน
dsb Lower Sorbian
dut/nld nl ภาษาดัตช์; Flemish
eng en ภาษาอังกฤษ
enm ภาษาอังกฤษกลาง (1100-1500)
epo eo ภาษาเอสเปอรันโต
fre/fra fr ภาษาฝรั่งเศส
fro ภาษาฝรั่งเศสเก่า (842-ca.1400)
lao lo ภาษาลาว
may/msa ms ภาษามลายู
mul หลายภาษา
pli pi ภาษาบาลี
san sa ภาษาสันสกฤต
sgn ภาษามือ
tha th ภาษาไทย

อ้างอิง

ดูเพิ่ม