ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จันทร์ ขนนกยูง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Hana1256 (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: ชีจันทร์ตอแหล
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Chandra khonnokyoong.jpg|thumb|จันทร์ ขนนกยูง]]
[[ไฟล์:Chandra khonnokyoong.jpg|thumb|จันทร์ ขนนกยูง]]


'''จันทร์ ขนนกยูง''' (20 มกราคม พ.ศ. 2452-10 กันยายน พ.ศ. 2543) เป็น[[แม่ชี]]ผู้ก่อตั้ง[[วัดพระธรรมกาย]]
'''จันทร์ ขนนกยูง''' (20 มกราคม พ.ศ. 2452-10 กันยายน พ.ศ. 2543) หรือที่รู้จักกันในชื่อ [http://th.uncyclopedia.info/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99_%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%87 แม่ชีปัดระเบิด] เป็น[[แม่ชี]]ผู้ก่อตั้ง[[วัดพระธรรมกาย]]


จันทร์เป็นบุตรชาวนา เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ทำงานเป็นคนรับใช้ และฝึกวิชาธรรมกายกับ[[พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)]] วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนกระทั่งมีการอ้างว่า สามารถลงไปขอขมาบิดาซึ่งกำลังตกนรกอยู่ได้ พระมงคลเทพมุนีฯ ยกย่องจันทร์ว่า "ลูกจันทร์นี้เป็นหนึ่งไม่มีสอง"<ref name="หนึ่งไม่มีสอง">[http://www.dhammakaya.net/รู้จักเรา/มหาปูชนียาจารย์/มหารัตนอุบาสิกาจันทร์/ ลูกจันทร์นี้ หนึ่งไม่มีสอง], ลูกจันทร์นี้ หนึ่งไม่มีสอง</ref> ต่อมา จันทร์ได้ถ่ายทอดวิชาธรรมกายให้แก่[[พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)]] แล้วชวนกันก่อตั้งวัดพระธรรมกาย จันทร์ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จหลายประการของวัดพระธรรมกายด้วย
จันทร์เป็นบุตรชาวนา เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ทำงานเป็นคนรับใช้ และฝึกวิชาธรรมกายกับ[[พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)]] วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนกระทั่งมีการอ้างว่า สามารถลงไปขอขมาบิดาซึ่งกำลังตกนรกอยู่ได้ พระมงคลเทพมุนีฯ ยกย่องจันทร์ว่า "ลูกจันทร์นี้เป็นหนึ่งไม่มีสอง"<ref name="หนึ่งไม่มีสอง">[http://www.dhammakaya.net/รู้จักเรา/มหาปูชนียาจารย์/มหารัตนอุบาสิกาจันทร์/ ลูกจันทร์นี้ หนึ่งไม่มีสอง], ลูกจันทร์นี้ หนึ่งไม่มีสอง</ref> ต่อมา จันทร์ได้ถ่ายทอดวิชาธรรมกายให้แก่[[พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)]] แล้วชวนกันก่อตั้งวัดพระธรรมกาย จันทร์ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จหลายประการของวัดพระธรรมกายด้วย
บรรทัด 31: บรรทัด 31:


ประมาณปี พ.ศ. 2528 เมื่อมีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมมากจนพื้นที่วัด 196 ไร่ ไม่อาจรองรับได้ [[มูลนิธิธรรมกาย]] จึงได้ซื้อที่ดินเนื้อที่ 2,000 ไร่เศษ จากกองมรดกของ ม.ร.ว. สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เพื่อจัดสร้างเป็นศูนย์กลางแห่งการปฏิบัติธรรม
ประมาณปี พ.ศ. 2528 เมื่อมีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมมากจนพื้นที่วัด 196 ไร่ ไม่อาจรองรับได้ [[มูลนิธิธรรมกาย]] จึงได้ซื้อที่ดินเนื้อที่ 2,000 ไร่เศษ จากกองมรดกของ ม.ร.ว. สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เพื่อจัดสร้างเป็นศูนย์กลางแห่งการปฏิบัติธรรม

== วีรกรรม ==
สงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นตกเป็นเป้าหมายสำคัญในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์  ฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เป็นแกนนำ มุ่งกำลังเข้ากวาดล้าง และในที่สุด..ญี่ปุ่นก็ต้องประกาศยอมแพ้สงคราม เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 เพราะอำนาจการทำลายล้างของระเบิดปรมาณู

    หวอ.. ห.. ว.. อ.. สัญญาณเตือนภัยดังสนั่น! ขึ้นมาโดยอัตโนมัติทำให้ผู้คนต่างตกใจ พากันวิ่งหนีหลบเข้าไปในหลุมหลบภัยเพื่อให้รอดจากสะเก็ดระเบิดที่กำลังทิ้งลงมาแบบปูพรม
    เครื่องบินรบ '''B-29''' ..เป้าหมายในการทำลายล้างคือโรงไฟฟ้าวัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) สะพานข้ามกรุงธน และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งตรงตามหลักยุทธศาสตร์การรบที่สหรัฐฯ กำลังจะตัดเส้นทางการคมนาคมของพวกญี่ปุ่น ตลอดจนทำลายแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดคือ โรงไฟฟ้า

'''    ฟิ้ว.. ..ฟิ้ ....ว......ตูม!!! '''ระเบิด..พลังแห่งการทำลายล้างลูกแล้ว..ลูกเล่าถูกทิ้งดิ่งลงมา แต่แปลก..ที่พลาด!!! โดนเป้าหมายน้อยมาก หรือมีผลกระทบต่อเป้าหมายไม่กี่เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นจะดิ่งลงกลางทุ่ง แม่น้ำเจ้าพระยา หรือสถานที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์พร้อมกับฝุ่นควันที่คลุ้งขึ้นตามแรงระเบิด

    การประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองไทยยังคงยืดเยื้อไปตามกระแสสงครามโลก สัญญาณหวอยังคงดังขึ้นแต่ละวัน.. ทั้งกลางวันและกลางคืน เสียงระเบิดดังจนกลายเป็นความชาชิน ทำให้ระยะหลังๆ ผู้คนไม่ค่อยใส่ใจกับการหลบภัยเท่าไรนัก

    หวอ ... ห ..ว.. อ. คราวนี้มันดังขึ้นอีกซ้ำ ๆ กัน บางคนก็วิ่งไปหลบเหมือนเดิม แต่บางคนกลับออกมาดูเครื่องบินรบที่กำลังขับเคลื่อนมา และเป็นธรรมดาที่วัยซนอยากรู้อยากเห็นของเด็กทำให้อยากจะเห็นเครื่องบินทิ้งระเบิดโดยไม่กลัวอันตรายแต่อย่างใด

    เด็กชายยงยุทธ ดิลกเจริญ ปีนขึ้นไปบนดาดฟ้าห้องแถวที่เรียงรายติด ๆ กันในเวลาเดียวกับที่ผู้ใหญ่และเด็กคนอื่น ๆ ก็ปีนดูบนดาดฟ้าบนบ้านของตน

    '''“เฮ้ย!.. เฮ้ย!.. นั่นอะไร !? ..มองซิ คนใส่ชุดขาว ๆ ลอยอยู่บนฟ้า อย่างกับแม่ชี..” ผู้คนเงยหน้ามองตามเสียงที่ดังขึ้นจากกลุ่มผู้ใหญ่'''

    แน่นอน..! เด็กชายยงยุทธก็เงยหน้ามองตามด้วย ช่างประหลาดเหลือเกิน..! ภาพที่เขาเห็นบนท้องฟ้าเป็นแม่ชีจริง ๆ มีลักษณะโปร่งแสงลอยอยู่นิ่งๆ ใกล้กับเครื่องบินรบ B-29 ที่กำลังขับเคลื่อนมา 2-3 ลำ พร้อมๆ กัน คนดูต่างชี้ไม้ชี้มือ ส่งเสียงอื้ออึงกับสิ่งประหลาดที่ปรากฏให้เห็น

   '''“ทิ้งเท่าไรก็ไม่โดน..ไม่มีวันโดนหรอก..ฮ่า ..ฮ่า..” '''นี่คือเสียงพูดพร้อมเสียหัวเราะร่าดังๆ ของยายผิน ที่มักพูดอยู่เป็นประจำในช่วงเกิดสงคราม

        ยายผินเป็นแม่ครัวทำกับข้าว อาศัยอยู่ในบ้านของเด็กชายยงยุทธ แกชอบไปทำบุญที่วัดปากน้ำอยู่เป็นประจำ แต่น่าเสียดายประโยคที่แกพูด กลับไม่มีใครในบ้านใส่ใจ หรือเข้าใจความหมายอะไรมากนัก แต่เสียงนี้ได้เข้าไปอยู่ในความทรงจำของเด็กชายยงยุทธ โดยเฉพาะประโยคที่ว่า'''“หลวงพ่อวัดปากน้ำกับพวกที่นั่งสมาธิ(Meditation)เขาปัดลูกระเบิดกัน ต่อให้ทิ้งกันยังไงไม่มีวันโดนหรอก.. ไม่มีวันโดน..”'''

       ในวันต่อมา..เรื่องแม่ชีปัดลูกระเบิดที่มีพยานหลายคนเห็นไม่ใช่เป็นเรื่องโคมลอย หรือตาฝาดไปเสียแล้ว เพราะหนังสือพิมพ์ก็ได้เอาข่าวนี้ลงมาเป็นหลักฐานยืนยันเหตุการณ์เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2

        กาลเวลาผ่านไปจนกระทั่งเด็กชายยงยุทธโตขึ้น เรียนจบคณะวิทยาศาสตร์และคุรุศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจากนั้นเรียนต่อด้านการตลาดและเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีด้าน Import-Export

       วันหนึ่งน้องชายเขาก็ได้นำหนังสือเล่มสำคัญมาให้ จากข้อความในหนังสือเล่มนี้เหมือนกับจะกระตุ้นหรือรื้อฟื้นสัญญาอะไรเก่า ๆ ที่เขาเองก็ไม่อาจรู้ เขารู้สึกเพียงแต่ว่าเขาอยากไปศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม (ต่อมา คือ วัดพระธรรมกาย) เขาต้องไปที่นั่นให้ได้และหนังสือเดินไปสู่ความสุขเล่มนี้ ทำให้เขาได้ไปที่นั่นจริง ๆ..

         ชีวิต'''คุณยงยุทธ ดิลกเจริญ '''เริ่มผูกพันกับศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม เพราะที่นี่ทำให้เขารู้คุณค่าของการทำทาน รักษาศีลเจริญภาวนา เขามีศรัทธามากและเป็นหนึ่งในประธานสร้างโบสถ์ของวัดพระธรรมกายด้วย เขาไปที่วัดพระธรรมกายบ่อยมากจนคุ้นเคยใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์ คือ หลวงพ่อธัมมชโย และคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ศิษย์เอกหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

        ด้วยความเป็นลูกศิษย์นี่เองเวลามีปัญหาอะไรก็จะคอยปรึกษาไต่ถามคุณยายอาจารย์ฯตลอด แต่อย่างหนึ่งที่ไม่เคยลืมเลือนไปจากความทรงจำเลย และยิ่งรู้ว่าคุณยายเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่วัดปากน้ำด้วยแล้ว สิ่งนี้จึงถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีก ซึ่งก็คือ เรื่องราวครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กับคำพูดของยายผินที่ได้พูดไว้

''กัลฯ ยงยุทธมากราบขอบารมีคุณยายฯ ตอนที่ยังไม่ได้บวช ''

         พอคุณยงยุทธได้กราบคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ก็รีบเรียนถามท่านเลยว่า “คุณยายครับ..ทำไมเครื่องบินที่ทิ้งระเบิดลงมาถึงไม่โดนที่สำคัญ กลับลงทุ่งลงน้ำล่ะครับ”

        ซึ่งคุณยายท่านก็ตอบว่า ''“อ้าวคุณ.. เวลาที่เครื่องบินมันทิ้งระเบิด ยายเข้าที่อยู่กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อท่านสั่งให้ยายจัดการ ยายก็เนรมิตเมืองให้เป็นป่า..เป็นแม่น้ำ เนรมิตแม่น้ำ ให้เป็นบ้านเมือง เท่านี้ทิ้งเท่าไหร่ก็ทิ้งไม่ถูก” ซึ่งถ้าเราอยากจะเข้าใจอะไรให้มากขึ้น ต้องนั่งสมาธิและศึกษาวิชชาธรรมกายตามอย่างหลวงปู่วัดปากน้ำ เพราะการทำวิชชาธรรมกายเป็นเรื่องเหนือวิสัยที่จะเข้าใจด้วยจินตมยปัญญา (ปัญญาจากความคิด) หรือสุตตมยปัญญา (ปัญญาจากการฟัง) แต่จะเข้าใจได้ด้วยภาวนามยปัญญา (ปัญญาจากการเจริญภาวนา)''

         ซึ่งการทำวิชชาสมัยหลวงปู่วัดปากน้ำเขาทำกันเป็นทีมต้องนั่งสมาธิจนมีความละเอียดมาก แล้วอาศัยพระธรรมกายปฏิหาริย์ให้เห็นเมืองเป็นป่า เห็นแม่น้ำเป็นเมืองอะไรอย่างนี้ ทหารที่ทิ้งระเบิดก็จะเข้าใจผิดทิ้งไม่โดนสักที ซึ่งสมัยที่หลวงพ่อวัดปากน้ำทำวิชชาก็มีคุณยายอาจารย์ฯ เป็นหัวหน้าทีมกะดึกในชุดนั้น สำหรับภาพส่วนหยาบที่คนทั้งหลายเห็นนั้น ก็เห็นต่าง ๆ กันไป เช่น เห็นเป็นภาพแม่ชีลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าปัดลูกระเบิดบ้าง ลอยอยู่เฉย ๆ บ้างซึ่งเรื่องละเอียดของวิชชาธรรมกาย เป็นดังข้างต้นที่อธิบายมานี้..


=== ประธานงานบุญกฐินสามัคคี ===
=== ประธานงานบุญกฐินสามัคคี ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:07, 3 กันยายน 2560

ไฟล์:Chandra khonnokyoong.jpg
จันทร์ ขนนกยูง

จันทร์ ขนนกยูง (20 มกราคม พ.ศ. 2452-10 กันยายน พ.ศ. 2543) หรือที่รู้จักกันในชื่อ แม่ชีปัดระเบิด เป็นแม่ชีผู้ก่อตั้งวัดพระธรรมกาย

จันทร์เป็นบุตรชาวนา เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ทำงานเป็นคนรับใช้ และฝึกวิชาธรรมกายกับพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จนกระทั่งมีการอ้างว่า สามารถลงไปขอขมาบิดาซึ่งกำลังตกนรกอยู่ได้ พระมงคลเทพมุนีฯ ยกย่องจันทร์ว่า "ลูกจันทร์นี้เป็นหนึ่งไม่มีสอง"[1] ต่อมา จันทร์ได้ถ่ายทอดวิชาธรรมกายให้แก่พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) แล้วชวนกันก่อตั้งวัดพระธรรมกาย จันทร์ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จหลายประการของวัดพระธรรมกายด้วย

อย่างไรก็ดี จันทร์เป็นที่ล้อเลียนในสังคมออนไลน์อันเนื่องมาจากการเผยแพร่เรื่องแม่ชีปัดระเบิดของวัดพระธรรมกาย อีกทั้งยังมีข้อถกเถียงกันในหัวข้อทางวิทยาศาสตร์ว่าต้องใช้แรงขนาดเท่าไหร่ถึงสามารถปัดระเบิดได้จากประเทศไทยไปตกที่ประเทศญี่ปุ่นในเว็บไซต์พันทิป

ประวัติ

จันทร์เกิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2452 ซึ่งตรงกับ วันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ที่ อำเภอนครไชยศรี จ. นครปฐม นางเป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องชายหญิงทั้งหมด 9 คน มีบิดาชื่อ พลอย มีมารดาชื่อ พัน ซึ่งประกอบอาชีพทำนา ฐานะของครอบครัวจัดอยู่ในระดับปานกลาง[2] มารดาของจันทร์มีฐานะดีกว่าบิดา ในสมัยเด็กมีความใกล้ชิดกับมารดามากกว่าบิดา มารดาเป็นคนใจดี ชอบทำขนมให้ลูก ๆ รับประทาน ส่วนบิดาเป็นคนติดสุรา จึงมักทะเลาะกับมารดาเสมอ

ด้วยเหตุที่บิดาติดสุรา เมื่อมึนเมามักบ่นพึมพำ มารดารู้สึกรำคาญ จึงตะโกนออกไปว่า "ไอ้นกกระจอก อาศัยรังเขาอยู่" เมื่อบิดาของจันทร์ได้ยินก็โกรธจัด จึงถามลูก ๆ ว่าได้ยินที่แม่ด่าว่าพ่อไหม จันทร์ไม่อยากให้บิดาและมารดาทะเลาะกันจึงกล่าวว่า มารดากล่าวเช่นนั้นคงไม่ได้หมายถึงบิดา ทำให้บิดาโกรธมากจึงแช่งว่าขอให้จันทร์หูหนวก 500 ชาติ ทำให้จันทร์กลัวมาก เพราะเชื่อว่าคำพูดของบิดามารดานั้นมีความศักดิ์สิทธิ์มาก หากแช่งลูกอย่างไรย่อมจะเป็นเช่นนั้น เมื่อจันทร์อายุได้ 13 ปี บิดาได้เสียชีวิตในวันที่จันทร์กำลังอยู่ในท้องนา ทำให้ไม่ได้มาขอขมาบิดาก่อนเสียชีวิต ซึ่งความรู้สึกกลัวนั้นยังคงติดอยู่ในใจของจันทร์ตลอดมา จนกระทั่งเวลาผ่านไปทำให้ได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำหรือที่รู้จักกันในอีกนามหนึ่งคือ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ ว่า สามารถสอนสมาธิเพื่อไปเยี่ยมญาติที่เสียชีวิตแล้วได้ ไปนรก สวรรค์ และนิพพานได้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้จันทร์ปรารถนาที่จะศึกษาวิธีการนั่งสมาธิเพื่อไปขอขมาบิดาในปรโลกเพื่อให้ตนไม่ต้องหูหนวกในชาติต่อ ๆ ไป.

เส้นทางธรรม

ปี พ.ศ. 2478 เมื่อจันทร์อายุได้ 26 ปี จึงตัดสินใจลามารดาและพี่น้อง เพื่อหาทางไปวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โดยอ้างว่าจะไปหางานทำ ทุกคนจึงเข้าใจว่านางอยากได้เงินทอง จึงออกปากมอบทรัพย์สมบัติให้ แต่นางไม่รับ แต่กลับมอบทรัพย์สินส่วนของตน อันได้แก่ เงิน และ ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกให้พี่น้อง แล้วลามารดาโดยนำเงินติดตัวไป 2 บาท

ในสมัยนั้นการเข้าไปอยู่ในวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นเรื่องไม่ง่ายนักเพราะที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีพระและแม่ชีอยู่จำนวนมาก จันทร์จึงวางแผนไปทำงานรับใช้เลี๊ยบ สิกาญจนานันท์ เศรษฐินีย่านสะพานหัน ซึ่งเป็นโยมอุปัฏฐากคนสำคัญของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และมักไปทำบุญที่วัดเป็นประจำ จันทร์ยอมทำงานรับใช้ทุกอย่างเพื่อให้เจ้านายไว้วางใจ จนกระทั่งได้พบกับอาจารย์ผู้สอนธรรมปฏิบัติให้แก่เลี๊ยบ ซึ่งมีชื่อว่าทองสุก สำแดงปั้น ซึ่งในขณะนั้นเป็นแม่ค้าขายมะพร้าวกะทิและเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ทองสุกได้สอนธรรมปฏิบัติให้แก่จันทร์ จนกระทั่งจันทร์ได้เข้าถึงพระธรรมกาย และมีการอ้างว่า ทองสุกพาจันทร์ไปพบบิดาที่ยมโลกของมหานรกขุมที่ 5 (มหาโรรุวมหานรก) เพราะกรรมดื่มสุราเป็นอาจิณ จันทร์ยังอ้างด้วยว่า เมื่อขอขมาบิดาแล้ว จึงช่วยให้บิดาอาราธนาศีล 5 และนำบิดาให้พ้นจากยมโลก[3]

ออกบวช

ปี พ.ศ. 2481 เมื่อจันทร์อ้างว่าได้พบบิดาในนรกแล้ว จึงลาคุณนายเลี๊ยบไปบวชที่วัดปากน้ำ 1 เดือน โดยไปกับทองสุกซึ่งในขณะนั้นมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างยิ่ง เมื่อจันทร์ได้พบกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ก็ได้เข้าศึกษาวิชาธรรมกายในโรงงานทำวิชชาตั้งแต่วันแรกที่พบกัน ซึ่งการจะผ่านเข้าไปปฏิบัติธรรมขั้นสูงในโรงงานทำวิชชานั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักต้องผ่านการทดสอบหลายอย่างก่อนที่จะได้เข้าไป[4] เมื่อได้เรียนรู้ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายมากขึ้น ทำให้จันทร์เกิดความซาบซึ้งในธรรมปฏิบัติอย่างยิ่ง จึงได้ชวนทองสุกโกนผมออกบวชเป็นอุบาสิกาในคืนก่อนวันครบกำหนด 1 เดือนที่ได้ลาคุณนายเลี๊ยบมาปฏิบัติธรรมนั่นเอง[4]

การก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมและวัดพระธรรมกาย

มีการอ้างว่า ก่อนที่หลวงพ่อสดจะถึงแก่มรณภาพ ได้มีคำสั่งให้จันทร์อยู่รอชายคนหนึ่งที่มาเกิดแล้วที่จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อจะได้ถ่ายทอดวิชาธรรมกายให้แก่ชายคนนั้น เพื่อขยายพระพุทธศาสนาวิชาธรรมกายไปให้ทั่วโลก[5] ชายคนนั้นคือ ไชยบูลย์ สุทธิผล หรือต่อมาคือพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

จันทร์ได้พบและสั่งสอนธรรมปฏิบัติให้แก่ไชยบูลย์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่บ้านธรรมประสิทธิ์ บริเวณวัดปากน้ำภาษีเจริญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2511 บ้านธรรมประสิทธิ์มีนิสิต นักศึกษา และสาธุชน มาปฏิบัติธรรมกับจันทร์ จนทำให้พื้นที่ดังกล่าวไม่อาจรองรับการปฏิบัติธรรมได้อีก ไชยบูลย์มีดำริร่วมกันกับจันทร์ที่จะสร้างวัดขึ้น เพื่อรองรับการเผยแผ่ธรรมปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย จึงคิดหาพื้นที่สร้างวัด จนกระทั่งพบที่ดินที่เหมาะสม จึงได้ติดต่อขอซื้อที่ดินจาก คุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี แต่เนื่องจากวันที่ไปเจรจาขอซื้อที่ดินนั้น ตรงกับวันเกิดของคุณหญิง คุณหญิงจึงยกที่ดินผืนดังกล่าวให้โดยไม่คิดมูลค่า มีจำนวนพื้นที่รวม 196 ไร่ 9 ตารางวา อยู่ ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี[6]

ในปี พ.ศ. 2512 เมื่อไชยบูลย์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามคำแนะนำของจันทร์ว่า ให้ศึกษาปริญญาทางโลกให้จบเสียก่อน จึงค่อยอุปสมบทเป็นภิกษุ ไชยบูลย์จึงอุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ในวันที่ 27 สิงหาคม ซึ่งต่อมาวัดพระธรรมกายได้กำหนดให้วันดังกล่าวคือ "วันธรรมชัย"

การก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมได้สร้างอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งการก่อสร้างศาลาสำหรับปฏิบัติธรรมและกุฏิเสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ. 2518 พระไชยบูลย์และจันทร์จึงย้ายจากบ้านธรรมประสิทธิ์มาอยู่ที่ศูนย์พุทธจักปฏิบัติธรรม จันทร์ได้ตั้งกฎระเบียบภายในวัดด้วยตนเองทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความมีระเบียบและความสะอาด ซึ่งได้นำประสบการณ์เมื่อครั้งที่อยู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มาใช้ และเนื่องจากวัดเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ การเทศน์สอนให้ลึกซึ้งยังทำได้ไม่สะดวกนัก จันทร์จึงได้สั่งสอนญาติโยมด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สำคัญต่อการปฏิบัติธรรม ซึ่งก็คือ ความมีระเบียบ สะอาด เช่น การวางรองเท้า ไม้กวาด ผ้าขี้ริ้ว ถังขยะ โดยสอนว่าสิ่งเหล่านี้ทำไปเพื่อให้ใจของผู้ที่มาปฏิบัติธรรมนั้น ใส สะอาด สว่าง สงบ

ประมาณปี พ.ศ. 2528 เมื่อมีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรมมากจนพื้นที่วัด 196 ไร่ ไม่อาจรองรับได้ มูลนิธิธรรมกาย จึงได้ซื้อที่ดินเนื้อที่ 2,000 ไร่เศษ จากกองมรดกของ ม.ร.ว. สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เพื่อจัดสร้างเป็นศูนย์กลางแห่งการปฏิบัติธรรม

วีรกรรม

สงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นตกเป็นเป้าหมายสำคัญในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์  ฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เป็นแกนนำ มุ่งกำลังเข้ากวาดล้าง และในที่สุด..ญี่ปุ่นก็ต้องประกาศยอมแพ้สงคราม เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 เพราะอำนาจการทำลายล้างของระเบิดปรมาณู

    หวอ.. ห.. ว.. อ.. สัญญาณเตือนภัยดังสนั่น! ขึ้นมาโดยอัตโนมัติทำให้ผู้คนต่างตกใจ พากันวิ่งหนีหลบเข้าไปในหลุมหลบภัยเพื่อให้รอดจากสะเก็ดระเบิดที่กำลังทิ้งลงมาแบบปูพรม     เครื่องบินรบ B-29 ..เป้าหมายในการทำลายล้างคือโรงไฟฟ้าวัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) สะพานข้ามกรุงธน และสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งตรงตามหลักยุทธศาสตร์การรบที่สหรัฐฯ กำลังจะตัดเส้นทางการคมนาคมของพวกญี่ปุ่น ตลอดจนทำลายแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดคือ โรงไฟฟ้า

    ฟิ้ว.. ..ฟิ้ ....ว......ตูม!!! ระเบิด..พลังแห่งการทำลายล้างลูกแล้ว..ลูกเล่าถูกทิ้งดิ่งลงมา แต่แปลก..ที่พลาด!!! โดนเป้าหมายน้อยมาก หรือมีผลกระทบต่อเป้าหมายไม่กี่เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นจะดิ่งลงกลางทุ่ง แม่น้ำเจ้าพระยา หรือสถานที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์พร้อมกับฝุ่นควันที่คลุ้งขึ้นตามแรงระเบิด

    การประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองไทยยังคงยืดเยื้อไปตามกระแสสงครามโลก สัญญาณหวอยังคงดังขึ้นแต่ละวัน.. ทั้งกลางวันและกลางคืน เสียงระเบิดดังจนกลายเป็นความชาชิน ทำให้ระยะหลังๆ ผู้คนไม่ค่อยใส่ใจกับการหลบภัยเท่าไรนัก

    หวอ ... ห ..ว.. อ. คราวนี้มันดังขึ้นอีกซ้ำ ๆ กัน บางคนก็วิ่งไปหลบเหมือนเดิม แต่บางคนกลับออกมาดูเครื่องบินรบที่กำลังขับเคลื่อนมา และเป็นธรรมดาที่วัยซนอยากรู้อยากเห็นของเด็กทำให้อยากจะเห็นเครื่องบินทิ้งระเบิดโดยไม่กลัวอันตรายแต่อย่างใด

    เด็กชายยงยุทธ ดิลกเจริญ ปีนขึ้นไปบนดาดฟ้าห้องแถวที่เรียงรายติด ๆ กันในเวลาเดียวกับที่ผู้ใหญ่และเด็กคนอื่น ๆ ก็ปีนดูบนดาดฟ้าบนบ้านของตน

    “เฮ้ย!.. เฮ้ย!.. นั่นอะไร !? ..มองซิ คนใส่ชุดขาว ๆ ลอยอยู่บนฟ้า อย่างกับแม่ชี..” ผู้คนเงยหน้ามองตามเสียงที่ดังขึ้นจากกลุ่มผู้ใหญ่

    แน่นอน..! เด็กชายยงยุทธก็เงยหน้ามองตามด้วย ช่างประหลาดเหลือเกิน..! ภาพที่เขาเห็นบนท้องฟ้าเป็นแม่ชีจริง ๆ มีลักษณะโปร่งแสงลอยอยู่นิ่งๆ ใกล้กับเครื่องบินรบ B-29 ที่กำลังขับเคลื่อนมา 2-3 ลำ พร้อมๆ กัน คนดูต่างชี้ไม้ชี้มือ ส่งเสียงอื้ออึงกับสิ่งประหลาดที่ปรากฏให้เห็น

   “ทิ้งเท่าไรก็ไม่โดน..ไม่มีวันโดนหรอก..ฮ่า ..ฮ่า..” นี่คือเสียงพูดพร้อมเสียหัวเราะร่าดังๆ ของยายผิน ที่มักพูดอยู่เป็นประจำในช่วงเกิดสงคราม

        ยายผินเป็นแม่ครัวทำกับข้าว อาศัยอยู่ในบ้านของเด็กชายยงยุทธ แกชอบไปทำบุญที่วัดปากน้ำอยู่เป็นประจำ แต่น่าเสียดายประโยคที่แกพูด กลับไม่มีใครในบ้านใส่ใจ หรือเข้าใจความหมายอะไรมากนัก แต่เสียงนี้ได้เข้าไปอยู่ในความทรงจำของเด็กชายยงยุทธ โดยเฉพาะประโยคที่ว่า“หลวงพ่อวัดปากน้ำกับพวกที่นั่งสมาธิ(Meditation)เขาปัดลูกระเบิดกัน ต่อให้ทิ้งกันยังไงไม่มีวันโดนหรอก.. ไม่มีวันโดน..”

       ในวันต่อมา..เรื่องแม่ชีปัดลูกระเบิดที่มีพยานหลายคนเห็นไม่ใช่เป็นเรื่องโคมลอย หรือตาฝาดไปเสียแล้ว เพราะหนังสือพิมพ์ก็ได้เอาข่าวนี้ลงมาเป็นหลักฐานยืนยันเหตุการณ์เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2

        กาลเวลาผ่านไปจนกระทั่งเด็กชายยงยุทธโตขึ้น เรียนจบคณะวิทยาศาสตร์และคุรุศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจากนั้นเรียนต่อด้านการตลาดและเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่การงานที่ดีด้าน Import-Export

       วันหนึ่งน้องชายเขาก็ได้นำหนังสือเล่มสำคัญมาให้ จากข้อความในหนังสือเล่มนี้เหมือนกับจะกระตุ้นหรือรื้อฟื้นสัญญาอะไรเก่า ๆ ที่เขาเองก็ไม่อาจรู้ เขารู้สึกเพียงแต่ว่าเขาอยากไปศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม (ต่อมา คือ วัดพระธรรมกาย) เขาต้องไปที่นั่นให้ได้และหนังสือเดินไปสู่ความสุขเล่มนี้ ทำให้เขาได้ไปที่นั่นจริง ๆ..

         ชีวิตคุณยงยุทธ ดิลกเจริญ เริ่มผูกพันกับศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม เพราะที่นี่ทำให้เขารู้คุณค่าของการทำทาน รักษาศีลเจริญภาวนา เขามีศรัทธามากและเป็นหนึ่งในประธานสร้างโบสถ์ของวัดพระธรรมกายด้วย เขาไปที่วัดพระธรรมกายบ่อยมากจนคุ้นเคยใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์ คือ หลวงพ่อธัมมชโย และคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ศิษย์เอกหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

        ด้วยความเป็นลูกศิษย์นี่เองเวลามีปัญหาอะไรก็จะคอยปรึกษาไต่ถามคุณยายอาจารย์ฯตลอด แต่อย่างหนึ่งที่ไม่เคยลืมเลือนไปจากความทรงจำเลย และยิ่งรู้ว่าคุณยายเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่วัดปากน้ำด้วยแล้ว สิ่งนี้จึงถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีก ซึ่งก็คือ เรื่องราวครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กับคำพูดของยายผินที่ได้พูดไว้

กัลฯ ยงยุทธมากราบขอบารมีคุณยายฯ ตอนที่ยังไม่ได้บวช 

         พอคุณยงยุทธได้กราบคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ก็รีบเรียนถามท่านเลยว่า “คุณยายครับ..ทำไมเครื่องบินที่ทิ้งระเบิดลงมาถึงไม่โดนที่สำคัญ กลับลงทุ่งลงน้ำล่ะครับ”

        ซึ่งคุณยายท่านก็ตอบว่า “อ้าวคุณ.. เวลาที่เครื่องบินมันทิ้งระเบิด ยายเข้าที่อยู่กับหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อท่านสั่งให้ยายจัดการ ยายก็เนรมิตเมืองให้เป็นป่า..เป็นแม่น้ำ เนรมิตแม่น้ำ ให้เป็นบ้านเมือง เท่านี้ทิ้งเท่าไหร่ก็ทิ้งไม่ถูก” ซึ่งถ้าเราอยากจะเข้าใจอะไรให้มากขึ้น ต้องนั่งสมาธิและศึกษาวิชชาธรรมกายตามอย่างหลวงปู่วัดปากน้ำ เพราะการทำวิชชาธรรมกายเป็นเรื่องเหนือวิสัยที่จะเข้าใจด้วยจินตมยปัญญา (ปัญญาจากความคิด) หรือสุตตมยปัญญา (ปัญญาจากการฟัง) แต่จะเข้าใจได้ด้วยภาวนามยปัญญา (ปัญญาจากการเจริญภาวนา)

         ซึ่งการทำวิชชาสมัยหลวงปู่วัดปากน้ำเขาทำกันเป็นทีมต้องนั่งสมาธิจนมีความละเอียดมาก แล้วอาศัยพระธรรมกายปฏิหาริย์ให้เห็นเมืองเป็นป่า เห็นแม่น้ำเป็นเมืองอะไรอย่างนี้ ทหารที่ทิ้งระเบิดก็จะเข้าใจผิดทิ้งไม่โดนสักที ซึ่งสมัยที่หลวงพ่อวัดปากน้ำทำวิชชาก็มีคุณยายอาจารย์ฯ เป็นหัวหน้าทีมกะดึกในชุดนั้น สำหรับภาพส่วนหยาบที่คนทั้งหลายเห็นนั้น ก็เห็นต่าง ๆ กันไป เช่น เห็นเป็นภาพแม่ชีลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าปัดลูกระเบิดบ้าง ลอยอยู่เฉย ๆ บ้างซึ่งเรื่องละเอียดของวิชชาธรรมกาย เป็นดังข้างต้นที่อธิบายมานี้..

ประธานงานบุญกฐินสามัคคี

ปี พ.ศ. 2531 จันทร์ได้ขอให้พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์) เป็นประธานกฐินครั้งแรกในชีวิด ซึ่งในครั้งนั้นได้ทำการทอดกฐินสามัคคี ณ สภาธรรมกายสากลหลังคาจาก วัดพระธรรมกาย ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 และได้มีการทอดกฐิน ที่วัดพระธรรมกายเรียกว่า กฐินคุณยาย โดยการนำชื่อจันทร์มาเป็นประธานกฐิน ต่อมา ได้มีการทอดกฐินเนื่องในการระลึกถึงนางอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2553 และมีการสร้างอาคารเพื่อระลึกนึกถึงนางในโอกาสครบรอบ 100 ปีของอายุนาง ชื่อว่า อาคาร 100 ปี คุณยายอาจารย์จันทร์ ขนนกยูง

ชีวิตบั้นปลาย

ปีพ.ศ. 2537-2541 สุขภาพของคุณยายจันทร์อ่อนแอลงมาก ไม่สามารถออกมาต้อนรับและสอนศิษยานุศิษย์ได้ เช้ามืดของวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2543 คุณยายจันทร์เสียชีวิตด้วยโรคชรา ณ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่น กรุงเทพฯ

หลังจากการเสียชีวิตของคุณยายจันทร์ พระเทพญาณมหามุนีมีดำริให้สวดอภิธรรมติดต่อกันเป็นเวลา 500 วัน ณ บ้านแก้วเรือนทอง ซึ่งต่อมาคือพื้นที่ของ โรงเรียนอนุบาลผันในฝันวิทยา ที่อยู่ด้านเหนือของสภาธรรมกายสากล

พระเทพญาณมหามุนี ได้เลือกวันฌาปนกิจศพของคุณยายจันทร์ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นวันที่เดียวกับที่หลวงพ่อสดและทองสุกได้มรณภาพ ซึ่งในเวลาต่อมาทางวัดพระธรรมกายได้กำหนดให้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี คือ วันมหาปูชนียาจารย์

ในงานฌาปนกิจศพคุณยายจันทร์ พระเทพญาณมหามุนีจัดพิธีอย่างยิ่งใหญ่ โดยถวายหนังสือฎีกาที่พระเทพญาณมหามุนีลงชื่อเองเพื่อนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ทั่วเมืองไทยจาก 30,000 วัดทั่วประเทศไทยมางานร่วมกับศิษยานุศิษย์กว่า 200,000 คน

ภายหลังการฌาปนกิจศพ มีการอ้างว่า กระดูกของคุณยายจันทร์เปลี่ยนเป็นรัตนชาติ[7] คือ เป็นทอง ทับทิม และ แก้ว จึงบรรจุไว้ภายในมหารัตนธาตุเจดีย์ ประดิษฐาน ณ บ้านแก้วเรือนทองคุณยายฯ หรือโรงเรียนอนุบาลฝ้นในฝันวิทยา ซึ่งปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนไปในเดือนพฤษภาคม 2553 ส่วนอัฐิของจันทร์นั้นย้ายไปไว้ที่วิหารคุณยายฯ (ทรงปิรามิด) ในวันวิสาขบูชาที่ 4 มิถุนายน 2555 แต่บ้านแก้วเรือนทองคุณยายฯ ห้องกระจกที่เคยเป็นที่บรรจุรัตนอัฐิธาตุฯ นั้น ยังคงไว้เหมือนเดิม

อนุสรณ์

สำหรับอนุสรณ์ที่พระเทพญาณมหามุนีได้มีดำริให้ก่อสร้างขึ้นโดยอาศัยปัจจัยจากศิษยานุศิษย์ ได้แก่

  1. หอฉัน: หอฉันที่วัดพระธรรมกาย ได้ตั้งชื่อตามผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกายว่า "หอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง" หรือ เรียกโดยย่อว่า "หอฉันคุณยาย" สามารถรองรับพระภิกษุได้มากถึง 6,000 รูป โดยในแต่ละวัน จะมีสาธุชนมาร่วมกันถวายภัตตาหารและน้ำปานะแด่พระภิกษุสามเณร จำนวนกว่า 1,200 รูป ซึ่งประจำอยู่ ณ วัดพระธรรมกาย หอฉันมีพื้นที่กว้างขวางนี้ มักใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระภิกษุสามเณรอาคันตุกะ และยังเป็นที่รวมตัวกันของพระภิกษุสงฆ์เพื่อการสวดมนต์ การประชุม พร้อมทั้งเป็นสถานที่สำหรับสาธุชนในการถวายภัตตาหาร และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อนักบวช เช่น ผ้าไตรจีวร คิลานเภสัช เครื่องอุปโภค ผ้าห่ม ดอกไม้ ดอกบัว พวงมาลัย และอื่น ๆ
  2. มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง: สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้สถาปนาวัดพระธรรมกาย โดยเหล่าศิษยานุศิษย์ของจันทร์ ทั้งพระภิกษุและสาธุชน ร่วมกันประกอบพิธีตอกเสาเข็มต้นแรก สถาปนามหาวิหารฯ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2545 มหาวิหารฯ เสร็จสมบูรณ์ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2546 ทั้งพระภิกษุและสาธุชน ร่วมกันประกอบพิธีอัญเชิญรูปเหมือนทองคำของจันทร์ไปประดิษฐาน ณ ศูนย์กลางของมหาวิหารฯ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 มหาวิหารฯ เป็นสถาปัตยกรรมทรงพีระมิดหกเหลี่ยมสีทอง มหาวิหารฯ ตั้งอยู่ท่ามกลางสระน้ำและแมกไม้อันร่มรื่นภายในวัดพระธรรมกาย มหาวิหารฯ มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ 2 ชั้น โดยที่ชั้นที่ 1 ได้จัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับผลงานที่จันทร์ได้สร้างและอุทิศไว้ในพระพุทธศาสนา และจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวของจันทร์ เพื่อบ่งบอกถึงความเรียบง่าย สมถะในการใช้ชีวิตของผู้ที่รักการปฏิบัติธรรม การเป็นผู้สอนธรรมะ และผู้สถาปนาวัดพระธรรมกาย ส่วนชั้นที่ 2 สร้างไว้สำหรับเป็นห้องปฏิบัติธรรม โดยมีรูปหล่อทองคำแท้ของอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ตั้งอยู่ ณ กลางห้องปฏิบัติธรรม[8]
  3. อาคารร้อยปีคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง: ในปี พ.ศ. 2552 พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (พระเทพญาณมหามุนี) ได้ดำริให้สร้างอาคารเพื่อเป็นอนุสรณ์และบูชาธรรมแก่จันทร์ อีกหลังหนึ่งทดแทนพื้นที่ที่เคยเป็นสภาธรรมกายสากลหลังคาจากที่ได้เคยใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมตั้งแต่ครั้งสร้างวัดพระธรรมกายได้ไม่นานนัก ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของวัด เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นห้องปฏิบัติธรรมของพุทธบริษัทสี่ขนาดใหญ่ เป็นห้องประชุมทางด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ โดยมีเจตจำนงให้เป็นฐานที่ตั้งด้านวิชาการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลกและวิธีปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน โดยให้ชื่ออาคารหลังนี้ว่า "อาคารร้อยปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง" โดยมีการระดมทุนร่วมปัจจัยสร้างโดยการทอดกฐินสามัคคี ซึ่งให้ชื่อว่า "กฐินบรมจักรพรรดิ์" ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เสียงวิพากษ์

มีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับจันทร์ ขนนกยูง ที่สังคมเห็นว่าเป็นเรื่องหลอกลวง เช่น เรื่องเล่าจากวัดพระธรรมกายว่า จันทร์ ขนนกยูงเหาะขึ้นอากาศไปปัดระเบิดปรมาณูในสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้พ้นจากประเทศไทยไปตกที่เมืองฮิโระชิมะและนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่นแทน และทำให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก [9] ได้มีการอภิปรายเรื่องเล่านี้ในบริการเครือข่ายสังคมและกระทู้อินเทอร์เน็ต เช่นเว็บพันทิป.คอม โดยมีการคำนวณแรงที่ต้องใช้ในการปัดระเบิดอย่างคร่าว ๆ และแสดงให้เห็นว่าการปัดระเบิดเป็นไปไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์[10] นอกจากนี้ยังมีการเขียนบทความหรือเรื่องราวขึ้นมาล้อจันทร์ ขนนกยูงมากมาย[11]

อ้างอิง

  1. ลูกจันทร์นี้ หนึ่งไม่มีสอง, ลูกจันทร์นี้ หนึ่งไม่มีสอง
  2. FLASH ประวัติคุณยายอาจารย์ฯ
  3. เข้าสู้เส้นทางธรรม, เข้าสู่เส้นทางธรรม
  4. 4.0 4.1 ออกบวช, ออกบวชที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
  5. สร้างวัดพระธรรมกาย, การก่อสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมและวัดพระธรรมกาย
  6. พระจันทร์วันเพ็ญ 1. กรุงเทพมหานคร : วัชระออฟเซ็ท, 2544.
  7. สุนิดา นาคเสน. อยู่กับยาย. กรุงเทพมหานคร : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์, 2545.
  8. มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
  9. ประภาศรี บุญสุข, คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงผู้ให้กำเนิดวัดธรรมกาย พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง) หน้า 55-56 ISBN 9748962083 หรือหนังสือออนไลน์
  10. http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2007/08/X5729877/X5729877.html
  11. เช่น เว็บดราม่าแอดดิก จากดราม่าแอดดิก.คอม หรือเว็บอันไซโคลพีเดีย จากอันไซโคลพีเดีย
  • อารีพันธุ์ ตรีอนุสรณ์. คืนที่พระจันทร์หายไป. กรุงเทพมหานคร : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์, 2544.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น