ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาสนาประจำชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mahawatpa2 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
{{legend|#EBCF16|[[ศาสนาพุทธ]]}}]]
{{legend|#EBCF16|[[ศาสนาพุทธ]]}}]]


'''ศาสนาประจำชาติ''' คือ องค์กรศาสนาซึ่งรัฐสนับสนุนอย่างเป็นทางการ รัฐที่มีศาสนาประจำชาติไม่จำเป็นต้องเป็น[[เทวาธิปไตย]] แต่ไม่ใช่[[รัฐฆราวาส]]
== '''''[[ประวัติศาสนาพุทธ|ศาสนาพุทธ]]''''' พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย '''พระพุทธศาสนา'''เข้ามาสู่ดินแดนที่เป็น[[ประเทศไทย]]ในปัจจุบัน เมื่อประมาณ [[พ.ศ. 236]] สมัยเดียวกันกับ[[ประเทศศรีลังกา]] ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของ[[พระเจ้าอโศกมหาราช]] กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า[[สุวรรณภูมิ]] ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย [[พม่า]] [[ศรีลังกา]] [[ญวน]] [[กัมพูชา]] [[ลาว]] [[มาเลเซีย]] ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่[[จังหวัดนครปฐม]]ของไทย เนื่องจากได้พบ[[โบราณวัตถุ]]ที่สำคัญ เช่น[[พระปฐมเจดีย์]] และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่[[พม่า]]ก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า [[พระพุทธศาสนา]]เข้ามาสู่[[สุวรรณภูมิ]]ในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาว[[อินเดีย]] เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ==


== สมัย[[ทวาราวดี]] ==
[[พระปฐมเจดีย์]] สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตใน[[พระเจ้าอโศกมหาราช]] เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิ

พระโสณะและพระอุตตระได้เดินทางจากแคว้นมคธ เข้ามาประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะมีศูนย์กลางอยู่บริเวณตอนกลางของไทยในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น [[พระปฐมเจดีย์]]ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น

[[พระพุทธศาสนา]]ที่เข้ามาในสมัยนี้ เป็น[[นิกายเถรวาท]]ดั้งเดิม โดยพุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาเลื่อมใสบวชเป็น[[พระภิกษุ]]จำนวนมาก และได้สร้างสถูป[[[[ถูปารหบุคคล|เจดีย์]]]]ไว้สักการบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือน[[สถูปสาญจี]]ใน[[ประเทศอินเดีย]]ที่[[พระเจ้าอโศกมหาราช]]ทรงสร้างขึ้น โดยศิลปะในยุคนี้ เรียกว่า [[ศิลปะทวารวดี]]

== [[สมัยอาณาจักรอ้ายลาว]] ==
'''สมัยอาณาจักรอ้ายลาว''' ซึ่งเป็นอาณาจักรของบรรพบุรุษชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การยึดครองของชาวจีนฮั่น [[พระพุทธศาสนา]]ในยุคนี้คาดว่าเป็นแบบ[[มหายาน]] ในสมัยขุนหลวงม้าว กษัตริย์ที่ทรงครองราชย์อยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว ก่อนที่จะอพยพเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน ได้รับเอาพระพุทธศาสนามหายาน โดยการนำของพระสมณทูตชาว[[อินเดีย]]มาเผยแผ่ ในคราวที่[[พระเจ้ากนิษกะมหาราช]]ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 4 ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน[[เอเชีย]]กลาง ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง 77 มีราษฎร 51,890 ครอบครัว เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานแทนเถรวาท

== สมัย[[อาณาจักรศรีวิชัย]] (พุทธศตวรรษที่ 13) ==
[[อาณาจักรศรีวิชัย]]ใน[[เกาะสุมาตรา]]เจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-13กษัตริย์ศรีวิชัยมีพระราชศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ดังหลักฐานที่ปรากฏ ได้แก่ เจดีย์พระบรมธาตุไชยา เจดีย์โบโรพุทโธ รูปหล่อ[[พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร]] รวมถึงหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนสุวรรณภูมิ

== สมัย[[ลพบุรี]] (พุทธศตวรรษที่ 15) ==
[[พระปรางค์สามยอด]] [[จังหวัดลพบุรี]]

ในสมัยกษัตริย์[[กัมพูชา]]ราชวงศ์สุริยวรมันเรืองอำนาจนั้น ได้แผ่อาณาเขตขยายออกมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ในราว [[พ.ศ. 1540]] และได้ตั้งราชธานีเป็นที่อำนวยการปกครองเมืองต่าง ๆ ในดินแดนดังกล่าวขึ้นหลายแห่ง เช่น
* เมือง[[ลพบุรี]] ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวารวดี ส่วนข้างใต้
* เมือง[[สุโขทัย]] ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวารวดี ส่วนข้างเหนือ
* เมือง[[อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ|ศรีเทพ]] ปกครองหัวเมืองที่อยู่ตามลุ่ม[[แม่น้ำป่าสัก]]
* เมืองพิมาย ปกครองเมืองที่อยู่ในที่ราบสูงตอนข้างเหนือ
เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนี้เมืองลพบุรีหรือละโว้ ถือว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด กษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมัน ทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ฝ่ายมหายานในสมัยนี้ผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนในอาณาเขตต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิม กับแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ด้วย ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาทั้ง 2 แบบ และมีพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน สำหรับศาสนสถานที่เป็นที่ประจักษ์พยานให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยครั้งนั้น ได้แก่[[พระปรางค์สามยอด]]ที่[[จังหวัดลพบุรี]] [[ปราสาทหินพิมาย]] ที่[[จังหวัดนครราชสีมา]] และ[[ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง]]ที่[[จังหวัดบุรีรัมย์]] เป็นต้น ส่วน[[พระพุทธรูป]]ที่สร้างในสมัยนั้นถือเป็นศิลปะอยู่ในกลุ่ม ศิลปสมัยลพบุรี

== สมัยเถรวาทแบบ[[พุกาม]] ==
ในสมัยที่พระเจ้าอนุรุทธิ์มหาราช กษัตริย์พุกามเรืองอำนาจ ทรงรวบรวมเอา[[พม่า]]กับ[[มอญ]]เข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึง[[อาณาจักรล้านนา]] [[อาณาจักรล้านช้าง]] [[ละโว้]] และ[[ทวารวดี]] พระเจ้าอนุรุทธทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่าย[[เถรวาท]] ทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง

ส่วนชนชาติไท หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวถูกจีนทำลายจนพินาศ ก็ได้มาตั้ง[[อาณาจักรน่านเจ้า]] ถึงประมาณ [[พ.ศ. 1299]] ขุนท้าวกวาโอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า ได้สถาปนาแคว้นโยนกเชียงแสนขึ้น ต่อมาอาณาจักรน่านเจ้าได้ถูกจีนแทรกซึมเข้าทำลายจนพินาศอีกครั้ง ซึ่งในคราวนี้ผู้ปกครองของจีนได้ใช้วิธีแบ่งชาวไทออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยแล้วผลักดันออกไปคนละทิศละทาง และนับแต่นั้นเป็นต้นมาชาวไทก็ได้แตกสานซ่านเซ็นจนรวมกันไม่ติดอยู่จนถึงวันนี้ คือ ทางตะวันตกได้ถูกจีนผลักดันจนแตกกระจัดพลัดพรายไปถึงอัสสัม(อยู่ทางภาคตะวันออกของอินเดียในปัจจุบัน)ส่วนทางตะวันออกก็กระจัดกระจายไปถึงกวางสี หูหนาน เกาะไหหลำ รวมถึงตอนเหนือของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ส่วนทางใต้นั้นก็ได้แก่ประชากรในประเทศต่างๆทางเอเชียอาคเนย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศลาวและไทย<sup>[''[[วิกิพีเดีย:ต้องการอ้างอิง|ต้องการอ้างอิง]]'']</sup>

เมื่อกษัตริย์ขอม(กัมพูชา)เรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจของขอม ก็ได้รับทั้งศาสนาและวัฒนธรรมของเขมรไว้ด้วย ส่วนทางล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากพม่าเช่นเดียวกัน คือ เมื่ออาณาจักรพุกามของกษัตริย์พม่าเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ ดังเห็นว่ามีปูชนียสถานแบบพม่าหลายแห่ง และเจดีย์ที่มีฉัตรอยู่บนยอด และฉัตรที่ 4 มุมของเจดีย์ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะพุกามแบบพม่า

== สมัย[[กรุงสุโขทัย]] ==
[[พระพุทธชินราช]] สร้างในสมัย [[พระมหาธรรมราชาที่ 1]] ได้รับการยกย่องว่ามีความงดงามเป็นเลิศ

วัดศรีชุม สุโขทัย

หลังจากอาณาจักรพุกามและ[[กัมพูชา]]เสื่อมอำนาจลง คนไทยจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นเอง 2 อาณาจักร ได้แก่ [[อาณาจักรล้านนา]]ทางภาคเหนือของไทย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่[[จังหวัดเชียงใหม่]]และ[[อาณาจักรสุโขทัย]]ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่[[จังหวัดสุโขทัย]]ในปัจจุบัน เมื่อ[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงสดับกิตติศัพท์ของ[[พระสงฆ์]]ลังกา จึงทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระชาวลังกาที่มาเผยแผ่อยู่ที่[[นครศรีธรรมราช]] มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน[[กรุงสุโขทัย]]

พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ในสมัย[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]] และครั้งที่ 2 ในสมัย[[พระยาลิไท]] พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก [[ศิลปะ]][[สมัยสุโขทัย]]ได้รับการกล่าวขานว่างดงามมาก โดยเฉพาะ[[พระพุทธรูป]]สมัย[[สุโขทัย]] มีลักษณะงดงาม ไม่มี[[ศิลปะ]]สมัยใดเหมือน

== สมัย[[ล้านนา]] ==
ปี [[พ.ศ. 1839]] [[พญามังราย]] ทรงสร้างราชธานีขึ้น ชื่อว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ ลุ่ม[[แม่น้ำปิง]] ได้สร้างเมือง สร้างวัง และวัดขึ้น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้สร้างวัดต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นฝ่ายคามวาสี และอรัญญวาสี จนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านนา เช่น [[เชียงราย]] [[ลำพูน]] [[ลำปาง]] [[แพร่]] [[น่าน]] และ[[พะเยา]] ต่างก็มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพระพุทธศาสนา พิธีกรรมและความเชื่อทางศาสนามีอิทธิพลต่อชาวล้านนาอย่างมาก ในรัชสมัยของ[[พระเจ้าติโลกราช]]แห่งเชียงใหม่ ได้ทำการสังคายนา[[พระไตรปิฎก]]ครั้งแรกในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันขึ้น ณ [[วัดมหาโพธาราม]] (วัดเจ็ดยอด) เมื่อ ปี [[พ.ศ. 2020]] ในสมัยล้านนา ได้เกิดมีพระเถระนักปราชญ์ชาวล้านนาหลายรูป ท่านเหล่านั้นได้รจนาคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พระสิริมังคลาจารย์ พญาณกิตติเถระ พระรัตนปัญญา พระโพธิรังษี พระนันทาจารย์ และพระสุวรรณรังสี

== สมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] ==
พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยานั้นมีความเป็นฮินดูปนอยู่ค่อนข้างมาก พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนพิธีของพราหมณ์มากกว่าที่ใดๆ ราษฎรอยุธยามุ่งในเรื่องการบุญการกุศล สร้างวัดวาอาราม สร้างปูชนียวัตถุ บำรุงศาสนาเป็นส่วนมาก ในสมัยอยุธยาต้องประสบกับภาวะสงครามกับ[[พม่า]] จนเกิดภาวะวิกฤตทางศาสนาหลายครั้ง ประวัติศาสตร์อยุธยาแบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่

=== สมัยอยุธยาช่วงแรก (พ.ศ. 1991 - 2031) ===
ในสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบร่มเย็น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ผนวชเป็นเวลา 8 เดือน เมื่อ [[พ.ศ. 1998]] และทรงให้พระราชโอรสกับพระราชนัดดาผนวชเป็น[[สามเณร]]ด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการเริ่มต้นของประเพณีการบวชเรียนของเจ้านายและข้าราชการ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการรจนาหนังสือมหาชาติคำหลวง ใน [[พ.ศ. 2025]]

=== สมัยอยุธยาช่วงที่สอง ( พ.ศ. 2034 - 2173) ===
สมัยนี้ได้มีความนิยมในการสร้างวัดขึ้น ทั้งกษัตริย์และประชาชนทั่วไป นิยมสร้างวัดประจำตระกูล ในสมัย[[พระเจ้าทรงธรรม]]ได้พบ[[พระพุทธบาท]] สระบุรี ทรงให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาทไว้ และโปรดให้ชุมชนราชบัณฑิตแต่งกาพย์มหาชาติ เมื่อ [[พ.ศ. 2170]] และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกด้วย

=== สมัยอยุธยาช่วงที่สาม (พ.ศ. 2173 - 2310) ===
พระมหากษัตริย์ที่มีพระนามยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ ได้แก่[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]] พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากทั้งต่อฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สมัยนี้[[ฝรั่งเศส]]ได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่[[คริสต์ศาสนา]] และอาจทูลขอให้พระนารายณ์เข้ารีต แต่พระองค์ทรงมั่นคงในพระพุทธศาสนา มิชชันนารี่ฝรั่งเศสจึงต้องผิดหวังไป

=== สมัยอยุธยาช่วงที่สี่ (พ.ศ. 2275 - 2310) ===
พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทมากในยุคนี้ ได้แก่ [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] เสวยราช เมื่อ [[พ.ศ. 2275]] การบวชเรียนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงยุคหลัง ถึงกับกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมาเท่านั้น จึงจะทรงแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ให้ ในสมัยนี้ได้ส่งพระภิกษุเถระชาวไทยไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศลังกาตามคำทูลขอของกษัตริย์ลังกา เมื่อ [[พ.ศ. 2296]] จนทำให้พุทธศาสนากลับเจริญรุ่งเรืองในลังกาอีกครั้ง จนถึงปัจจุบัน และเกิดนิกายของคณะสงฆ์ไทยขึ้นในลังกา ชื่อว่า[[นิกายสยามวงศ์]] นิกายนี้ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน

== สมัย[[กรุงธนบุรี]] ==
พระแก้วมรกต

ในยุคนี้นับเป็นยุคแห่งความเสื่อมของพุทธศาสนาอีกสมัยหนึ่ง คือ นับแต่พระยาตาก(สิน)ได้ชักนำคนไทยเชื้อสายจีนหนีฝ่าทัพพม่าออกจากกำแพงพระนครศรีอยุธยาจน[[กรุงศรีอยุธยา]]ถูกพม่าตีแตกในปี [[พ.ศ. 2310]]แล้ว พม่าได้ทำลายบ้านเมืองจนเสียหายย่อยยับ ล้างผลาญชีวิตคน ข่มขืนผู้หญิงไทย ปล้นเอาทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด กวาดต้อนประชาชนแม้กระทั่งพระสงฆ์ไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามถูกเผาทำลาย ครั้นต่อมาพระยาตาก(สิน)ได้สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์และตั้งราชธานีใหม่ คือ กรุง[[ธนบุรี]]แล้ว ได้ทำนุบำรุงพระศาสนา และได้ชำระวงการศาสนาใหม่ ลงโทษสมณะที่กระทำความชั่วอันไม่สมกับความเป็นสมณะ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เมื่อเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ ในปี[[พ.ศ. 2322]] เจ้าพระยาจักรีก็ได้อัญเชิญ[[พระแก้วมรกต]]จาก[[เวียงจันทน์]]มาไว้ยังประเทศไทยด้วยเช่นกัน

== สมัย[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ==

=== รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325 - 2352) ===
[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี [[พ.ศ. 2325]] ต่อจากพระเจ้าตากสิน ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มาตั้งราชธานีใหม่ เรียกชื่อว่า [[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช)|กรุงรัตนโกสินทร์]]

ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ เช่น การสร้าง [[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] [[วัดสุทัศน์เทพวราราม]] [[วัดสระเกศ]] และ[[วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม]] เป็นต้น โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 และถือเป็นครั้งที่ 2 ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน ณ [[วัดมหาธาตุ]]ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ทรงสถาปนา[[สมเด็จพระสังฆราช]]องค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนา[[พระสังฆราช]] (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี [[พ.ศ. 2352]]

=== รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2352 - 2367) ===
[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ [[พ.ศ. 2352]] เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชถึง 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (มี) , สมเด็จพระสังฆราช (สุก) , และสมเด็จพระสังฆราช (สอน)

ในปี [[พ.ศ. 2357]] ทรงจัดส่งสมณทูต 8 รูป ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา ได้จัดให้มีการจัดงาน[[วันวิสาขบูชา]]ขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2360 ซึ่งแต่เดิมก็เคยปฏิบัติถือกันมาเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย แต่ได้ขาดตอนไปตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จึงได้มีการฟื้นฟูวันวิสาขบูชาใหม่ ได้โปรดให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการสอบไล่ปริยัติธรรมขึ้นใหม่ ได้ขยายหลักสูตร 3 ชั้น คือ เปรียญตรี -โท - เอก เป็น 9 ชั้น คือ ชั้นประโยค 1 - 9

=== รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 - 2394) ===
[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดให้มีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงเพิ่มจำนวนขึ้นไว้อีกหลายฉบับครบถ้วนกว่ารัชกาลก่อน ๆ โปรดให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือ [[วัดเทพธิดาราม]] วัดราชราชนัดดา และวัดเฉลิมพระเกียรติ ได้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ได้เกิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ ([[เจ้าฟ้ามงกุฏ]]) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระ[[มอญ]] ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ [[พ.ศ. 2372]] ได้ตั้งคณะ[[ธรรมยุติ]]ขึ้นในปี [[พ.ศ. 2376]] แล้วเสด็จมาประทับที่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]] และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ

=== รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 -2411) ===
[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 4 เมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ผนวช 27 พรรษาแล้วได้ลาสิกขาขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษา ใน [[พ.ศ. 2394]] ด้านการพระศาสนา ทรงพระราชศรัทธาสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด เช่น [[วัดปทุมวนาราม]] [[วัดโสมนัสวิหาร]] [[วัดมกุฏกษัตริยาราม]] [[วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม]] และ[[วัดราชบพิธ]] เป็นต้น ตลอดจนบูรณะวัดต่าง ๆ อีกมาก โปรดให้มีพระราชพิธี "[[มาฆบูชา]]" ขึ้นเป็นครั้งแรก ใน [[พ.ศ. 2394]] ณ ที่[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] จนได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้

=== รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453) ===
[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ [[พ.ศ. 2411]] ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น คือ วัดราชบพิตร [[วัดเทพศิรินทราวาส]] [[วัดเบญจมบพิตร]] วัดอัษฎางนิมิตร วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา และ[[วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ]] ทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่น ๆ อีก ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสนาจำนวนมาก โปรดให้มีการเริ่มต้นการศึกษาแบบสมัยใหม่ใน[[ประเทศไทย]] โดยให้พระสงฆ์รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ
* [[พ.ศ. 2427]] ได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก ณ [[วัดมหรรณพาราม]]
* [[พ.ศ. 2414]] โปรดให้จัดการศึกษาแก่ประชาชนในหัวเมือง โดยจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมืองขึ้น
* [[พ.ศ. 2435]] มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน) โปรดให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกด้วย[[อักษรไทย]] จบละ 39 เล่ม จำนวน 1,000 จบ
* [[พ.ศ. 2432]] โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร จากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกมาเป็นบาลีวิทยาลัย ชื่อมหาธาตุวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุ
* [[พ.ศ. 2439]] ได้ประกาศเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร
* [[พ.ศ. 2436]] [[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] ทรงจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุตินิกาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเปิดในปีเดียวกัน

=== รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 -2468) ===
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระปรีชาปราดเปรื่องในความรู้ทางพระศาสนามาก ทรงนิพนธ์หนังสือแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น ถึงกับทรงอบรมสั่งสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง โปรดให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน ร.ศ. เมื่อ [[พ.ศ. 2456]] ให้เปลี่ยนกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
* [[พ.ศ. 2454]] สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็นข้อเขียน เป็นครั้งแรก
* [[พ.ศ. 2469]] ทรงเริ่มการศึกษาพระปริยัติธรรมใหม่ขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง เรียกว่า "นักธรรม" โดยมีการสอบครั้งแรกเมื่อ เดือนตุลาคม [[พ.ศ. 2454]] ตอนแรกเรียกว่า "องค์ของสามเณรรู้ธรรม"
* [[พ.ศ. 2462]] ถึง [[พ.ศ. 2463]] โปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกและอรรถกถาชาดก และคัมภีร์อื่นๆ เช่น [[วิสุทธิมรรค]] คัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นต้น

=== รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477) ===
[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2468]] - [[พ.ศ. 2473|2473]] เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นการสังคายนาครั้งที่ 3 ในเมืองไทย แล้วทรงจัดให้พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ชุดละ 45 เล่ม จำนวน 1,500 ชุด และพระราชทานแก่ประเทศต่าง ๆ ประมาณ 500 ชุด โปรดให้ย้ายกรมธรรมการกลับเข้ามารวมกับ[[กระทรวงศึกษาธิการ]] และเปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการอย่างเดิม โดยมีพระราชดำริว่า "การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด" ต่อมาปี [[พ.ศ. 2471]] กระทรวงธรรมการประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาสำหรับนักเรียน ได้เปิดให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่ เรียกว่า "ธรรมศึกษา" ในรัชสมัย[[รัชกาลที่ 7]] ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย เมื่อ[[คณะราษฎร]]ได้ทำการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]] เป็น[[ระบอบประชาธิปไตย]] เมื่อวันที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อ [[พ.ศ. 2477]] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8

=== รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 - 2489) ===
[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8 ในขณะพระพระชนมายุ เพียง 9 พรรษาเท่านั้น และยังกำลังทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในด้านการศาสนาได้มีการแปลพระไตรปิฎกเป็น[[ภาษาไทย]] แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
# พระไตรปิฎก แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด 80 เล่ม เรียกว่าพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ และได้ทำต่อจนเสร็จเมื่องานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปี [[พ.ศ. 2500]]
# พระไตรปิฎก แปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ใบลาน แบ่งเป็น 1250 กัณฑ์ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อ [[พ.ศ. 2492]]
* พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็น[[กระทรวงศึกษาธิการ]] และกรมธรรมการเปลี่ยนเป็น [[กรมการศาสนา]] และในปีเดียวกัน รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ [[พ.ศ. 2484]] เมื่อวันที่ [[14 ตุลาคม]] เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่
* [[พ.ศ. 2488]] มหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ [[พ.ศ. 2436]] ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ชื่อ "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย" เมื่อวันที่ [[10 ธันวาคม]]
* [[พ.ศ. 2498]] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ถูกลอบปลงพระชนม์ เนื่องด้วยความวุ่นวายทางการเมือง เมื่อวันที่ [[9 มิถุนายน]]
[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ 9 รัชกาลปัจจุบัน

=== สมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน) ===

[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 9 สืบต่อมา มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงเป็นศาสนูปถัมภก ทรงให้การอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนา ทรงสร้างวัดแห่งหนึ่งที่[[จังหวัดชลบุรี]] และทรงปกครองบ้านเมืองโดยสงบร่มเย็น ตามระบอบ[[ประชาธิปไตย]]อันมี[[พระมหากษัตริย์]]ทรงเป็นประมุข ในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบันได้มีการส่งเสริมพุทธศาสนาด้านต่าง ๆ มากมาย

ในปี [[พ.ศ. 2500]] ซึ่งเป็นปีครบรอบ 2,500 ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน วันที่ [[12 พฤษภาคม|12]]-[[18 พฤษภาคม]] 2500 รัฐบาลได้จัด[[งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ]]ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งอินเดียและลังกาเรียกว่า "พุทธชยันตี" โดยกำหนดให้วันที่ 12-14 พฤษภาคมเป็นวันหยุดราชการ ศาลาพิธีตั้งอยู่กลาง[[ท้องสนามหลวง]] พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดงาน มีผู้แทนจาก 13 ประเทศเข้าร่วม พระสงฆ์ 2,500 รูป เจริญพระพุทธมนต์พร้อมกันดังกังวานก้องไปทั่วทุกทิศ และมีการเชิญชวนพุทธศาสนิกชนรักษา[[ศีลห้า]]หรือ[[ศีลแปด]] ตลอด 7 วัน 7 คืน

ในปี พ.ศ. 2500 นี้ รัฐบาลได้กำหนดพิธีเฉลิมฉลองทั่วประเทศ มีการจัดสร้างพุทธมณฑล ขึ้น ณ ที่ดิน 2,500 ไร่ ระหว่างกรุงเทพ-นครปฐม แล้วสร้างพระมหาพุทธปฏิมาปางประทับยืนลีลาสูง 2500 นิ้ว ภาย ในบริเวณรอบองค์พระมีภาพจำลองพระพุทธประวัติ และมีพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ได้ปลูกต้นไม้ที่มีชื่อในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้น สร้างพระพิมพ์ปางลีลาเป็นเนื้อชินและเนื้อผงจำนวน 4,842,500 องค์ พิมพ์พระไตรปิฎกแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยออกเผยแพร่ และบูรณะปูชนียสถานวัด วาอารามทั่วพระราชอาณาจักร อุปสมบทพระภิกษุจำนวน 2,500 รูป และนิรโทษกรรมแก่นักโทษ ประกวด วรรณกรรม ศิลปะทางพระพุทธศาสนา โดยเชิญผู้แทนพุทธศาสนิกชนทั่วโลกมาร่วมอนุโมทนา

ในปัจจุบันนี้มีประชากรไทยนับถือพุทธศาสนามากกว่าร้อยละ 94 และมีพุทธศาสนิกชนมากเป็นอันดับ 4 ของโลก (รองจากประเทศจีน [[ประเทศญี่ปุ่น|ญี่ปุ่น]] และ[[ประเทศเวียดนาม|เวียดนาม]] ตามลำดับ)

== ''.เหตุฉะนี้ เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตั้งใจที่จะรักษาความมั่นคงของ[[ศาสนาพุทธในประเทศไทย]]อย่าให้มีอันตรายมาถึงได้… จึงเป็นหน้าที่ของเราทั้งหลายที่เป็นเชื้อชาตินักรบต้องรักษาพระศาสนานี้ให้คงอยู่ในเมืองไทยอีกต่อไป ต้องรักษาไว้เพื่อให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานของเราทั้งหลาย….เราจะต้องรักษาความเป็นไทยของเราให้ยั่งยืน เราจะต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ถาวรวัฒนาการอย่างที่เป็นมาแล้วหลายชั่วโคตรของเราทั้งหลาย'' ==

=== ''[[องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา]]'' ===

=== พระพุทธศาสนามีองค์ประกอบที่สำคัญ ๔ ประการ คือ ===

===== ๑. [[ถูปารหบุคคล|ศาสนวัตถุ]] เช่น วัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนา =====

===== ๒. [[พระวินัยปิฎก|ศาสนพิธี]]หมายถึง พิธีกรรม ระเบียบประเพณีทางพระพุทธศาสนา เช่น พิธีทำบุญ พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีบวช พิธีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า =====

===== ๓. [[พุทธศาสนิกชน|ศาสนบุคคล]] หมายถึง บุคคลในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระภิกษุ สามเณร พุทธศาสนิกชนทุกคน =====

===== ๔. [[พระธรรม (ศาสนาพุทธ)|ศาสนธรรม]] หมายถึง หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา กล่าวโดยย่อ ได้แก่ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิและปัญญา =====

=== '''[[พระธรรม (ศาสนาพุทธ)|ศาสนธรรม]]''' เป็นแก่นแท้ของศาสนาที่จะต้องพยายามให้เข้าถึงส่วนศาสนวัตถุ ศาสนพิธี และศาสนบุคคล เป็นเปลือกหรือกะพี้ ซึ่งก็มีความสำคัญเพราะช่วยห่อหุ้มแก่นไว้ เหมือนเปลือกกะพี้ต้นไม้ที่หุ้มห่อแก่นของต้นไม้ไว้ ต้นไม้ที่มีแต่แก่น หากไม่มีเปลือกและกะพี้ห่อหุ้มไว้ไม่อาจจะอยู่ได้นานฉันใด พระสัทธรรมที่ขาดศาสนวัตถุ ศาสนพิธี และศาสนบุคคล ก็ไม่อาจอยู่ได้นานฉันนั้น ===

== ''การส่งเสริมพระพุทธศาสนาจึงต้องส่งเสริมองค์ประกอบทั้ง ๔ ของพระพุทธศาสนา คือ รักษาส่งเสริมศาสนวัตถุให้อยู่ในสภาพที่ดี เช่น รักษาวัดวาอารามให้สะอาด น่ารื่นรมย์ ให้เหมาะสมเป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม รักษาและปฏิบัติตามศาสนพิธี คือ พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาให้ถูกต้อง สนับสนุนการศึกษา การปฏิบัติธรรม และการเผยแผ่ธรรมของพระสงฆ์ ส่งเสริมพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา รักษาและปฏิบัติตามศาสนธรรมที่เป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่สัทธรรมปฏิรูปหรือสัทธรรมปลอม ป้องกันสัทธรรมปฏิรูปหรือสัทธรรมปลอมเข้ามาในพระพุทธศาสนา ในภาวะวิกฤตของสังคมไทยเช่นในปัจจุบัน การก่อสร้างศาสนวัตถุใหญ่โตที่ไม่จำเป็น ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากและรบกวนประชาชน ควรจะระงับไว้ก่อน สิ่งที่ควรจะสร้างในปัจจุบัน คือ "คน" คือ พยายามนำธรรมะให้เข้าถึงคน และพยายามนำคนให้เข้าถึงธรรมะ ให้คนได้มีธรรมะเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ อย่าอยู่อย่างคนที่ไร้ที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยว เมื่อมีมรสุมพัดมาก็อาจจะถูกมรสุมพัดพาไปสู่ภัยพิบัติได้โดยง่าย'' ==

=== '''พระพุทธศาสนากับชาติไทย''' ===

=== [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระมหาธีรราชเจ้า ได้ทรงพระราชนิพนธ์เกี่ยวกับชาติและศาสนา มีข้อความดังนี้ ===

=== " ชาติกับศาสนาเป็นสิ่งต่อเนื่องกัน ถ้าชาติพินาศแล้วศาสนาก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ ถ้าศาสนาเสื่อมทรามจนสูญสิ้นไปแล้ว ประชาชนก็จะมีคุณธรรมย่อหย่อนลงไป จนท้ายไม่มีอะไรเลย ชาติใดไร้คุณธรรม ชาตินั้นก็ต้องถึงแก่ความพินาศล่มจม คงต้องเป็นข้าชาติอื่นที่มีคุณธรรมบริบูรณ์อยู่ " ===

=== ใน[[เทศนาเสือป่า]] พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งถึงพระพุทธศาสนา มีข้อความดังนี้ ===

=== " [[พุทธศาสนาเป็นของไทย]] เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด ผู้ที่แปลงศาสนา คนเขาดูถูกยิ่งกว่าคนที่แปลงชาติ เพราะเหตุฉะนั้น เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลายผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในพ[[ระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา]] " ===

=== พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช ได้ทรงมีพระราชดำรัสแด่พระสันตปาปา จอห์นพอลที่ ๒ ประมุขแห่งศาสนจักร คาทอลิก ในคราวที่เข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๗ มีข้อความตอนหนึ่งว่า ===

=== " คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือ[[พระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ]] " ===

== " [[ประเทศไทย|ชาวไทย]]ซึ่งเป็น[[พุทธมามกะ]]ชน มีจิตสำนึกมั่นคงอยู่ใน[[กุศลกรรมบถ|กุศลสุจริต]]และในความเมตตากรุณา เห็นว่า[[ศาสนาในประเทศไทย|ศาสนา]]ทั้งปวงย่อมสั่งสอน[[เบญจศีล|ความดี]] ให้บุคคลประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่เป็นประโยชน์ ให้ใฝ่หาความสงบสุขความผ่องใสให้แก่ชีวิต ทั้งเรายังมีเนติแบบธรรมเนียมให้ต้อนรับนับถือชาวต่างชาติต่างศาสนาด้วยความเป็นมิตร แผ่ไมตรีแก่กันด้วยเมตตาจิตและด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจ มิให้ดูแคลนเบียดเบียนผู้ถือสัญชาติและศาสนาอื่น ด้วยจะเป็นการนำความแตกร้าวและความรุนแรงเดือดร้อนมาให้ ดังนี้ คริสต์ศาสนาจึงเจริญงอกงามขึ้นในประเทศนี้ " ==

==== พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ ได้ทรงประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะทศพิธราชธรรม ====

==== [https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9:%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2&search=%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A110&se ทศพิธราชธรรม]เป็นธรรมของพระราชาและนักปกครอง มี ๑๐ ประการ คือ ====

==== ๑. [[ทาน]] การให้ ทั้งวัตถุทาน ธรรมทาน และอภัยทาน ====

==== ๒. [[ศีล]] ความประพฤติดีงาม งดเว้นจากการทำชั่ว เสียหาย ไม่ทำอะไรที่เป็นการไม่เหมาะไม่ควร ====

==== ๓. [[ปริจจาคะ]] การเสียสละ ยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ====

==== ๔. [[อาชชวะ]] ความตรง คือประพฤติซื่อตรง ไม่คิดทรยศต่อประชาชนและประเทศชาติ ====

==== ๕. [[มัททวะ]] ความอ่อนโยน มีกายวาจาสุภาพ อ่อนโยน ต่อคนทั้งปวง ====

==== ๖. [[ตบะ|ตปะ]] ความเพียร เพียรปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลดละเบื่อหน่าย มีความกล้าหาญไม่อ่อนแอย่อท้อ ====

==== ๗. [[อักโกธะ]] ความไม่โกรธ ไม่ลุอำนาจของความโกรธ และกระทำไปด้วยอำนาจของความโกรธ ====

==== ๘. [[อวิหิงสา]] การไม่เบียดเบียน ไม่ทำอะไรให้เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีจิตประกอบด้วยกรุณาคิดช่วยเหลือผู้อื่น ====

==== ๙. [[ขันติ]] ความอดทน มีความอดทนต่อความลำบาก ตรากตรำทั้งปวง อดทนต่อถ้อยคำที่จาบจ้วงล่วงเกิน ====

==== ๑๐. [[อวิโรธนะ]] ความไม่ผิด จะทำอะไรก็ศึกษาพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเมื่อรู้ว่าอะไรผิดก็ไม่ทำ ====

==== พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ยังทรงเป็นองค์[[เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภ์]] ทรงให้ความอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น[[ศาสนาประจำชาติไทย|ศาสนาประจำชาติ]] ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ====

== [[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]] ==

=== " คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่ว ท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วย มี[[ศรัทธาในศาสนาพุทธ|ศรัทธา]]ในพระพุทธศาสนา ทรง[[ศีล]]เมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว…" ===

=== กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิส (สัยมุต) มีเถร มีมหาเถร เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้ มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกตรัย หลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันหนึ่งมนใหญ่สูงงามแก่กม มีพระอัฎฐารศอันหนึ่งลุกยืน เบื้องตะวันออกเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีปู่ครู… ===

== [[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช|พระนเรศวรมหาราช]] ==

== " พระบาทสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึงตรัสประกาศแก่เทพยดาทั้งปวงว่า ให้บังเกิดมาในประยูรมหาเศวตฉัตรจะให้บำรุงพระบวรพุทธศาสนา ไฉนจึงมิช่วยให้สว่างแลเห็นข้าศึกเล่า พอตกพระโอษฐ์ลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป ทอดพระเนตรเห็นช้างเศวตฉัตร ๑๖ ช้าง มีช้างดั้ง ช้างกันยืนอยู่เป็นอันมาก…" ==

== [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช|พระนารายณ์มหาราช]] ==

=== ''"[[พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔]] จะให้เราเข้ารีดดังนั้นหรือ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะในราชวงศ์ของเราก็ได้นับถือพระพุทธศาสนามาช้านานแล้ว จะให้เราเปลี่ยนศาสนาอย่างนี้เป็นการยากอยู่ และถ้าพระเจ้าผู้สร้างฟ้าสร้างดินจะต้องการให้คนทั่วโลกได้นับถือศาสนาอันเดียวกันแล้ว พระเจ้ามิจัดการให้เป็นเช่นนั้นเสียแล้วหรือ?"'' ===

=== ''" จริงอยู่เมื่อฟอลคอน ในเวลาหมอบอยู่ข้างพระบาท พระเจ้ากรุงสยามได้แปลคำชักชวนที่'' ===

=== ''พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้รับสั่งมากับราชทูตนั้น ฟอลคอนก็กลัวจนตัวสั่นและ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช|สมเด็จพระนารายณ์]]ทรง'' ===

=== ''พระกรุณาโปรดให้อภัยแก่ฟอลคอน แต่ก็ได้รับสั่งว่า ได้ทรงนับถือศาสนาอันได้นับถือต่อ ๆ กันมาถึง ๒,๒๒๙ ปีแล้ว เพราะฉะนั้นที่จะให้พระองค์เปลี่ยนศาสนาเสียนั้น เป็นการที่พระองค์จะทำไม่ได้ "'' ===

== [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|'''สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช''']] ==
''อันตัวพ่อ ชื่อว่า [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี|พระยาตาก]]''

''ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา''

''ถวายแผ่นดิน ให้เป็น [[บูชา|พุทธบูชา]]''

''แด่พระศาสดา สมณะ [[พระโคตมพุทธเจ้า|พระพุทธโคดม]]''

''ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี''

''สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม''

''สมเจริญ[[สมถะ]] [[วิปัสสนากรรมฐาน|วิปัสสนา]] พ่อชื่นชม''

''ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา''

''คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า''

''[[ชาติไทย|ชาติ]]ของเรา คงอยู่ คู่[[ศาสนาพุทธในประเทศไทย|พระศาสนา]]''

''[[ศาสนาพุทธ|พุทธศาสนา]] อยู่ยง คู่องค์กษัตรา''

''พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน''

== [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ==

=== " ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนาจะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนและมนตรี " ===

=== " แล้วมีพระราชโองการปฏิสันถารแก่เจ้าพระยาและพระยาทั้งปวงว่า " สิ่งของทั้งนี้ จงจัดทำนุบำรุงไว้ให้จงดี จะได้ป้องกันรักษาแผ่นดิน [[ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา]] และพระราชอาณาเขตสืบไป " แล้วอัครมหาเสนาบดีรับพระราชโองการกราบบังคมทูลว่า " ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทใส่เกล้าใส่กระหม่อม ขอเดชะ " แล้วเสด็จกลับขึ้นข้างในเสด็จประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ… ===

=== ครั้นเสร็จการฉลองพระนครแล้ว จึงพระราชทานนามพระนครใหม่ให้ต้องกับนามพระพุทธรัตนปฏิมากรว่า " กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรัมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยะวิษณุกรรมประสิทธ์" เป็นพระมหานครที่ดำรงรักษาพระมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นแก้วอย่างดีมีสิริอันประเสริฐ สำหรับพระบารมีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ประดิษฐานกรุงเทพมหานครนี้ ตั้งแต่พระราชทานนามนี้มา บ้านเมืองก็อยู่เย็นเป็นสุขเกษมสมบูรณ์ขึ้น (ครั้นในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงสร้อยที่ว่าบวรรัตนโกสินทร์นั้นเป็นอมรรัตนโกสินทร์ นอกนั้นคงไว้ตามเดิม) ===

=== [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ===

=== "ศุภมัสดุ ๑๑๗๙ ศก…พระบาทสมเด็จบรมธรรมมิกมหาราชารามาธิราช บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว…ทรงพระราชศรัทธาจะยกรื้อวิสาขบูชามหายัญพิธีอันขาดประเพณีมานั้น ให้กลับคืนเจรียรฐิติกาลปรากฏสำหรับแผ่นดินสืบไป จะให้เป็นอัตตัตถประโยชน์และปรัตถประโยชน์ ทรงพระราชศรัทธาจะให้สัตว์โลก ข้าขอบขัณฑเสมาทั้งปวงจำเริญอายุและอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์ภัยในชั่วนี้แลชั่วหน้า... " ===

=== [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ===

=== " ด้วยกำลังทรงพระมหากรุณาเมตตากับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นอันมาก ทรงพระกรุณาดำรัสให้จดหมาย (คือ จด) กระแสพระราชโองการปฏิญาณยกพระนามพระรัตนตรัยสรณาคมน์ อันอุดมเป็นประธานพยานอันยิ่ง ให้เห็นความจริงในพระบรมหฤทัยแล้วทรงพระราชดำรัสยอมอนุญาต ให้เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม พระยาศรีพัฒน์รัตนราชโกษา พระยาราชสุภาวดีกับขุนนางผู้น้อยทั้งปวง จงมีความสโมสรสามัคคีรสปรึกษาพร้อมกัน เมื่อเห็นว่าพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่มีวัยวุฒิปรีชารอบรู้ราชานุวัตร จะเป็นศาสนูปถัมภกยกพระบวรพุทธศาสนา แลจะปกป้องไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์รักษาแผ่นดินให้เป็นสุขสวัสดิ์โดยยิ่ง เป็นที่ยินดีแก่มหาชนทั้งปวงได้ ก็สุดแท้แต่จะเห็นดีประนีประนอมพร้อมใจกันยกพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์นั้นขึ้นเสวยมไหสวรรยาธิปัตย์ราชสืบสัตติวงศ์ดำรงราชประเพณีต่อไปเถิด อย่าได้กริ่งเกรงพระราชอัธยาศัยเลย เอาแต่ให้ได้เป็นสุขทั่วหน้า อย่างให้เกิดการรบราฆ่าฟันกันให้ได้ความ ทุกข์ร้อนแก่ราษฎร…" ===
[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]

"การพระราชบริจาคอันนี้ ทรงพระราชดำริเห็นว่าไม่ขัดขวางเป็นเหตุให้ท่านผู้ใดขุ่นเคืองขัดใจเลย พระนครนี้เป็นถิ่นที่ของคนนับถือพระพุทธศาสนามาแต่เดิม ไม่ใช่แผ่นดินของศาสนาอื่น คนที่ถือศาสนาอื่นมาแต่อื่นก็ดี อยู่ในเมืองนี้ก็ดี จะโทมนัสน้อยใจด้วยริษยาแก่พระพุทธศาสนาเพราะบูชาอันนี้ไม่ได้ ด้วยไม่ใช่เมืองของศาสนาตัวเลย ถ้าโทมนัสก็ชื่อว่าโลภล่วงเกินไป"

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช

" ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย"

" ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนเฉพาะหน้าพระสงฆ์เถรานุเถระทั้งหลาย อันประชุมอยู่ ณ ที่ว่านั้น การที่ข้าพเจ้าคิดจะไปประเทศยุโรป ณ ครั้งนี้ ด้วยข้าพเจ้ามุ่งต่อความดีแห่งพระราชอาณาจักรและด้วยความหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตัวข้าพเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าตั้งใจจะรักษาตนให้สมควรแก่ที่เป็นเจ้าของประชาชนชาวสยามทั้งปวง จะรักษาเกียรติยศแห่งพระราชอาณาจักรอันเป็นเอกราชนครนี้ จนสุดกำลังที่ข้าพเจ้าจะป้องก้นได้ "และเพื่อจะให้เป็นเครื่องเตือนใจตัวข้าพเจ้า และเป็นเครื่องเย็นใจแห่งผู้ซึ่งมีความรักใคร่มุ่งหมายความดีต่อข้าพเจ้า ปราศจากวิตกกังวลใจด้วยความประพฤติรักษาของข้าพเจ้า ๆ จึงขอสมาทานข้อทั้งหลายที่จะกล่าวต่อไปนี้

๑. ข้าพเจ้าจะไม่มีจิตยินดีน้อมไปในศาสดาอื่น นอกจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธรรมอันพระองค์ได้ตรัสรู้ชอบดีแล้ว กับทั้งพระสงฆ์หมู่ใหญ่ อันได้ประพฤติตาม

คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเลยเป็นอันขาด จนตราบกว่าสิ้นชีวิต

๒. การที่ข้าพเจ้าไปครั้งนี้ แม้ว่าจะช้านานเท่าใดก็ดี ข้าพเจ้าจะไม่ร่วมประเวณีด้วยสตรีใดจนกลับเข้ามาถึงในพระราชอาณาเขต

๓. ถึงแม้ว่าจะไปในประเทศซึ่งเขาถือกันว่า การให้สุราเมรัยไม่รับเป็นการเสียกิริยาอันดีฤาเพื่อป้องกันโรคภัยอันเปลี่ยนอากาศเป็นต้น ข้าพเจ้าจะไม่เสพสุราเมรัยให้มึนเมาเสียสติ ฤาแม้แต่มีกายวิกลเกินปรกติเป็นอันขาด

คำปฏิญาณสมาทานสามประการนี้ ข้าพเจ้าได้ทำไว้เฉพาะหน้าพระสงฆ์เถรานุเถระ อันได้มาประชุมในการพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล แห่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ และที่ปรึกษาของผู้สำเร็จราชการ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ ๒๑ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๕ พระพุทธศาสนายุกาล ๒๔๓๙ พรรษา เป็นวันที่ ๑๐๓๕๘ ในรัชกาลปัจจุบัน "

[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]

" [[พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา]] เราจำเป็นต้องถือด้วยความกตัญญูต่อบิดามารดาและต้นโคตรวงศ์ของเรา จำเป็นต้องถือไม่มีปัญหาอะไร… เมื่อข้าพเจ้ารู้สึกได้แน่นอน จึงได้กล้าลุกขึ้นยืนแสดงเทศนาทางพระพุทธศาสนาแก่ท่านทั้งหลาย โดยหวังแน่ว่าบรรดาท่านทั้งปวงซึ่งเป็นคนไทย เมื่อรู้สึกแน่วแน่แล้วว่า ศาสนาในสมัยนี้เป็นของที่แยกจากชาติไม่ได้…พุทธศาสนาเป็นของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนาเถิด…ผู้ที่แปลงศาสนา คนเขาดูถูกยิ่งเสียกว่าผู้ที่แปลงชาติ เพราะเขาย่อมเห็นว่า สิ่งที่นับถือเลื่อมใสกันมาตลอดครั้งปู่ย่าตายาย ตั้งแต่เด็กมาแล้วเป็นของสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนนั้นมีความสัตย์ มีความมั่นคงในใจหรือไม่ เมื่อมาแปลงชาติศาสนาได้แล้ว เป็นแลเห็นได้ทันทีว่าเป็นคนไม่มั่นคง อย่าว่าแต่อะไรเลย ศาสนาที่ใครทั้งโลกเขานับถือว่าเป็นของสำคัญที่สุด เขายังแปลงได้ตามความพอใจ หรือเพื่อสะดวกแก่ตัวของเขา…เหตุฉะนี้ ผู้แปลงศาสนาถึงแม้จะไม่เป็นผู้ถึงเกลียดชังแห่งคนทั่วไป ก็ย่อมเป็นผู้ที่เขาสามารถจะเชื่อได้น้อย เพราะเหตุฉะนั้น เป็นความจำเป็นที่เราทั้งหลายผู้เป็นไทยจะต้องมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาสำหรับชาติเรา ต้องเข้าใจพุทธศาสนาในเวลานี้ ไม่มีแห่งใดในโลกที่จะถือจริงรู้จริงเท่าในเมืองไทยเรา เมืองไทยเราเปรียบเหมือนป้อมอันใหญ่ ซึ่งเป็นแนวที่สุดของพระพุทธศาสนาแนวที่ ๑ แนวที่ ๒ ร่อยหรอเต็มทีแล้ว ยังแต่แนวที่ ๓ และแนวที่สุด คือ เมืองไทย… เราทั้งหลายเป็นผู้รักษาแนวนี้ ถ้าเราไม่ตั้งใจรักษาจริง ๆ แล้ว ถ้ามีอันตรายอย่างใดมาถึงพระพุทธศาสนา เราทั้งหลายจะเป็นผู้ที่ได้รับความอับอายด้วยกันเป็นอันมาก…เหตุฉะนี้ เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตั้งใจที่จะรักษาความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย อย่าให้มีอันตรายมาถึงได้… ผู้ที่คนอื่นเขาส่งเข้ามาปลอมแปลงเพื่อทำลายพระพุทธศาสนา เราทั้งหลายต้องคอยระวังรู้เท่าไว้จึงจะควร…จึงเป็นหน้าที่ของเราทั้งหลายที่เป็นเชื้อชาตินักรบต้องรักษาพระศาสนาอันนี้ให้คงอยู่ในเมืองไทยอีกต่อไป ต้องรักษาไว้เพื่อให้เป็นมรดกแก่ลูกหลานของเราทั้งหลายให้เขารักษากันต่อไปยั่งยืน เป็นเกียรติแก่ชาติของเราชั่วกัลปาวสานเวลานี้ทั้งโลกเขาพูดเขานิยมว่า ชาติไทยเป็นชาติที่ถือพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธศาสนายั่งยืนอยู่ได้ เพราะมีเมืองไทยเป็นเหมือนป้อมใหญ่ในแนวรบเราเคราะห์ดีที่สุดที่นานมาแล้ว เราได้ตกไปอยู่ในพระพุทธศาสนา จึงได้เป็นมนุษย์ชั้นสูงสุดจะเป็นได้ในทางธรรม เหตุฉะนี้ ขอท่านทั้งหลายที่นั่งฟังอยู่ ผู้ที่ตะเกียกตะกายอยากเป็นฝรั่ง อย่าทำเหมือนฝรั่งในทางธรรมเลย ถ้าจะเอาอย่างฝรั่งจงเอาอย่างในทางที่ฝรั่งเขาทำดี คือในทางวิชาการบางอย่าง ซึ่งเขาทำดีเราควรเอาอย่าง แต่การรักษาศีล รักษาธรรม เรามีตัวอย่างดีกว่าฝรั่งเป็นอันมาก ถือพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างของเราแล้ว เรามีตัวอย่างหาที่เปรียบเสมอเหมือนมิได้

พระพุทธศาสนาก็ดี หรือศาสนาใดก็ดี ที่ตั้งมั่นอยู่ได้ก็ด้วยความมั่นคงของผู้เลื่อมใส ตั้งใจที่จะรักษา และข้าพเจ้าพูดทั้งนี้ ก็เพื่อชักชวนท่านทั้งหลาย อย่างเป็นเพื่อนไทย และเพื่อนพุทธศาสนิกชนด้วยกันทั้งนั้น เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา ข้าพเจ้ารู้สึกว่าได้ทำหน้าที่สมควรแก่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา เราตั้งใจจะรักษาศาสนาของเราด้วยชีวิต ข้าพเจ้าและท่านตั้งใจอยู่ในข้อนี้ และถ้าท่านตั้งใจจะช่วยข้าพเจ้าในกิจอันใหญ่นี้แล้ว ก็จะเป็นที่พอใจข้าพเจ้าเป็นอันมาก

เมืองเราเกือบจะเป็นเมืองเดียวแล้วในโลกได้มีบุคคลถือพระพุทธศาสนามาก และเป็นเหล่าเดียวกัน เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของเราทั้งหลายที่จะช่วยกันบำรุงรักษาพระพุทธศาสนาอย่าให้เสื่อมสูญไป การที่จะบำรุงพระพุทธศาสนา เราต้องรู้สึกก่อนว่าหลักของพระพุทธศาสนาคืออะไร

เราทั้งหลายที่ยังไม่แน่ ตั้งแต่วันนี้จะได้พร้อมกันตั้งใจว่าในส่วนตัวเราเองจะริษยากันก็ตาม จะเป็นอย่างไรก็ตาม จะทำการเช่นนี้ต่อเมื่อเวลาว่างไม่มีภัย เมื่อมีเหตุสำคัญจำเป็นที่เราจะต้องต่อสู้ชาติอื่น แม้การส่วนตัวของเราอย่างไร จะทำให้เสียประโยชน์แก่ชาติเราแล้ว สิ่งนั้นเราจะทิ้งเสีย เราจะรวมกัน ไม่ว่าในเวลานี้ชอบกันหรือชังกัน เราจะถือว่าเราเป็นไทยด้วยกันหมด เราจะต้องรักษาความเป็นไทยของเราให้ยั่งยืน เราจะต้องรักษาพระพุทธศาสนาให้ถาวรวัฒนาการ อย่างที่เป็นมาแล้วหลายชั่วโคตรของเราทั้งหลาย"

ความหมายแห่งไตรรงค์

ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย

แห่งสีทั้งสามงามถนัด

[[ขาว คือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์]]

และ[[พระธรรม (ศาสนาพุทธ)|ธรรมะ]]คุ้มจิตไทย

แดง คือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้

เพื่อรักษาชาติศาสนา

น้ำเงิน คือสีโสภา อันจอมประชา

ธ โปรดเป็นของส่วนองค์

จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึ่งเป็นสีธง

ที่รักแห่งเราชาวไทย

ทหารอวตารนำไป ยงยุทธ์วิชัย

วิชิตก็ชูเกียรติสยามฯ

[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]

" ศาสนาจะเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงน้ำใจ ให้ทนความลำบากได้ ให้มีแรงที่จะทำการงานของตนให้เป็นผลสำเร็จได้ และยังเป็นยาที่จะสมานหัวใจ ให้หายเจ็บปวดในยามทุกข์ได้ด้วย…พวกเราทุก ๆ คน ควรพยายามให้เด็ก ๆ ลูกหลานของเรามี " ยา " สำคัญ คือ คำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าติดตัวไว้เป็นกำลัง เพราะ " ยา " อย่างนี้เป็นทั้ง " ยาบำรุงกำลัง " และ " ยาสมานหรือระงับความเจ็บปวด

= [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] =
[[พระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์]]ไทยทุกพระองค์ได้[[ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา]]อย่างดียิ่งตลอดมา โดยทรงอุปถัมภ์ในทุก ๆ ด้าน คือ ด้านศาสนธรรมก็ได้ทรงอุปถัมภ์ การชำระและจารึก[[พระไตรปิฎก]] การศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนการปฏิบัติธรรม ด้านศาสนบุคคลก็ได้ทรงอุปถัมภ์คณะสงฆ์และการสถาปนาพระราชาคณะ ด้านศาสนวัตถุก็ได้ทรงอุปถัมภ์การสร้างและการทะนุบำรุงถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา อีกทั้งทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

อนึ่ง พระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงบำเพ็ญ ไม่ว่าจะเป็นงาน[[พระราชพิธีทรงผนวชในรัชกาลที่ 9|พระราชพิธี]] งานพระราชกุศล และรัฐพิธี ล้วนแต่มีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักทั้งสิ้น แม้จะมีพิธีพราหมณ์ปนอยู่ พิธีพราหมณ์เหล่านั้นก็เป็นเพียงส่วนประกอบปลีกย่อยเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า[[ประเทศไทย]] แม้จะไม่ได้กำหนดไว้ใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย|รัฐธรรมนูญ]]อย่างชัดแจ้งว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่โดยพฤตินัยและพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับเครื่องหมายธงชาติไทย ก็เป็นอันนับได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยมาแต่อดีต

อนึ่ง เครื่องชี้ชัดอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้สิ้นความสงสัยว่า สถาบันศาสนาได้แก่สถาบันพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ในโอกาสเสด็จออกทรงผนวชเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ว่า "โดยที่[[พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ]]ของเรา ทั้งตามความศรัทธาเชื่อมั่นของข้าพเจ้าเอง ก็เห็นเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง เนื่องในบรรดาสัจจธรรมคำสั่งสอนอันชอบด้วยเหตุผล จึงเคยคิดอยู่ว่าถ้าโอกาสอำนวย ข้าพเจ้าควรจักได้[[การบวช|บวช]]สักเวลาหนึ่งตามราชประเพณี ซึ่งจัดเป็นทางสนองท่านพระราชบูรพการีตามคตินิยมด้วยและนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ครองราชย์[[สืบสัตตติวงศ์]]

ต่อจากสมเด็จพระเชษฐาธิราชก็ล่วงมากว่าสิบปีแล้ว เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่ควรจะทำความตั้งใจไว้นั้นแล้วประการหนึ่ง… จึงได้ตกลงใจที่จะ[[อุปสมบท|บรรพชาอุปสมบท]]ในวันที่ ๒๒ เดือนนี้"

พระราชดำรัสและพระบรมราโชวาททั้งหลายที่ได้อันเชิญมานี้ เป็นพระราชดำรัสและ[[พระบรมราโชวาท]] ของพระมหากษัตริย์ที่ทรงความสำคัญยิ่งหลายพระองค์ในทุกยุคทุกสมัย ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน จึงเป็นหลักฐานยืนยันที่ชัดเจนได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่บรรพบุรุษของเราได้ยอมรับนับถือเป็นศาสนาประจำชาติและเป็นสถาบันหลักของชาติสืบเนื่องติดต่อมา

การที่บรรพบุรุษของเรา ได้กำหนดให้สถาบันชาติ สถาบันพระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันหลักที่สำคัญนั้น ทำให้เรามองเห็นถึงพระปรีชาสามารถปราดเปรื่องของบรรพบุรุษของเราเป็นอย่างยิ่งว่า สถาบันดังกล่าวทั้ง ๓ สถาบันนี้จะขาดสถาบันใดสถาบันหนึ่งมิได้ ต่างอาศัยเกี่ยวพันซึ่งกัน คือ

๑. [[ประเทศไทย|สถาบันชาติ]] เครื่องหมายของความเป็นชาติย่อมมีส่วนประกอบหลายอย่าง แต่ส่วนประกอบสำคัญที่บ่งชี้ถึงความเป็นชาติ ได้แก่ ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็น[[เอกลักษณ์ของความเป็นชาติ]] และตามที่กล่าวมาแล้วว่าโดยที่ประเทศไทยของราได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาช้านานแต่โบราณ ทำให้ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อถือทาง[[ศาสนาพุทธ|พระพุทธศาสนา]]เกือบทั้งสิ้น ฉะนั้น หากพระพุทธศาสนาได้รับความกระทบกระเทือนย่อมมีผลให้สถาบันชาติสั่นคลอนไปด้วย

๒. [[พระมหากษัตริย์ไทย|สถาบันพระมหากษัตริย์]] โดยที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็น[[พุทธมามกะ]]โดย[[กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467|กฎมณเฑียรบาล]]และโดยรัฐธรรมนูญการที่ชนในชาติยังมีความเลื่อมใส ศรัทธายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาอยู่ตราบใด ย่อมแสดงให้เห็นถึงการมีลัทธิความเชื่อถือที่สอดคล้องกับองค์พระประมุข มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะสูงสุดร่วมกัน อันเป็นพื้นฐานความมั่นคงที่สำคัญ

๓. [[พระสงฆ์|สถาบันพระพุทธศาสนา]] โดยที่เนื้อแท้ของสถาบันพระพุทธศาสนานั้นมิอาจตั้งอยู่ได้โดยปราศจากความอุปถัมภ์จากองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกและจากรัฐ เพราะ[[ภิกษุ|พระภิกษุ]][[สามเณร]]ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาบันนี้ เป็นผู้ทรงศีล เป็นผู้ขัดเกลากิเลส เป็นผู้เผยแพร่ประกาศพระศาสนาในฐานะ[[ศาสนทายาท]] มิได้ประกอบอาชีพการงานเยี่ยงคฤหัสถ์ การดำรง[[สมณเพศ]]ต้องอาศัยชาวบ้านและฝ่ายบ้านเมือง หากขาดการอุปถัมภ์ค้ำจุนจากรัฐบาลและจากองค์พระประมุขเมื่อใดก็ย่อมจะดำรงตั้งอยู่ไม่ได้เช่นกันด้วยโครงสร้างของชาติไทยที่มีความผูกพันเกี่ยวเนื่อง

กับพระพุทธศาสนามาแต่อดีตอันยาวนาน จนคำสอนในพระพุทธศาสนากลายเป็นรากฐานของขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี วัฒนธรรม ที่คนไทยทั้งชาติยึดถือร่วมกัน อีกทั้งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะตาม[[กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467|กฎมณเฑียรบาล]] และตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] จึงทำให้โครงสร้างความเป็นชาติไทย ซึ่งประกอบด้วยสถาบันหลักสามสถาบัน ได้แก่ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความสัมพันธ์อาศัยซึ่งกันและกัน มิอาจแยกจากกันได้ หากขาดสถาบันหนึ่งสถาบันใด อีกสองสถาบันก็มิอาจดำรงอยู่ได้ ด้วยเหตุดังกล่าว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ จึงได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของชนชาวไทยทุกคนต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันทั้งสาม ดังเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ [[มาตรา ๖๖]] บัญญัติว่า " บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
[[หมวดหมู่:ศาสนากับการเมือง]]
[[หมวดหมู่:ศาสนากับการเมือง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:52, 27 ตุลาคม 2559

ศาสนาประจำชาติ:

ศาสนาประจำชาติ คือ องค์กรศาสนาซึ่งรัฐสนับสนุนอย่างเป็นทางการ รัฐที่มีศาสนาประจำชาติไม่จำเป็นต้องเป็นเทวาธิปไตย แต่ไม่ใช่รัฐฆราวาส