ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะละกอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Esan108 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ใส่ชื่อผู้ใช้ในบทความ
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
'''มะละกอ''' เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดใน[[อเมริกากลาง]] ถูกนำเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น [[ส้มตำ]] ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้
'''มะละกอ''' เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดใน[[อเมริกากลาง]] ถูกนำเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น [[ส้มตำ]] ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้


...
== ลักษณะทั่วไป ==
มะละกอเป็น[[พืชล้มลุก|ไม้ล้มลุก]] (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็น[[พืชยืนต้น|ไม้ยืนต้น]]) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

ส่วนต่างๆของมะละกอ
<br />
มะละกอมี 3 เพศคือ เพศชาย เพศหญิง และเพศคู่ (hermaphrodite) เพศชายจะผลิตแค่เกสรเพศผู้ ส่วนเพศหญิงจะผลิตได้แค่ผลซึ่งต้องได้รับละอองเกสรจากเพศผู้ก่อนถึงจะออกผลได้ ส่วนเพศคู่สามารถผลิตละอองเกสรได้เองและออกผลได้ภายในดอกเดียวกัน เนื่องจากมันมีทั้งอับละอองเกสรเพศผู้และรังไข่เพศเมีย ทั้งนี้มะละกอที่เป็นที่นิยมปลูกส่วนใหญ่มักเป็นเพศคู่
<br />
มะละกอเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆจนเป็นอันดับ3 ของผลไม้เมืองร้อนยอดนิยม ด้วยผลผลิตปีละ 11.22 ล้านตันทหรือคิดเป็นร้อยละ 15.36 ของผลไม้เมืองร้อนทั้งหมด ซึ่งตามหลังมะม่วงที่ร้อยละ 52.86 และสัปปะรดที่ร้อยละ 26.58 ผลผลิตมะละกอเพิ่มขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีให้หลังนี้เนื่องจากการเพิ่มผลผลิตมะละกอของอินเดีย มะละกอกลายเป็นผลผลิตการเกษตรส่งออกที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและลาตินอเมริกา ทำให้สร้างรายได้ให้ชาวสวนจำนวนมาก นอกจากนี้มะละกอยังเป็นผลไม้ที่กำลังได้รับความนิยมในตลาดอาหารสุขภาพระดับโลก
<br />
ในช่วงปี 2008 – 2010 การปลูกมะละกอในระดับโลกเพิ่มขึ้นมาก โดยที่ประเทศ 10 อันดับแรกมีผลผลิตมะละกอคิดเป็นร้อยละ 86.32 ของผลผลิตมะละกอทั้งหมด อินเดียเป็นอับดับที่1ด้วยผลผลิตที่ 38.61% ตามมาด้วยบราซิลที่ 17.50% และอินโดนีเซียที่ 6.89% ส่วนประเทศไทยเป็นอันดับที่9 ด้วยผลผลิตมะละกอคิดเป็น 1.95% ของผลผลิตมะละกอทั้งโลก
<br />
มะละกอมีที่มาจากประเทศแถวเม็กซิโกใต้ อเมริกากลาง และช่วงบนของอเมริกาใต้ ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศเขตร้อน การปลูกมะละกอใช้เวลารวดเร็วมาก เนื่องจากมะละกอโตเร็วและสามารถออกผลได้ภายใน 3 ปี และมะละกอสามารถปลูกได้แค่ในประเทศเขตร้อนเนื่องจากมีความอ่อนไหวต่ออากาศสูง อุณหภูมิที่ต่ำกว่า −2 °C (29 °F) จะเป็นอันรายต่อมะละกอได้ ดังนั้นในอเมริกา การปลูกมะละกอสามารถทำได้แค่ในบางพื้นที่ เช่น ตอนใต้ของรัฐฟลอริด้า สวนส่วนตัวในซานดิเอโก นอกจากนี้มะละกอยังต้องการดินที่เป็นดินทรายและค่อนข้างมีน้ำน้อย ดินที่ชุ่มน้ำสามารถทำให้มะละกอตายได้ภายใน 24 ชั่วโมงเลยทีเดียว

พันธุ์มะละกอในประเทศไทย
1.พันธุ์แขกดำ เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกและรับประทานกันมาก โดยเฉพาะสวนมะละกอในภาคกลาง จะนิยมปลูกพันธุ์แขกดำ เพราะเป็นพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย ออกดอกให้ผลเร็ว ก้านใบสีเขียว ใบหนาสีเขียวเข้ม ผลมีขนาดปานกลาง มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ส่วนหัวและส่วนปลายผลมีขนาดเกือบเท่ากันหรือเท่ากัน สีผิวผลเป็นสีเขียวเข้ม และผิวไม่เรียบ ผลสุก เนื้อจะมีสีแดง เนื้อแน่น รสหวาน มีช่องว่างภายในผลแคบ น้ำหนักผลโดยประมาณ 0.6-2.0 กิโลกรัม พันธุ์นี้เหมาะสำหรับการบริโภคผลสุก และส่งตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดฮ่องกงและสิงคโปร์
2.พันธุ์แขกนวล เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพันธุ์แขกดำมาก และนิยมปลูกในบริเวณภาคกลางเช่นเดียวกัน เป็นพันธุ์ที่มีต้นเตี้ยออกดอกให้ผลเร็ว และให้ผลค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก ลักษณะรูปร่างผลเหมือนพันธุ์แขกดำ แต่สีผิวจะมีสีเขียวอ่อน นวล และผิวผลเรียบ ผลสุกเนื้อมีสีแดง เนื้อแน่น พันธุ์นี้นิยมส่งตลาดภาคอีสาน เพราะผลดิบเนื้อแน่น แข็ง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดอีสานมาก
3.พันธุ์โกโก้ เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีต้นเตี้ย ลำต้นอาจมีจุดประสีม่วง ก้านใบมีทั้งสีม่วงและสีเขียว รูปร่างผลจะต่างจากพันธุ์แขกดำ ผลของโกโก้ มีส่วนหัวเรียวเล็ก ส่วนปลายผลใหญ่ ขนาดผลใหญ่ มีน้ำหนักผลประมาณ 1.3-2.0 กิโลกรัม ผลสุกเนื้อสีแดง เนื้อหนา แน่น รสหวาน เหมาะสำหรับบริโภคผลสุกและส่งเข้าโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป
4.พันธุ์สายน้ำผึ้ง ลักษณะคล้ายกับพันธุ์โกโก้ แต่ลำต้นและก้านใบมีสีเขียวอ่อน ก้านใบยาวกว่าพันธุ์อื่นๆ แต่จำนวนแฉกใบน้อยกว่าพันธุ์อื่น ๆ พันธุ์นี้ต้นค่อนข้างสูงและออกดอกติดผลช้า
มะละกอจะมีราคาดีช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 15 บาท ในการเก็บผลผลิตแต่ละครั้ง ตนเองจะเก็บผลได้ครั้งละ 20 กว่าตัน โดยตนเองจะส่งขายให้กับโรงงานทำซอส และเมื่อทุกครั้งที่เก็บผลโรงงานก็จะมีรถจากโรงงานทำซอสมารับซื้อมะละกอจากสวนของตนเองถึงที่ เฉลี่ยแล้วปีหนึ่งหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดตนเองก็จะเหลือกำไรจากการขายมะละกอประมาณ 300,000-400,000 บาท


== ประโยชน์ ==
== ประโยชน์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:50, 26 สิงหาคม 2559

มะละกอ
มะละกอขณะออกผล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Brassicales
วงศ์: Caricaceae
สกุล: Carica
สปีชีส์: C.  papaya
ชื่อทวินาม
Carica papaya
L.

มะละกอ เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้

...

ประโยชน์

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้

สำหรับสารอาหารในมะละกอนั้น มีดังต่อไปนี้
เนื้อมะละกอสุก
สารอาหาร ปริมาณสารอาหารต่อมะละกอสุก 100 กรัม
โปรตีน 0.5 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
แคลเซียม 24 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
เหล็ก 0.6 มิลลิกรัม
โซเดียม 4 มิลลิกรัม
ไทอะมีน 0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม
กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) 70 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะละกอ สรรพคุณของมะละกอมีมากมายนัก ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้ 1. แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร

2. เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก

สรรพคุณ มะละกอ :

เปลือกมะละกอ - ทำน้ำยาขัดรองเท้าได้ ผลสุก - เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย

ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้

รากมะละกอ - ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา

ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้

เป็นยาช่วยย่อย: 1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป็นผักจิ้ม 2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain

เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง

เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้

แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก

โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก

คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย

เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ

ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง

แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้




ประโยชน์ของพาเพน

  1. ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เบียร์ ไวน์และเครื่องดื่มอื่น ๆ โดยปาเปนจะทำหน้าที่ละลายโปรตีนในผลิตภัณฑ์ และให้สารละลายใสไม่ขุ่นเมื่อเก็บไว้นานหรือที่อุณหภูมิต่ำ
  2. ในโรงงานผลิตเนื้อสัตว์และปลา จะทำให้เนื้อสัตว์นั้นนุ่มเปื่อยเมื่อนำมาประกอบอาหาร
  3. ในอุตสาหกรรมยาและใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยใช้เป็นองค์ประกอบของยาช่วยย่อยอาหาร นอกจากนี้ ยังช่วยรักษาพวกแผลติดเชื้อ เนื่องจากปาเปนมีคุณสมบัติให้เลือดแข็งตัวและยังสามารถใช้ฆ่าพยาธิในลำไส้ ด้วย
  4. ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง โดยผสมปาเปนในน้ำยาแช่หนังจะทำให้หนังเรียบ และนุ่ม
  5. ในอุตสาหกรรมทอผ้า จะใช้ปาเปนฟอกไหมให้หมดเมือก
  6. ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น