ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมณะโพธิรักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
[[หมวดหมู่:องค์การพิทักษ์สยาม]]
[[หมวดหมู่:องค์การพิทักษ์สยาม]]
{{โครงชีวประวัติ}}
{{โครงชีวประวัติ}}
โพธิรักษ์พวกจำลองโรโรโรโรโร

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:18, 15 มกราคม 2559

ไฟล์:Pothirak.jpg
สมณะโพธิรักษ์

รักษ์ รักษ์พงษ์ หรือเรียกตัวเองว่า สมณะโพธิรักษ์ เป็นผู้ก่อตั้งสำนัก"สันติอโศก" กับจำเลยในคดีโด่งดังใน พ.ศ. 2541 ซึ่งเรียก "คดีสังฆเภท"

รักษ์เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2477 มีพี่น้องหกคน ตนเป็นคนใหญ่สุด บิดาเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก และได้ย้ายตามมารดามาประกอบอาชีพค้าขายที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพฯ ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง แผนกวิจิตรศิลป์ เมื่อเรียนจบได้เข้าทำงานที่ บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด เป็นผู้จัดรายการเด็ก รายการการศึกษา และเป็นครูพิเศษสอนศิลปะตามโรงเรียน เมื่อมารดาถึงแก่กรรมก็ได้รับภาระเลี้ยงดูน้องหกคน

รักษ์บวชเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายเมื่อปี 2513 ที่วัดอโศการาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ แต่เพราะไม่ประพฤติตามโอวาทของพระอุปัชฌาย์ ในปี 2516 พระอุปัชฌาย์ได้ขอหนังสือสุทธิมาบันทึกว่า ไม่รับปกครอง รักษ์จึงได้เข้าสังกัดในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายที่วัดหนองกระทุ่ม ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

เนื่องจากรักษ์ประพฤติผิดพระธรรมวินัยหลายประการ คณะสงฆ์จึงเสนอเรื่องต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2525 มหาเถรสมาคมได้ตั้งคณะทำงานขึ้นสามคณะ คือ คณะทำงานด้านธรรมวินัย คณะทำงานด้านกฎหมาย คณะทำงานด้านมวลชน เพื่อสืบหาข้อเท็จจริง คณะทำงานด้านพระธรรมวินัยมีความเห็นว่า รักษ์ล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ส่วนคณะทำงานด้านกฎหมายมีความเห็นว่า รักษ์ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ต่อมา ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้ตั้งคณะการกสงฆ์เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอต่อมหาเถรสมาคม คณะการกสงฆ์ได้ประชุมกันโดยมีสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร เป็นประธาน คณะการกสงฆ์ได้มีมติสี่ประการ คือ (1) ให้มหาเถรสมาคมใช้อำนาจตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 โดยสั่งให้รักษ์สละสมณเพศ (2) บริวารของรักษ์ซึ่งเข้าบวชโดยไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ถ้าต้องการจะบวชให้ถูกต้อง ก็ให้มารายงานตัวต่อสังฆาธิการระดับเจ้าคณะจังหวัดผู้เป็นการกสงฆ์ขึ้นไป (3) ให้ประกาศนียกรรมแก่พุทธบริษัทให้ทราบข้อเท็จจริงโดยทั่วกัน และ (4) ให้กรมการศาสนาแจ้งแก่ภิกษุสามเณรทั่วราชอาณาจักรให้ทราบข้อเท็จจริงและมิให้คบหาสมาคมรักษ์และบริวาร

มติของการกสงฆ์ดังกล่าว มหาเถรสมาคมพิจารณาแล้วเห็นชอบ แต่สำหรับมติประการแรกได้หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตอบกลับมาว่า มหาเถรสมาคมใช้อำนาจตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้ ต่อมาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ในฐานะประธานมหาเถรสมาคม ได้มีคำสั่งให้รักษ์สละสมณเพศภายในเจ็ดวัน

ในวันที่ 10 มิถุนายน 2532 เสนาะ พ่วงภิญโญ รองอธิบดีกรมการศาสนาได้นำคำสั่งไปให้รักษ์ทราบที่สำนักสันติอโศก รักษ์ไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำสั่ง รองอธิบดีกรมการศาสนาจึงร้องทุกข์ไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลลาดพร้าว กรมตำรวจแต่งตั้งพลตำรวจตรี วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน และพิศาล มูลศาสตร์สาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น ได้สั่งให้จับกุมรักษ์และพวกทั้งหมด รวม 105 คน ในวันที่ 8 สิงหาคม 2532 พนักงานสอบสวนจับกุม แจ้งข้อหา และสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการได้ฟ้องเป็นจำเลยจำนวน 80 คดี ศาลแขวงพระนครเหนือพิพากษาว่า จำเลยที่ 1-79 มีความผิดเกี่ยวกับศาสนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 (ไม่ใช่ภิกษุสงฆ์ บังอาจแต่งกายอย่างภิกษุสงฆ์ เพื่อล่อลวงให้คนอื่นเชื่อว่าเป็นภิกษุสงฆ์) และให้จำคุกคนละ 3 เดือน ส่วนจำเลยที่ 80 คือ รักษ์ สนับสนุนให้จำเลยที่คนอื่น ๆ กระทำผิดดังกล่าวจำนวน 33 กระทง พิพากษาลงโทษจำคุกเรียงกระทง กระทงละ 2 เดือน รวมเป็นจำคุก 66 เดือน ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องจำเลยบางคน โทษจำเลยที่ 80 จึงลดลงเป็นจำคุก 54 เดือน และศาลฎีกาพิพากษายืน โดยศาลฎีกาวินิจฉัยเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2541 ว่า

"จำเลยที่ 80 ได้บวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายธรรมยุตนิกาย...และ...ได้สวดญัตติเข้าเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกาย แสดงว่า จำเลยที่ 80 ได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมมาก่อน และในช่วงเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 80 ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ ไม่ปรากฏว่า จำเลยทุกคนถูกกลั่นแกล้งจากใครอย่างไรและถึงขนาดไม่อาจปฏิบัติตามพระธรรมวินัยได้ เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่า...ไม่ปรากฏบทบัญญัติมาตราใดให้สิทธิพระภิกษุสงฆ์ไทยประกาศแยกตนให้มีผลประดุจสังฆเภทไม่ยอมอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้ การประกาศของจำเลยที่ 80 กับพวกดังกล่าวจึงไม่ทำให้จำเลยที่ 80 กับพวกพ้นจากการปกครองของมหาเถรสมาคมและไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 การที่ภิกษุสงฆ์นักบวชไม่อนุวัตปฏิบัติตามกฎหมายกลับมีผลเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นดังเช่นที่ปรากฏในคดีนี้"

รักษ์ได้ก่อตั้งพรรคพลังธรรม โดยมีพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นหัวหน้าพรรค ทั้งยังได้มีบทบาททางการเมือง โดยนำพาบริวารชาวอโศกเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต่อต้านพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร และสมัคร สุนทรเวช เป็นต้น

อ้างอิง

โพธิรักษ์พวกจำลองโรโรโรโรโร