ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูสมิงทะเลปากเหลือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


{{งูสมิงควยไอประประประประประ}}
{{งู}}


[[หมวดหมู่:งูทะเล]]
[[หมวดหมู่:งูทะเล]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:02, 20 มิถุนายน 2558

งูสมิงทะเลปากเหลือง
งูสมิงทะเลปากเหลืองที่เกาะสุลาเวสี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Hydrophiidae
วงศ์ย่อย: Laticaudinae
สกุล: Laticauda
สปีชีส์: L.  colubrina
ชื่อทวินาม
Laticauda colubrina
(Schneider, 1799)
ชื่อพ้อง
  • Hydrus colubrinus (Schneider, 1799)

งูสมิงทะเลปากเหลือง (อังกฤษ: Yellow-lipped sea krait; ชื่อวิทยาศาสตร์: Laticauda colubrina) เป็นงูทะเลชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งมีพิษร้ายแรงต่อระบบกล้ามเนื้อ[2]

มีรูปร่างคล้ายงูสมิงทะเลปากดำ (L. aticaudata) ที่เป็นงูในสกุลเดียวกัน แต่ว่างูสมิงทะเลปากเหลืองนั้นจะมีลำตัวสีที่อ่อนกว่า ส่วนหัวและหางมีขนาดเล็กและมีลายรูปเกือกม้าสีเหลือง ตัวผู้ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 2 ฟุต ขณะที่ตัวเมียจะมีความยาวกว่า 1.5 เมตร ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า น้ำหนักหนักได้ถึง 2 กิโลกรัม มีอุปนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง 5-6 ตัว บางครั้งอาจมีลูกงูตัวเล็ก ๆ ตามงูตัวใหญ่หรือแม่งูด้วย วางไข่บนบกเช่นเดียวกับงูสมิงทะเลปากดำ[3]

มักอาศัยอยู่ในแนวปะการังน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ในเขตน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในต่างประเทศพบได้ถึงที่ทะเลญี่ปุ่น, อ่าวเบงกอล, อินโดนีเซีย, หมู่เกาะโซโลมอน ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ตลอดจนบางส่วนของอเมริกากลางด้วย[4]

จากการศึกษา นักวิทยาศาสตร์พบว่า งูสมิงทะเลปากเหลืองนั้นที่มีหัวขนาดเล็กดูแลคล้ายหาง เพื่อลวงตาจากสัตว์นักล่าที่จับมันกินเป็นอาหาร เช่น ปลาฉลามหรือนกทะเลชนิดต่าง ๆ[5] งูสมิงทะเลปากเหลืองที่แนวปะการังในอินโดนีเซีย มีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่ เพื่อหาอาหารในซอกหลีบปะการัง เนื่องจากเป็นงูว่ายน้ำช้าจึงไม่สามารถที่จะจับปลาที่ว่ายไปมากินได้ จึงรอปลาเล้กหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กที่ถูกปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลากะมง ไล่มา ดักรอเป็นอาหาร และถ้าปลาตัวไหนหลุดรอดออกไปก็จะตกเป็นอาหารของปลาใหญ่ทันที[6]

อ้างอิง

แม่แบบ:งูสมิงควยไอประประประประประ