ไอ้เท่ง (ทากทะเล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไอ้เท่ง หรือ ไอ้เท่ง เอเทอร์ (Aiteng ater) เป็น ทากทะเล ชนิดหนึ่งเป็นสัตว์ในจำพวกแกสโทรโพดา(หอยฝาเดี่ยว) ในกลุ่มมอลลัสกาทะเล ไอ้เท่งจัดในในวงศ์ไอ้เท่ง (Aitengidae) [1] ชื่อแสดงคุณลักษณะ เอเทอร์ (ater) มาจาก ภาษาละติน หมายถึง สีดำ อ้างอิงถึงสีของไอ้เท่งที่ปรากฏบนผิวโคลนของป่าชายเลน

ไอ้เท่ง เอเทอร์ (Aiteng ater) ได้รับเลือกจาก International Institute for Species Exploration of Arizona State University ให้เป็นหนึ่งใน "10 อันดับสายพันธุ์ใหม่ที่อธิบายไว้ในปี 2009"

การแพร่กระจายและถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดของ ไอ้เท่ง (A. ater) อยู่ประเทศไทย ซึ่งพบต้นแบบทางชีววิทยา ที่พิกัดภูมิศาสตร์: 8 ° 29'18 "N, 100 ° 10'55" E อำเภอปากพนัง (บริเวณอ่าวปากพนัง ในอ่าวไทย) [1]

คำอธิบาย

ขนาดของลำตัว 8–12 มม. [1] อาจยาวได้ถึง 17 มม. [2] รูปร่างของลำตัวยาว แต่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับทากทั่วไป สีของทากไอ้เท่งมีตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีดำ สามารถสังเกตเห็นดวงตาขนาดใหญ่ ไม่มีก้านตา[3][4] อยู่สองข้างของส่วนหัวได้ชัดเจนและอยู่ภายนอกหัว

ไอ้เท่ง (A. ater) มีการผสมกันของลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ผิดปกติ ได้แก่

  • การลดขนาดของช่องแมนเทิล [5]
  • มีแหวนประสาท Prepharyngeal (circumpharyngeal)
  • มี ascus (อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการตรวจสอบยืนยันการมี "ascus" ใน Aiteng ater เนื่องจากในการตรวจสอบตัวอย่าง Aitengidae จากญี่ปุ่นพบว่าไม่มี ascus จริง ที่แสดงซากฟันแต่เป็นเพียงแค่ radula ที่งอเล็กน้อยที่ปลาย
  • มีเรดูลา (radula) ที่เป็นแบบแถวเดี่ยว (ทั้งเรดูลาที่งอกจากบนลงล่าง และล่างขี้นบน) (เรดูลา - อวัยวะที่ใช้ในการบดอาหารในบริเวณคอหอยมีลักษณะคล้ายตะไบ)
  • เรดูลา มีฟันกลาง (rhachidian teeth) ที่แข็งแรง
  • ดวงตาด้านข้าง ที่มีขนาดใหญ่ และสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปมประสาทสมอง
  • มีร่องเท้า (foot groove) - กึ่งกลางลำตัวด้านล่างคล้ายทากบก
  • ต่อมย่อยอาหาร (digestive gland) ที่แตกแขนงรอบตัว

ไอ้เท่ง (A. ater) ไม่มีลักษณะของ acochlidian หลายประการ ได้แก่

  • ไม่มี เปลือก [1]
  • ไม่มี หนวด (cephalic tentacles)
  • ไม่มี เหงือก
  • ไม่มี หงอน (หรือ หนามของทากทะเล - cerata)
  • ขาดการแบ่งส่วนของร่างกาย คือ ไม่แบ่งส่วนหัว - เท้าและ ไม่มีโหนกภายใน (visceral hump) [5]
  • ไม่มีรยางค์ส่วนหัว (หนอก หรือ นอ ในลักษณะเฉพาะของแรด)
  • ขาดความสามารถในการหดหัว - เท้ากลับเข้าไปในโหนกภายใน

ไอ้เท่ง (A. ater) มี ตีน (notum) ซึ่งมีขอบที่หดขยายขนาดได้ [1] การที่ไม่มีโหนกภายใน (visceral hump) ที่ช่วยหดหัว ไอ้เท่ง (A. ater) สามารถดึงหัวกลับมาและคลุมอยู่ใต้ส่วนหน้าของ ตีน ได้ [5]

นิเวศวิทยา

ไอ้เท่ง (A. ater) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในป่าชายเลนที่เป็นดินโคลน และเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น-น้ำลง (เขตน้ำขึ้นน้ำลง) [1] สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบก (โดยการขับเมือกหุ้มร่างกายเพื่อรักษาความชุ่มชื้น [6]) และในน้ำ ทนต่อน้ำกร่อยและน้ำทะเลได้ ความพิเศษของการเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกพบได้น้อยมากในทากทะเลชนิดอื่น ๆ ในปัจจุบัน แต่ไม่มีข้อสังเกตว่าไอ้เท่งอาศัยบนบกได้อย่างแท้จริง [5]

ไอ้เท่ง เป็นสัตว์กินแมลง [1] โดยเฉพาะแมลงในระยะดักแด้ [7] ในห้องปฏิบัติการพบว่ากิน ดักแด้ของด้วง ( Coleoptera ), ดักแด้ของผีเสื้อ Lepidoptera, ตัวโม่งของ ยุง และ ตัวอ่อนของ มด

ภายในตัวของไอ้เท่งมักพบว่ามีปรสิต ยาวสีขาว แต่ยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างละเอียด [1] ซึ่ง ปรสิต ดังกล่าว Aiteng ater อาจเป็นขวาก spicules ภายในลำตัว [5] เนื่องจากการมีการยืนยันการพบ ขวาก ในตัวอย่างสปีชีส์หนี่งใน Aitengidae ที่ไม่ได้การระบุสายพันธุ์จากญี่ปุ่น

อ้างอิง

บทความนี้ประกอบด้วยข้อความ CC-BY-2.0 จากJörger et al พ.ศ. 2553 [5]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Swennen C. & Buatip S. "Aiteng ater, new genus, new species, an amphibious and insectivorous sea slug that is difficult to classify [Mollusca: Gastropoda: Opisthobranchia: Sacoglossa(?): Aitengidae, new family]". The Raffles Bulletin of Zoology 57(2): 495–500. PDF Archived 2012-03-02 at the Wayback Machine.
  2. https://www.psu.ac.th/th/node/1379
  3. http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?t=417
  4. http://rmbr.nus.edu.sg/rbz/biblio/57/57rbz495-500.pdf
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Jörger K. M., Stöger I., Kano Y., Fukuda H., Knebelsberger T. & Schrödl M. (2010). "On the origin of Acochlidia and other enigmatic euthyneuran gastropods, with implications for the systematics of Heterobranchia". BMC Evolutionary Biology 10: 323. doi:10.1186/1471-2148-10-323.
  6. https://www.psu.ac.th/th/node/1379
  7. https://www.psu.ac.th/th/node/1379