เสม็ดขาวใบยาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสม็ดขาวใบยาว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Myrtaceae
สกุล: Melaleuca
สปีชีส์: M.  leucadendra
ชื่อทวินาม
Melaleuca leucadendra
ชื่อพ้อง[1]
รายการ
  • Cajuputi leucadendron (L.) Rusby ex A.Lyons
  • Leptospermum leucodendron (L.) J.R.Forst. & G.Forst.
  • Melaleuca latifolia Raeusch. nom. inval., nom. nud.
  • Melaleuca leucadendra (L.) L.f. leucadendra
  • Melaleuca leucadendra (L.) L. var. leucadendra
  • Melaleuca leucadendra var. mimosoides (A.Cunn. ex Schauer) Cheel
  • Melaleuca leucadendron L.f. orth. var.
  • Melaleuca leucadendron L.f. var. leucadendron orth. var.
  • Melaleuca leucadendron var. mimosoides Cheel orth. var.
  • Melaleuca mimosoides A.Cunn. ex Schauer
  • Metrosideros coriacea Salisb.
  • Myrtus leucadendra L.

เสม็ดขาวใบยาว หรือ เสม็ดกือแล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Melaleuca leucadendra) หรือรู้จักกันทั่วไปว่าเสม็ดขาว (ชื่อสามัญ อังกฤษ: : Weeping Paperbark, Long-Leaved Paperbark, White Paperbark) เป็นพืชในสกุลเมอร์เทิล ของวงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) และแพร่กระจายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ภาคเหนือของ ประเทศออสเตรเลีย, นิวกีนี และ ช่องแคบทอร์เรส มีความสูงของต้นได้มากกว่า 20 เมตร ลำต้นปกคลุมด้วยเปลือกสีขาวลักษณะเป็นแผ่นบางๆ เรียงซ้อนกันเป็นปึกหนานุ่ม ลอกออกได้เป็นแผ่นๆ กิ่งก้านที่บางกว่า และมีลักษณะเด่นคือกิ่งที่มักห้อยลง ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี มักปลูกเป็นต้นไม้ในสวนสาธารณะและริมถนน เป็น melaleuca ชนิดแรกที่ได้รับการตั้งชื่อ จากตัวอย่างที่มาจาก ประเทศอินโดนีเซีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ภาพประกอบศตวรรษที่ 19 ของ M. leucadendra
ทรงต้นเสม็ดขาวใบยาว

เสม็ดขาวใบยาว Melaleuca leucadendra จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) ชื่ออื่น:

จัดเป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นทั่วไป 5-20 เมตร แต่สูงได้ถึง 25 เมตร มีเรือนยอดแคบเป็นพุ่มทรงสูง ลำต้นมักบิด เปลือกลำต้นเป็นสีขาวนวล สีชมพูหรือครีม จนถึงสีน้ำตาลเทา เปลือกเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงซ้อนกันเป็นปึกหนานุ่ม ลอกออกได้เป็นแผ่น ๆ

กิ่งก้านมักห้อยลง (ในภาษาอังกฤษเรียกลักษณะกิ่งที่ห้อยลงว่า weeping - ร้องไห้) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเสม็ดขาวใบยาว

ใบและกิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนละเอียดสั้นสีขาวเมื่อยังอ่อน แต่จะเรียบเป็นมันเมื่อใบแก่ ออกใบเรียงรอบกิ่งไม่เป็นระเบียบ ใบยาว 75 - 270 มม. กว้าง 6.5 -40 มม. 6.5–40 mm (0.3–2 in) ใบแบน รูปใบหอก ทรงยาวเรียว มีเส้นใบตามยาว 5 เส้น (บางครั้งมากถึง 9 เส้น) และมักไม่สมมาตร คือ มีลักษณะโค้งหรือรูปเคียว [2][3][4] (เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว) และในต้นที่มีใบที่ยาวใบส่วนมากมักห้อยลง

ดอกมีสีครีม สีขาว หรือสีขาวอมเขียว เป็นพู่ ออกที่ปลายกิ่ง ซึ่งสามารถเติบโตผลิยอดต่อไปหลังจากออกปลายช่อดอกได้ บางครั้งออกดอกที่ด้านบนของซอกใบ ดอกพู่กระจุกเป็นช่อ 7 ถึง 22 ดอก คล้ายแปรงล้างขวดแต่กระจายกันแบบหลวม ๆ ปลายกิ่งเดียวมีได้มากถึง 3 ช่อ และช่อดอกอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างถึง 35 มม. ยาวได้สูงสุดถึง 80 มม. กลีบดอกยาวประมาณ 3 - 4 มม. และร่วงหล่นตามวัยเมื่อดอกบานเต็มที่แล้ว มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ซึ่งกระจุกกันเป็นมัด 5 มัดรอบ ๆ แต่ละมัดมีเกสรเพศผู้ 5 ถึง 12 เส้น ออกดอกได้ตลอดทั้งปี

ผล แตกออกได้เป็นพู 3 พู ลักษณะของผลเป็นรูปถ้วย ปลายปิด ขนาดเล็ก ยาว 3.9 - 4.9 มม. ผลออกเป็นกระจุกหลวม ๆ เรียงยาวรอบกิ่ง [2][3][4] ผลแก่เป็นสีน้ำตาลอมเทาถึงสีคล้สีเปลือกไม้ำ ผลแห้งแตกด้านบน ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี

เสม็ดขาวใบยาว มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ใกล้เคียงกันมากกับ เสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi) ที่พบในประเทศไทย และ เสม็ดใบกว้าง (Melaleuca quinquenervia) ที่พบในประเทศออสเตรเลีย ทั้งสามเป็นพืชในสกุล Melaleuca ต่างกันเล็กน้อยที่ลักษณะเด่นของเสม็ดขาวใบยาว คือ ใบที่ยาวโค้งเป็นรูปเคียว กิ่งก้านมักห้อยลง ช่อดอกยาว ดอกและผลกระจุกกันหลวม ๆ และมีถิ่นกำเนิดต่างกัน

อนุกรมวิธานและการตั้งชื่อ

เสม็ดขาวใบยาว (M. leucadendra) ถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี 1762 โดยลินเนียส (Carl Linnaeus) ใน Species Plantarum เป็น Myrtus leucadendra [5][6] Linnaeus ใช้คำอธิบายของสายพันธุ์ที่เขียนโดยรัมฟีอุส (Georg Eberhard Rumphius) ในปี 1741 ก่อนที่ระบบการเรียกชื่อสมัยใหม่จะถูกคิดค้น(โดยลินเนียส) รัมฟีอุสได้อธิบายถึงพืชที่เติบโตในอินโดนีเซียชนิดนี้ ต่อมา ลินเนียสได้ตระหนักว่าพืชชนิดนี้มีความเหมือนร่วมกับพืชอื่น ๆ ใน สกุล Myrtus เพียงเล็กน้อย จึงแยกและตั้งชื่อสกุล Melaleuca ขึ้นใหม่เพื่อรองรับพืชชนิดนี้ [7] ดังนั้น Melaleuca leucadendra จึงกลายเป็น melaleuca ตัวแรกที่ได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ และถูกตีพิมพ์ในปี 1767 ใน Mantissa plantarum [8][9] ตามมาว่าแม้ว่า Melaleuca เกือบทั้งหมดจะพบเฉพาะในออสเตรเลีย แต่ ตัวอย่างชนิด แรกมาจากอินโดนีเซีย

ชื่อเฉพาะ ( leucadendra ) มาจากคำ ภาษากรีกโบราณ λευκός (leukós) ที่ แปลว่า“ ขาว” [10] : 856  และ δένδρον (déndron) แปลว่า“ ต้นไม้” [10] : 813  หมายถึงเปลือกสีขาวของพืชชนิดนี้ [2]

Melaleuca leucadendra นั้นดูเผินๆคล้ายกับต้นเสม็ดชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะ Melaleuca cajuputi, Melaleuca quinquenervia, Melaleuca linariifolia และ Melaleuca viridiflora และบางครั้งถูกเรียกว่า Cajuput หรือ Cajeput ซึ่งเป็นคำ ภาษาอังกฤษ เรียกน้ำมันที่ได้จากใบของ Melaleuca cajuputi และคำนี้อาจเป็นการทับศัพท์จาก kayu putih ซึ่งเป็นภาษาอินโดนีเซีย [11] ในภาษามลายู เสม็ดขาวใบยาว (M. leucadendra) เรียกว่า Gelam [12] และสันนิษฐานว่าใช้อ้างอิงในการตั้งชื่อให้กับเขต กัมปุงเกอลัม ในสิงคโปร์ [13]

การแพร่กระจายและถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลีย นิวกินี และอินโดนีเซีย

เสม็ดขาวใบยาว (M. leucadendra) แพร่กระจายอยู่ทั่วไปทางตอนเหนือของ ออสเตรเลียตะวันตก ใน นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และ ควีนส์แลนด์ ทางตอนใต้ของอ่าวโชลวอเตอร์ นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นใน นิวกินี และอินโดนีเซีย [2] เจริญเติบโตได้ดีมากในสภาพที่ลุ่มมีน้ำขัง มักพบได้ทั่วไปตามชายทะเล ป่าชายหาดใกล้ทะเล ในที่ลุ่มมีน้ำขัง ตามขอบของป่าพรุ[14]

การใช้ประโยชน์

เปลือกไม้ที่เหมือนกระดาษนั้น ชาวอะบอริจินใช้ในการรอง คูลามอน (ถาดทรงยาวคล้ายฟักผ่าครึ่ง) ใช้เปลือกไม้จากต้นไม้นี้และมัดไว้กับโครงของกิ่งก้าน Dodonaea เพื่อสร้างกระท่อมที่กันน้ำได้ เปลือกไม้ใช้ห่ออาหารก่อนปรุงในเตาอบใต้ดินที่เรียกว่า kap mari นอกจากนี้ยังใช้ห่อศพของพวกเขา มีการนำเปลือกจากลำต้นของต้นไม้ขนาดใหญ่มาทำเรือแคนู [15] ใบบดใช้รักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และนำดอกมาทำเป็นเครื่องดื่มรสหวาน [4]

ในออสเตรเลีย มักปลูกเสม็ดขาวใบยาวในสวนสาธารณะ และเป็นต้นไม้ริมถนนในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งร้อนเช่น บริสเบน [3] และไกลไปทางใต้ของ ซิดนีย์ [16] ชอบสถานที่ที่มีแสงแดดส่องถึง แต่ทนต่อดินเหนียว ดินพรุ และดินที่มีน้ำขัง [17] นอกจากนี้ยังถูกใช้เป็นต้นไม้ข้างถนนในฮ่องกง [18]

น้ำมันหอมระเหย

น้ำมันหอมระเหยหลายชนิดสามารถกลั่นได้จากพืชชนิดนี้ขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่ที่ต้นไม้เติบโต น้ำมันที่กลั่นได้เรียกว่า “น้ำมันเขียว” (Cajuput oil) หรือ “น้ำมันเสม็ด” ซึ่งจะมีกลิ่นคล้ายกับการบูร น้ำมันเสม็ดนี้มีคุณสมบัติในทางยาคล้ายกับน้ำมันยูคาลิปตัส แต่มีสีเหลืองอ่อน สารสำคัญ ที่พบมากที่สุดสองชนิดคือ เมทิลยูจีนอล และ อี-เมทิลไอโซ ยูจีนอล[2] เป็นน้ำมันที่ไม่เป็นพิษ และทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้น้อยมาก[14]

ไม้

ไม้ซุงจาก M. leucadendra สามารถใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป เนื้อไม้เสม็ดขาวมีคุณสมบัติคงทนต่อสภาพที่เปียกชื้นและในน้ำเค็มได้ดี ในเวียดนามใช้สำหรับเสาเสาเข็ม ไม้ฟืน และเศษไม้วัสดุปลูกหรือโรยหน้าดิน[2]

อ้างอิง

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WCSP
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Brophy, Joseph J.; Craven, Lyndley A.; Doran, John C. (2013). Melaleucas : their botany, essential oils and uses. Canberra: Australian Centre for International Agricultural Research. pp. 224–225. ISBN 978-1-922137-51-7.
  3. 3.0 3.1 3.2 Holliday, Ivan (2004). Melaleucas : a field and garden guide (2nd ed.). Frenchs Forest, N.S.W.: Reed New Holland Publishers. pp. 170–171. ISBN 1-876334-98-3.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Melaleuca leucadendra". James Cook University. Retrieved 25 January 2018. https://www.jcu.edu.au/discover-nature-at-jcu/plants/plants-on-cairns-campus/melaleuca-leucadendra
  5. Linnaeus, Carl (1762). Species Plantarum (Volume 1) (2 ed.). p. 676. Retrieved 13 May 2015. https://www.biodiversitylibrary.org/item/42877#page/692/mode/1up
  6. "Myrtus leucadendra". APNI. Retrieved 13 May 2015. https://biodiversity.org.au/nsl/services/rest/instance/apni/630984
  7. Brophy, Joseph J.; Craven, Lyndley A.; Doran, John C. (2013). Melaleucas : their botany, essential oils and uses (PDF). Canberra: Australian Centre for International Agricultural Research. p. 15. ISBN 978-1-922137-52-4. Archived from the original (PDF) on 28 May 2015. Retrieved 13 May 2015. https://web.archive.org/web/20150528213958/http://aciar.gov.au/files/mn156-prelims_1.pdf
  8. Linnaeus, Carl (1767). Mantissa plantarum. p. 105. Retrieved 13 May 2015. https://bibdigital.rjb.csic.es/records/item/10315-redirection
  9. "Melaleuca leucadendra". APNI. Retrieved 13 May 2015. https://biodiversity.org.au/nsl/services/rest/instance/apni/513481
  10. 10.0 10.1 Brown, Roland Wilbur (1956). The Composition of Scientific Words. Washington, D.C.: Smithsonian Institution Press.
  11. Brophy, Joseph J.; Craven, Lyndley A.; Doran, John C. (2013). Melaleucas : their botany, essential oils and uses (PDF). Canberra: Australian Centre for International Agricultural Research. p. 104. ISBN 978-1-922137-52-4. Retrieved 13 May 2015. https://aciar.gov.au/files/mn156-species-a-c_1.pdf
  12. "Gelam or Kayu putih". Wild Singapore. Retrieved 13 May 2015. http://www.wildsingapore.com/wildfacts/plants/coastal/melaleuca/cajuputi.htm
  13. Keng, Hsuan (1990). The Concise Flora of Singapore: Gymnosperms and dicotyledons. Singapore: Singapore Univ. Press. p. 222. ISBN 9971-69-135-3
  14. 14.0 14.1 https://www.matichonweekly.com/column/article_224476
  15. Calvert, Greg. "Bush tucker: White paperbark (Melaleuca leucadendra)". Society for growing Australian plants, Queensland. Retrieved 25 January 2018. https://www.sgapqld.org.au/information-and-publications/bush-tucker-articles/254-white-paperbark
  16. Wrigley, John W.; Fagg, Murray (1983). Australian native plants : a manual for their propagation, cultivation and use in landscaping (2nd ed.). Sydney: Collins. pp. 351–352. ISBN 0-00-216575-9
  17. "Melaleuca leucadendra" (PDF). Waverley Council. Retrieved 13 May 2015. www.waverley.nsw.gov.au/__data/assets/pdf_file/0003/3000/Melaleuca_leucadendra.pdf
  18. Jim, C. Y. (1986). "Street trees in high-density urban Hong Kong". Journal of Arboriculture. International Society of Arboriculture. 12 (10): 257–263. Retrieved 12 August 2012.