พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ประจำจังหวัดฟูกูอิ

พิกัด: 36°04′58″N 136°30′24″E / 36.082909°N 136.506666°E / 36.082909; 136.506666
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ประจำจังหวัดฟูกูอิ (FPDM)
福井県立恐竜博物館
แผนที่
ก่อตั้ง14 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
ที่ตั้ง51-11 เทราโอะ ย่านมูโรโกะ นครคัตสึยามะ จังหวัดฟูกูอิ ประเทศญี่ปุ่น
พิกัดภูมิศาสตร์36°04′58″N 136°30′24″E / 36.082909°N 136.506666°E / 36.082909; 136.506666
ประเภทพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
จำนวนผู้เยี่ยมชม901,119 (พ.ศ. 2559)
ผู้อำนวยการโทชิฮิซะ ทาเกอูจิ
ภัณฑารักษ์15
สถาปนิกคิโช คูโรกาวะ
ขนส่งมวลชนเส้นคัตสึยามะ เอเอจิ (ทางรถไฟเอจิเซ็ง)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ประจำจังหวัดฟูกูอิ (ญี่ปุ่น: 福井県立恐竜博物館โรมาจิFukui Ken-ritsu Kyōryū Hakubutsukan) ตั้งอยู่ในนครคัตสึยามะ จังหวัดฟูกูอิ ประเทศญี่ปุ่น เป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ชั้นนำแห่งหนึ่งในทวีปเอเชียซึ่งมีชื่อเสียงจากการจัดแสดงตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์และงานวิจัยทางบรรพชีวินวิทยา[1] พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในพื้นที่สวนสาธารณะนางาโอยามะ (สวนป่าไดโนเสาร์คัตสึยามะ) ใกล้กับแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์คิตาดานิซึ่งมีการขุดค้นหมวดหินคิตาดานิของกลุ่มเทโตริในช่วงต้นยุคครีเทเชียส และมีการค้นพบซากไดโนเสาร์จำนวนมาก เช่น Fukuiraptor kitadaniensis และ Fukuisaurus tetoriensis[2]

ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 พื้นทีทั้งหมดของนครคัตสึยามะได้รับการจัดให้เป็นอุทยานธรณีญี่ปุ่น "อุทยานธรณีหุบเขาไดโนเสาร์ฟูกูอิ คัตสึยามะ [ja]"[3][4] ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 มีการเปิดให้บริการนำเที่ยวสถานีภาคสนามที่อยู่ติดกับแหล่งขุดค้นตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน[5] ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์จำนวนหลายสิบชิ้นของไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียง 5 ชนิดและแหล่งขุดค้นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางธรรมชาติของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[6] มีการก่อตั้งสำนักงานเลขาธิการสมาคมไดโนเสาร์แห่งทวีปเอเชียภายในพิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556[7]

พิพิธภัณฑ์พี่น้อง[แก้]

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ประจำจังหวัดฟูกูอิได้ลงนามในข้อตกลงพิพิธภัณฑ์พี่น้องกับพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kato, Akira (2014-01-14). "CGI, scientific studies bring dinosaurs closer". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
  2. Goto, Michiharu (2010). "Lower Cretaceous Planorbidae (Gastropoda) from the Kitadani Formation of the Tetori Group in Katsuyama City, Fukui Prefecture, Central Japan" (PDF). Memoir of the Fukui Prefectural Dinosaur Museum. Fukui Prefectural Dinosaur Museum (9): 41–45. สืบค้นเมื่อ 2018-07-29.
  3. "Dinosaur Valley Fukui Katsuyama Geopark". Dinosaur Valley Fukui Katsuyama Geopark Promotion Council. สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
  4. Japanese Geoparks Network
  5. "Field Station". Fukui Prefectural Dinosaur Museum. สืบค้นเมื่อ 2018-07-29.
  6. "国天然記念物の文化財指定について". Fukui Prefectural Dinosaur Museum. สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
  7. "Asia Dinosaur Association". สืบค้นเมื่อ 2018-07-29.
  8. "FPDM:恐竜博物館との提携機関". Fukui Prefectural Dinosaur Museum. สืบค้นเมื่อ 2018-07-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]