พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (มัลดีฟส์)

พิกัด: 4°10′30″N 73°30′32″E / 4.17500°N 73.50889°E / 4.17500; 73.50889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (มัลดีฟส์)
ޤައުމީ ދާރުލްއާސާރު
แผนที่
ก่อตั้ง11 พฤศจิกายน 2495 (2495-11-11)
ที่ตั้งมาเล ประเทศมัลดีฟส์
พิกัดภูมิศาสตร์4°10′30″N 73°30′32″E / 4.17500°N 73.50889°E / 4.17500; 73.50889
ประเภทพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ชิ้นงานสะสม มาลาเฟย์ (މަލާފަތް) เครื่องเขินฝาชีไม้โบราณ จากเกาะทูลฮาดู (ތުޅާދޫ)
พระนางตารา[1] ความสูง 30 ซม. ศิลปะมัลดีฟส์แกะสลักจากหินปะการังโขด จากคริสต์ศตวรรษที่ 9

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (มัลดีฟส์: ޤައުމީ ދާރުލްއާސާރު; qaumee dhaarulaasaaru) เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของประเทศมัลดีฟส์ก่อตั้งขึ้นเนื่องในวันชาติ เปิดทำการเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495[2] โดยนายกรัฐมนตรีมัลดีฟส์ในขณะนั้น โมฮาเหม็ด อามิน ดิดี (มัลดีฟส์: މުހައްމަދު އަމީން ދީދީ އެވެ; Mohamed Amin Didi)

ภาพรวม[แก้]

จุดประสงค์เพื่ออนุรักษ์ประวัติศาสตร์และนำเสนอความเป็นชาติของชาวมัลดีฟส์ พิพิธภัณฑ์มีชุดสะสมวัตถุโบราณจำนวนมาก ตั้งแต่วัตถุจากหินไปจนถึงชิ้นส่วนโบราณวัตถุของราชวงศ์ตั้งแต่สมัยสังคมพุทธจนถึงยุคการปกครองของสุลต่านมุสลิม

ก่อนหน้านี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้บริหารงานโดยศูนย์ภาษาและประวัติศาสตร์แห่งชาติมัลดีฟส์ (มัลดีฟส์: ދިވެހި ބަހާއި ތާރީޚަށް ޚިދުމަތްކުރާ ޤައުމީ މަރުކަޒު) ต่อมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553 ศูนย์ถูกยกเลิกโดยคำสั่งของประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด นาชีด (มัลดีฟส์: މުހައްމަދު ނަޝީދު) และการบริหารพิพิธภัณฑ์ถูกมอบให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรม ในส่วนของการวิจัยทางภาษาและประวัติศาสตร์ถูกส่งมอบให้อยู่ในความรับผิดชอบของวิทยาลัยการอุดมศึกษามัลดีฟส์ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติมัลดีฟส์ (มัลดีฟส์: ދިވެހިރާއްޖޭގެ ޤައުމީ ޔުނިވަރސިޓީ))[3]

อาคาร[แก้]

อาคารเก่าของพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ในสวนสุลต่านในเมืองมาเล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณพระราชวังมัลดีฟส์ที่มีอายุย้อนกลับไปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 อาคารหอสูง 3 ชั้น (มัลดีฟส์: އުސްގެކޮޅު; Usgekolhu) เป็นโครงสร้างเพียงแห่งเดียวที่เหลืออยู่ของพระราชวังที่ถูกทำลายด้วยเพลิงไหม้ใน พ.ศ. 2511[4]

อาคารใหม่ของพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในสวนสุลต่านเช่นกัน อาคารหลังนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลจีน มีพื้นที่รวม 53,550 ตารางฟุต ออกแบบและก่อสร้างโดยบริษัทชานตงฉีหลู่ (จีน: 山东齐鲁建设集团有限公司)[5] เมื่อแล้วเสร็จรัฐบาลจีนได้ส่งมอบโครงการให้แก่รัฐบาลมัลดีฟส์ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 แต่พิพิธภัณฑ์ได้เปิดอย่างเป็นทางการและประกาศให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในอีกสองสัปดาห์ต่อมาในวันประกาศอิสรภาพมัลดีฟส์ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การตกแต่งภายในของพิพิธภัณฑ์ยังคงรักษารูปแบบในสมัยที่สุลต่านปกครองประเทศ รวมถึงมีภาพสลักของพระคัมภีร์อัลกุรอานที่เขียนด้วยลายมือบนผนังของอาคาร

ชุดสะสม[แก้]

มีชุดสะสมของสิ่งประดิษฐ์ที่หลากหลายจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงโบราณวัตถุจากยุคก่อนอิสลาม บัลลังก์ บังสูรย์ และเครื่องตกแต่งพระที่นั่งของสุลต่าน เสื้อผ้าและรองเท้า เหรียญ เครื่องประดับ อาวุธและชุดเกราะ สิ่งทอเช่น ชุดพิธีการ ผ้าโพกศีรษะ รองเท้าลำลองและเข็มขัดที่ใช้ในโอกาสพิเศษ เสื่อ งานลงรัก งานปัก และงานสร้างสรรค์อื่น ๆ

ตัวอย่างชิ้นงานที่สำคัญได้แก่

การทำลายสิ่งประดิษฐ์ก่อนสมัยอิสลาม[แก้]

พระพุทธรูปแกะสลักถูกทำลายระหว่างการโจมตีของกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 อาลี วาฮีด ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์กล่าวว่า สิ่งประดิษฐ์ก่อนอิสลามเกือบทั้งหมดของพิพิธภัณฑ์ที่มีอายุย้อนกลับไปก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 12 ได้ถูกทำลายไปแล้ว: "บางชิ้นสามารถประกอบกลับเข้าด้วยกันได้ แต่ส่วนใหญ่ ทำจากหินทราย ปะการัง และหินปูน แตกทำลายจนกลายเป็นผง” เขากล่าวว่าพิพิธภัณฑ์ "ไม่เหลืออะไรให้แสดง" เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ก่อนอิสลามของประเทศนี้[7][8]

ในบรรดาสิ่งของที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ รูปแกะสลักหินปะการังหกหน้า, พระพุทธรูปสูง 18 นิ้ว (46 เซนติเมตร) ตลอดจนรูปแกะสลักจากหินปูนและปะการังต่าง [9]

เวลาเปิดทำการ[แก้]

10.15 น. – 15.30 น. วันอาทิตย์ – วันพฤหัสบดี (ปิดวันศุกร์และเสาร์)[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Xavier Romero-Frias (1999). The Maldive Islanders, A Study of the Popular Culture of an Ancient Ocean Kingdom (3rd rev. ed.). Barcelona: Nova Ethnographia Indica. ISBN 84-7254-801-5. OCLC 55148127.
  2. "Maldives Tourist Attractions - National Museum Maldives". Tourism-Srilanka.com.
  3. "President abolishes National Centre for Linguistic and Historical Research". Miadu. 28 เมษายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2014.
  4. އިމާދު ލަތީފު (30 มิถุนายน 2022). "ދިވެހި ތާރީޚު: ހާޖީ އިމާދުއްދީނާއި އުސްގެކޮޅު" [Dhvehi History: Haji Imaddeen and the Tower]. One Online. (ในภาษามัลดีฟส์).
  5. "China-aid Maldives National Museum -- Story 14 on 50 Years of China-Maldives Diplomatic Ties". Embassy of the People's Republic of China in the Republic of Maldives (ภาษาอังกฤษ). 22 สิงหาคม 2022.
  6. Mohamed Luveiz, บ.ก. (2007). HANDYCRAFT in Maldives (PDF). Male, Maldives: Ministry of Economic Development and Trade. pp. 10–12.
  7. "Maldives mob smashes Buddhist statues in national museum". Al Arabiya. AFP. 8 กุมภาพันธ์ 2012.
  8. Amal Jayasinghe (12 กุมภาพันธ์ 2012). "Trouble in paradise: Maldives and Islamic extremism". Yahoo News Singapore. AFP.
  9. Bajaj, Vikas (13 กุมภาพันธ์ 2012). "Vandalism at Maldives Museum Stirs Fears of Extremism". The New York Times.
  10. "National Museum reopens with modern facilities". PSM News. ޕަބްލިކް ސަރވިސް މީޑިއާ [Public Service Media]. 31 สิงหาคม 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]