พิกส์ (เศรษฐศาสตร์)
พิกส์ (อังกฤษ: PIGS[1] หรือในบางครั้งเรียกว่า PIIGS, PIIGGS) คือคำย่อที่ถูกเรียกโดยนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ กลุ่มนักวิชาการ และสำนักพยากรณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ถึงรัฐอธิปไตยในทวีปยุโรปที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะอันประกอบไปด้วย
ซึ่งในบางกรณีอาจรวมไปถึงรัฐอธิปไตยอีกสองรัฐคือ
- ไอร์แลนด์ (I: Ireland)
- สหราชอาณาจักร (G: Great Britain)
โดยบ่อยครั้งที่คำย่อนี้ถูกนำไปใช้เกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะในภาคเศรษฐกิจ ซึ่งบางครั้งสำนักข่าวบางสำนักและองค์กรระหว่างประเทศบางแห่งจำกัดหรือห้ามการใช้คำย่อดังกล่าวโดยตรง ด้วยเหตุผลบางประการถึงการนำไปใช้ในการโจมตีและวิจารณ์อย่างมีนัยสำคัญ
ประวัติ
[แก้]คำย่อถูกใช้มาอย่างยาวนานโดยนักวิเคราะห์ของธนาคาร[2] นักธุรกิจ นักวิชาการ และนักวิจารณ์ ย้อนกลับไปได้อย่างน้อยถึงช่วงต้นของการรวมเขตเศรษฐกิจยุโรป[3][4][5] โดยใช้ในการหมายถึงกลุ่มประเทศยูโรโซนหรือกลุ่มประเทศในแถบยุโรปตอนใต้ที่มีลักษณะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน[6][7][8]
การโต้เถียง
[แก้]คำย่อนี้ถูกประณามว่าเป็นคำหยาบคายโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2551[9] และโฆษกประจำรัฐบาลโปรตุเกสและสเปนบางคนก็พิจารณาว่าคำย่อนี้เป็นคำหยาบคายด้วยเช่นกัน นอกจากนี้สำนักข่าวบางสำนักเช่น ไฟแนนเชียลไทม์ และ บาร์เคลย์แคปิตอล ยังได้จำกัดหรือห้ามใช้คำย่อนี้ในข่าวของตนอีกด้วย[10]
ความเปลี่ยนแปลง
[แก้]ในช่วงต้นของวิกฤตการณ์ทางการเงินโลก พ.ศ. 2550–2553 ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างก็ได้เกิดขึ้น[11] เมื่อมีการบรรจุตัวอักษร "I" เพิ่มเข้าไปอีกหนึ่งตัวกลายเป็น "PIIGS"[12][13] โดยนักวิจารณ์บางคน โดยอักษรตัวดังกล่าวหมายถึงอีกประเทศที่เพิ่มเข้ามาคือไอร์แลนด์จากวิกฤตเศรษฐกิจไอร์แลนด์ พ.ศ. 2551–2553 หรือบ้างก็ได้เปลี่ยนความหมายของตัวอักษรดังกล่าวในคำย่อเดิมซึ่งหมายถึงอิตาลีมาเป็นไอร์แลนด์แทน[14]
นอกจากนี้แล้วยังมีการเพิ่มตัวอักษร "G" เข้าไปอีกเพิ่มเติมในช่วงมาตรการกอบกู้ระบบธนาคารในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2552 ตลอดจนเข้าสู่ช่วง วิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป พ.ศ. 2553 นักวิเคราะห์บางคนก็ถึงกลับเปลี่ยนคำย่อเป็น "PIIGGS"[15] ซึ่งได้ทำการรวมเอาสหราชอาณาจักรเข้าไปอยู่ในกลุ่มดังกล่าวด้วย โดยพิจารณาจากสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hugh, Edward (16 ธันวาคม 2009). "Is Austria Set To Join The Honourable Company of PIIGs?". EconoMonitor. Roubini Global Economics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011.
- ↑ Vernet, Daniel (24 เมษายน 1997). "L'Allemagne au coeur du débat français". Le Monde (ภาษาฝรั่งเศส).
que l'argot communautaire a affublés d'un sobriquet peu élégant dans sa signification anglaise : « pigs », pour Portugal, Italy, Greece, Spain.
- ↑ Eichelburg, Walter K. (1 พฤษภาคม 2006). "Gibt es noch weitere PIGS im Euro?" (ภาษาเยอรมัน). Die Goldseiten.
- ↑ Von Reppert-Bismarck, Juliane (7–14 กรกฎาคม 2008). "Why Pigs Can't Fly". Newsweek.
- ↑ "Ten years on, beware a porcine plot". The Economist. 5 มิถุนายน 2008.
- ↑ Münster, Winfried, บ.ก. (1997). Der Euro: Fragen und Antworten zum neuen Europa-Geld (ภาษาเยอรมัน). Dt. Taschenbuch-Verlag. p. 128. ISBN 3-423-36058-5.
- ↑ Boyd, Scott, บ.ก. (4 กุมภาพันธ์ 2010). "Euro Struggles on Growing PIIGS Debt Concern". MarketPulse.
- ↑ "Europe's PIGS: Country by country". BBC. 11 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ Holloway, Robert (15 กันยายน 2008). "Pigs in muck and lipstick". AFP.
- ↑ "Anything but porcine at BarCap". The Financial Time. 5 กุมภาพันธ์ 2010.
- ↑ Ravnaas, Niels Ruben (21 พฤษภาคม 2010). "Banket gjennom giganthjelpen". NA24 (ภาษานอร์เวย์). Nettavisen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2011.
- ↑ de Sa’Pinto, Martin (15 มกราคม 2010). "Hedge funds to favor BRIC not PIIGS in 2010: Lipper". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2011.
- ↑ Deiss, Richard (2019). Der Nabel des Mondes und die Träne im Indischen Ozean (ภาษาเยอรมัน) (4 ed.). BoD – Books on Demand. p. 22. ISBN 978-3-8370-5910-6.
- ↑ Totaro, Lorenzo (5 กุมภาพันธ์ 2010). "The 'I' in 'Pigs' Stands for Ireland, Not Italy (Update2)". Bloomberg Businessweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2011.
- ↑ Gurumurthy, S. (26 พฤษภาคม 2010). "Too small is 'too big' to fail". The Hindu Business Line. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2013.