พายุเฮอริเคนเออร์มา
พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS) | ||
---|---|---|
พายุเฮอริเคนเออร์มาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเหนือหมู่เกาะเวอร์จินเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560
| ||
ก่อตัว | 30 สิงหาคม 2560 | |
สลายตัว | 15 กันยายน 2560 | |
ความเร็วลม สูงสุด |
| |
ความกดอากาศต่ำสุด | 914 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 26.99 นิ้วปรอท) | |
ผู้เสียชีวิต | 84 ราย (ณ วันที่ 18 กันยายน) | |
ความเสียหาย | > 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2560) | |
พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ |
หมู่เกาะลีเวิร์ด (แอนทีกาและบาร์บิวดา, แซ็ง-บาร์เตเลมี, เซนต์มาร์ติน, แองกวิลลา, หมู่เกาะเวอร์จิน), ปวยร์โตรีโก, ฮิสปันโยลา, หมู่เกาะเติกส์และเคคอส, บาฮามาส, คิวบา, ฟลอริดา | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2560 |
พายุเฮอริเคนเออร์มา (อังกฤษ: Hurricane Irma) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคแคริบเบียนและรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกา เท่าที่มีการบันทึกไว้นั้น เออร์มาเป็นเฮอริเคนที่มีกำลังแรงที่สุดในแอ่งแอตแลนติกนอกทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก และมีความรุนแรงเทียบเท่าพายุเฮอริเคนวันแรงงาน พ.ศ. 2478 ในฐานะพายุหมุนขึ้นฝั่งที่รุนแรงที่สุดในแอ่งแอตแลนติก รวมทั้งเป็นเฮอริเคนแอตแลนติกที่รุนแรงที่สุดในด้านความเร็วลมสูงสุดนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนวิลมาในปี พ.ศ. 2548 และรุนแรงที่สุดในด้านความกดอากาศนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนดีนในปี พ.ศ. 2550 และเป็นลูกแรกที่มีระดับความรุนแรงเช่นนั้นที่เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่ใด ๆ ในภูมิภาคแอตแลนติกนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนเฟลิกซ์ในปี พ.ศ. 2550 เออร์มายังเป็นเฮอริเคนระดับ 5 ลูกแรกเท่าที่มีการบันทึกไว้ที่เคลื่อนผ่านและส่งผลกระทบโดยตรงต่อหมู่เกาะลีเวิร์ดตอนเหนือ และเป็นลูกที่สองเท่าที่มีการบันทึกไว้ที่ขึ้นฝั่งคิวบาด้วยระดับความรุนแรงดังกล่าว (อีกลูกเป็นเฮอริเคนในปี พ.ศ. 2467)
ในฐานะเฮอริเคนประเภทกาบูเวร์ดีลูกหนึ่ง[1][2][3] เออร์มาก่อตัวขึ้นใกล้กับกาบูเวร์ดีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560 จากคลื่นกระแสลมเขตร้อนซึ่งได้เคลื่อนตัวออกจากชายฝั่งแอฟริกาตะวันตกไปเมื่อสองวันก่อนหน้า มันเป็นพายุหมุนลูกที่เก้า เฮอริเคนลูกที่สี่ และเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกที่สองที่ได้รับการตั้งชื่อในฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2560[4][5][6] ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม เออร์มาได้ทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็วหลังจากการก่อตัว กลายเป็นเฮอริเคนระดับ 2 ภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง มันเริ่มเป็นเฮอริเคนระดับ 3 (และเฮอริเคนขนาดใหญ่) หลังจากนั้นไม่นาน อย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงได้ผันผวนขึ้นลงอยู่หลายวันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแทนกำแพงตาพายุหลายครั้ง จนกระทั่งในวันที่ 5 กันยายน เออร์มาได้กลายเป็นเฮอริเคนระดับ 5 และเมื่อถึงเช้าวันต่อมา ก็ได้เพิ่มความรุนแรงสู่ระดับสูงสุดด้วยความเร็วลม 185 ไมล์ต่อชั่วโมง (295 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) และความกดอากาศต่ำสุด 914 มิลลิบาร์ (914 เฮกโตปาสกาล; 27.0 นิ้วปรอท) ทำให้พายุลูกนี้เป็นเฮอริเคนที่มีกำลังแรงที่สุดเป็นอันดับสองในด้านความเร็วลมสูงสุด เป็นรองเพียงพายุเฮอริเคนแอลลินในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งมีความเร็วลมสูงสุดที่ 190 ไมล์ต่อชั่วโมง (305 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เออร์มาสรักษาความเร็วลมที่ 185 ไมล์ต่อชั่วโมงได้นานถึง 37 ชั่วโมง ทำลายสถิติของเฮอริเคนแอลลินซึ่งรักษาความเร็วลมที่ 180 ไมล์ต่อชั่วโมง (285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ได้นาน 18 ชั่วโมง[7] นอกจากนี้ เออร์มายังเป็นหนึ่งในบรรดาเฮอริเคนที่รักษาความเร็วลมในระดับ 5 ไว้ได้นานที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ด้วย[8]
ในช่วงที่มีความเร็วลมอยู่ในระดับ 5 เออร์มาได้สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงในบาร์บิวดา, แซ็ง-บาร์เตเลมี, เซนต์มาร์ติน, แองกวิลลา และหมู่เกาะเวอร์จิน และเป็นเฮอริเคนที่รุนแรงที่สุดที่พัดถล่มหมู่เกาะลีเวิร์ดตอนเหนือและหนึ่งในพายุหมุนที่ร้ายแรงที่สุดที่พัดถล่มหมู่เกาะดังกล่าว (ร่วมกับพายุเฮอริเคนดอนนาในปี พ.ศ. 2503 และพายุเฮอริเคนลูอิสในปี พ.ศ. 2538) ณ. วันที่ 9 กันยายน พายุลูกนี้ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 24 ราย[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Angela Chen (September 1, 2017). "Harvey's not over, but Hurricane Irma is now headed toward the East Coast". The Verge. สืบค้นเมื่อ September 4, 2017.
- ↑ Brandon Miller (September 2, 2017). "Powerful Hurricane Irma could be next weather disaster". CNN. สืบค้นเมื่อ September 2, 2017.
- ↑ Rob Gutro (August 30, 2017). "GPM satellite sees Tropical Storm Irma forming near Cape Verde Islands". Phys.org. สืบค้นเมื่อ September 4, 2017.
- ↑ Brian McNoldy, Brian (August 30, 2017). "Tropical Storm Irma forms in Atlantic, and we're still watching Gulf of Mexico early next week". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ September 6, 2017.
- ↑ "Hurricane Irma intensifies over the Atlantic". CNBC. Reuters. September 1, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-06. สืบค้นเมื่อ September 6, 2017.
- ↑ Marina Koren (August 31, 2017). "Hurricane Irma Just Hit Category 3". The Atlantic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ September 6, 2017.
- ↑ "Hurricane Irma Meteorological Records/Notable Facts Recap (through September 8 at 11pm EDT)" (PDF). Colorado State University.
- ↑ "Hurricane Irma has just broken another terrifying record". The Independent (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). September 6, 2017. สืบค้นเมื่อ September 6, 2017.
- ↑ Claire Phipps; Alan Yuhas; Matthew Weaver. "Hurricane Irma: Florida braces for epic storm as Caribbean death toll hits 23 – latest updates". The Guardian. สืบค้นเมื่อ September 8, 2017.