พายุเฮอริเคนอิสมาเอล
พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS) | ||
---|---|---|
พายุเฮอริเคนอิสมาเอลบริเวณคาบสมุทรบาฮากาลิฟอร์เนีย
| ||
ก่อตัว | 12 กันยายน พ.ศ. 2538 | |
สลายตัว | 16 กันยายน พ.ศ. 2538 | |
ความเร็วลม สูงสุด |
| |
ความกดอากาศต่ำสุด | 983 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.03 นิ้วปรอท) | |
ผู้เสียชีวิต | เสียชีวิต 116 ราย | |
ความเสียหาย | 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 1995) 37.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2006) | |
พื้นที่ได้รับ ผลกระทบ |
ตอนเหนือของเม็กซิโก | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2538 |
พายุเฮอริเคนอิสมาเอล (อังกฤษ: Hurricane Ismael) คือพายุเฮอริเคนขนาดอ่อน ซึ่งก่อตัวขึ้นในช่วงฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2538 โดยพายุเริ่มก่อตัวในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) และกลายเป็นเฮอริเคนในวันที่ 14 กันยายนในระหว่างที่พายุอยู่ใกล้ชายฝั่งประเทศเม็กซิโก มีเส้นทางเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ ทำให้เกิดดินถล่มในรัฐซินาโลอา พายุอิสมาเอลได้อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่อเคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง และสลายตัวในวันที่ 16 กันยายน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโก
ในภาคพื้นมหาสมุทร พายุนี้ทำให้เกิดคลื่นขนาดความสูง 9 เมตร (30 ฟุต) และทำให้เรืออับปาง 52 ลำและคร่าชีวิตชาวประมง 57 ราย ส่วนบนภาคพื้นดิน พายุอิสมาเอลทำให้มีผู้เสียชีวิต 59 รายในเม็กซิโก ยังทำลายบ้านเรือนกว่าพันหลังและผู้คนไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 30,000 คน เมื่อพายุเคลื่อนตัวถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดฝนตกหนักในบางส่วนของรัฐนิวเม็กซิโก ซึ่งพายุลูกนี้เป็นเฮอริเคนในปี ค.ศ. 1995 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด[1]
ประวัติพายุ
[แก้]ความกดอากาศต่ำได้กลายเป็นพายุชื่อว่าอิสมาเอลเมื่ออยู่ห่างจากชายฝั่งประเทศกัวเตมาลา ในวันที่ 9 กันยายน และได้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เคลื่อนที่จากตะวันตกสู่ตะวันตกเฉียงเหนือ ในตอนปลายวันที่ 12 กันยายนได้กลายเป็นดีเปรสชันเขตร้อน และได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วเพิ่มกำลังเป็นพายุหมุนเขตร้อนเมื่อต้นวันที่ 13 กันยายน[2]
อิทธิพลของสภาพอากาศเหนือคาบสมุทรบาฮากาลิฟอร์เนีย ทำให้พายุเปลี่ยนทิศขึ้นเหนืออย่างช้าๆ[3] และได้เพิ่มกำลังเป็นเฮอริเคนเมื่อวันที่ 14 กันยายน[2]
ตาของพายุเริ่มมองเห็นได้ชัดขึ้น และเมื่อผ่านไป 6 ชั่วโมงหลังจากกลายเป็นเฮอริเคน ช่วงนี้พายุจะมีความรุนแรงมากที่สุด เฮอริเคนอิสมาเอลก็ได้เร่งความเร็วและไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ได้ผ่านทางตะวันออกของเมืองกาโบซันลูกัสในวันที่ 15 กันยายน อิทธิพลจากพายุทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในรัฐซินาโลอาเมื่อวันที่ 15 กันยายน จากนั้นพายุได้อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่อขึ้นฝั่ง และสลายตัวไปเมื่อวันที่ 16 กันยายน กลุ่มฝนที่เหลืออยู่ก็เคลื่อนไปทางเหนือต่อ ฝนจากพายุได้ไปถึงบางส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา[2]
การเตรียมพร้อม
[แก้]ในตอนแรก นักอุตุนิยมวิทยาคาดว่าเฮอริเคนอิสมาเอลจะเคลื่อนตัวอยู่ในมหาสมุทรเท่านั้น แต่ต่อมาก็ได้พบว่าพายุจะเคลื่อนขึ้นฝั่ง รัฐบาลของเม็กซิโกได้ออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในพื้นที่เมืองมันซานิลโล รัฐโกลิมา จนถึงแหลมกาโบกอร์เรียนเตส์ ต่อมาได้ขยายไปถึงเมืองลอสโมชิส และพื้นที่ส่วนอื่นๆ ในรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียซูร์ โดยได้ประกาศเตือนภัยครอบคลุมตั้งแต่เมืองมาซาทลัน ถึงเมืองลอสโมชิส[2] ก่อนที่พายุจะมาถึง ได้มีการอพยพประชาชนจำนวน 1,572 คนไปยังที่พักพิงชั่วคราว[4]
ผลกระทบ
[แก้]ผลจากเฮอริเคนอิสมาเอลทำให้เกิดคลื่นขนาด 30 ฟุต (9 เมตร) ในอ่าวแคลิฟอร์เนีย ชาวประมงจำนวนมากไม่ได้เตรียมการสำหรับพายุ[4] จึงทำให้มีเรือ 52 ลำเสียหายและ 20 ลำจม ชาวประมงประมาณ 57 รายเสียชีวิตบริเวณชายฝั่ง[5] และมีชาวประมงประมาณ 150 รายรอดพ้นจากพายุโดยการรออยู่บนเกาะ[6] ทีมกู้ภัยของทหารเรือได้ออกค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยนอกชายฝั่งเม็กซิโก[7]
ผลจากพายุทำให้มีปริมาณฝนตกปานกลางถึงหนักมาก โดยวัดได้ 7.76 นิ้ว (197 มิลลิเมตร) ในรัฐซินาโลอา ฝนที่ตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมในเทศบาลสี่แห่งของรัฐ พายุยังได้ทำลายบ้าน 373 หลังและเสียหายอีกกว่า 4,790 หลัง บ้าน 177 หลังไม่มีน้ำบริโภค และไม่มีไฟฟ้าใช้อีกหลายแห่ง[5] นอกจากนี้พายุยังทำให้เกิดดินถล่ม ในเมืองลอสโมคิส เกิดลมพัดทำให้บ้านเรือนและเสาโทรศัพท์พังเสียหาย[6] มีผู้เสียชีวิต 59 รายในรัฐซินาโลอา[4]
พายุอิสมาเอลทำให้เกิดฝนตกหนักมากขึ้นเมื่อขึ้นสู่ทิศเหนือ น้ำท่วมอย่างหนักในเมืองฮัวทาบัมโพ โดยตลอดรัฐโซโนรา ลมแรงได้ทำลายบ้าน 4,728 หลังและพัดหลังคาบ้าน 6,827 หลังปลิวกระจาย ทำลายโรงเรียน 107 แห่ง เส้นทางคมนาคมกว่า 100 ไมล์ (165 กิโลเมตร) และพื้นที่ปลูกพืชผลทางการเกษตรประมาณ 83 ตารางไมล์ (215 ตารางกิโลเมตร)[5]
ฝนจากพายุได้เคลื่อนตัวตามพายุไปยังตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐแอริโซนาและ ทางใต้ของรัฐนิวเม็กซิโกของสหรัฐอเมริกา เกิดฝนตกหนักใกล้เขตรอยต่อของรัฐนิวเม็กซิโกและเท็กซัส[8] ทำให้เกิดน้ำท่วมถนนและสถานที่หลายแห่ง เส้นทางถนนจำนวนมากเสียหายและต้องปิดบริการ[9] ในเมืองลับโบค รัฐเท็กซัส ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ถนนส่วนใหญ่ถูกปิด[10] และความชื่นจากพายุได้พัดไปถึงรัฐทางตะวันออกของสหรัฐอีกด้วย[2]
หลังจากพายุสลายตัว
[แก้]เนื่องจากมีความเสียหายจากพายุเป็นอย่างมาก ชื่อ อิสมาเอล (Ismael) จึงถูกถอดออก และได้แทนที่ด้วยชื่อ อิสราเอล (Israel) ซึ่งได้ใช้สำหรับพายุในฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2544[11] หลังจากเฮอริเคนอิสมาเอลผ่านพ้นไป เจ้าหน้าที่ได้แจกผ้าปูจำนวน 4,800 ชิ้น หมอน 500 ใบและผ้าห่ม 1,500 ผืนให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ มีทีมนักประดาน้ำกู้เรือที่จมและผู้เคราะห์ร้ายที่จมน้ำ[4] และมีการซ่อมแซมระบบการสื่อสารอย่างรวดเร็ว[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "1995 Pacific hurricane season". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Max Mayfield (1995). "Hurricane Ismael Tropical Cyclone Report". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ Max Mayfield (1995). "Tropical Storm Ismael Discussion Six". NHC. สืบค้นเมื่อ 2006-11-04.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 El Presidente de la Comisión Nacional (1996). "La Recomendación 64/96, del 30 de julio de 1996 por Huracan Ismael" (ภาษาสเปน). Comisión Nacional de los Derechos Humanos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-03. สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Daniel Bitrán Bitrán (2001). "Caracterásticas del Impacto Socioeconómico de los Principales Desastres Ocurridos en México en el Período 1980 – 99" (PDF) (ภาษาสเปน). Centro Nacional de Prevención de Desastres. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-11-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ 6.0 6.1 Associated Press (1995). "Hurricane kills 91 in Mexico". สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ Sun-Sentinel Wire Services (1995). "Hurricane Toll in Mexico Passes 100; Marilyn Fades". สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ David Roth (2005). "Rainfall Summary for Hurricane Ismael". Hydrometerological Prediction Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-08. สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ National Climatic Data Center (1995). "Event Report for New Mexico". สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ NCDC (1995). "Event Report for Texas". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-12. สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
- ↑ Hanna Rosin (2004). "Hurricane Names". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-05-11.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อมูลพายุ จากศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐ
- Spanish Report เก็บถาวร 2010-09-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน