พระพุทธรูปแห่งเบเรนีกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธรูปแห่งเบเรนีกี
ภาพร่างของพระพุทธรูปแห่งเบเรนีกี[1][2]
วัสดุหินอ่อนจากอานาโตเลีย
ขนาด71 เซนติเมตร
สร้างราว ค.ศ. 100 (คริสต์ศวรรษที่ 2) อาจสร้างที่เมืองอะเล็กซานเดรีย
ที่อยู่ปัจจุบันประเทศอียิปต์
พระพุทธรูปแห่งเบเรนีกีตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง
พระพุทธรูปแห่งเบเรนีกี
ที่ตั้งของสถานที่ค้นพบพระพุทธรูปแห่งเบเรนีกี

พระพุทธรูปแห่งเบเนรีกี (อังกฤษ: Berenike Buddha) คือชิ้นส่วนของพระพุทธรูปที่ค้นพบจากการขุดค้นทางโบราณคดีในเมืองเบเรนีกี ซึ่งเป็นเมืองท่าโบราณริมชายฝั่งทะเลแดง ปัจจุบันขึ้นกับประเทศอียิปต์ โดยคณะขุดค้นจากสหรัฐและโปแลนด์ได้ค้นพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปดังกล่าวในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 และเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 บริเวณลานด้านหน้าวิหารที่อุทิศแก่เทพีไอซิส ซึ่งสร้างในยุคโรมันตอนต้น[1][3] ถือเป็นการค้นพบพระพุทธรูปยุคแรกที่สร้างนอกเขตประเทศอัฟกานิสถาน[1] และยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอารยธรรมอินเดียกับโรมันช่วงต้นคริสต์ศักราช[1]

จากลักษณะของพระพุทธรูป สันนิษฐานว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นในเมืองอะเล็กซานเดรียราวคริสต์ศตวรรษที่ 2[1] ขณะที่สตีเวน ไซด์บอทัม (Steven Sidebotham) ศาสตราจารย์สาขาประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ และเป็นผู้อำนวยการโครงการขุดค้นทางโบราณคดีที่เบเรนีกีระบุว่า พระพุทธรูปมีอายุระหว่าง ค.ศ. 90 ถึง ค.ศ. 140[4] องค์พระถูกแกะสลักด้วยหินอ่อนจากแหล่งหินทางตอนใต้ของอิสตันบูล และอาจเป็นไปได้ว่าถูกแกะสลักขึ้นโดยคนพื้นเมืองเบเรนีกีเอง[5] รอบพระเศียรมีการเปล่งรัศมีคล้ายประกายแสงอาทิตย์[1] องค์พระมีความสูง 71 เซนติเมตร[5] และบริเวณพระบาทมีฐานดอกบัวรองรับอยู่[1] อย่างไรก็ตามชิ้นส่วนของพระพุทธรูป (ส่วนลำตัวและพระเศียร) ที่พบเมื่อ ค.ศ. 2019 พบว่าบางส่วนทำจากยิปซัมที่พบในเบเรนีกี[6][7]

นอกจากการขุดค้นพบพระพุทธรูปแล้ว คณะโบราณคดียังค้นพบหลักฐานที่มีความสัมพันธ์กับอารยธรรมอินเดียโบราณ ได้แก่ คำจารึกภาษาสันสกฤตซึ่งลงวันที่ตรงกับรัชสมัยของจักรพรรดิฟิลิปชาวอาหรับ (ช่วง ค.ศ. 244 ถึง 249) และมีการค้นพบเหรียญของสาตวาหนะจากคริสต์ศตวรรษที่ 2[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Magazine, Smithsonian; Parker, Christopher. "Archaeologists Unearth Buddha Statue in Ancient Egyptian Port City". Smithsonian Magazine (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Buddha statue found at Berenike (Egypt)". Polish Centre of Mediterranean Archaeology, University of Warsaw.
  3. "Garum Masala;Dramatic archaeological discoveries have led scholars to radically reassess the size and importance of the trade between ancient Rome and India". New York Review. 20 April 2023.
  4. Jarus, Owen (2 May 2023). "1st-century Buddha statue from ancient Egypt indicates Buddhists lived there in Roman times". livescience.com (ภาษาอังกฤษ).
  5. 5.0 5.1 "Buddha statue found in ancient Egyptian seaport, points to Roman-era links with India". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 28 April 2023.
  6. Carannante, Alfredo; Ast, Rodney; Kaper, Olaf; Tomber, Roberta (1 January 2020). "Berenike 2019: Report on the Excavations". Thetis. Some of the stone sculpture, both relief and in the round, included images of Buddha and other South Asian deities. (...) The second item was a small stone head of Buddha measuring 9.3 cm high. Its hair was drawn back from the front and sides in wavy strands. The topknot was unusually flat, but clearly marked by a ribbon surrounding it, both typical elements of Buddha heads. The ears, which would have to be characterized by long earlobes, were not represented, but were probably painted on slightly protruding surfaces (Pl. XXIII 1, 2 and 4). An artisan at Berenike had produced it from local gypsum. According to its overall appearance this iconography seems to be Gandharan, Kushan or Guptan.
  7. Kaper, O.E (2021). "Berenike as a Harbour for Meroe: New evidence for Meroitic presence on the Red Sea Coast". Der Antike Sudan. Mitteilungen Der Sudanarchäologischen Gesellschaft Zu Berlin E.v. 32: 58.
  8. "Statue depicting Buddha found in Ancient Egyptian city". HeritageDaily - Archaeology News. 27 April 2023.