พระพันปีจ้าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพันปีจ้าว
พระราชสมภพประมาณ 280 ปีก่อนคริสตกาล
สวรรคต228 ปีก่อนคริสตกาล
พระราชสวามีพระเจ้าจฺวังเซียงแห่งฉิน
พระราชบุตรจิ๋นซีฮ่องเต้

จ้าวจี (จีน: 趙姬, ประมาณ 280–228 ปีก่อนคริสตกาล) พระนางทรงเป็นพระมเหสีของ พระเจ้าจฺวังเซียงแห่งฉิน และและพระราชมารดาของฉินฉื่อหฺวังตี้ จักรพรรดิองค์แรกของจีน[1] เมื่อครั้งที่พระนางทรงอภิเษกสมรส พระนางทรงเป็น "จ้าวหวางโฮ่ว" หรือ พระราชินีจ้าว และหลังจากกษัตริย์สวรรคต พระนางกลายเป็น "จ้าวไทเฮา" หรือ "พระพันปีจ้าว"(จีน: )

ด้วยพระนางทรงเป็นลูกสาวของตระกูลหนึ่งที่มีชื่อเสียงในแคว้นจ้าว พระนางทรงเป็นภรรยาน้อยของพ่อค้าที่มีนามว่า ลฺหวี่ ปู้เหวย์ ที่มอบพระนางให้แก่ผู้ที่อยู่ในการดูแลของเขา องค์ชายอี้เหรินแห่งแคว้นฉิน ในปีต่อมา พระนางได้ประสูติพระโอรสที่มีพระนามว่า อิ่งเจิ้ง นักประวัติศาตร์ที่มีนามว่า ซือหม่า เชียน ผู้ที่ไม่พอใจต่อจักรพรรดิองค์แรก ได้กล่าวอ้างว่า พระครรภ์ของพระนางนั้นยาวนานเป็นพิเศษ และพระโอรสนั้นเป็นลูกชายแท้ๆ ของลฺหวี่ ทั้งคู่ต่างมีชีวิตอยู่ในช่วงเดียวกันในเมืองหานตาน เมืองหลวงของแคว้นจ้าว โดยที่องค์ชายอี้เหรินทรงเป็นองค์ประกัน เมื่อแคว้นฉินได้นำกำลังเข้าปิดล้อมเมือง ลฺหวี่สามารถใช้สินบนในการพาองค์ชายออกนอกเมือง แต่จ้าวจีและพระโอรสวัยทารกต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในครอบครัวตระกูลของพระนางเอง ด้วยความดีความชอบของการเข้าแทรกแซงและการทูตของลฺหวี่ ต่อมาเจ้าชายอี้เหรินได้ขึ้นครองบังลังก์แห่งแคว้นฉิน และกลายเป็นที่รู้จักกันในประวัติศาสตร์ด้วยพระนามหลังสวรรคต ที่มีพระนามว่า พระเจ้าฉินจฺวังเซียง

เมื่อพระเจ้าฉินจฺวังเซียงทรงสวรรคตในปี 247 ก่อนคริสตกาล องค์ชายเจิ้งได้ขึ้นครองบัลลังก์และจ้าวจีได้ก้าวขึ้นเป็นพระพันปีจ้าว ซือหม่า เชียนได้กล่าวอ้างว่า พระนางยังคงมีความสัมพันธ์กับลฺหวี่ ปู้เหวย์อยู่ แต่เกิดความกลัวที่จะถูกเปิดเผยและการถูกข่มเหง เขาจึงส่งชายผู้หนึ่งที่ชื่อว่า เล่าไอ่ ไปปลอมตัวเป็นขันทีเพื่อมาเป็นชู้รักของพระนางแทนตน ทั้งคู่ต่างได้ให้กำเนิดบุตรนอกสมรสสองคน[2] ภายหลังเล่าไอ่ถูกสังหารในความพยายามที่จะก่อการกบฏ พระพันปีทรงถูกกักตัวอยู่ในพระตำหนักและบุตรชายที่เกิดจากเล่าไอ่ก็ถูกสำเร็จโทษ

ในปี 221 ก่อนคริสตกาล เมื่อพระเจ้าอิ่นเจิ้งได้รวมแว่นแคว้นต่างเอาไว้ทั้งหมดและกลายเป็นฉินฉื่อหฺวังตี้ จักรพรรดิองค์แรก ซึ่งพระพันปีจ้าวได้ทรงสวรรคตไปแล้ว พระนางได้รับเลื่อนตำแหน่งเป็นพระราชชนนีพันปีหลวงขององค์จักรพรรดิหรือเรียกอีกอย่างว่า ฮองไทเฮา พระศพของพระนางถูกฝังร่วมกับพระศพของพระเจ้าฉินจฺวังเซียงที่ซีหยาง(จีน: ; พินอิน: Dì Tàihòu; ยฺหวิดเพ็ง: Dai3 Taai3 hau6).[n 1]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lee, Lily & al. Biographical Dictionary of Chinese Women: Antiquity Through Sui, 1600 B.C.E.-618 C.E., p. 251. M.E. Sharpe, 2007. ISBN 0765617501
  2. Mah, Adeline Yen. (2003). A Thousand Pieces of Gold: Growing Up Through China's Proverbs. Published by HarperCollins. ISBN 0-06-000641-2, ISBN 978-0-06-000641-9. pp. 32–34.
  1. Her title should be distinguished with the other Empresses Dowager starting from Empress Lü. Those successors were granted the slightly different title which can be also translated as Empress Dowager (จีน: ; พินอิน: Huáng Tàihòu; ยฺหวิดเพ็ง: Wong4 Taai3 hau6).