พระพรหมพิจิตร (พรหม พรหมพิจิตร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพรหมพิจิตร
เกิด27 กันยายน พ.ศ. 2433
เสียชีวิต15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 (74 ปี)
อาชีพขุนนาง
สถาปนิก
อาจารย์
คู่สมรสพวงเพ็ญ
บุตรพันเอก สมฤทธิ์ พรหมพิจิตร
พันเอก กัมพล พรหมพิจิตร

ศาสตราจารย์ พระพรหมพิจิตร (พรหม พรหมพิจิตร) (27 กันยายน 2433-15 กุมภาพันธ์ 2508) ขุนนางและสถาปนิกชาวไทย ผู้ควบคุมการก่อสร้างพระเมรุมาศของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ออกแบบพระเมรุมาศของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และพระเมรุมาศของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ผู้ก่อตั้งและคณบดีคนแรกของ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (เดิมชื่อคณะสถาปัตยกรรมไทย) และเป็นบุคคลท่านแรกที่นำคอนกรีตเสริมเหล็กมาประยุกต์ใช้กับงานสถาปัตยกรรมไทย

ประวัติ[แก้]

พระพรหมพิจิตรมีนามเดิมว่า อู๋ ลาภานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2433 เป็นบุตรของนายเฮง จบการศึกษาจากโรงเรียนมหาพฤฒาราม

ได้รับพระราชทานนามสกุล ลาภานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2460 ขณะมียศและบรรดาศักดิ์เป็น รองเสวกตรี ขุนบรรจงเลขา [1] ก่อนจะกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2485[2] ต่อมาท่านได้เปลี่ยนชื่อของท่านจาก อู๋ มาเป็น พรหม และได้ใช้ราชทินนามคือ พรหมพิจิตร เป็นนามสกุลแทนนามสกุลเดิมคือ ลาภานนท์ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2485[3]

ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]

  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ขุนบรรจงเลขา ถือศักดินา ๔๐๐[4]
  • 31 มีนาคม พ.ศ. 2457 รองเสวกตรี[5]
  • 17 ธันวาคม พ.ศ. 2466 หลวงสมิทธิเลขา ถือศักดินา ๖๐๐[6]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2466 รองเสวกโท[7]
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 พระพรหมพิจิตร ถือศักดินา ๘๐๐[8]

ผลงาน[แก้]

ตำแหน่งพิเศษ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๗๔ (หน้า ๓๒๓๒)
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์ (หน้า ๖๔)
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล (หน้า ๒๔๕)
  4. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๔๔๓)
  5. พระราชทานยศ
  6. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๑๔๑)
  7. พระราชทานยศ (หน้า ๓๒๒๒)
  8. "พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๗๓๖)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-21.
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต (หน้า ๒๕๙๕)
  10. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  11. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๒๑๖๑)
  12. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 8 (หน้า ๓๐๔๐)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.