ปราสาทนครหลวง

พิกัด: 14°27′55″N 100°36′39″E / 14.46528°N 100.61083°E / 14.46528; 100.61083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปราสาทนครหลวง
ปราสาทนครหลวง
ปราสาทนครหลวงตั้งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปราสาทนครหลวง
ที่ตั้งของปราสาทนครหลวงในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ปราสาทนครหลวงตั้งอยู่ในประเทศไทย
ปราสาทนครหลวง
ปราสาทนครหลวง (ประเทศไทย)
ที่ตั้งตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประเภทวัด
ความเป็นมา
ผู้สร้างสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
สร้างพ.ศ. 2174
สมัยอยุธยา
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
สภาพกึ่งซากปรักหักพัง
ผู้บริหารจัดการกรมศิลปากร
การเปิดให้เข้าชมทุกวัน 07.00-18.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมอยุธยา

ปราสาทนครหลวง หรือ พระนครหลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 ลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นองค์ปราสาท เป็นพุทธสถานจตุรมุขทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 ชั้น ชั้นที่ 2 เป็นซุ้มระเบียงล้อมรอบ ชั้นบนมีมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอย สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ประมาณ พ.ศ. 2174)[1]

ประวัติ[แก้]

ปราสาทนครหลวง เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยทรงโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบมาจากปราสาทเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นที่พักร้อนก่อนที่จะเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ปราสาทนครหลวงสร้างไม่แล้วเสร็จในสมัยนั้น ต่อมาราวปี พ.ศ. 2352 ตาปะขาวปิ่น ได้สร้างวัดนครหลวงขึ้นโดยเอาปราสาทนครหลวง เข้าไปไว้ในเขตของวัดด้วย และมีการสร้างพระพุทธบาทสี่รอย ประดิษฐานไว้บนลานชั้นบนของปราสาท จากการดำเนินงานทางโบราณคดี ได้พบว่าวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการสร้างปราสาท เป็นการสร้างเพื่อให้เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา มิใช่ที่ประทับระหว่างทางในการเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทดังที่เข้าใจกันมาแต่เดิม

ปราสาทนครหลวง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ[2] ในชื่อ พระนครหลวง

อ้างอิง[แก้]

  1. ศูนย์ข้อมูลกลางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เรื่องที่ 133303 วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
  2. ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 หน้า 3679 – 3717

14°27′55″N 100°36′39″E / 14.46528°N 100.61083°E / 14.46528; 100.61083