จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแมวพรรณพยัคฆ์จากสมุดข่อยโบราณ
แมวพรรณพยัคฆ์ หรือ แมวลายเสือ มีลักษณะคล้ายเสือ มีขนสีมะกอกเขียว หรือมะกอกแดง หยาบกระด้าง นันย์ตาสีแดงดั่งสีเลือด เสียงร้องโหยหวนเหมือนเสียงผีโป่งร้องตามป่าเขา ชอบหลบซ่อนตามที่มืดในเวลากลางวัน ใน ตำราพรหมชาติ กล่าวไว้ว่าไม่ควรนำมาเลี้ยง เพราะจะทำให้เกิดความเดือดร้อน แต่ในตำราแมวฉบับหนึ่งกล่าวว่าแมวชนิดนี้เป็นแมวมงคลเพราะสามารถปราบนก หนู หรืองู ที่เข้ามาในบ้านได้ดี[1]
บทกวีที่เกี่ยวข้องกับแมวพรรณพยัคฆ์[แก้]
มีพรรณพยัฆเพศพื้น
|
|
ลายเสือ
|
ขนดั่งชุบครำเกลือ
|
|
แกลบกล้อง
|
สีตาโสตรแสงเจือ
|
|
เจิมเปือก ตาแฮ
|
เสียงดั่งผีโป่งร้อง
|
|
เรียกแคว้นพงไสล
|
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ตำราดูแมว" (PDF). สถาบันไทยศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2561.
|
---|
แมวให้คุณ | | |
---|
แมวให้โทษ | |
---|
สายพันธุ์อื่น | |
---|