ผู้ใช้:Zambo/คนเสมือนไร้ความสามารถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คนเสมือนไร้ความสามารถ (อังกฤษ: quasi-incompetent person) คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถตามคำร้องขอของ คู่สมรส 1, บุพการี 1, ผู้สืบสันดาน 1, ผู้ปกครอง 1, ผู้พิทักษ์ 1, ผู้ดูแลรักษาทั่วไป 1 หรือพนักงานอัยการ 1 ซึ่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถจะมีผลนับแต่ศาลมีคำสั่งเป็นต้นไป

คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นกฎหมายจำกัดสิทธิไว้ โดยสามารถทำนิติกรรมทั่วไปได้ด้วยตนเอง แต่นิติกรรมดังต่อไปนี้ต้องขอความยินยอมจากผู้พิทักษ์เสียก่อน มิฉะนั้นตกเป็น "โมฆียกรรม" ทั้งนั้น

  1. การนำทรัพย์สินไปลงทุน
  2. การรับคืนซึ่งทรัพย์สินที่นำไปลงทุน ต้นเงิน หรือทุนอื่น ๆ
  3. การกู้ยืม หรือให้กู้ยืมซึ่งเงิน
  4. การยืม หรือให้ยืมซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า
  5. การรับประกันที่ทำให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
  6. การเช่า หรือให้เช่าซึ่ง
  7. การให้โดยเสน่หา เว้นแต่เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ โดยสมควรแก่ฐานานุรูป
  8. การรับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน
  9. การปฏิเสธการให้โดยเสน่หา
  10. การกระทำเพื่อให้ได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์อันมีค่า
  11. การก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น
  12. การซ่อมแซมสถานที่ขนานใหญ่
  13. การเสนอคดีต่อศาล เว้นแต่การร้องขอให้ศาลถอดถอนผู้พิทักษ์ของตน
  14. การดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ
  15. การประนีประนอมยอมความ
  16. การมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
  17. นิติกรรมอย่างอื่นตามที่ศาลสั่งเป็นกรณี ๆ ไป

นิติกรรมที่ขึ้นรายการไว้ข้างต้นนี้ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์ทำแทนคนเสมือนไร้ความสามารถเลยก็ได้ และถ้าคนเสมือนไร้ความสามารถขอความยินยอมแล้ว แต่ผู้พิทักษ์ไม่ให้โดยไม่มีเหตุอันควร ก็มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้อนุญาตให้ทำเป็นกรณี ๆ ไปได้

ส่วนความผิดที่คนเสมือนไร้ความสามารถก่อขึ้นนั้น ต้องรับผิดเหมือนอย่างคนปรกติธรรมดาทั่วไป แต่กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้ผู้พิทักษ์ต้องร่วมรับผิดด้วยเหมือนกรณีผู้เยาว์ คนวิกลจริต และคนไร้ความสามารถ ส่วนความผิดอาญา ขึ้นอยู่กับว่าในขณะที่ทำความผิดนั้นมีความวิกลจริตหรือไม่

บุคคลจะพ้นจากความเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถเมื่อศาลสั่งตามร้องขอของคู่สมรส 1, บุพการี 1, ผู้สืบสันดาน 1, ผู้ปกครอง 1, ผู้พิทักษ์ 1, ผู้ดูแลรักษาทั่วไป 1 พนักงานอัยการ 1 หรือตัวคนเสมือนไร้ความสามารถเองนั้น 1 ซึ่งการพ้นจากความเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถจะมีผลนับแต่ศาลมีคำสั่งเป็นต้นไป

คำสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือพ้นจากความเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องประการในราชกิจจานุเบกษาด้วย

ผู้พิทักษ์[แก้]

คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นอยู่ภายในความปกครองของ "ผู้พิทักษ์" (อังกฤษ: curator) ซึ่งศาลแต่งตั้งโดยใช้หลักเกณฑ์อย่างการแต่งตั้งผู้อนุบาลคนไร้ความสามารถ

ส่วนอำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลนั้น ดังนี้ ดูแลผลประโยชน์ของคนไร้ความสามารถ 1, ทำนิติกรรมแทนคนไร้ความสามารถ 1, บอกล้างโฆยีกรรมของคนไร้ความสามารถที่พิจารณาแล้วเห็นว่าอาจเสียเปรียบ 1 และให้สัตยาบันในโมฆียกรรมของคนไร้ความสามารถที่พิจารณาแล้วเห็นว่ามีแต่ได้กับได้ 1

ตัวคนเสมือนไร้ความสามารถเองยังมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอดถอนผู้พิทักษ์ของตนได้ด้วย