ผู้ใช้:Yru2sam/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชีวประวัติโดยสังเขป: นายถาวร มุ่งการดี

ประวัติส่วนตัว[แก้]

นายถาวร มุ่งการดี | อังกฤษ: Tavon Mungarndee | มีชื่อเล่นว่า"โน่" เป็นบุตรชายคนโตของ นายสันต์ (ชื่อเดิม: นายซังฮี้, Nai Sanghee) มุ่งการดี (อำมาตย์โท หลวงสรรพพัสดุกิจ) [1],[2] และ นางสรรพพัสดุกิจ (ตลับ) สุวรรณาคี (นามสกุลเดิมก่อนแต่งงาน) มีน้องชาย (๔ คน) และน้องสาว (๕ คน) ร่วมสายโลหิตรวมทั้งหมด ๙ คน นายถาวร มุ่งการดี เกิดที่จังหวัดสงขลา ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ ขณะที่บิดาของนายถาวร มุ่งการดี รับราชการในกระทรวงคมนาคมเป็นนายช่างวิศวกรตรวจวัดราง (Metre Guage) ในการสร้างทางรถไฟสายใต้ กรมรถไฟหลวง (Royal State Railways of Siam, Southern Line) แขวงการทางสงขลา (Singora Division) ร่วมกับวิศวกรชาวอังกฤษ [3],[4] ทั้งนี้ พื้นเพครอบครัวแต่เดิมเป็นคนจังหวัดพระนคร (กรุงเทพ) มีถิ่นพำนักพักอาศัยอยู่ในย่านสี่พระยา ปัจจุบันนายถาวร มุ่งการดี ถึงแก่กรรมแล้ว

ประวัติการศึกษา[แก้]

นายถาวร มุ่งการดี จบการศึกษาจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และได้เข้าศึกษาต่อที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในชั้นปีที่ ๓-๔ (ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๙) นายถาวร มุ่งการดี ได้ขอโอนย้ายไปเรียนที่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้จบการศึกษาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ถือเป็นบัณฑิตสัตวแพทย์รุ่นที่ ๒ ในทำเนียบศิษย์เก่าสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการทำงาน[แก้]

เนื่องจากนายถาวร มุ่งการดี เป็นผู้มีความรู้และใช้ภาษาอังกฤษอย่างดี จึงได้ผันชีวิตจากการเป็นนายสัตวแพทย์ (Veterinary Inspector/Officer) ไปเป็นนักหนังสือพิมพ์ (Journalist) โดยเข้าทำงานเป็นหนึ่งในคนไทยที่มีความรู้ในภาษาอังกฤษกับทีมงานฯของหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ Bangkok Post ซึ่งในเวลาต่อมา นายถาวร มุ่งการดี ได้เป็นผู้เขียนบทความภาษาอังกฤษ (Columnist) ประจำคอลัมม์ขวาสุดในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว โดยใช้ชื่อคอลัมม์ว่า "Column Nine" ประมาณเวลาอยู่ในช่วง ๒ ทศวรรษ (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๓๕) ที่ตีพิมพ์บทความ วิเคราะห์และวิจารณ์ข่าวสารปกิณกะ ทั้งนี้ถือได้ว่า นายถาวร มุ่งการดี เป็นนักข่าวรุ่นบุกเบิก และเป็นบุคคลผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในคณะผู้ก่อตั้ง "สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย" เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่งถือเป็น "วันนักข่าว" หรือ "วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ" ต่อมาในปัจจุบัน.

หมายเหตุ: ที่ใช้ชื่อ "Column Nine" ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post เนื่องมาจากหนังสือพิมพ์ดังกล่าวในเวลานั้น จัดหน้ากระดาษ (Page Layout) โดยเฉพาะในหน้าแรก แบ่งเป็นทั้งหมด ๙ สดมภ์ (Columns) และสดมภ์หรือคอลัมม์ขวาสุดในหน้าแรกของหนังสือพิมพ์คือสดมภ์ที่ ๙ จึงได้ตั้งชื่อว่า "Column Nine."

อ้างอิง:[แก้]

  1. John Ernest Auden (Author), Shrewsbury Eng Shrewsbury School (Creator): Shrewsbury School Register, 1734-1908, 2nd edition, Woodall, Minshall, Thomas & Co., Caxton Press, Oswestry, 1909, p. 371.
  2. พระราชทานบรรดาศักดิ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๕ น่า ๒๖๕๐ วันที่ ๕ มกราคม ๒๔๖๑.
  3. หนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงสรรพัสดุกิจ (สันต์ มุ่งการดี) และ นางสรรพัสดุกิจ (ตลับ มุ่งการดี), ๑๗ ธันวาคม ๒๕๑๘, โรงพิมพ์การศาสนา, ธันวาคม ๒๕๑๘.
  4. Therese Albertine Louise von Jacob Robinson, Directory for Bangkok and Siam, Directory Volume Yr. 1914-, 25th Edition, Official Directory, Bangkok Time Press Inc., pp. 293-295.