ผู้ใช้:Wannarak/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี

1. ถ้ำเขางู 2. ตลาดน้ำดำเนินสะดวก 3. น้ำตกเก้าโจน 4. วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม



ไฟล์:เขางู.jpeg
เขางู

ถ้ำเขางู[1] อุทยานหินเขางู ตั้งอยู่บริเวณแหล่งภูเขาหินปูน ในสวนสาธารณะเขางู ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แต่เดิมเป็นแหล่งระเบิดและย่อยหินที่สำคัญของไทยตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเป็นปูนที่มีคุณภาพดี ต่อมาทั้งภาครัฐและประชาชนได้เล็งเห็นถึงความเสื่อมโทรมของสภาพภูมิประเทศและวิวทิวทัศน์ อีกทั้งที่เขางูนี้ยังเป็นศาสนสถานอันเก่าแก่ จึงได้มีการยกเลิกสัมปทานการระเบิดและย่อยหินที่บริเวณนี้ไป หลังจากยกเลิกสัมปทาน เขางูกลายเป็นเหมืองร้าง มีสภาพทรุดโทรม ทางจังหวัดราชบุรีจึงได้พัฒนาเขางูให้เป็นสวนสาธารณะและสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดี ได้สร้างพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ เต็มพื้นที่หน้าผา สร้างจากการยิงแสงเลเซอร์ลงหน้าผาหิน ต่อมาได้เพิ่มการท่องเที่ยวแนวผจญภัยเข้าไปเรียกว่า ‘เขางู แอดเวนเจอร์ ปาร์ค’ โดยมีเทศบาลตำบลเขางูเป็นผู้ดูแลรักษา ภายในอุทยานหินเขางูแห่งนี้ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดีอยู่หลายแห่ง ซึ่งจะเป็นถ้ำที่อยู่บนภูเขามีถ้ำฤๅษี ถ้ำฝาโถและถ้ำจีน-จาม แต่ละถ้ำอยู่ไม่ไกลกัน แต่ต้องเดินขึ้นบันไดไต่เขาไปค่อนข้างสูง บริเวณรอบๆก็จะมีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ภายในถ้ำต่างๆนี้พบพระพุทธรูปจำหลัก หรือพระพุทธรูปที่สลักหินที่ฝาผนังถ้ำอยู่หลายองค์ ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านี้เป็นพระพุทธรูปตั้งแต่สมัยทวารวดีเลยทีเดียว













ตลาดน้ำดำเนินสะดวก

ตลาดน้ำดำเนินสะดวก [2]คลองดำเนินสะดวก เป็นนามพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 เป็นคลองที่ขุดด้วยแรงงานคนซึ่งขุดได้ตรงและยาวที่สุดในประเทศ จากพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 ที่ทรงพระประสงค์ให้ขุดคลองเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีน เพื่อประโยชน์ในการคมนาคมและการค้าขาย คลองดำเนินสะดวก ใช้เวลาในการขุดใช้เวลาขุด 2ปีเศษ จากปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แล้วเสร็จต้นรัชกาลที่ 5 มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตรมีซอยน้อยแยกออกไปอีกประมาณ 200 คลอง ตลาดน้ำดำเนินสะดวก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าตลาดน้ำคลองต้นเข็ม สักประมาณ 30 ปีที่แล้ว ตลาดน้ำดำเนินสะดวกอยู่ที่คลองลัดพลี หนาแน่นช่วงปากคลองต่อกับคลองดำเนินสะดวกซึ่งอยู่ตรงข้ามตลาดน้ำปัจจุบัน(ฝั่งตรงตลาดน้ำดำเนินสะดวก) มีเรือพายแท้ ๆ จากชาวสวนแน่นขนด สามารถเดินข้ามคลองได้โดยเหยียบไปบนเรือเหล่านั้น ปี 2514-2516 ตลาดน้ำคลองลัดพลีเป็นช่วงที่มีความเจริญมาก มีการค้าขายกับอย่างสนุกสนาน โดยมีนักท่องเที่ยวแต่ชาวต่างชาติ จนมีนายทุนได้ทำการขุดคลองเทียมขึ้นมา ระหว่างคลองลัดพลี และคลองดำเนินสะดวก หวังที่จะทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ตั้งแต่ลาดน้ำที่แท้จริงหายไป (20กว่าปีมาแล้ว) ซึ่งตลาดน้ำในปัจจุบันนี้ เป็นเพียงการสตาฟตลาดน้ำในอดีตให้คงอยู่เท่านั้น อย่างไรก็ตามตลาดน้ำดำเนินที่เก่าแก่กว่าร้อยปี ยังคงมีมนต์ขลังเป็นตลาดน้ำที่ยังคงเป็นของจริง ยังมีจากแม่ค้าที่นำผลไม้จากสวนมาขาย หรือบางครั้งอาจรับผลไม้มาจากรถบรรทุกที่อื่นขาย เป็นอะไรสุดท้ายที่ควรไปชม




น้ำตกเก้าชั้นหรือน้ำตกเก้าโจน

น้ำตกเก้าโจน[3] น้ำตกเก้าโจน เป็นแหล่งน้ำตกอยู่บ้านผาปก เขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 18 กิโลเมตร เลยจากบ่อน้ำร้อนบ่อคลึงไปประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถเดินจากที่จอดรถจนถึงตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร น้ำตกไหลมาจากหน้าผาสูงกลางหุบเขามีความสูง 9 ชั้นจากชั้นล่างสุด จนถึงชั้นสุดท้ายสามารถเดินเท้าเข้าไปได้ โดยระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถ้าจากน้ำตกชั้นล่างไปจนถึงชั้นบนสุดจะใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง เวลาเดินลงประมาณ 45 นาที :การเดินทาง จากกรุงเทพฯ – น้ำตกเก้าโจน ระยะทางประมาณ 175 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสาย พระปิ่นเกล้า-นครชัยศรีมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครปฐม จากนั้นขับตรงถึงจังหวัดราชบุรี จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางเพชรเกษม มุ่งหน้าสู่จังหวัดนครปฐม จากนั้นขับตรงสู่จังหวัดราชบุรี เมื่อถึงเขตเมืองจังหวัดราชบุรีให้เลี้ยวขวาไปทางอำเภอจอมบึง โดยจะเลี้ยวตรงแยกเจดีย์หัก เลยเจย์ดีหักไปสักพักจะเจอแยกเขางูให้เลี้ยวขวาแล้วขับตรงไปเรื่อยๆ ระหว่างทางจะผ่านถ้ำเขาบินสามารถแวะเที่ยว เมื่อถึงอำเภอสวนผึ้งให้ตรงไปประมาณ 3 กิโลเมตร แล้วให้เลี้ยวซ้ายตรงภูผาผึ้งไปประมาณ 7 กิโลเมตร จะเจอกับวัดห้วยผากให้เลี้ยวขวา จะเจอกับธารน้ำร้อนบ่อคลึง เลยธารน้ำร้อนไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกเก้าโจน รถทุกชนิดสามารถไปได้ เพราะเป็นทางลาดยางตลอดเส้นทาง และมีป้ายบอกทางตลอดเส้นทางเช่นกัน





ไฟล์:Watloungporsot.jpg
วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม[4] วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี (วัดแห่งนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานีแต่อย่างใด) ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 มีประวัติความเป็นมานับตั้งแต่ อาจารย์เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์ ผู้ชำนาญการวิจัย(Research Specialist) สำนักข่าวสารอเมริกัน (USIS) กรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ หลวงพ่อ พระเทพญาณมงคล) ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ศิษยานุศิษย์ผู้ปฏิบัติธรรมนี้ว่า “วิชชาธรรมกาย” (วิชชา=วิทยา, รู้แจ้ง, ปรีชา; ธรรมกาย = กองหรือหมู่แห่งธรรม กล่าวคือ ธรรมที่รวมคุณธรรมของพระอริยเจ้าและของพระพุทธเจ้า) ตามระดับภูมิธรรมและบุญบารมีที่ปฏิบัติได้ โดยได้มอบตัวเป็นศิษย์ของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระภาวนาโกศลเถร (ปัจจุบันคือ พระราชพรหมเถร) รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกและศิษย์โดยตรง ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกายทั้งหมด จากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) จากนั้นท่านได้ริเริ่มจัดตั้งและบริหาร โครงการให้การศึกษาอบรมและเผยแผ่พระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างกว้างขวาง ออกไปทั่วประเทศและในต่างประเทศ ได้แก่ โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2524 มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ศาลาการเปรียญ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2524 และ สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2524 (ปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่ ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี) ทั้ง 4 องค์กรได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมการให้การศึกษาอบรมและเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2525 เป็นระยะเวลายาวนาน กว่า 25 ปีจนถึงปัจจุบัน ในต้นปี พ.ศ. 2528 เมื่ออาจารย์เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิปัสสนาของสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย มีอายุย่าง 57 ปี ได้ตัดสินใจที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ท่านจึงยื่นหนังสือขอลาออกจากสำนักข่าวสารอเมริกันล่วงหน้า 1 ปี อันเป็นระยะเวลา 3 ปีก่อนวันเกษียณอายุ เพื่อให้สำนักงานได้มีโอกาสหาคนมาทำหน้าที่แทน และให้ท่านได้มีโอกาสฝึกงานแก่พนักงานใหม่ได้ทันเวลา เพราะงานที่ท่านต้องรับผิดชอบทำอยู่ในตำแหน่ง Research Specialist นั้น ต้องรับผิดชอบงานถึง 3 อย่างคือ (1) งานวิจัยและประเมินผล (2) งานจัดการติดตั้งและจัดการดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ (3) การจัดระบบข้อมูลข่าวสารด้วยคอมพิวเตอร์ จึงต้องมีเวลาเพียงพอในการจัดหาบุคลากรและฝึกงานให้ผู้ที่เข้ามารับงานใหม่ให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงได้รับอนุมัติให้ลาออกได้ ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2529 เป็นวันที่อาจารย์เสริมชัย พลพัฒนาฤทธิ์ มีอายุครบ 57 ปีบริบูรณ์ ท่านได้ลาออกจากสำนักข่าวสารอเมริกันแล้ว ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา มีฉายาว่า "ชยมงฺคโล" ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โดยมี เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดสามพระยา เป็น พระอุปัชฌาย์ เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร (ในสมัยที่ดำรงสมณศักดิ์เป็น "พระพรหมคุณาภรณ์") เป็น พระกรรมวาจาจารย์ เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (ในสมัยที่ดำรงสมณศักดิ์เป็น "พระธรรมธีรราชมหามุนี") เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ในระหว่างที่พระอาจารย์เสริมชัย ชยมงฺคโล อยู่จำพรรษาที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้รับการศึกษาอบรมทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติภาวนาธรรมอยู่ เป็นเวลา 5 พรรษานั้น ท่านต้องบริหารโครงการให้การศึกษาอบรมและเผยแพร่ธรรมปฏิบัติทั้ง 2 โครงการ ในส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร คือ โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ โครงการและสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ทั้งที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และทั้งที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี รวมทั้งจัดการด้านบุคลากร การเงินและทรัพย์สิน ของ มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ทั้งหมด ให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ จัดซื้อที่ดินและจัดสร้างเสนาสนะเพิ่มขึ้น รวมทั้งการก่อสร้างอุโบสถ และจัดให้มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา ให้ได้รับการศึกษาอบรมทั้งภาคปริยัติและปฏิบัติพระสัทธรรมเพิ่มขึ้นตามลำดับ




อ้างอิง[แก้]