ผู้ใช้:Toppytoto/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จันทนา โอบายวาทย์
ไฟล์:Chantana 4558563.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด23 สิงหาคม พ.ศ. 2473 (93 ปี)
บ้านสามเสน ข้างวังศุโขทัย
คู่สมรสพลตำรวจตรีทักษ์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา (ถึงแก่กรรม)
บุตร2 คน
อาชีพนักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2491 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นโคมสวรรค์, คู่เสน่หา, กลิ่นดอกไม้, คลื่นกระทบฝั่ง, เกาะในฝัน, ลอยลำสำราญ, สงครามเพศ
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง

จันทนา โอบายวาทย์ เป็นนักร้องหญิงเพลงไทย-สากล ยุคบุกเบิกของวงกรมโฆษณาการ หรือ วงดนตรีสุนทราภรณ์ เจ้าของน้ำเสียงสดใสกังวาล

ประวัติ[แก้]

จันทนา ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา หรือ จันทนา โอบายวาทย์ ชื่อเล่น จัน เกิดเมื่อ วันศุกร์ ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2473 ที่บ้านสามเสน ข้างวังศุโขทัย เป็นบุตรของ นาวาอากาศตรีเทียม โอบายวาทย์ (บิดา) และ นางสายไหม (สังเกตการณ์) โอบายวาทย์ (มารดา) มีพี่น้อง 8 คน ทั้งกับมารดาเดียวกันและต่างมารดา คือ

  1. ทับทิม โอบายวาทย์
  2. ร.ท.ดร.วาสนา เจริญลาภ โอบายวาทย์
  3. อัจฉราพรรณ ศรีเพ็ชรพันธุ์
  4. จันทนา (ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา) โอบายวาทย์
  5. ประทุม แก้วสุวรรณ
  6. นาวาอากาศเอก(พิเศษ)สมโภชน์ โอบายวาทย์
  7. สุวคนธ์ ธรรมสโรช
  8. ศุภกิจ โอบายวาทย์

การศึกษา[แก้]

จบการศึกษาจากโรงเรียนสตรีวัดระฆัง และโรงเรียนนาฏศิลป์ แผนกนาฏดุริยางค์ กรมศิลปากร

ในช่วงที่เรียนอยู่โรงเรียนนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ทำให้ฝึกฝนทักษะการขับร้อง และการรำ ขณะเดียวกันก็ได้มีโอกาศร้องเพลงออกอากาศทางวิทยุศาลาแดงอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้จันทนายังเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกับ จุรี โอศิริ และนภา หวังในธรรม


เส้นทางนักร้อง[แก้]

ทั้งพ่อและลุงของจันทนาต่างเป็นนักดนตรี โดยพ่อเป็นผู้ควบคุมวงดรตรีของกองทัพเรือ ส่วนลุงอยู่ประจำวงดนตรีของกรมตำรวจ ครั้งยังเด็กจึงทำให้ได้มีโอกาสติดตามไปดูการบรรเลงกับคุณพ่อ ทำได้รับการปลูกฝังและเกิดความรักในเสียงเพลง แต่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนทางด้านนี้ เพราะติดในเรื่องของการเรียนหนังสือ

เมื่อโตขึ้นประกอบกับเป็นช่วงที่จบการศึกษาจากโรงเรียนศิลปากร ก็ไปศึกษาต่อทางด้านภาษาที่ สถานสอนภาษาAUA เรียนอยู่ได้ปีกว่า ในตอนนั้นทางกรมโฆษณาการขาดนักร้องผู้หญิง เนื่องจากสุปาณี พุกสมบุญ ได้ลาออกจากกรมโฆษณาการ ทางครูเอื้อ สุนทรสนาน จึงให้ พนิดา สุนทรสนาน (หลานครูเอื้อ) มาตามจันทนา ไปร่วมวงด้วย เพราะครูเอื้อทราบดีว่าช่วงที่จันทนาเรียนที่โรงเรียนศิลปากร มีการฝึกขับร้องเพลงอยู่ประจำ จึงไม่ต้องฝึกสามารถขับร้องกับวงได้เลย และทางคุณพ่อเองก็อนุญาต ตัวของจันทนาเองยังมีฐานะเป็นญาติคนหนึ่งของ ครูเอื้อ อีกด้วย

ปีพ.ศ.2491 จันทนาได้เข้าเป็นนักร้องวงกรมโฆษณาการไล่เลี่ยกับ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี และ จุรี โอศิริ ระหว่างที่ร้องเพลงอยู่ในวงกรมโฆษณาการ จะสนิทกับนักร้องรุ่นพี่อย่าง มัณฑนา โมรากุล เพราะเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่คอยสอนให้คำชี้แนะต่าง ๆ ซึ่งนับถือเป็นเหมือนพี่สาวแท้ ๆ และมักจะไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ ส่วนอีกท่านที่จันทนารักและเคารพเปรียบเสมือนพ่ออีกคน ก็คือ ครูสริ ยงยุทธ เวลามีเพลงใหม่ ๆ มาให้ร้องก็จะต้องมาฝึกร้องต่อเพลงกับครูสริ

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

จันทนา สมรสกับ พลตำรวจตรีทักษ์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2495 มีบุตรธิดา 2 คน คือ

  • พรรณรายปัทมสิงห์ ณ อยุธยา และ ดนัย ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา มีหลานย่า 3 คน คือ วทานิกา พิชญา และ นัยน์ชนก ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา

เมื่อสมรสไปแล้วก็ได้ลาออกจากงานร้องเพลงโดยเด็ดขาด และรับเชิญมาร้องเพลงเฉพาะในโอกาสสำคัญๆ เช่น ในวาระครบรอบวันเกิดของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ตั้งแต่ 20, 25, 30, 45, 50 และ 60 ปี เป็นต้น หลังจากที่สามีเสียชีวิตจันทนาก็พำนักอยู่ ณ บ้านถนนสุขุมวิท ซอย 39 และปัจจุบันก็ยังรับเชิญไปร้องเพลงบ้างในบางโอกาส

ผลงานเพลง[แก้]

แม้จันทนา จะเข้ามาอยู่กับวงสุนทราภรณ์ระยะเวลาไม่นานมากนัก แต่ก็มีผลงานบันทึกเสียงทั้งเพลงเดี่ยว เพลงคู่ เพลงหมู่ เพลงปลุกใจ และเพลงรำวง ไว้จำนวนมาก อาทิ

  • กลิ่นดอกไม้
  • เกาะในฝัน
  • เกาะสวรรค์
  • คลั่งแซมบ้า
  • คลื่นกระทบฝั่ง
  • คู่เสน่หา (ร้องคู่ ครูเอื้อ สุนทรสนาน)
  • โคมสวรรค์
  • ใจหนอใจ
  • ฉันอยากจะลอง
  • ฉันไม่ลอง (ร้องคู่ ชวลี)
  • ดาวเด่นฟ้า
  • เธอกับฉัน
  • อกฉัน
  • มาลีมีขาย
  • มารักกันเถอะ (ร้องนำหมู่กับ ชวลี)
  • ผู้ชายนี่ร้ายนัก (ร้องคู่ ชวลี)
  • รักมันจั๊กกะจี้
  • รักไม่ลง
  • ไร่นามาลีสตรี
  • ลอยลำสำราญ (ร้องประสานกับ ครูเอื้อ, มัณฑนา)
  • สงครามเพศ (ร้องคู่มัณฑนา โมรากุล)
  • สุดเหวี่ยง
  • เส่เหลเมา
  • หนูเล็ก
  • เหมันต์สวิง
  • อำนาจตาเธอ
  • รำวงไทย (ร้องนำหมู่กับ วินัย, ครูเอื้อ)
  • รำวงพระปฐมเจดีย์ (ร้องนำหมู่กับ ครูเอื้อ)
  • รำวงชาวทะเล (ร้องนำหมู่กับ วินัย, ครูเอื้อ, เพ็ญศรี)
  • รำวงตบแผละ (ร้องนำหมู่กับ วินัย, ครูเอื้อ)
  • หญิงไทยใจงาม ดวงจันทร์ขวัญฟ้า (ร้องนำหมู่กับ วินัย)
  • รำวงข้าวใหม่ปลามัน (ร้องนำหมู่กับ วินัย, ครูเอื้อ, เพ็ญศรี)
  • สวัสดีปีใหม่ (ร้องประสาน)
  • รำวงลอยกระทง (ร้องประสาน)
  • ฯลฯ

เกร็ดความรู้[แก้]

  • จันทนาเคยได้เล่าว่าในช่วงที่ร้องเพลงกับวงจะได้รับเงินเดือนประจำอยู่ที่ประมาณ 450 บาท เวลารับงานร้องเพลงงานนอกค่าจ้างจะอยู่ที่ประมาณ 50 บาท แต่ถ้าวันไหนมีโอกาสได้ร้องเพลงในงานตามบ้านของผู้มีฐานะ คนใหญ่คนโต เคยได้รับเป็นเงินรางวัลมากถึง 2,000 บาท ซึ่งในสมัยนั้นถือว่าเยอะมาก เทียบกับก๋วยเตี๋ยวแค่ชามละ 2 บาท
  • จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่าพลตำรวจตรีทักษ์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา (คู่ชีวิตจันทนา) เป็นผู้ที่เขียนแบบตราวงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่เป็นรูปท่าน ท้าวปัญจสิขร ให้กับครูเอื้อ ท่านมีความผูกพันกับสุนทราภรณ์ตั้งแต่ยังเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิง[แก้]