ผู้ใช้:Titirat Chainicom/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นโยบายการคลัง[แก้]

ความหมายนโยบายการคลัง[แก้]

ความหมายของนโยบาย
ประชุม รอดประเสริฐ (2544 : 13) กล่าวว่านโยบายเป็นข้อความหรือความเข้าใจร่วมกันอย่างกว้าง ๆ ที่ใช้เป็นแนวทางการตัดสินใจเพื่อการปฎิบัติภารกิจต่าง ๆ ของผู้บริหารและของหน่วยงาน
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2549 : 8) ได้เปรียบเทียบว่านโยบายเปรียบเสมือนเข็มทิศและหางเสือในการเดินเรือ ที่จะพาเรือไปในทิศทางที่กำหนดไว้ได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดนโยบายการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนา ประเทศและการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน เพื่อจะพาประเทศให้พัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการ
Stecklein (1989 : 8) อธิบายว่า นโยบาย หมายถึง ข้อความที่ให้แนวทาง (Guideline) สำหรับการพัฒนาและการดำเนินงานของหน่วยงานหรือแผนงาน (Program) ซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ถึงหลักการพื้นฐานหรือความเชื่อถือของผู้รับผิดชอบสำหรับหน่วยงานหรือแผนงานนั้นๆ[1]
ความหมายของการคลัง
การคลัง หมายถึง การใช้จ่ายเพื่อการบริหารประเทศของรัฐบาล โดยกำหนดนโยบายและการดำเนินงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับรายรับ รายจ่าย หนี้สาธารณะ ซึ่งในแต่ละปีรัฐบาลจะต้องจัดทำเป็นงบประมาณแผ่นดินประจำปี เพื่อแสดงให้ประชาชนรู้ว่าในปีต่อไปรัฐบาลมีโครงการจะทำอะไรบ้าง แต่ละโครงการต้องใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินเท่าใด และรัฐบาลจะหารายได้จากทางใดมาใช้จ่ายตามโครงการนั้น ๆ ดังนั้นงบประมาณแผ่นดินจึงเป็นแผนเกี่ยวกับการหารายได้และการใช้จ่ายตามโครงการต่างๆของรัฐบาล[2]
การคลัง หมายถึง เศรษฐกิจภาครัฐบาลเกี่ยวกับการหารายได้เพื่อนำมาใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับรายรับและรายจ่ายให้เหมาะสมรายรับของรัฐบาล[3]
ความของนโยบายการคลัง
นโบายการคลัง คือ นโยบายของภาครัฐในการจัดการงบประมาณทั้งรายได้และรายจ่ายของรัฐ โดยการออกนโยบายการคลังในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อบรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ[4]

วัตถุประสงค์ของโยบายการคลัง[แก้]

1.การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทรัพยากรของแต่ละประเทศมีอยู่อย่างจำกัด ที่สำคัญทรัพยากรเหล่านี้ต้องใช้ทั้งภายในภาครัฐและภายในภาคเอกชน หากรัฐบาลใช้ทรัพยากรมาก เอกชนก็จะมีทรัพยากรในการใช้น้อย นโยบายการคลังจึงมีบทบาทในการเข้ามากำหนดถึงการใช้ทรัพยยากร การวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นเกิดผลประโยชน์สูงสุด และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งในการดำเนินงานของรัฐบาลย่อมมีภาระรายจ่ายที่เข้าไปยุ่งกับระบบเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
2.การกระจายรายได้ แผนการใช้จ่ายของรัฐบาลนั้นเป็นตัวกำหนดว่าประชาชนกลุ่มใดได้รับผลประโยชน์จากการใช้จ่ายของรัฐ ส่ววนแผนการหารายได้เป็นแผนที่บ่งบอกว่าประชาชนกลุ่มใดเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งประชาชนแต่ละกลุ่มนั้นจะได้รับผลประโยชน์ และภาระค่าใช้จ่ายมากน้อยไม่เท่ากันตามรายได้และค่าใช้จ่ายของตน นโยบายการคลังจึงมีส่วนในการทำให้เกิดกรกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
3.การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลใช้นโยบายการคลังในการเพิ่มค่าใช้จ่าย และขยายการลงทุนในภาครัฐ โดยเน้นด้านสาธารณูปโภคเพื่อสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนให้สะดวกขึ้น รวมทั้งการเลือกใช้ประเภทและอัตราภาษีเพื่อให้เอกชนมาลงทุนในกิจการบางประเภท
4.การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สถาวะเศรษฐกิจมีการผกผันแปรเปลี่ยนทุกเวลา เกิดปัญหาต่างๆตามมาจากการเปลี่ยนแปลงนั้น เช่น อัตราการจ้างงาน อัตรารายได้ของแรงงาน ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด เป็นต้น นโยบายการคลังจึงต้องสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจ[5]

เครื่องมือของนโยบายการคลัง[แก้]

1.งบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาลนั้นมีทั้งการลงทุนและการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งในแต่ละจุดมุ่งหมายของรายจ่ายนั้นแตกต่างกันออกไป ตามความต้องการและผลประโยชน์ที่ได้รับของประชาชน
2.งบประมาณรายได้ของรัฐบาล รายได้ของรัฐมาจากการเก็บภาษีอากรและที่ไม่ใช่การเก็บภาษี เช่น รายได้ของรัฐพาณิชย์ แต่ตามปกติแล้วรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐมาจากการเก็บภาษี
3.หนี้สาธารณะ หากรัฐเกิดสภาวะงบประมาณแผ่นดินขาดดุล รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินมาเติมเต็มส่วนที่ขาดไปจากภายในหรือนอกประเทศจนกลายเป็นหนี้สาธารณะ ซึ่งหนี้สาธารณะนั้นแบ่งออกเป็นหนี้ระยะส้นและระยะยาว โดยระยะสั้นกำหนดชำระคืนจะต้องไม่เกิน 1 ปี รวมทั้งดอกเบี้ย[6]

ประเภทของนโยบายการคลัง[แก้]

ประเภทของนโยบายการคลังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1.การทำงานของนโยบายการคลัง
1.1 นโยบายการคลังแบบอัตโนมัติ เป็นนโยบายที่สามารถปรับตัวหรือผันผวนไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจได้เพื่อสร้างความสมดุลให้เกิดเสถียรภาพในเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติขณะที่มีการเปลี่ยงแปลงนั้นเกิดขึ้น กล่าวคือ จะช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายมวลรวมที่เพิ่มสูงขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง หรือการช่วยพยุงสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากการใช้จ่ายของมวลรวมที่ลดต่ำลง ซึ่งนโยบายการคลังแบบอัตโนมัตินั้นมีเครื่องมือ 2 ส่วน ส่วนแรกคือภาษีเงินได้ ส่วนที่ 2 คือเงินโอนและเงินช่วยเหลือ
1.2 นโยบายการคลังแบบตั้งใจ เป็นนโยบายการคลังที่ออกมาเมื่อนโยบายการคลังแบบอัตโนมัติใช้ไม่ได้ผล รัฐบาลจึงต้องออกนโยบายการคลังออกมาเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าว เครื่องมือของนโยบายการคลังแบบตั้งใจคือ ก ารเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี การเปลี่ยนแปลงระดับงบประมาณรายจ่าย และเปลี่ยนแปลงทั้งงบประมาณรายจ่ายและอัตราภาษี
2.การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
2.1 นโยบายการคลังแบบขยายตัว เป็นนโยบายที่รัฐออกมาเพื่อรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลในการทำให้เศรษฐกิจขยายตัว จากกสภาวะเศรษฐกิจซบเซาหรือระหว่างที่ประเทศกำลังพัฒนา หรือภาวะเงินฝืด ก่อเกิดการจ้างงาน การบริโภค และการผลิต ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องตันและความต้องการจ่ายมวลรวม(AD)ให้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ระดับของรายได้ประชาชาติเพิ่มมากขึ้น โดยเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลและมีการจัดเก็บภาษีลดลง
2.2 นโยบายการคลังแบบหดตัว เป็นนโยบายการคลังที่รัฐออกมาเพื่อลดปริมาณงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐบาล และเพิ่มภาษี หรือการตั้งงบประมาณเกินดุล ก่อให้เกิดการลดระดับของการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศชะลอตัวลง มีความต้องการใช้จ่ายมวลรวมลดลงทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่อาจส่งผลทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อลดลง เนื่องมาจากเศรษฐกิจที่เฟื่องฟู[7]

ปัญหาของนโบายการคลัง[แก้]

ความล้มเหลวของการใช้นโยบายการคลังทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เนื่อจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ปัญหาเหล่านั้นพอสรุปได้ดังนี้ คือ (พนม ทินกร ณ อยุธยา. 2534 : 266-270)
1.ระยะเวลา การใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมุลนาน ซึ่งเก็บข้อมูลครบแล้วยังต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วนำมาประชุมวางแผน ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยอื่น ทำให้การวางแผนการและดำเนินการล้าช้า ไม่ทันเหตุการณ์
2.ข้อมูลการคลัง การเก็บข้อมุลการคลังมีการรายงานที่ล่าช้าและมีตัวเลขที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากการดำเนินงานต้องผ่านผู้บริหารหลายระดับทำให้เกิดการคาดคะเนสภาวะเศรษฐกิจผิดพลาด การวางแผนที่จะนำมาใช้นั้นย่อมผิดพลาดไปด้วย
3.การวางแผนทางการคลัง การวางแผนการคลังผิดพลาด เนื่องมาจากข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ เพราะในการทำงบประมาณนั้นใช้ระยะเวลาหลายเดือน การประมาณรายได้และรายจ่ายนั้นเป็นไปได้ยาก การควบคุมรายได้หรือรายจ่ายนั้นอยู่กระจายทั่วไป ยากต่อการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นความจริง
4.การประสานงานไม่สอดคล้องกัน การทำงานแบ่งออกเป็นหลายหน่วยงาน หลายระดับ จึงทำให้การดำเนินงานมีหลายลำดับขั้นตอน การปฎิบัติงานจึงล่าช้า ส่งผลให้แผนงานล้มเหลว[8]

นโยบายการคลังกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ[แก้]

รัฐบาลมีส่วนสำคัญในระบบเศรษฐกิจเนื่ิองจากเป็นผู้ที่ใช้จ่ายมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจ การใช้จ่ายของรัฐบาลนั้นย่อมต้องมีแผนและแนวทางปฎิบัติในการดำเนินการ โดยรัฐบาลได้มีนโยบายในการนำมาใช้สองนโยบายคือ นโบายการคลังและนโยบายการเงิน การใช้ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังย่อมทำให้ประชาชนได้รับความเท่าเทียมกัน จากการกระจายรายได้อย่างยุติธรรมและเท่าเทียม ซึ่งรัฐบาลได้ใช้นโยบายการคลังเพื่อให้มีผลกระทบต่อระดับรายได้ของประชาชนที่มีรายได้ต่ำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และลดความเลื่อมล้ำทางการเงินโดยการใช้ภาษีเข้ามาช่วย ทั้งนี้นโยบายการคลังและนโยบายการเงินต่างก็เป็นนโยบายที่รัฐบาลของแต่ละประเทศจะนำมาใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อเศรษฐกิจในประเทศเกิดสภาวะว่างงาน ภาวะเงินเฟ้อ และภาวะเงินฝืด
การใช้นโยบายการคลังมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น นโยบายการคลังควรยืดหยุ่นในทางที่ช่วยลดความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจ กล่าวคือการทำให้ความต้องการรวมลดลงในระยะที่มีความต้องการมากเกินไป แต่ก็ต้องไม่ทำให้ความต้องการรวมลดลงจนถึงระยะที่มีความต้องการน้อยเกินไป ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจผันผวนน้อย แต่บางครั้งรัฐบาลก็ต้องใช้นโยบายการเงินควบคู่ไปด้วยในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ[9][10][11]

  1. สุปราณี เพชรน้อย. ความหมายของนโยบาย.ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต,https://www.gotoknow.org/posts/374452/, สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2560
  2. นนารินทร์. การคลัง. ออนไลน์. สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต,https://sites.google.com/site/nanarin325/kar-ngein-kar-khlang-kar-thnakhar/kar-khlang, สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2560
  3. พิเชฐ คำชะนะ. การคลัง. ออนไลน์.สืบค้นจากอินเตอร์เน็ต,https://lipzaza852.wordpress.com/, สืบค้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2560
  4. จุฑารัตน์ บุญโท. เศรษฐศาสตร์มหภาค 1. (2550). ขอนแก่น : โรงพิมพ์รัตน
  5. วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. (2558). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  6. วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. (2558). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  7. วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. (2558). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  8. ทับทิม วงศ์ประยูร.เศรษฐศาสตร์ มหภาค 1. (2545). กรุงเทพ : บริษัท แม็ทส์ปอยท์ จำกัด
  9. แสงจันทร์ ศรีประเสริฐ. เศรษฐศาสตร์มหาภาคขั้นสูง. (2544). กาฬสินธุ์ : โรงพิมพ์ประสานการพิมพ์
  10. รัตนา สายคณิต. หลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น : มหเศรษฐศาสตร์. (2537). กรุงเทพ : บริษัท เยียร์บุ๊คพับลิชเชอร์ จำกัด
  11. รัตนา สายคณิต. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. (2550). กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย