ผู้ใช้:Prempg/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

   เป็นการบริหารงานของภาครัฐหรือการให้บริการสาธารณะและเป็นการปฎิบัติตามนโยบายของระบบราชการโดยจะมีองค์การ บุคคลเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางราชการทั้งหลายมีส่วนในการกำหนดและนำเอากฎหมายที่ออกโดยนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการมาปฎิบัติใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะเกิดก็ประชาชนและรัฐ[1] [2]

ขอบข่ายของรัฐประศาสนศาสตร์(Scope of Public Administration )[แก้]

สามารถแยกออกได้2รูปแบบคือ

ขอบข่ายในแง่วิชาการ[แก้]

    โดยบทความวิชาการของWoodrow Wilson ที่ชื่อว่า “The Study of Administration” ในปี ค.ศ.1887 มีอิทธิพลทำให้เกิดการศึกษาวิชาเกี่ยวกับการบริหารของรัฐ(Science of Administration)  เป็นศาสตร์ที่มีประโยชน์แก่การศึกษาโดยแบ่งได้ตามยุคสมัยได้ดังนี้
  ระยะแรกคือช่วง ค.ศ. 1887-ค.ศ. 1937 การศึกษาในช่วงนี้จะเป็นการวางรากฐานพื้นฐานของการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารของรัฐ เพราะมีการสร้างองค์ความรู้ แนวคิดที่มีหลักการสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารที่ชัดเจน โดยในระยะเวลานี้จะเป็นการค้นหาหลักการบริหารที่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนชัดเจน (ThePrinciple of Administration)ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานในองค์การของรัฐ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะจากปะญหาในอดีตที่ขาดหลักการที่ดี ทำให้นักวิชาการช่วงนี้พยายามศึกษาค้นคว้าหาหลักการบริหารที่มีกฎเกณฑ์ที่มีคุณภาพ แน่นอนชัดเจนขึ้นมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในช่วงที่สอง ปีค.ศ.1947-ค.ศ.1950 นักวิชาหลายท่านได้เสนอแนวคิดที่ขัดแย้งกับแนวคิดของนักวิชาการช่วงแรก ทำให้เกิดการตั้งคำถามเดี่ยวกับความน่าเชื่อถือในวิชาความรู้รัฐประศาสนศาสตร์ จนเกิดแนวทางขึ้นมา2แนวทาง คือ
 แนวทางแรก เป็นแนวทางที่ว่าการบริหารและการเมืองไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งขัดกับแนวคิดเดิมที่แยกการบริหารจากการเมือง แนวทางนี้จะบอกถึงความสัมพันธ์กันที่เกี่ยวเนื่องระหว่างการบริหารกับการเมือง
 แนวทางที่สองคือการที่ว่าหลักการบริหารไม่มีอยู่จริง กล่าวว่า ความจริงหลักการบริหารเป็นเพียงข้อสรุปที่นำมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดเหตุและผลในการตัดสินใจ จากทั้งสองแนวทางนี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “วิกฤตการณ์ทางด้านเอกลักษณ์ของสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์” ขึ้นมาในช่วงเวลานั้น[3]ต่อมาในปี ค.ศ.1960-ค.ศ.1970 วงการนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกา ได้มีการปรับเปลี่ยนหลัการ รัฐประศาสนศาสตร์จากแนวทางเดิมที่ไม่ได้สร้างความเป็นธรรมให้สังคมยุคใหม่เพราะ เน้นหลักการปล่อยให้มีอคติที่ส่งเสริมออกแบบให้พวกคนชนชั้นกลางมีปฎิสัมพันธ์กับระบบราชการได้ดีเพื่อเอาเปรียบคนจนแต่การเคลื่อนไหวครั้งนั้นไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับวิชารัฐประศาสนศาสตร์ หลังการปีค.ศ.1970 ได้เกิดจุดสนใจขึ้นอีกครั้งในวิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้มุ่งความสนใจไปที่สาขาวิชาย่อยๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาในการบริหารได้ มีหลายสาขาวิชาด้วยกันเช่น นโยบายสาธารณะ วิทยาการจัดการ เป็นต้นจนมาถึงช่วงเวลาศตวรรษที่ 19-20 ได้มีความชัดเจนในการบริหารมากขึ้น[4] 

ขอบข่ายในแง่ของกิจกรรม[แก้]

  เป็นการบริหารจัดการงานของภาครัฐที่เรียกว่า “การบริหารรัฐกิจ” ซึ่งการบริหารรัฐกิจด้านกิจกรรมนี้จะเป็นการจัดทำบริการสาธารณะที่มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยรัฐบาลนั้นเป็นผุ้ดูแล 

สามารถสรุปขอบข่ายทางด้านกิจกรรมของการบริหารของรัฐได้ดังนี้ 1) การรักษาเอกราชและความมั่นคงของชาติ โดยการใช้กฎหมายเป็นตัวบังคับความคุมให้สังคมเป็นระเบียบ เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ใช้กฎหมายปกป้องคุ้มครองรักษาเอกราชและความมั่นคงของรัฐ 2) การรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยการอำนวยความสะดวกปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน การกระทำการให้ชีวิตของประชาชนดีขึ้น เช่นมี การดำเนินงานตำรวจ โรงเรียน โรงพยาบาล เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในบ้านเมือง ได้อย่างปกติสุข มีความรู้สึกปลอดภัยในชีวิต มีอาชีพการงานที่ดี มีโอกาส ทางด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล มีกระบวนการยุติธรรมที่สมบูรณ์และเป็นธรรม เพื่อสร้าง ความชอบธรรมเป็นธรรมให้ประชาชนอย่างเสมอภาค 3) การจัดการทรัพย์สินสาธารณะและกิจกรรมทางด้านการเงินการคลังของประเทศ เช่น การจัดระบบการจัดการดูแลและใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำสาธารณะและ ทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่เป็นของรัฐ โดยการออกกฎหมายมากำหนดกฎเกณฑ์กติกาในการใช้ การครอบครอง หรือการแสวงหาผลประโยชน์ระหว่างรัฐกับเอกชน ประชาชนอย่างเป็นธรรมไม่ ส่งผลกระทบ หรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเหล่านั้น ทั้งในด้านการเก็บภาษีที่ เหมาะสมและเป็นธรรม มีการดำเนิน การจัดเก็บรายได้หรือผลประโยชน์ต่าง ๆ ของรัฐอย่างมี ประสิทธิภาพ มีการจัดทำงบประมาณและระบบการตรวจสอบที่ดี เป็นต้น 4)การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการที่รัฐบาลต้องช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนทั้งในและภายนอกประเทศ กำหนดหลักเกณฑ์ ดูแลกำกับภาคธุรกิจเอกชนให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย 5) การสร้างและรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ รัฐบาลจะต้องถือเรื่องนี้เป็นสำคัญเพราะการแข่งขันระหว่างประเทศนั้นเกิดขึ้นทุกมุมของโลก มีทั้งคู่แข่งและพันธมิตร 6) การสร้างเสรีภาพและความเสมอภาคให้เกิดขึ้นในสังคม ถือเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญ เพื่อไม่ให้เกิดการแบ่งชนชั้นวรรณะ สร้างความยุติธรรมให้เกิดแก่สังคม[5]

วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ในยุคต่างๆ[แก้]

แบ่งได้ 3 ยุค

   ยุคแรก(1887-1929) เป็นยุคแรกเริ่มกำเนิดนั้น ถือว่าเป็นวิชาย่อยในสาขารัฐศาสตร์ ผู้บุกเบิกในระยะเริ่มแรกจึงมักได้แก่นักรัฐศาสตร์ จุดสนใจมุ่งเม้นที่โครงสร้างระบบมีด้วยกัน3ไ ด้แก่ กลุ่มการศึกษาการบริหารรัฐกิจของกลุ่มวิชารัฐศาสตร์  การศึกษาการบริหารรัฐกิจของกลุ่มวิชาพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาการบริหารรัฐกิจของกลุ่มวิชาศาสตร์การบริหาร[6] 
   ยุคที่สอง เป็นยุคหลังสงครามโลก 1930 – 1967 ในช่วงนี้การปรับเปลี่ยนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ไปมากเพราะเนื่องจากสหรัฐอเมริกามีบทบาทในการช่วยพัฒนาประเทศที่ด้อยกว่า พัฒนาไปยังทวีปเอเชีย ยุโรปแล้วมีบ้างประเทศนำหลักการบริหารไปพัฒนาแล้วประสบผลสำเร็จจึงทำให้นักวิชาการยุคนี้ต่อว่านักวิชาการยุคแรก[7]
   ยุคที่สาม เป็นช่วงเวลาค.ศ.1968-ปัจจุบัน เมื่อมีการจัดประชุมสัมมนารัฐประศาสนศาสตร์ที่ทะเลสาบมินโนบรู๊ค (Minnobrook) โดยมหาวิทยาลัยซีราคิ๊วส์ (Syracuse) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการรัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่     
เป็นยุคที่การศึกษาการบริหารรัฐกิจกำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขอบเขตและแนวทางการศึกษาการบริหารรัฐกิจ[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. พิทยา บวรวัฒนา, รัฐประศาสนศาสตร์ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา(ค.ศ.1887-ค.ศ.1970), โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ.2541,หน้า1-2
  2. วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, ความหมายและขอบเขตของรัฐประศาสนศาสตร์, mgmtsci.stou.ac.th/downloads/ความหมายและขอบเขตของรปส.pdf , (สืบค้นวันที่ 24/4/2560 )หน้าที่1 บรรทัดที่ 4-12
  3. ฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค, ขอบข่ายและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Scope and Methodology of Public Administration):บทที่ 4 ขอบข่ายของรัฐประศาสนศาสตร์ , http://www.gspa.buu.ac.th/webgspa/upload/day_140826/201408261641386478.pdf , (สืบค้นวันที่24/4/2560)หน้าที่ 12-13
  4. ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง, ขอบข่ายรัฐประศาสนศาตร์ยุคโลกาภิวัตน์, ปัญณาชน, พ.ศ.2553, หน้าที่44-48
  5. ฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค, ขอบข่ายและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Scope and Methodology of Public Administration):บทที่ 4 ขอบข่ายของรัฐประศาสนศาสตร์ , http://www.gspa.buu.ac.th/webgspa/upload/day_140826/201408261641386478.pdf , (สืบค้นวันที่24/4/2560)หน้าที่ 12-13
  6. เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง , การบริหารรัฐกิจ, พ.ศ.2527, หน้าที่38-44
  7. เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง, การบริหารรัฐกิจ,พ.ศ.2527,หน้าที่45-52
  8. รศ. สุรพันธ์ ทับสุวรรณ์, บทที่ 15 รัฐประศาสนศาสตร์:3. วิวัฒนาการของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์, http://e-book.ram.edu/e-book/p/PS103/chapter15.pdf,(สืบค้นวันที่24/4/2560)