ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Pilarbini/ESEAP Conference 2018 Report

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายงานการประชุม ESEAP 2018

การประชุม ESEAP 2018 จัดขึ้นเมื่อ 5–6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ณ จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และนับเป็นการประชุมระดับภูมิภาคครั้งแรกที่รวมตัวแทนจากชุมชนในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิก

ชาววิกิมีเดียที่ได้เจอ

[แก้]

ชาววิกิมีเดียจากประเทศอินโดนีเซียได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นเริ่มจากการมารอรับที่สนามบินต้องขอขอบคุณ Cahyo ที่รอแม้เราจะออกมาช้ากว่ากำหนดหลายชั่วโมงเนื่องจากคิวตรวจคนเข้าเมืองที่ยาวเหยียด พอไปถึงโรงแรมก็ได้เจอ Biyanto ผู้ที่เป็นประธานวิกิมีเดียอินโดนีเซียและยังเป็นผู้ประสานงานในคณะกรรมการการสื่อสารของการประชุมซึ่งเราได้มีส่วนร่วมและติดต่อกันมาก่อน ต่อมาก็ได้พบกับผู้ร่วมห้องหรือ Amy และเรียนรู้เกี่ยวกับวิกิพีเดียภาษาชวา และปัญหาเกี่ยวกับความที่เป็นภาษาพูดทำให้คนมักมีปัญหาในการเขียน วันแรกได้รับประทานอาหารเย็นร่วมโต๊ะกับ Amy, Tom จากออสเตรเลีย แล้วก็ Binsar จากประเทศติมอร์ตะวันออก รู้สึกประทับใจกับ Binsar ผู้ที่ตั้งใจพัฒนาวิกิพีเดียภาษาเตตุมซึ่งอยู่ในระยะแรกเริ่มละในขณะนี้มีเพียง 1,420 บทความเท่านั้น เขากล่าวว่ามีผู้เขียนทั้งหมดเพียง 4 ถึง 5 คน โดยแบ่งงานกันเขียนเรื่องที่ถนัด และมีหนึ่งคนรับผิดชอบดูแลการอัปโหลดรูปและสื่อลงคอมมอนส์ ด้วยความที่พวกเขาไม่ได้เป็นกลุ่มผู้ใช้ ทำให้ต้องหาเงินด้วยการไปตามออฟฟิศและขายผลไม้เพื่อนำเงินมาจัดกิจกรรมโปรโมทวิกิพีเดีย ระหว่างรับประทานอาหารก็ได้พบปะกับคนอีกมากมาย Kartika หนึ่งในคณะกรรมการที่วางแผนจัดโปรแกรมการประชุม ได้เข้ามาแนะนำคนอื่น ๆ เช่น Ivonne และ Isabella ให้รู้จัก ด้วยที่ Isabella เป็นผู้ดูแล ESEA Hub มาก่อนจึงคุยกันถึงปัญหาที่ทำให้หน้าถูกทิ้งร้างในที่สุด ต่อมาก็ได้คุยกับ Butch ผู้ที่เป็นหนึ่งในคนที่ร่วมก่อตั้ง Wikimedia Philippines Chapter ซึ่งถูกยุบไปเมือปี 2017 เนื่องจากความไม่มีกิจกรรม และได้ฟังเกี่ยวกับปัญหาที่พวกเขาพบ โดยเฉพาะความยุ่งยากของการจัดทำเอกสารเพื่อรายงานรัฐบาลทุกปี

ในวันแรกของการประชุมได้อยู่กลุ่มเดียวกับ Rinto และ Mike ในการทำกิจกรรมร่วมกัน และได้รู้ว่า Rinto เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Wikimedia Indonesia และตอนนี้มีตำแหน่งใน Board of Trustee ของวิกิมีเดียอินโดนีเซีย ส่วน Mike Dickison ทำงานเป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ และต่อมาได้นำเสนอเรื่องราวของ "Critter of the weeek" รายการวิทยุที่นำเสนอเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตที่ใกล้ศูนย์พันธ์หนึ่งชนิดทุกสัปดาห์ โดย Mike ได้สร้างรายชื่อ เพื่อรวมรวมสิ่งมีชีวิตที่ถูกพูดถึงทั้งหมดเพื่อให้คนสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติม Eun-Ae Gu เป็นประธานของกลุ่มผู้ใช้วิกิพีเดียประเทศเกาหลีซึ่งเป็นคนเป็นกันเองและตลก และ Idaman ชาววิกิพีเดียที่เป็นพิธีกร ได้คุยกับ Liang ซึ่งสุดท้ายได้มีการนำเสนอร่วมกันเกี่ยวกับวิธรการติดต่อสื่อสารในชุมชน ESEAP ระหว่างการประชุมได้คุยกับ Kangcheol จากเกาหลีใต้ ผู้เป็นห่วงเกี่ยวกับกฏหมายลิขสิทธิ์บนวิกิพีเดีย ด้วยความที่กฏหมายของเกาหลีใต้มีความซับซ้อนและอัปเดทบ่อยครั้ง ทำให้ยากต่อการจัดการ ได้พบกับ Venus และ Kaarel ซึ่งเป็นผู่รับผิดชอบ Stategic direction รวมถึง Daniel จากวิกิพีเดียภาษามาเลเซียซึ่งเป็นนักวิจัยที่เริ่มสนใจและสนับสนุนวิกิมีเดียหลังจากเริ่มวิจัยเกี่ยวกับวิกิพีเดียภาษามาเลเซีย ต่อมา Ivonne ได้นำเสนอ Ganesha Project ซึ่งเป็นโครงการที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับภารกิจที่จะเพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อย ๆ จนสุดท้ายผู้ที่ทำสำเร็จทั้งหมดจะได้รับรางวัล

นอกจากการพบปะชาววิกิมีเดียจากประเทศต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการได้พบปะชาววิกิมีเดียจากประเทศไทยอย่าง Athikhun ที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับ Wiki Journal of Medicine ที่พยายามพัฒนาความน่าเชื่อถือของบทความเกี่ยวกับแพทย์ศาสตร์โดยการตีพิมพ์บทความที่ peer-review และ 2ndoct ที่ออกความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำของรางวัลรวมถึงกิจกรรม outreach ต่าง ๆ รวมถึงคุณ B20180 ที่เสนอการจัดกิจกรรม Wiki Loves Food บนวิกิพีเดียภาษาไทย รวมทั้งยังเห็นศักยภาพของการจัดการนัดหมายพบปะในต่างจัดหวัดเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้

สิ่งที่ได้เรียนรู้

[แก้]
  • ไม่จำเป็นจะต้องมีพนักงานประจำ แต่อาจจ้างวานผู้ช่วยในแต่ละโครงการได้
  • หลังการจัดกิจกรรม ควรมีการติดตามและสอบถามหาผู้สนใจมาช่วยจัดงานครั้งต่อไป (ทำให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม)
  • มีผู้ใช้กว่า 74 ภาษาในประเทศไทย[1]
  • การประสานงานเป็นสิ่งสำคัญ
  • การพบปะพูดคุยตัวต่อตัวมีความสำคัญ

แผนการในอนาคต

[แก้]
  • จัดกิจกรรมเกี่ยวกับบัญชีแดงเพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาการคุกคาม
    • ตรวจสอบสถานะบทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในบัญชีแดง
    • เพิ่มย่อหน้าเกี่ยวกับการอนุรักษณ์
  • ผลักดันสนับสนุนโครงการ Wiki Loves Food
  • พยายามประสานงานหาสปอนเซอร์สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่ม visibility ของกลุ่ม

ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุม

[แก้]

โดยรวมแล้วถือว่าเป็นการประชุมที่ประสบความสำเร็จในการนำชุมชนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกมาเจอกัน และคิดว่าได้เรียนรู้จากชุมชนเหล่านี้เป็นอย่างมากด้วยความที่เป็นชุมขนขนาดเล็กและประสบปัญหาคล้าย ๆ กัน โดยเฉพาะปัญหาการดึกดูดผู้แก้ไขหน้าใหม่ และการมีผู้มีส่วนร่วมจำนวนไม่มาก คิดว่าจะดีกว่านี้หากเพิ่มส่วนที่เป็น workshop สำหรับ capcity building เนื่องจากหลายชุมชนมีความใหม่ และอาจจะมีทักษะที่ควรได้รับการพัฒนา เห็นว่าหลายชุมชนมองว่า strategic direction เป็นเรื่องไกลตัวมาก และไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับสิ่งนี้ ดังนั้นในการประชุมครั้งต่อไปหากต้องการให้ผู้ร่วมประชุมเข้าใจมากกว่านี้ควรมีช่วงอธิบาย strategic direction อย่างละเอียดเพราะหลายคนยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรและทำไมพวกเขาต้องสนใจ

รูปถ่าย

[แก้]
  1. ภาษาในประเทศไทย