ผู้ใช้:Phattheera Kueatarn/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดไวท์ วอลโด[แก้]

ดไวท์ วอลโด ( เกิด 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ) ได้รับการยกย่องให้เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกา อีกทั้ง ดไวท์ วอลโด ยังเป็นผู้ที่ได้ให้คำนิยามการบริหารภาครัฐสมัยใหม่อีกด้วย ซึ่งเขาได้ต่อต้านแนวความคิดระบบราชการที่เน้นทางเทคนิคหรือวิทยาศาสตร์ และรัฐบาลที่เน้นการใช้คำว่าการจัดการภาครัฐแทนรัฐประศาสนศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้จัดทำหนังสือทีมีชื่อว่า Administrative state ขึ้นมา หรือที่เรียกว่า รัฐบริหาร นั่นเอง หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงปัญหาของแนวคิด ทัศนคติหรือปรัชญาทางทางการเมืองไว้ว่า มนุษย์ต้องการมีชีวิตที่ดีกว่า มีการตัดสินใจร่วมกันในการคิดหาวิธีการหรือแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ใครเป็นคนถือกฎ อำนาจรัฐควรแบ่งแยกกัน จะรวมอำนาจหรือกระจายอำนาจ เอกภาพแห่งรัฐและระบบสหพันรัฐมีคุณธรรมสอดคล้องอยู่หรือไม่[1]

ประวัติ[แก้]

ดไวท์ วอลโด เกิดเมื่อปีพุทธศักราช 2456 วันที่ 28 พฤศจิกายน ณ เมืองดีวิท รัฐเนบราสก้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ครอบครัวเขาเป็นครอบครัวเกษตรกรรม มีพี่น้องร่วมกันทั้งหมด 5 คน วอลโดเคยบอกว่าความสำเร็จที่สำคัญที่สุดของเขาในวัยเด็กคือชนะเลิศอันดับสองในการประกวดทารกและชนะการแข่งขันเรียกหมู หลังจากที่เขาจบมัธยม เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเนบราสก้าเวสเลยาน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนและมีลักษณะเป็นวิทยาลัยศิลปศึกษา ภายหลังได้ย้ายเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยครูเนบราสก้าสเตทในเปรูเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า วอลโดตั้งใจที่จะเป็นคุณครูสอนระดับชั้นมัธยมแต่ทว่าเมื่อเขาจบมากลับไม่มีตำแหน่งที่ว่างให้เขาเลย เขามักบอกว่าเส้นทางการดำเนินชีวิตของนั้นประสบความล้มเหลว ยกตัวอย่างเช่น เขาได้เป็นบัณฑิตผู้ช่วยอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเนบราสก้าลินคอร์นเพราะว่าเขาไม่ได้เป็นอาจารย์สอนมัธยมอย่างที่เขาตั้งใจไว้ และเมื่อเขาจบปริญญาโท ตลาดงานก็ยังไม่มีงานที่ว่างสำหรับเขา แล้วเขาก็รู้สึกว่าเขาล้มเหลวอีกครั้งจากการได้รับทุนให้ศึกษาที่มหาวิทยาลัยเยล และเนื่องจากการที่เขาได้รับทุนมันทำให้เขาไม่ได้ไปที่ไหน ไม่ได้ไปแถบตะวันออกที่ซึ่งดูเหมือนจะน่าตื่นเต้นมาก และนั่นทำให้เขาดูเหมือนว่าเขามีทางเลือกน้อย แต่นั่นเป็นโอกาสที่ทำให้วอลโดได้เดินทางมาเป็นนักรัฐศาสตร์นั่นเอง[2]

บทบาทและผลงานของดไวท์ วอลโด[แก้]

ลักษณะของสาธารณบริหารศาสตร์และการบริหารสาธารณกิจ[แก้]

ดไวท์ วอลโด ได้กล่าวถึงลักษณะของสาธารณบริหารศาสตร์และการบริหารสาธารณกิจ ซึ่งวอลโดได้ให้ความเห็นว่าทั้งศาสตร์และศิลป์นั้นล้วนแต่คุณสมบัติของการบริหารทั้งสิ้น โดยได้กล่าวไว้ว่า ทั้งนักบริหารและนักศึกษาต่างรู้สึกพึงพอใจและประทับใจในความสำเร็จของศาสตร์ธรรมชาติและกายภาพ ยังยืนยันว่าการศึกษาการบริหารงานสาธารณะนั้นก็ควรที่จะเป็นศาสตร์ได้ในบางแง่ ส่วนนักศึกษาและนักบริหารท่านอื่นๆ ก็มีความประทับใจในการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง และการมีความความคิดสร้างสรรค์ในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่มีการบริหารจริงๆ เช่น ภาวะความเป็นผู้นำ และการตัดสินใจ เป็นต้น อันเป็นการยืนยันได้ว่า การศึกษาการบริหารงานสาธารณะนั้นควรเป็นศาสตร์และศิลป์ของการบริหารงานของรัฐ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าการบริหารงานสาธารณะนั้นมีทั้งมุมที่ควรเป็นศาสตร์และมีมุมที่ควรเป็นศิลป์โดยมีความสำคัญเท่าๆกัน อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นความยากของการที่จะแก้ปัญหาเรื่องคำจำกัดความ ควรอาศัยการประนีประนอมยอมรับประเด็นทั้งสองฝ่าย โดยยอมรับว่าการบริหารงานของรัฐนั้นย่อมเป็นทั้งการศึกษาและเป็นทั้งการปฏิบัติ[3]

แนวความคิดการบริหารรัฐกิจใหม่[แก้]

ในปี 2511 ได้มีการสร้างความแตกตื่นให้แวดวงวิชาการบริหารรัฐกิจขึ้นถึงการพัฒนาอีกก้าวหนึ่งที่เรียกว่า “บริหารรัฐกิจใหม่” หรือ “รัฐประศาสนศาตร์แนวใหม่” (The New Public Administration) เป็นความคิดสร้างสรรค์ทางวิชาการ ถึงแม้จะมีความคลุมเครือเข้าใจยากแต่ก็มีลีลาเชิงปฏิวัติครั้งสำคัญในวิชาการบริหารรัฐกิจซึ่งไม่ค่อยมีอะไรใหม่ๆให้พบเห็น ซึ่งในปีนั้น ดไวท์ วอลโด ได้สนับสนุนให้มีการประชุมสัมมนานักวิชาการบริหารรัฐกิจหนุ่ม โดยใช้หัวข้อเรื่องว่า “บริหารรัฐกิจใหม่” หรือ “รัฐประศาสนศาตร์แนวใหม่” จัดขึ้นที่ศูนย์สัมมนา มินนาวบรู๊ค มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา เพื่อแสวงหาและนำเสนอแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์และแก้ปัญหาสังคมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนั้นได้ตกอยู่ในช่วงของการทำสงครามเวียดนาม มีการเกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย อาทิเช่น ปัญหาชุมชนเมือง ปัญหาการการจลาจลทางเชื้อชาติ การประท้วงของคนหนุ่มสาว ปัญหาสิ่งหาของสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดความแปรปรวนไปทั่วทั้งสังคมอเมริกัน และจากการปรวนแปรของสหรัฐอเมริกาและความสลับซับซ้อนนั่นเอง จึงก่อให้เกิดความคิดแนวทางการบริหารรัฐกิจแบบเดิมที่เน้นทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้มีการสอดแทรกค่านิยมเข้าไปในการศึกษา มีความเห็นว่าการเมืองต้องแยกออกจาการบริหาร มีตัวกลางเป็นค่านิยม มีประสิทธิภาพ และไม่ยึดติดตัวบุคคล เป็นต้น ไม่สามารถตอบสนองหรือแก้ปัญหาสังคมในขณะนั้นได้ การประชุมที่เกิดขึ้น จึงเป็นการประชุมที่ได้เสนอแนวคิดที่แตกต่างจากการบริหารรัฐกิจแบบเดิม มุ่งศึกษาเกี่ยวกับความจริงทางสังคม ได้เสนอให้ใช้ค่านิยมเชิงบรรทัดฐาน ความคิดแนวมนุษยนิยมมาใช้ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมต่างๆที่ได้เกิดขึ้น การบริหารรัฐกิจใหม่จึงเป็นแนวคิดที่มีลักษณะเชิงมนุษยนิยม สนใจทฤษฎีปทัสถาน ปรัชญา และปฏิบัตินิยม กล่าวโดยสรุปคือ มีการให้ความสนใจ ให้การศึกษาเกี่ยวกับค่านิยม ศีลธรรม และความเป็นมนุษย์มากขึ้น

ภายหลังการประชุมก็มีผลงานของนักวิชาการที่มีชื่อเสียงต่างๆตามมามากมาย โดยบทความที่เสนอได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในปี 2514 โดย แฟรงค์ มารินี ผู้ซึ่งมีความสำคัญในการจัดงานประชุมครั้งนี้ หนังสือเล่มนี้ยังถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญของระยะแรกๆในการบุกเบิกวิชาการครั้งใหม่รวมกับผลงานรวบรวมบทความทางวิชาการอื่นเป็น 3 ชิ้นด้วยกัน ได้แก่

  1. แฟรงค์ มารินี เป็นบรรณาธิการรวมบทความจากการสัมมนามินนาวบรู๊ค เรื่อง Toward A New Public Administration ในปี 2514
  2. ดไวท์ วอลโด เป็นบรรณาธิการบทความนักวิชาการบรริหารรัฐกิจใหม่ เรื่อง Public Administration in a Time of Turbulence ในปี 2514
  3. วารสาร Public Management ฉบับหนึ่งในปี 2514 อีกเช่นกัน โดยมี จอร์จ เฟรเดอริคสัน เป็นบรรณาธิการในหัวข้อเรื่อง The New Public Administration[4]

โดยผลงานเหล่านี้จะประกอบไปด้วยความแตกต่างและความหลากหลายของความคิดเห็นของบรรดานักบริหารรัฐกิจใหม่ในการตีความหมายความพัฒนาต่างๆ ในวิชาสังคมศาสตร์ ตลอดจนได้นำเสนอแนวทางมาใช้ศึกษา มาใช้ทำความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เป็นอยู่อีกด้วย

การบริหารรัฐกิจแนวใหม่[แก้]

ดไวท์ วอลโด พร้อมทั้งนักวิชาการบริหารรัฐกิจ ได้เสนอแนวทางการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการบริหารรัฐกิจนั้นควรเน้น “เพื่อความยุติธรรมทางสังคม”

โดยมีเป้าหมายสำคัญของการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ คือ

  1. การมุ่งเน้นความสนใจต่อประชาชนผู้รักบริการ
  2. การลดความเป็นระบบราชการ
  3. การวินิจฉัยสั่งการแบบประชาธิปไตย
  4. สนับสนุนการดำเนินนโยบายสาธารณะ
  5. การกระจายอำนาจการบริหาร[5]

วิชาการบริหารรัฐกิจนั้นได้มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตัวเองในศาสตร์สาขาวิชามาแล้วถึง 5 พาราไดม์ จนถึงปัจจุบัน นักวิชาการได้ลงความเห็นหันว่า แนวโน้มของการบริหารรัฐกิจในอนาคตอันใกล้นี้ อาจจะเป็นการถกเถียงกันระหว่างความเชื่อในแต่ละพาราไดม์ต่างๆ อย่างแน่นอน และการศึกษานโยบายสาธารณะ ก็จะสามารถช่วยให้การบริหารรัฐกิจนั้นมีเอกลักษณ์และเป็นการอุดช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการนำไปปฏิบัติด้วย

กล่าวโดยสรุปคือ ดไวท์ วอลโด ได้ให้ความหมายของรัฐประศาสนศาตร์ไว้ 2 นัย คือ

  1. รัฐประศาสนศาสตร์ คือ องค์การจัดการคน (Man) และวัสดุ (Materials) เพื่อที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ของรัฐ
  2. รัฐประศาสนศาตร์ คือ การนำเอาทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) ของการบริหารจัดการนั้น นำไปประยุกต์ใช้ในกิจการภาครัฐ
แนวความคิด Progressivism[แก้]

และ ดไวท์ วอลโด ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Administrative State เกี่ยวกับอิทธิพลของของแนวคิด Progressivism ที่มีผลต่อการพัฒนาแนวคิดการบริหารรัฐกิจในสหรัฐอเมริกา ในช่วงของปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งในสหรัฐอเมริกาขณะนั้น ความคิด ความนิยม ความศรัทธาของของชาวอเมริกันส่วนใหญ่มีผลต่อการดำเนินการปฏิรูปการบริหารภาครัฐ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทั้งหมดสามท่านในห้วงทศวรรษที่ 1900 จนถึง 1920 ขณะนั้น คือ ประธานาธิบดี Theodore Roosevelt ประธานาธิบดี Taft และประธานาธิบดี Woodrow Wilson ล้วนเป็นผู้นำประเทศในแนวทาง Progressivism โดยประธานาธิบดี Roosevelt ถึงกับนำเอาชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อพรรคการเมืองของตน โดยใช้ชื่อว่า Progressivism People’s Party ในการลงสมัครประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสมัยที่ 3 ของท่าน ส่วนบทความทางวิชาการซึ่งเป็นบทความที่มีชื่อเสียงของประธานาธิบดี Woodrow Wilson ที่มีชื่อว่า The study of Administration ก็เป็นบทความที่ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิด Progressive เช่นกัน[6]

  1. ดไวท์ วอลโด. (2556). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://boonpengsaepua999.blogspot.com/2013/10/blog-post_27.html
  2. Dwight Waldo. (2544). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bth&AN=4493762&site=eds-live&authtype=ip,uid
  3. สร้อยตระกูล อรรถมานะ. สาธารณบริหารศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 (2540). 17.
  4. ชุมพร สังขปรีชา. บริหารรัฐกิจใหม่. (2529). 1.
  5. สันสิทธิ์ ชวลิตธำรง. หลักการบริหารรัฐกิจกับระบบราชการไทย. (2546). 22.
  6. เด่นพงษ์ เจริญสุข และเนาวรัตน์ บุตรเรียง. การบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. (2552). 1.