ผู้ใช้:Phatchara inkhamnoi/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  1. เนื้อหารายการลำดับเลข

ธรรมาภิบาล[แก้]

หมายถึง การปกครอง การบริหาร การจัดการควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆนอกจากนี้ธรรมาภิบาลยังหมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขและตั้งอยู่ในความถูกต้องและเป็นธรรม ซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นส่วนเสริมความเข้มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันประเทศ

ความเป็นมาและความสำคัญของธรรมาภิบาล[แก้]

ตามหลักฐานที่ปรากฏในตำราหลายเล่มชี้ว่า คำว่า good governance เพิ่งมีการใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกในปีค.ศ. 1989 ในรายงานเรื่อง Sub Sahara Africa ; From Crisis to Sustainable Growth ซึ่งเป็นรายงานที่ธนาคารโลกพยายามวิเคราะห์ถึงความล้มเหลวของรัฐอัฟริกาในการพัฒนาประเทศ คำว่า good governance เริ่มมีบทบาทในแง่ของโลกาภิวัตน์เพราะธนาคารและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ต่างเชื่อว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะทำไม่ได้เลย หากประเทศนั้นๆปราศจากgood governance หรือกล่าวอีกหนึ่งมีการผูกโยงคำว่า การพัฒนา ให้ควบคู่กับคำว่า good governance นั้นคือการกำหนดกลไกอำนาจของรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งแง่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อให้เกิดการพัฒนา ซึ่งในปัจจุบันธรรมาภิบาลถูกนำมาใช้เป็นส่วนสำคัญในนโยบายขององค์กรระหว่างประเทศหลายๆองค์กร นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการและนักปฏิบัติส่วนหนึ่งได้นำแนวคิดธรรมาภิบาลไปขยายผลใช้กับการปรับโครงสร้างและกระบวนการทั้งในองค์กรของรัฐและธุรกิจ

วิวัฒนาการของธรรมาภิบาล[แก้]

Weiss (อ้างถึงใน สถาบันพระปกเกล้า2546,หน้า5)ได้กล่าวถึง อภิบาลเป็นแนวความคิดดารแกครองที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล นับตั้งแต่ Plato และ Aristotle นักปราชญ์หลายท่านได้พยายามที่จะค้นหารูปแบบการปกครองที่ดี แต่ยังไม่ได้ความหมายและขอบเขตที่ชัดเจน อาจกล่าวได้ว่าวิวัฒนาการของรูปแบบการอภิบาลที่ดีเกิดขึ้นช่วงสงครามโลกครั้งที่2เมื่อมีการค้นหารูปแบบการแกครองที่สามารถนำประเทศไปสู่การการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบตะวันตกของประเทศที่เพิ่งได้รับการปลดปล่อยจากอาณานิคม และสามารถช่วยฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายหลังจากสงคราม ต่อมารูปแบบการปกครองดังกล่าวผสมราชการของ Weberian (ลักษณะการปกครองที่มีโครงสร้างเป็นลำดับ มีการเมืองที่เป็นกลาง มีเป้าหมายที่ชัดเจนปฏิบัติได้ และมีการประสมประสานของระบบคุณธรรม)ได้ถูกนำไปใช้ทั่วโลก แต่รูปแบบของWeberian เป็นรูปแบบที่ยากต่อการนำไปประยุกต์ใช้และสานต่อ เนื่องจากการขยายตัวของระบบราชการทำให้ยากต่อการจัดการและขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก นอกจากโครงสร้างของรัฐราชการจะทำให้การปกครองบ้านเมืองขาดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้ว ยังก่อให้เกิดช่องทางการบิดเบือนการใช้อำนางและคอร์รัปชั่น ในช่วงต้น พ.ศ. 2523 นักวิชาการส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องกันว่าแนวทางการบริหารภาครัฐที่เป็นอยู่ไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจและสังคมโลกที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลาและมีความจำเป็นต้องมีการปฏิรูปและการปรับปรุงรูปแบบการปกครองแบบใหม่ ในช่วงเวลาดังกล่าวมีองค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญๆ เช่น ธนาคารโลก และ กองทุนนานาชาติได้เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนและพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองที่ดี

การบริหารกิจการตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี (Good Governance)[แก้]

คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและสังคมที่ดี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2542 (สำนักงาน ก.พ.2545)ประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 ประการ และในเวลาต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงมาเป็น 10ประการได้แก่

  1. หลักประสิทธิผล(Effectiveness) คือ ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณตามดำเนินการ
  2. หลักประสิทธิภาพ(Effciency)คือ การออกแบบกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
  3. หลักการตอบสนอง(Responsiveness)คือ การให้บริการราสามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสรร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของประชาชนผู้บริการ และผู้มีส่วนได้เสียที่มีความแตกต่างกัน
  4. หลักภาระรับผิดชอบ(Accountability)คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้
  5. หลักความโปร่งใส(Transparency)คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆและสามารถตรวจสอบได้
  6. หลักการมีส่วนรวม(Participation)คือ ประชาชนมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญเกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตดสินใจและร่วมกระบวนการพัฒนา
  7. หลักการกระจายอำนาจ(Decenttralization)คือ การถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ทรัพยากร และภารกิจ จากส่วนราชการกลางให้แก่หน่วยงานปกครองอื่นๆและภาคประชาชน โดยมุ่งเน้นความพึงพอใจในการให้บริหารต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  8. หลักนิติธรรม(Rule of Law)คือการใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฎิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  9. หลักความเสมอภาค(Equity)คือ การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียม โดยไม่แบ่งแยก ชายหรือหญิง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ศาสนา และอื่นๆ
  10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ(Consensus Oriented)คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยฉันทามติที่ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นเป็นความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์

การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในภาครัฐและภาคเอกชน[แก้]

ธรรมาภิบาลในภาครัฐนั้น จะช่วยกระตุ้นอย่างมากต่อการพัฒนาและขยายตัวของจริยธรรมในทางธุรกิจเพราะความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนมีอยู่อย่างใกล้ชิด ภาครัฐในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมกติกาการดำเนินงานของเอกชนย่อมมีผลต่อการเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีในวงการธุรกิจและการยึดมั่นในหลักคุณธรรมและจริยธรรมรวมทั้งความรับผิดชอบที่ธุรกิจต่อสังคม ถ้าการควบคุมย่อหย่อนหรือหน่วยงานในภาครัฐมีส่วนรู้เห็นกับการทุจริตหรือการเอารัดเอาเปรียบสังคมและผู้บริโภคของธุรกิจเอกชนหรือการร่วมมือกันระหว่างคนในภาครัฐกับในภาคเอกชนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ จะเป็นอุปสรรคซึ่งทำให้การเสริมสร้างจริยธรรมในการทำธุรกิจเป็นไปได้ลำบาก เฉกเช่น นาคารดลกได้ยอมรับความจำเป็นของเงื่อนไขทางการเมือง โดยถือเอาธรรมาภิบาล เป็นเงื่อนไขมากกว่าที่จะเอาประชาธิปไตย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความอ่อนไหวทางการเมือง โดยระบุว่าธรรมาภิบาลประกอบไปด้วยลักษณะ 4 ประการ คือ การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ การตรวจสอบอธิบายได้ ความโปร่งใสและการมีกรอบกฎหมายสำหรับการพัฒนา สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา ธรรมาภิบาลนั้น ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการขยายความสามารถของประเทศเพื่อสร้างรายได้และลดปัญหาความยากจนในอนาคต หรือก่อให้เกิดการพัฒนาทางการบริหารปกครองของประเทศไปได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเศรษฐกิจแล้ว หลักการธรรมาภิบาล ยังได้รับการกล่าวถึงว่า เป็นแนวความคิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นส่งเสริมศักยภาพให้ภาคประชาสังคม (Civil Society) เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) ธรรมาภิบาลในภาคเอกชนคือ แกนหลักสำหรับการบริหารงานในยุคปัจจุบันที่ทุกหน่วยงานจะต้องให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความสำคัญของธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาลได้โดดเด่นขึ้นมา และกลายเป็นปัจจัยหลักของการพิจารณาการลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจทีเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2540 และแผ่ขยายไปอีกหลายประเทศในเอเชียนั้น สาเหตุสำคัญมาจากการขาดธรรมาภิบาล และบรรษัทภิบาล โดยที่วิกฤตการทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงปลายเหตุ ด้วยเหตุดังกล่าวธนาคารโลกจึงได้พิจารณาว่าตัวชี้วัดที่สำคัญที่แสดงถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากวิกฤตเอเชียหาใช่เพียงตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแต่อย่างเดียวแต่ภาวะของการฟื้นตัวอยู่ที่การพัฒนาบรรษัทภิบาล การจัดการบริหารภาครัฐแนวใหม่จำเป็นต้องอาศัยหลักธรรมาภิบาลเข้ามาบริหารจดการซึ่งปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของสังคมนั้นๆ นักทฤษฎีที่ศึกษาเรื่องของพลเมือง เรื่องชุมชนประชาสังคม มนุษย์วิทยาองค์การ และการจดการภาครัฐแนวใหม่เป็นผู้ที่ได้มีส่วนในการผลักดันให้เกิดอภิปรายกันถึงหลักการบริหารแนวใหม่ๆขึ้นซึ่งอาจมีหลักการหลากหลายแตกต่างกัน อาทิ

  1. การมุ่งให้บริการแก่ประชาชนไม่ใช่การกำกับข้าราชการจึงไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการของประชาชนแต่ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนด้วย
  2. การสำรวจความสนใจและความต้องการของสาธารณชน เพื่อสร้างความสนใจร่วม ความรับผิดชอบร่วมกันและความสามัคคี
  3. การให้คุณค่าแก่ประชาชนในฐานะของการเป็นพลเองมากกว่าการเป็นผู้ประกอบการ โดยข้าราชการจะต้องเป็นผู้ช่วยเหลือสังคมมากกว่าการเป็นผู้จัดการธุรกิจที่คิดและทำเสมือนเงินหลวงเป็นเงินของตน
  4. การคิดอย่างมีกลยุทธ์แต่ปฏิบัติอย่างเป็นไปตามประชาธิปไตย นโยบายรวมถึงโครงการต่างๆจะต้องตอบสนองความต้องการของสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิผล
  5. การตระหนักการมีสำนึกรับผิดชอบข้าราชการไม่ควรสนใจเพียงเรื่องของการทำงานตามนโยบาย หรือเรื่องการตลาด และการอยู่รอดของตน แต่ต้องสนใจศึกษาเรื่องของกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ค่านิยมของชุมชน สังคม บรรทัดฐานทางการเมือง มาตรฐานวิชาชีพ และความสนใจสาธารณะ
  6. การบริการมากกว่าการกำกับสร้างค่านิยมร่วม เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบายถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์และค่านิยมร่วมกัน
  7. การคำนึงถึงประชาชนเป็นผู้มีคุณค่าไม่ใช่แค่ผลผลิต หน่วยงานราชการต่างๆจะประสบความสำเร็จในระยะยาวถ้าดำเนินการด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและสร้างการเป็นผู้นำร่วมกันกับประชาชนบนพื้นฐานของการเคารพประชาชน


อ้างอิง[แก้]

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7]

  1. https://igad.kku.ac.th/home/wp-content/uploads/2015/04/goodgovern.pdf
  2. https://medinfo.psu.ac.th/pr/WebBoard/readboard.php?id=20713
  3. http://incquity.com/articles/office-operation/good-governance-workplace
  4. http://economicsthai.blogspot.com/2012/06/blog-post.html
  5. http://click.senate.go.th/?p=3772
  6. http://hq.prd.go.th/PRTechnicalDM/ewt_news.php?nid=1727
  7. http://www.thaihealth.or.th/blog/myblog/topic/68/baocd12/108/All/211/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%99/