ผู้ใช้:Pasanee.ttt/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตำบลด่านช้าง เดิมอยู่ในเขตปกครองของอำเภอเดิมบางนางบวช สภาพภูมิประเทศทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาสูงชัน และพื้นที่ลอนลาดสลับกับลอนชัน ลาดต่ำลงมาทางทิศตะวันออก เป็นแนวเขาที่ติดกับเทือกเขาตะนาวศรี มียอดเขาสูงที่สุด ได้แก่ยอดเขาเทวดา สูง ๑,๑๒๓ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยพื้นที่ส่วนใหญ่สมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณ มีป่าสนสองใบ แหล่งแร่ดีบุก วูลแฟม หินแกรนิต และหินปูน ตลอดจนสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก ในอดีตบริเวณลำห้วยกระเสียวได้มีโขลงช้างขนาดใหญ่ ลงมากินน้ำและเล่นน้ำเป็นประจำ จึงได้มีการขนานนามบริเวณดังกล่าวว่าเป็น ด่านช้าง อันเป็นที่มาของชื่อเรียกอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะที่ตั้ง[แก้]

•องค์การบริหารส่วนตำบลด่านช้าง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล 1 ใน 7 จำนวนองค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอด่านช้าง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอด่านช้าง ห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอด่านช้าง ประมาณ 25 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุพรรณบุรี ประมาณ 96 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือรถยนต์โดยสารสายด่านช้าง – กาญจนบุรี ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3086

•ทิศเหนือ ติดต่อกับ พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมกระเสียว และตำบลหนองมะค่าโมง

•ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

•ทิศตะวันออก ติดต่อกับ พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง เขตอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี และเขต อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

•ทิศตะวันตก ติดต่อกับ พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

•สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมมี 3 ฤดู อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 35.71 องศาเซลเซียส

ลักษณะของดิน[แก้]

•สภาพดินโดยทั่วไปจะเป็นดินปนทรายไม่สามารถเก็บน้ำได้

ลักษณะของแหล่งน้ำ[แก้]

•ลำน้ำ ลำห้วย จำนวน 5 แห่ง/สาย

•บึง หนอง และอื่น ๆ จำนวน 30 แห่ง

ลักษณะของไม้และป่าไม้[แก้]

•ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ ประมาณร้อยละ 75 %

สภาพทางสังคม[แก้]

สถานศึกษา[แก้]

โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 7 แห่ง ประกอบด้วย

•โรงเรียนวัดดอนประดู่

•โรงเรียนสวนป่าองค์พระ

•โรงเรียนวัดหนองเปาะ

•โรงเรียนบ้านโป่งคอม

•โรงเรียนบ้านหนองผือ

•โรงเรียนบ้านวังน้ำเขียว

•โรงเรียนบ้านนาตาปิ่น

โรงเรียนมัธยมศึกษาขยายโอกาส จำนวน 1 แห่ง ประกอบด้วย

•โรงเรียนบ้านพุน้ำร้อน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 5 แห่ง ประกอบด้วย

•ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพุน้ำร้อน

•ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดดอนประดู่

•ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชลประทานเทพนิมิต

•ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปรักประดู่

•ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดหนองเปา

สาธารณสุข[แก้]

•สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 3 แห่ง

•ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 2 แห่ง

•อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

ระบบบริการพื้นฐาน[แก้]

การคมนาคมขนส่ง[แก้]

•การคมนาคมทางบกโดยรถยนต์ ทั้งภายในตำบลและระหว่างตำบล มีความสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากได้มีโครงการปรับปรุงถนนในเขตตำบลอย่างต่อเนื่อง โดยมีเส้นทางที่สำคัญภายในตำบล ดังนี้

•ถนนดินลงลูกรังและถนนลาดยางมะตอย ถนน คสล.เชื่อมตำบลหมู่บ้าน จำนวน 22 สาย

•ถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3086 ผ่านตำบลด่านช้าง – บ่อพลอย – จังหวัดกาญจนบุรี

•นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางภายในตำบลคือรถสองแถวสายวังยาว–ม่วงเฒ่าและรถประจำทาง สายด่านช้าง – กาญจนบุรีวิ่งให้บริการ

การไฟฟ้า[แก้]

•ไฟฟ้าเข้าถึงครบทั้ง 20 หมู่บ้าน

•จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 99 ของประชากรทั้งหมดในตำบล

การประปา[แก้]

•มีไฟฟ้าเข้าถึงครบทั้ง 20 หมู่บ้าน

•จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 99 ของประชากรทั้งหมดในตำบล

โทรศัพท์[แก้]

•ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือส่วนตัว ร้อยละ 95

ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุ ครุภัณฑ์[แก้]

•ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ ไปรษณีย์อำเภอด่านช้าง ตั้งอยู่ ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ห่างจากที่ทำการ อบต.ด่านช้าง ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 20 กิโลเมตร จำนวน 1 แห่ง (สาขาอำเภอด่านช้าง)

ระบบเศรษฐกิจ[แก้]

การเกษตร[แก้]

•ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม ได้แก่การทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด โดยการประกอบอาชีพสามารถประมาณได้ดังนี้

•ปลูกอ้อย ร้อยละ 50 เปอร์เซ็นต์

•ปลูกมันสำปะหลัง ร้อยละ 30 เปอร์เซ็นต์

•ปลูกข้าวโพด ร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์

การประมง[แก้]

•ตำบลด่านช้าง มีการประมงในการทำแพปลา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 17 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ร้อยละ 1.41

การปศุสัตว์[แก้]

•ตำบลด่านช้าง มีการปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงโค เลี้ยงแพะ และการเลี้ยงสุกร ในทุกหมู่บ้านของ ตำบลด่านช้าง อำเภอ ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ร้อยละ 0.04

การบริการ[แก้]

•ร้านเสริมสวย จำนวน 5 แห่ง

การท่องเที่ยว[แก้]

•พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพุน้ำร้อน หมู่ที่ 4

•เขื่อนหุบเขาวง หมู่ที่ 15 บ้านหินลาด

อุสาหกรรม[แก้]

•ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่

ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม[แก้]

การนับถือศาสนา[แก้]

•ราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 90 และนับถือศาสนาคริสต์ ประมาณร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด

ประเพณีและงานประจำปี[แก้]

•ประเพณียกธง จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 4 บ้านพุน้ำร้อน หมู่ที่ 5 บ้านดอนประดู่ และหมู่ที่ 18 บ้านใหม่หนองมะสังข์

•ประเพณีสืบสานวัฒนธรรมประเพณีตำขนมจีนคู่งานบุญพุทธศาสนาไทย (วัดพุน้ำร้อน)หมู่ที่4

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น[แก้]

•ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น คือ กลุ่มผ้าทอมือบ้านพุน้ำร้อน หมู่ที่ 4

•ภาษาถิ่น คือ ภาษาลาวครั่ง ภาษาไทยกลาง มีลักษณะโดดเด่นของสำเนียงพูดที่เรียกว่า “พูดเหน่อ”

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก[แก้]

•ผ้าทอมือ หมู่ที่ 4

•ขนมทองม้วนแก้วเจ้าจอม หมู่ที่ 19

ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]

น้ำ[แก้]

•ลำน้ำ, ลำห้วยจำนวน 5 แห่ง/สาย

•บึง, หนอง และอื่น ๆ จำนวน 30 แห่ง

ป่าไม้[แก้]

•ในพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าไม้ (ป่าสงวนแห่งชาติ)

ภูเขา[แก้]

•ในพื้นที่เป็นที่ราบระหว่างภูเขาโดยมีภูเขาและเทือกเขาสลับกันไป

คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]

•พื้นที่ที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นป่าไม้ตามธรรมชาติ

อ้างอิง[แก้]

[1] [2] [3]

  1. https://www.danchangspb.go.th/home/
  2. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87
  3. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5