ผู้ใช้:PPakorn/ทดลองเขียน
![]() | นี่คือหน้าทดลองเขียนของ PPakorn หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |
สัทวิทยาภาษาไทย
[แก้]บทความนี้จะกล่าวถึงภาษาไทยกลางเป็นหลัก โดยไม่กล่าวถึงภาษาถิ่นอื่นๆ ในประเทศไทย ได้แก่ ภาษาคำเมือง ภาษาอีสาน ภาษาไทยถิ่นใต้ ซึ่งถือว่าเป็นคนละภาษากับภาษาไทยกลาง
พยัญชนะ
[แก้]พยัญชนะต้น
[แก้]หน่วยเสียงพยัญชนะของภาษาไทยมีทั้งสิ้น 21 หน่วยเสียง เสียงพยัญชนะกักสามารถแยกความต่างได้มากสุด 3 แบบได้แก่ ก้อง, ไม่ก้อง ไม่มีลม และ ไม่ก้อง มีลม พยัญชนะเสียดแทรกจะเป็นแบบไม่ก้องท้งหมด และพยัญชนะเสียงก้องกังวาน (sonorant) จะเป็นแบบก้องทั้งหมด
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|
กักและกักเสียดแทรก | ไม่ก้อง ไม่มีลม | p | t | tɕ | k | ʔ |
ไม่ก้อง มีลม | pʰ | tʰ | tɕʰ | kʰ | ||
ก้อง | b | d | ||||
เสียดแทรก | ไม่ก้อง | f | s | h | ||
นาสิก | ก้อง | m | n | ŋ | ||
เสียงเปิด | w | l | j | |||
เสียงรัวลิ้น | r |
- เสียงพยัญชนะ /t/ และ /f/ จะมีการยกลิ้นเข้าหาเพดานอ่อน (velarization) [tˠ, fˠ] เมื่ออยู่ด้านหน้าสระสูง /i ɯ u/
- เสียงพยัญชนะ /r/ อาจออกเสียงเป็น [ɾ] หรือ [r] ได้
- ความแตกต่างระหว่างเสียงพยัญชนะ /r/ และ /l/ ไม่คงที่และมีการสลับไปมาได้ (โดยที่ /r/ มักจะกลายเป็น [l]) อย่างไรก็ตามผู้พูดภาษาไทยมักเห็นว่าเสียงพยัญชนะทั้งสองนี้เป็นคนละหน่วยเสียงกันตามอักขรวิธีของอักษรไทย ความแตกค่างของพยัญชนะทั้งสองมักถูกรักษาไว้ในการพูดที่เป็นทางการ หรือในผู้พูดที่มีระดับการศึกษาสูง
พยัญชนะท้าย
[แก้]หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายในภาษาไทยมีความหลากหลายน้อยกว่าพยัญชนะต้น
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | |
---|---|---|---|---|
กัก | p | t | k | ʔ |
นาสิก | m | n | ŋ | |
เปิด | w | l |
- เสียงพยัญชนะท้ายกัก /p t k ʔ/ ไม่มีการปล่อยเสียงออกมา (no audible release) อาจถือว่าการออกเสียงพยัญชนะท้าย /p t k/ จะมีการปิดเส้นเสียงไปพร้อมกันด้วย [pʔ tʔ kʔ]
กลุ่มพยัญชนะ
[แก้]สระ
[แก้]ภาษาไทยมีสระเดี่ยวจำนวน 9 เสียง สระทั้งหมดแยกความแตกต่างกันได้ด้วยความสั้นยาว สเปกตรัมเสียงของสระสั้นและสระยาวมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยและอาจรู้สึกได้โดยผู้ฟัง และอาจมีผลต่อการระบุสระของผู้ฟังได้
ส่วนหน้า | ส่วนกลาง | ส่วนหลัง | ||
---|---|---|---|---|
ปากเหยียด | ปากเหยียด | ปากห่อ | ||
สูง | i iː | ɯ ɯː | u uː | |
กลางถึงสูง | e eː | ɤ ɤː | o oː | |
กลาง | (ə) | |||
กลางถึงต่ำ | ɛ ɛː | ɔ ɔː | ||
ต่ำ | a aː |
สระประสมได้แก่ /ia ɯa ua/
- คุณภาพเสียงของสระ /a/ ในตำแหน่งที่ไม่เน้น (เช่น ในตำแหน่งที่เป็นส่วนหนึ่งของสระประสม /ia ɯa ua/) มีแนวโน้มที่จะเลื่อนสูงขึ้น
- สระนอกจากนี้ที่เป็นสระประสมในทางสัทศาสตร์ ได้แก่ /iu, eu, e:u, eiu, au, a:u, iau/ และ /ai, a:i, oi, o:i, ui, r:i, uai, ɯai/ ถูกวิเคราะห์ให้ลงท้ายด้วยพยัญชนะกึ่งสระ /w j/ (ตามลำดับ) แทน
วรรณยุกต์
[แก้]
ภาษาไทยมาตรฐานมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน 5 เสียง
ลำดับ | ชื่อ | ระดับเสียง | ค่าตัวเลข | ภาพ |
---|---|---|---|---|
1 | สามัญ | กลาง | [33] | ![]() |
2 | เอก | ต่ำ | [21] | ![]() |
3 | โท | สูงไปต่ำ | [43] | ![]() |
4 | ตรี | สูง | [44] | ![]() |
5 | จัตวา | ต่ำไปสูง | [323] | ![]() |
วรรณยุกต์ทั้งห้าเสียงสามารถปรากฎในพยางค์เป็น (พยางค์ที่มีสระเสียงยาวที่ไม่มีพยัญชนะท้าย หรือพยางค์ใดๆ ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะเสียงก้องกังวาน /n m ng w j/) ในขณะที่วรรณยุกต์เพียงสามเสียง (เอก, โท, ตรี) เท่านั้นที่สามารถปรากฎในพยางค์ตาย (พยางค์ที่มีสระเสียงสั้นและไม่มีพยัญชนะท้าย หรือพยางค์ใดๆ ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะกัก /p t k/)
- เสียงวรรณยุกต์ในพยางค์ที่ไม่มีการเน้นมักจะกลายเป็นเสียงสามัญ
วิวัฒนาการของระบบเสียงภาษาไทย
[แก้]ภาษาไทยถูกจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท สาขาตะวันตกเฉียงใต้ สืบทอดมาจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม ซึ่งสืบทอดมาจากภาษาไทดั้งเดิม อีกที ระบบเสียงภาษาไทดั้งเดิมมีพยัญชนะที่หลากหลายกว่าภาษาไทยปัจจุบันแต่มีเสียงวรรณยุกต์และเสียงสระที่น้อยกว่าภาษาไทยปัจจุบัน ดังตารางด้านล่าง
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | ลิ้นไก่ | เส้นเสียง | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กัก | ไม่ก้อง | p | t | c | k | q | |||||||
ก้อง | b | d | ɟ | ɡ | ɢ | ||||||||
กักเส้นเสียง | ɓ | ɗ | ʔj | ʔ | |||||||||
เสียดแทรก | ไม่ก้อง | s | (ɕ) | x | χ | h | |||||||
ก้อง | z | (ʑ) | ɣ | ||||||||||
นาสิก | ไม่ก้อง | hm | hn | hɲ | (hŋ) | ||||||||
ก้อง | m | n | ɲ | ŋ | |||||||||
เสียงไหลและกึ่งสระ | ไม่ก้อง | hw | hr, hl | ||||||||||
ก้อง | w | r, l | j |
Front | Back | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
unrounded | unrounded | rounded | ||||
short | long | short | long | short | long | |
Close | /i/ |
/iː/ |
/ɯ/ |
/ɯː/ |
/u/ |
/uː/ |
Mid | /e/ |
/eː/ |
/ɤ/ |
/ɤː/ |
/o/ |
/oː/ |
Open | /a/ |
/aː/ |
ต่อมาระบบเสียงภาษาไทดั้งเดิมได้วิวัฒนาการต่อมาเป็นระบบเสียงของภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เกิดพยัญชนะกัก มีลม ขึ้น โดยเกิดการแปรเสียงจากพยัญชนะกัก ไม่มีลม ที่ควบกล้ำกับพยัญชนะอื่น และมีพยัญชนะที่เพิ่มเข้ามา ได้แก่ พยัญชนะ
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | ลิ้นไก่ | เส้นเสียง | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กัก | ไม่ก้อง ไม่มีลม | p | t | c | k | q | |||||||
ไม่ก้อง มีลม | ph | th | kh | ||||||||||
ก้อง | b | d | ɟ | ɡ | |||||||||
กักเส้นเสียง | ɓ | ɗ | ʔj | ʔ | |||||||||
เสียดแทรก | ไม่ก้อง | f | s | (ɕ) | x | χ | h | ||||||
ก้อง | v | z | (ʑ) | ɣ | |||||||||
นาสิก | ไม่ก้อง | hm | hn | hɲ | (hŋ) | ||||||||
ก้อง | m | n | ɲ | ŋ | |||||||||
เสียงไหลและกึ่งสระ | ไม่ก้อง | hw | hr, hl | ||||||||||
ก้อง | w | r, l | j |
การเน้น
[แก้]การเน้นหลักจะอยู่ที่พยางค์สุดท้ายของคำ