ผู้ใช้:Natthakul/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติวัดท่าลาด ต.ท่าลาด อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34310

01.วัดท่าลาด ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34310 มีเนื้อที่ 13 ไร่

02.ก่อนการเริ่มก่อตั้ง : วัดท่าลาด ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่บ้านครูซอด อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ บ้านท่าลาดตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2337 โดย หลวงศรีสุระ ได้อพยพครอบครัว ย้ายถินฐานมาจากจังหวัดศรีสะเกษ มาตามลำน้ำมูล มาถึงบริเวณบ้านท่าลาดในปัจจุบัน จึงเห็นว่าบริเวณแห่งนี้เหมาะแก่การตั้งบ้านเรือน เพราะเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับทำการเกษตร และจับสัตว์น้ำ จึงได้ปักหลักสร้างบ้านเรือน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ออกพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ บ้านท่าลาดจึงได้ยกฐานะเป็นหมู่บ้านและตำบล ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้สถาปนา พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ เป็นผู้ครอง เมืองอุบลราชธานี ตอนนั้นเรียกว่า “เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช” สถาปนาในปี พุทธศักราช 2335 การก่อตั้งวัดท่าลาดนั้น เกิดขึ้นในปี พ. ศ. 2337 พร้อมกันกับการอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งหมู่บ้านท่าลาด ปีนั้นเป็นช่วงรัชกาล ที่ 1 ตอนกลางรัชสมัย หลังการก่อตั้ง กรุงรัตนโกสินทร์ มาได้ 12 ปี โดยพระอาจารย์ธัมมา(ย๊ะถ่านคำ)เป็นผู้ก่อตั้งวัดท่าลาด รูปแรก

ในปีพุทธศักราช 2337 หลวงศรีสุระ และพระอาจารย์ธัมมาได้ร่วมกันสถาปนา วัดท่าลาดขึ้น สถานที่ตั้งวัด มีรูปลักษณะคล้ายกับภูเขาเตี้ย มีบริเวณที่ราบบนยอดเขา เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ที่ดังกล่าวนี้ตอนแรกมีป่าไม้สูงหนาแน่น เป็นที่ยำเกรง ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์ธัมมา ท่านมีชื่อเรียก อีกนาม ว่า “ย๊ะถ่านคำ” ตามคำเรียกของชาวภาคอีสานสมัยนั้น ท่านเป็นผู้ทรงศีลมีคุณธรรมพิเศษ ท่านตกลงใจ จะตั้งที่แห่งนี่เป็นที่สร้างวัดท่าลาด ในที่สุดท่านก็ได้อธิษฐานอะรัญญิกังคะธุดงค์ การตั้งใจอยู่ป่าช้าเป็นวัตร สถานที่ตั้งวัดท่าลาดถึงปัจจุบันนี้ เป็นป่าช้าสมัยโบราณราว 500 ปีขึ้นไป เพราะปรากฏตามรอบบริเวณพระอุโบสถใต้กุฏิ ของพื้นที่โดยรอบ ขุดพบหม้อดิน อิฐและโคงกระดูกในยุคที่คาดการว่า เกินกว่ายุด 500 ปีมาแล้ว เป็นจำนวนมาก ต่อมา หลวงศรีสุระ ก็กลับไปบ้านครูซอดอีกครั้ง เพื่อกลับไปอพยพครอบครัวทั้งหมด หลวงศรีสุระจึงชักชวนท่านพระอาจารย์ธัมมากลับไปด้วย ท่านพระอาจารย์ธัมมา มิได้กลับไปด้วย ท่านอยู่จำพรรษาต่อ ณ สถานที่นี้ อาศัยเป็นอาราม อยู่ทำสมาธิบำเพ็ญเพียรสมณธรรม เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข แก่ที่ตั้งบ้านท่าลาดและวัดท่าลาด เมื่อ หลวงศรีสุระ อพยพครอบครัวราว 10 ครัวเรือน มาตั้งบ้านเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ขอแรงชาวบ้าน มาช่วยกันสร้างวัดท่าลาด ซึ่งการสร้างวัดในสมัยนั้นสะดวกสะบาย เพราะอุปกรณ์การก่อสร้างคือไม้ซึ่งมีจำนวนมากมาย ชื่อวัดก็ได้เรียกตามชื่อบ้านท่าลาด ก่อตั้ง เป็นต้นมา

03.การเริ่มก่อตั้ง : วัดท่าลาด ผู้ให้กำเนิดวัดท่าลาดคือ พระอาจารย์ธัมมา (ย๊ะถ่านคำ) เป็นผู้ก่อตั้งวัดยุคแรกเริ่ม การบุกเบิกพระอาจารย์ธัมมาใด้นำสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา คือต้นโพธิ์ 4 ต้น มาปลูกยังทิศทั้ง 4 ของบริเวณวัดท่าลาด

05.ลำดับตำแหน่งเจ้าอาวาส : วัดท่าลาด เจ้าอาวาส รูปที่ 1 คือ ท่านพระอาจารย์ธัมมา(ย๊ะถ่านคำ) ผู้ก่อตั้งวัดองค์แรก ในปีพุทธศักราช 2337 เจ้าอาวาส รูปที่ 2 คือ ท่านพระอาจารย์สังข์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 10 ปี เจ้าอาวาสรูปที่ 3 คือ ท่านพระอาจารย์ครูสิงห์ (ปู๋) เดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 8 ปี รูปที่ 4 คือ พระอาจารย์สมัยอาจารย์อินทร์ (หลวงตาอินทร์ )ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 2 ปี รูปที่ 5 คือพระอาจารย์ครูสิงห์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 29 ปี รูปที่ 6 คือพระอาจารย์คำ (ขาแหก)ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 5 ปี รูปที่ 7 พระอาจารย์พรม ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 7 ปี รูปที่ 8 พระอาจารย์ผาง ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 2 ปี รูปที่ 9 พระอาจารย์จอม ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 2 ปี รูปที่ 10 อาจารย์จำปา (หลวงตาจำปา) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 1 ปี รูปที่ 11 พระภิกษุม่วง ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 2 ปี รูปที่ 12 พระครูมานิตสมณคุณ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส 45 ปี รูปที่ 13 พระครูกิตติธรรมวิมลดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสปัจจุบัน รวม 46 ปี รูปปัจจุบัน

- ประวัติเจ้าอาวาสปัจจุบัน ประพระครูกิตติธรรมวิมล (หนูจันทร์ กิตฺติสทฺโท) เจ้าอาวาสวัดบ้านท่าลาด อดีตเจ้าคณะตำบลท่าลาด

      • ประวัติบ้านเกิดและพี่น้องร่วมอุทร***

พระครูกิตติธรรมวิมล เดิมชื่อ (หนูจัทร์ โคตะสา) ปัจจุบัน อายุ 84 ปี พรรษา 64 เกิด ณ บ้านหนองศาลา ตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เกิดวันที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2487 เป็นบุตรของ คุณพ่อคำ โคตะสา และคุณแม่ตุ่น โคตะสา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ทั้งหมด 8 คน ดังนี้

คนที่ 1 คือ ท่านพระครูกิตติธรรมวิมล (หนูจันทร์ กิตฺติสทฺโท) อายุ 84 ปี คนที่ 2 นายเตียมโคตะสา ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว คนที่ 3 นางแตง กัณหาริน อายุ 82 ปี คนที่ 4 นางดวงตา โคตะสา เสียชีวิตแล้ว คนที่ 5 นายบุญมา โคตะสา เสียชีวิตแล้ว คนที่ 6 นายบุญมี โคตะสา อายุ 67 ปี คนที่ 7 นายทองสี โคตะสา อายุ 64 ปี คนที่ 8 นางบุญใสโคตะสา อายุ 61 ปี

      • ประวัติการอุปสมบท***

พระครูกิตติธรรมวิมล (หนูจันทร์ กิตฺติสทฺโท) เกิดแรม 1 ค่ำเดือน(12 ) ปีกุน วันจันทร์ ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2478 อายุครบ 21 ปี ใด้บรรพชาและอุสมบท เวลา 09.00 นาฬิกา วันที่ 1 กรกฎาคม พุทธศักราช 2498 ณ พระอุโบสถ วัดท่าลาด หมู่บ้านท่าลาด ตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี ท่านพระครูมี เมคิโย เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาด ดำรงตำแหน่งเป็นพระอธิการมี เมฆิโย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถาวรธรรมพินิจ เจ้าอาวาสวัดบ้านถ่อน ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระอธิการคง เสนโก เป็นกรรมวาจาจารย์ พระคูรวิศาลธรรมรัตน์ เจ้าอาวาสวัดบ้านหัวยขะยุง ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระอธิการกว้าง ธัมมรโต เป็นพระอนุศาสนาจารย์จารย์ โดยนพระครูมานิจ สมนะกุล ได้เป็นกัลยาณมิตรในการชักนำให้เข้ามาอุปสมบทและเป็นพระอาจารย์ผู้บอกธรรมสั่งสอน พระครูประสานสุทธิคุณ เป็นพระอาจารย์ผู้สอนนักธรรมตรี ในปี พ.ศ 2499

      • วิทยฐานะและสมณะศักด์***

-ขณะเป็นฆาราวาส ท่านเรียนจบชั้น ประถมศึษาปีที่ 4 พ.ศ. 2498 อุปสมบทเป็นพระภิกษุและสอบไล่ได้ชั้นนวโกวาท ณ อำเภอกันทรารมย์ วัดบ้านยางชุมน้อย พ.ศ. 2499 สอบไล่ได้นักธรรมตรี พ ศ. 2500 สอบไล่ได้นักธรรมโท พ.ศ. 2502 สอบไล่ได้ได้นักธรรมเอก พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดท่าลาด พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาด พ.ศ. 2527 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี พ.ศ .2528 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท พ.ศ. 2537 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก พ.ศ. 2538 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปปัฌา พ.ศ. 2540 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลท่าลาด ถึงปีพ.ศ.2560 ดำรงตำแหน่ง 20 ปี พ.ศ. 2541 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นพิเศษเทียบเท่าเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก

      • ผลงานและสร้างคุณประโยชน์แก่วัดท่าลาด***

1.ท่านได้เป็นผู้นำในการบริหารจัดการรวบรวมทรัพย์จากการขายข้าวจากบิณฑบาตตากแห้งแล้วขายสร้างโบสถ์ ท่านชักชวนชาวบ้านสานต่อการสร้างพระอุโบสถในช่วงปีพ.ศ. 2490 ถึง ปี 2500 รวม 10 ปี จึงแล้วเสร็จ 2.ท่านได้เป็นผู้นำชาวบ้านและบริหารจัดการรวบรวมทรัพย์ จัดหาไม้ตะเคียนใหม่ หล่อเสาปูน สร้างกุฎิหลังใหญ่ทดแทนหลังเดิม สำหรับใช้สวดมนต์ ฉันเพลและเป็นที่จำวัดของพระภิกษุ ใช้ระยะเวลาในการสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ 2511 ถึงปีพ.ศ. 2520 รวมเวลาสร้าง 9 ปี จึงแล้วเสร็จ 3.ท่านได้เป็นผู้นำชาวบ้านและบริหารจัดการรวบรวมทรัพย์ สร้างเมรุในปี พ.ศ. 2537-2540 ใช้ระยะเวลาสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ 4.ท่านได้เป็นผู้นำชาวบ้านจัดการรวบรวมทรัพย์ ยกศาลาอเนกประสงค์ศาลาการเปรียญบูรณะขึ้นมาใหม่เพลงสำหรับการใช้งานในปัจจุบันได้อย่างดีสำหรับงานเทศน์มหาชาติของวัดระยะเวลาสร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ บูรณะและต่อเติมในระหว่างปีพ.ศ 2541 ถึง ปีพ.ศ 2543 5.ท่านเป็นผู้นำสร้างซุ้มประตูโขงของวัดด้านทิศใต้ ในระหว่างปีพ.ศ 2506 ถึง ปีพ.ศ 2507 6.ท่านเป็นผู้นำสร้างซุ้มประตูโขงด้านทิศตะวันออกในระหว่างปีพ.ศ 2508 ถึงปีพ.ศ 2509 7.ท่านเป็นผู้นำสร้างการเทพื้นคอนกรีตถนนโดยรอบบริเวณวัดทั้งหมด 8.ท่านเป็นผู้นำสร้างรั้วกำแพงวัดโดยรอบทั้งหมดและท่านก็ยังได้สร้างกุฏิศาลาอื่นๆหลังเล็ก น้อย ใหญ่

ที่มิได้กล่าวถึงอีกมากมายแก่วัดท่าลาด แทบจะเกือบทุกหลังก็ว่าได้ และท่านได้ช่วยกอบกู้วัดร้างให้มาเป็นวัดใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง ถึง 3 วัดด้วยกันในเขตตำบลท่าลาดนี้ ได้แก่

1.วัดท่าลาดคำ อยู่ทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ห่างไป 2 กิโลเมตร 2.วัดบ้านเยี่ยม อยู่ทิศใต้ของหมู่บ้านหากไป 2 กิโลเมตร 3.สำนักสงฆ์หนองศาลา อยู่บ้านหนองศาลา

    • ลูกศิยที่ท่านได้สนับสนุนและส่งไปเรียนคณะจังหวัดและอนุเคราะอุปถัมภ์ดังนี้**

1.สามเณรณัฐวุฒิ บรรพชาติ (เณรอึ่ง) เปรียญธรรม 8 ประโยค ปัจจุบันสอบเที่ยบ ชั้นประโยค 9 2.พระมหาสาคร อันโย เปรียญธรรม 5 ประโยค 3.พระมหาสุรัตย์ ประภัสโร เปรียญธรรม 5 ประโยค 4.พระมะลิ โกวิทโท นักธรรมชั้นเอก วัดท่าเมืองใหม่ 5.พระณัฏฐเศฏ กันหารินทร์ วัดบัานเยียมขึ้นมาใหม่ 6.พระธนิต มนีวงค์ นักธรรมชั้นเอก รักษาการวัดท่าลาดคำ 7.พระสมชาย ปสันโน นักธรรมชั้นเอก รักษาการสำนักสงฆ์บ้านหนองศาลา 8.สามเณรวินัย ทองศรี นักธรรมชั้นเอก


      • ความชำนาญการความสามารถ***

ท่านชำนาญในการเทศนา เทศน์มหาชาติ 12 กัณฑ์ ทั้งไทยและตัวธรรมหรือตัวขอม ท่านชำนาญในการบริหารคนพระภิกษุในบังคับบัญชาทั้งภายในวัดและภายใต้การปกครอง ท่านชำนาญในเรื่องอักษรธรรมหรือตัวขอม ท่านมีความสามารถบริหารการคณะสงฆ์ในพื้นที่ตำบลที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี ท่านมีความชำนาญในการจดจำพระบาลี บทสวดต่าง ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของสงฆ์ได้เป็นอย่างดี

      • เกียรติคุณที่เคยได้รับ***

พ.ศ.2547 วัดสะอาดดีเด่นอันดับ 1 ในจำนวนวัดทั้งหมด 1,800 วัดของจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2548 วัดสะอาดดีเด่นอันดับ 1 ในจำนวนวัดทั้งหมด 1,800 วัดของจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2549 วัดสะอาดดีเด่นอันดับ 1 ในจำนวนวัดทั้งหมด 1,800 วัดของจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2558 ไปอัญเชิญพระมหาสารีริกธาตุที่กรุงเทพมหานครจากวัดบวรนิเวสวรวิหาร มาประดิษฐาน ณ ที่วัดบ้านมันเยี่ยม

      • อ้างอิงมาจาก***

รวบรวมจากการสัมภาษณ์ ท่านพระครูกิตติธรรมวิมล (หนูจันทร์ กิติสัทโท)ให้ข้อมูลไว้ ณ วันที่ 8 กันยายน พุทธศักราช 2562 เวลา 17:00 น.

06.การตั้งชื่อและความหมายของ : วัดท่าลาด*** บริเวณสถานที่ตั้งบ้านท่าลาด เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลซึ่งคนในท้องถิ่นนิยมเรียกตามพื้นที่ลาดเอียงไปยังแม่น้ำมูลว่า “ท่าลาด” เรียกตามทำเลลักษณะภูมิศาสตร์ บ้านนี้จึงเรียกว่า บ้านท่าลาด และวัดก็ได้ ตั้งขึ้นและเรียกตามชื่อของหมู่บ้านว่า วัดท่าลาด จนกระทั้งทุกวันนี้

07.การรวบรวมข้อมูลหลักฐานอ้างอิง วัดท่าลาด ในอดีตนั้น ตามหลักฐานที่มีมา มีอายุราว 225 ปี สมัยก่อน หมู่บ้านท่าลาดไม่มีความเจริญเพียงพอ จึงมิได้มีการบันทึกหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ และไม่มีการทำประวัติเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา อาศัยพยานบุคคลและพยานวัตถุสิ่งปลูกสร้างคำนวณอายุเทียบเคียง กับประวัติหลายแหล่งรวมกัน เพื่อให้ได้หลักฐานที่แน่นอน และใกล้เคียงความจริงที่สุด หลักฐานทางบุคคน ก็ได้อาศัยผู้สูงอายุที่สุดของหมู่บ้าน โดยการเล่าให้ฟัง โดยท่านได้เห็นเหตุการณ์มาด้วยตนเอง หลักฐานพยานทางวัตถุก็ได้อาศัยจากการคำนวณ อายุการใช้งานของวัตถุ ความเก่าแก่ของสถานที่ เทียบเคียงกับการบอกเล่าของผู้สูงอายุ บุคคลที่อ้างอิง สามารถรู้จักประวัติการตั้งวัดท่าลาดได้เป็นอย่างดี ท่านที่ 1 คือ อาจารย์พระหาเจียม กัลยาโณ หรือ(หลวงปู่ผาแดง) ท่านที่ 2 พระครูสิริพิพัฒน์สุนทร พระภิกษุทั้งสองรูปสังกัดอยู่วัดพิชัยญาติการามกรุงเทพฯ ท่านที่ 3 พระครูกิตติธรรมวิมล (หนูจันทร์ กิตติสัทโท) เจ้าอาวาส องค์ที่ 13 วัดท่าลาด ท่านที่ 4 พระอาจารย์ประกอบ ปริปุณโณ (เจ้าอาวาส วัดบ้านท่าเมืองใหม่ ตำบลห้วยขะยุง) และข้อมูลจากหนังสือ “อนุสรณ์” หลวงปู่มหาเจียม กัลยาโณ (สร้างโดย พระอาจารย์ประกอป ปริปุณโณ) และผู้สูงอายุที่สุดของหมู่บ้านท่าลาดหลายท่าน