ผู้ใช้:Natthakul

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติวัดท่าลาด[แก้]

วัดท่าลาด

ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34310

มีเนื้อที่ทั้งหมด 13 ไร่

ก่อนการเริ่มก่อตั้ง : วัดท่าลาด

ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่บ้านครูซอด อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ บ้านท่าลาดตั้งขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช 2337 โดย หลวงศรีสุระ ได้อพยพครอบครัว ย้ายถินฐานมาจากจังหวัดศรีสะเกษ มาตามลำน้ำมูล มาถึงบริเวณบ้านท่าลาดในปัจจุบัน จึงเห็นว่าบริเวณแห่งนี้เหมาะแก่การตั้งบ้านเรือน

เพราะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำการเกษตรและจับสัตว์น้ำ จึงได้ปักหลักสร้างบ้านเรือน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปี พุทธศักราช 2440 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ออกพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ บ้านท่าลาดจึงได้ยกฐานะเป็นหมู่บ้านและตำบล ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้สถาปนา พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ เป็นผู้ครองเมืองอุบลราชธานี ตอนนั้นเรียกว่า “เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช” สถาปนาในปี พุทธศักราช 2335

การก่อตั้งวัดท่าลาดนั้น เกิดขึ้นในปี พุทธศักราช 2337 พร้อมกันกับการอพยพ ย้ายถิ่นฐานมาตั้งหมู่บ้านท่าลาด ปีนั้นเป็นช่วงรัชกาล ที่ 1 ตอนกลางรัชสมัย หลังการก่อตั้ง กรุงรัตนโกสินทร์ มาได้ 12 ปี โดยพระอาจารย์ธัมมา (ย๊ะถ่านคำ)เป็นผู้ก่อตั้งวัดท่าลาด รูปแรก

ในปีพุทธศักราช 2337  หลวงศรีสุระ และพระอาจารย์ธัมมาได้ร่วมกันสถาปนา วัดท่าลาดขึ้น

สถานที่ตั้งวัด มีรูปลักษณะคล้ายกับภูเขาเตี้ย มีบริเวณที่ราบบนยอดเขา เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ที่ดังกล่าวนี้ตอนแรกมีป่าไม้สูงหนาแน่น เป็นที่ยำเกรง ด้วยเหตุนี้

พระอาจารย์ธัมมา ท่านมีชื่อเรียก อีกนาม ว่า “ย๊ะถ่านคำ” ตามคำเรียกของชาวภาคอีสานสมัยนั้น  ท่านเป็นผู้ทรงศีลมีคุณธรรมพิเศษ ท่านตกลงใจ จะตั้งที่แห่งนี่เป็นที่สร้างวัดท่าลาด

ในที่สุดท่านก็ได้อธิษฐานอะรัญญิกังคะธุดงค์ การอยู่ป่าช้าเป็นวัตร

สถานที่ตั้งวัดท่าลาดถึงปัจจุบันนี้ เป็นป่าช้าสมัยโบราณราว 500 ปีขึ้นไป เพราะปรากฏตามรอบบริเวณพระอุโบสถใต้กุฏิ ของพื้นที่โดยรอบ ขุดพบหม้อดิน อิฐและโครงกระดูกในยุคที่คาดการว่าเกินกว่ายุด 500 ปีมาแล้ว เป็นจำนวนมาก

ต่อมา หลวงศรีสุระ ก็กลับไปบ้านครูซอดอีกครั้ง เพื่อกลับไปอพยพครอบครัวทั้งหมด หลวงศรีสุระจึงชักชวนท่านพระอาจารย์ธัมมากลับไปด้วย ท่านพระอาจารย์ธัมมา มิได้กลับไปด้วย ท่านอยู่จำพรรษาต่อ ณ สถานที่นี้ อาศัยเป็นอาราม อยู่ทำสมาธิบำเพ็ญเพียรสมณธรรม เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข แก่ที่ตั้งบ้านท่าลาดและวัดท่าลาด

เมื่อ หลวงศรีสุระอพยพครอบครัวราว 10 ครัวเรือน มาตั้งบ้านสำเร็จ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ขอความร่วมมือกับชาวบ้าน มาช่วยกันสร้างวัดท่าลาด ซึ่งการสร้างวัดในสมัยนั้นสะดวกสบาย เพราะอุปกรณ์การก่อสร้างคือไม้ ซึ่งมีจำนวนมากมาย  ชื่อวัดก็ได้เรียกตามชื่อหมู่บ้านท่าลาด เป็นต้นมา


การเริ่มก่อตั้ง : วัดท่าลาด

ผู้ให้กำเนิดวัดท่าลาดคือ พระอาจารย์ธัมมา (ย๊ะถ่านคำ) เป็นผู้ก่อตั้งวัดยุคแรกเริ่ม การบุกเบิกพระอาจารย์ธัมมาใด้นำสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา คือต้นโพธิ์ 4 ต้น มาปลูกยังทิศทั้ง 4 ของบริเวณวัดท่าลาด


การตั้งชื่อและความหมายของ : วัดท่าลาด

บริเวณสถานที่ตั้งบ้านท่าลาด เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูลซึ่งคนในท้องถิ่นนิยมเรียกตามพื้นที่ลาดเอียงไปยังแม่น้ำมูลว่า “ท่าลาด” เรียกตามทำเลลักษณะภูมิศาสตร์ บ้านนี้จึงเรียกว่า บ้านท่าลาด และวัดก็ได้ตั้งขึ้นและเรียกตามชื่อของหมู่บ้านว่า วัดท่าลาด จนกระทั้งทุกวันนี้


การรวบรวมข้อมูลหลักฐานอ้างอิง

วัดท่าลาด ในอดีตนั้น ตามหลักฐานที่มีมา มีอายุราว 225 ปี สมัยก่อน หมู่บ้านท่าลาดไม่มีความเจริญเพียงพอ จึงมิได้มีการบันทึกหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ และไม่มีการทำประวัติเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา  อาศัยพยานบุคคลและพยานวัตถุสิ่งปลูกสร้างคำนวณอายุเทียบเคียง กับประวัติหลายแหล่งรวมกัน เพื่อให้ได้หลักฐานที่แน่นอน และใกล้เคียงความจริงที่สุด หลักฐานทางบุคคน ก็ได้อาศัยผู้สูงอายุที่สุดของหมู่บ้านโดยการเล่าให้ฟัง โดยท่านได้เห็นเหตุการณ์มาด้วยตนเอง หลักฐานพยานทางวัตถุก็ได้อาศัยจากการคำนวณ จากอายุ การใช้งานของวัตถุ ความเก่าแก่ของสถานที่ เทียบเคียงกับการบอกเล่าของผู้สูงอายุ


บุคคลที่อ้างอิง

บุคคลที่สามารถรู้จักประวัติการตั้งวัดท่าลาดได้เป็นอย่างดี ท่านที่ 1 คือ อาจารย์พระหาเจียม กัลยาโณ หรือ(หลวงปู่ผ้าแดง) ท่านที่ 2 คือ พระครูสิริพิพัฒน์สุนทร พระภิกษุทั้งสองรูปสังกัดอยู่วัดพิชัยญาติการามกรุงเทพฯ  ท่านที่ 3 คือ พระครูกิตติธรรมวิมล (หนูจันทร์ กิตติสัทโท) เจ้าอาวาส องค์ที่ 13 วัดท่าลาด ท่านที่ 4 พระอาจารย์ประกอบ ปริปุณโณ (เจ้าอาวาส วัดบ้านท่าเมืองใหม่ ตำบลห้วยขะยุง) และข้อมูลจากหนังสือ “อนุสรณ์” หลวงปู่มหาเจียม กัลยาโณ (สร้างโดย พระอาจารย์ประกอป ปริปุณโณ)  และผู้สูงอายุที่สุดของหมู่บ้านท่าลาดหลายท่าน


********************************************