ผู้ใช้:Napatsawan Thongkham/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม่แบบ:แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์

แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์[แก้]

จงอย่ายืนอยู่เฉยๆ Don't Just Stand There
เมื่อประเทศชาติต้องการ และเป็นในจังหวะที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง เราก็ต้องกล้าที่จะคิดและลองทำ ทำแล้วทำอีก

จึงเป็นเรื่องที่ใช้สามัญสำนึกก็รู้ว่าจะต้องลองทำบางอย่าง หากล้มเหลว ก็ยอมรับมันอย่างตรงไปตรงมา แต่อย่างน้อยที่สุดก็คือต้องลองทำบางอย่างให้เกิดขึ้น[1]

Franklin D. Roosevelt
ปี ค.ศ. 1932

บุคคลแห่งศตวรรษที่ 20 แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ (Franklin Delano Roosevelt) เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2425 (ค.ศ.1882)[2] ที่ Hyde Park. รัฐนิวยอร์ก ซึ่งครอบครัวของเขาเป็นชาวดัตช์ที่ย้ายถิ่นฐานมาตั้งที่นิวยอร์ก มารดาของเขาชื่อ sara Roosevelt. บิดาของเขาชื่อ James Roosevelt. และภรรยาของ โรสเวลต์ คือ แอนนา Eleanor Roosevelt

เขาได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ.1945)เป็นการสียชีวิตในระหว่างดำรงตำแหน่งในวาระสุดท้าย และเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลอดช่วงชีวิตของเขาคือ ค.ศ. 1882 -1945 แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ศึกษาที่มหาวิทยาลัย Harvard. และ Columbia University Law school.[3]

อาชีพของเขาคือทนายความและทำงานที่ธนาคารและยังเป็นประธานาธิบดี ในพรรค democratic. และประธานาธิบดีแฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของสหรัฐอเมริกา คือในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1933 จนถึงปี ค.ศ. 1945 เขาได้รับเลือกถึงสี่สมัยและเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากที่สุด อันดับต้นของประเทศสหรัฐอเมริกา[4] เหมือนกับจอร์จ วอชิงตัน(George Washington) ที่เป็นผู้นำในการสู้รบและประกาศอิสระภาพ และอีกคนหนึ่งคืออับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)

ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ ภาพลักษณ์ของเขาเป็นบุคคลที่มีความเป็นผู้นำที่ทรงพลัง ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงเขาเป็นชายร่างพิการและส่วนใหญ่ต้องไปไหนมาไหนด้วยรถเข็น เขาป่วยเป็นโปลิโอแต่การที่เขาเขามีปัญหาทางด้านสุขภาพ มันไม่ได้ทำให้เขาสิ้นหวัง หรือรู้สึกอ่อนแอท้อแท้แต่อย่างใด และเขาได้กล่าวประโยคที่เป็นอัมตะไว้ว่าว่า “สิ่งที่เราต้องกลัวที่สุด คือความกลัวนั่นเอง” [5]

ประวัติการทำงานของ แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์[แก้]

ค.ศ. 1910 – 1912 ดำรงตำแหน่งวุฒิสภาของรัฐนิวยอร์ก

ค.ศ. 1913 – 1920ดำรงแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการกองทัพเรือ โรสเวลต์เป็นผู้ช่วยเลขานุการกองทัพเรือ ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการรูสเวลต์ทำงานเพื่อขยายกองทัพเรือและก่อตั้ง กองทัพเรือสหรัฐฯสำรอง[6]

ค.ศ. 1928 – 1930 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค

ค.ศ. 1933 – 1945 ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 32 แห่งสหรัฐอเมริกา และได้รับการเลือกตั้งเข้าดำรงตำแหน่งถึง 4 วาระ มากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่1 ส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ( The Great Depression) และหลังจาก Roosevelt ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี ค.ศ. 1932 และได้เข้ามาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า The Great Depression ดังกล่าว โดยการเสนอนโยบาย “สู่ความหวังใหม่” (New Deal) ความหมายของ Deal ใกล้เคียงกับสภาพการเมืองในยุคนั้น คือ “an arrangement for mutual advantage” หรือ การจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝายและเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คน

แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ เขาทำรายการออกอากาศทางวิทยุ "การสนทนาในสนามรบ" ที่มีชื่อเสียงปี 1937 ในช่วงเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อเขาเป็นผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ค แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ ต้องเผชิญกับการต่อต้านจากฝ่ายนิติบัญญัติของของพรรคตรงข้ามคือ Republican เขาจึงให้หันไปสื่อสารกับประชาชนของรัฐนิวยอร์คโดยตรง ด้วยการจัดรายการพูดออกอากาศทางวิทยุในขณะนั้น ซึ่งถือว่าเป็นความก้าวหน้ามาก เพราะรายการของเขา มีการถ่ายทอดไปทั่วประเทศ และเป็นการทำให้เกิดการกดดันฝ่ายต่อต้านที่ทำให้ต้องหันมาสนับสนุนผ่านร่างกฎหมายของเขา เขาเชื่อมั่นในการอธิบายโดยตรงต่อสาธารณชนอเมริกันว่าเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาลของพวกเขา ในการทำเช่นนี้เป็นการได้สร้างความผูกพันกับผู้คนไม่กี่คนมาตั้งแต่เริ่มแรก[7]

นโยบาย New Deal[แก้]

เป็นช่วง The Great Depression ที่สืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ใน ค.ศ. 1929 ได้มีการจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาและบรรเทาทุกข์ขึ้นภายใต้โครงการที่ชื่อ สู่ความหวังใหม่ “New Deal”[8]
นโยบาย “สู่ความหวังใหม่” (New Deal) ความหมายของ Deal ใกล้เคียงกับสภาพการเมืองในยุคนั้น คือ “an arrangement for mutual advantage” หรือ การจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝายและเป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คน

องค์ประกอบของ New Deal
3Rs คือ 1. Relief 2. Recovery 3. Reform

Relief

  • จัดตั้งหน่วยงานต่างเพื่อการ บรรเทาทุกข์แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและทุกชนชนอย่างโปร่งใส

Recovery

  • จัดการฟื้นฟูปรับปรุงสถานะทางด้านการเงินและในเรื่องของตลาดหุ้น
  • จัดการฟื้นฟูทางด้านอุตสาหกรรมและด้านแรงงาน
  • จัดการฟื้นฟูทางด้านการเกษตร

Refrom

  • มีจัดการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงเศรฐกิจ
  • จัดการปฏิบัติการเกษตร
  • จัดการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงในด้านแรงงาน[9]


นโยบาย New Deal ใช้เพื่อ

  • ปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ และสังคมในช่วงสภาวะวิฤกติเศรษฐกิจตกต่ำให้ดีขึ้น
  • เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและสภาพสังคมที่ตกต่ำในขณะนั้นให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • ทำให้แรงงานกับเจ้าของอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว
  • ให้ประชาชนทุกชนชั้นอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียวและสันติ อย่างเช่น ให้ชาวผิวขาวและชาวแอฟริกันอเมริกันอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ไม่มีการแบ่งแยกกันและกัน และกลุ่มคนแรงงานกับเจ้าของอุตสาหรรมอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียว
  • ผลักดันให้เกิดองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่เรียกว่าองค์กรสหประชาติ[10]


ข้อดีของนโยบาย New Deal

  • เป็นมาตรการที่ช่วยสร้างงานให้ประชาชนและผันเงินเข้าสู่ชนบท
  • การบริหารจัดการสามารถยืดหยุ่นได้
  • เป็นผลประโยชน์ที่เกิดกับทุกคน การจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
  • เป็นการจัดการแนวใหม่ ที่สร้างความหวังให้แก่คนทั้งประเทศให้สู้กับสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ให้มีกำลังใจต่อสู้


ข้อเสียของนโยบาย New Deal

  • อำนาจอยู่ที่ส่วนกลาง เป็นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางมากเกินไป
  • นโยบายหลาย ๆ อย่างยังไม่ใช่แนวทางของอเมริกันตามกรอบของรัฐธรรมนูญ[11]


ขั้นตอนของการจัดทำ

  • จัดการวิเคราะห์ตามสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และเร่งดำเนินการจัดทำในกรณีที่มีความเร่งด่วนมากเป็นอันดับแรก
  • จัดการประชุมคณะรัฐบาล รวมถึงที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน เพื่อปรึกษาหารือ
  • และนำนโยบายต่างๆที่ได้จัดทำขึ้นมาไปเสนอต่อสภา
  • นำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติตามรัฐต่างๆ จากส่วนกลาง สู่ ท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและโปร่งใส[12]


ผู้ที่นำเครื่องมือนโยบายนนี้ไปปรับใช้

  • มีผู้นำของโลกหลายคนที่นำเครื่องมือนี้ไปปรับใช้ ตัวอย่างเช่น นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ประธานาธิบดีของฝรั่งเศส นายนิโคลัส ซาร์โคซี่ นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ รวมทั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายบารัค โอบามา กรีนนิวดีล หรือสร้างงานใหม่ด้วยธุรกิจเขียว สร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยลดการพึ่งพาพลังงานน้ำมันหันไปใช้พลังงานสะอาดช่วยสร้างอุตสาหกรรมและฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก
  • ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ผลักดันอุตสากรรมเขียวกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก เนื่องจากผู้นำประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ พากันเรียกร้องให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของโลกเช่น โครงการบ้านและออฟฟิศสีเขียว ลดภาษีรถยนต์ก๊าซเรือนกระจกน้อย และขึ้นภาษีรถที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง[13]


อ้างอิง[แก้]
  1. (Don’t Just Do Something; Stand There)http://quoteinvestigator.com/2014/03/22/stand-there/, 2012, 2017
  2. Spark Publishing, Sparknotes Franklin D.Roosevelt.[1]. new york, 2014, P.16. ISBN: 987-1-4114-7230-3
  3. Frank R. Abate (1999). The Oxford Desk Dictionary of People and Places. p. 329.
  4. Arthur M. Schlesinger, Jr., "Ranking the Presidents: From Washington to Clinton". Political Science Quarterly (1997) 112#2, pp 179–90.
  5. PRACOB COOPARAT, (ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ (FDR) ตัวอย่างของผู้นำภาวะวิกฤติ) http://pracob.blogspot.com/2013/06/fdr.html, 2013 JUNE 19, 2017
  6. Underwood, Jeffery. The Wings of Democracy: The Influence of Air Power on the Roosevelt Administration, 1933–1941, p. 11
  7. John D. Selfridge, Franklin D. Roodevelt The People's Persident. [2]. The Jeffrey Group inc, 1990 ISBN: 987-0-307-77583-2
  8. Apicha Kitchavengkul, (ทฤษฎี Franklin D.Roosevelt (FDR) ) http://yib-apicha.blogspot.com/2012/09/franklin-droosevelt-fdr.html, 2017-04-23
  9. runglaksamee rodkam, (แนวคิดทฤษฎี ของFranklin D.Roosevelt),http://rungdba-04.blogspot.com/2012_10_01_archive.html, วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555, 2017-04-23
  10. Adison Aei, (แนวคิดและทฤษฎีการจัดการ) http://adisony.blogspot.com/2012/10/franklin-d-roosevelt.html, 7th October 2012, 2017-04-23
  11. suwajee wattanawiwatkul, (ทฤษฏี 26 หัวข้อ) http://suwajeedba.blogspot.com/2012/10/26.html, วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555, 2560-04-23
  12. runglaksamee rodkam, (แนวคิดทฤษฎี ของFranklin D.Roosevelt) http://rungdba-04.blogspot.com/2012_10_01_archive.html, 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555, 2560-04-23
  13. (บิสิเนสไทย :2551) www.arip.co.th