ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Kanjanaporn kongnimit/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรคชอบหยิบฉวย หรือ โรคชอบขโมยของ (อังกฤษ : Kleptomania หรือ Pathological stealing) เป็นโรคทางจิตเวช ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถยับยั้งใจต่อแรงกระตุ้นที่จะลักขโมยได้[1] ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะลักขโมยสิ่งของที่ไม่มีประโยชน์ต่อตนเอง

โรค kleptomania เป็นโรคทางจิตเวชที่อยู่ในกลุ่มโรคขาดความยับยั้งชั่งใจ (Impulse Control Disorders) โดยกลุ่มโรคดังกล่าว ประกอบด้วยโรคต่าง ๆ หลายโรค เช่น โรคชอบจุดไฟ (Pyromania) โรคติดการพนัน (Pathological gambling) โรคซึมเศร้า (major depressive disorder, MDD) โรคแพนิค (Panic Disorder) และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar)

รากศัพท์[แก้]

Kleptomania เป็นคำที่มาจากภาษากรีกโบราณ โดยคำว่า klepto มาจาก κλέπτω แปลว่า ขโมย ฉกฉวย และคำว่า mania มาจาก μανία แปลว่า ความปรารถนาที่บ้าคลั่ง, การบังคับ[2] ดังนั้นอาจให้ความหมาย Kleptomania ได้ว่า ความปรารถณาที่จะขโมย

กลุ่มอาการ[แก้]

  • มักจะขโมยสิ่งของที่ตัวเองไม่มีความจำเป็นต้องใช้ หรือสิ่งของที่ไม่มีราคา
  • ก่อนลงมือ ผู้ป่วยจะมีความเครียดเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • หลังจากลงมือขโมยของแล้วจะรู้สึกสบายใจและผ่อนคลาย
  • เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป ผู้ป่วยบางรายอาจจะกลับมารู้สึกผิด เสียใจ เพราะลึก ๆ แล้วผู้ป่วยรู้ว่าการขโมยของเป็นเรื่องผิดต่อศีลธรรมและกฎหมาย แต่ก็มีบางรายที่อาจไม่รู้สึกอะไรเลยจากพฤติกรรมนั้น
  • ผู้ป่วยที่ขโมยของมาแล้วอาจนำของไปเก็บไว้ ทิ้งไป หรือเอาไปคืนที่เดิม[3]

สาเหตุ[แก้]

โรค kleptpmania เกิดจากความผิดปกติทางชีวภาพ ทำให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน (serotonin) น้อยลง เช่นเดียวกับโรคซึมเศร้า (major depressive disorder, MDD) และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) แต่อาจมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก ความเครียดความกดดันในวัยเด็ก ความไม่พอใจพ่อแม่หรือบุคคลที่มีอำนาจในชีวิต หรือพันธุกรรม ผลักดันให้มีนิสัยชอบขโมยของเพื่อรู้สึกผ่อนคลาย สร้างความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง หรือสร้างความอับอายให้กับบุคคลที่มีอำนาจในชีวิต

การรักษา[แก้]

อาการของผู้ป่วยโรค kleptpmania สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ร่วมกับวิธีจิตบำบัดโดยแพทย์หรือนักจิตวิทยา ซึ่งวิธีการทำจิตบำบัด แบ่งออกเป็น 2 วิธี 1. จิตบำบัดแบบรู้แจ้ง ใช้กับผู้ป่วยที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี โดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะสร้างประเด็นที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวว่าแสดงพฤติกรรมดังกล่าวแล้วจะส่งผลที่ไม่ดีต่อตนเอง 2. จิตบำบัดความคิด จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะใช้วิธีการอธิบายผลเสียของการแสดงพฤติกรรมลักขโมย จนผู้ป่วยตระหนักถึงผลเสีย และสามารถนำความคิดนั้นมาควบคุมพฤติกรรมดังกล่าวได้[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. [1], http://www.theactkk.net/home/homenew1/print_news.asp?id=6996.
  2. [2], https://en.wikipedia.org/wiki/Kleptomania.
  3. [3], http://health.kapook.com/view21661.html.
  4. [4], https://www.youtube.com/watch?v=nK9DDcCQ8Tc.