ผู้ใช้:Hay game/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2546 – 2550 มีการพัฒนาความสามารถในการทำงานของส่วนต่างๆของราชการให้ดีขึ้น โดยคำนึงถึงการจัดการบ้านเมืองที่ดี ต่อมาได้มีการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของส่วนราชการ โดยสำนักงาน ก.พ.ร.ที่ได้ร่วมมือกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ที่คาดหวังให้ประชาชนได้รับประโยชน์รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และกำหนดเกณฑ์การวัดผลการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่มีคุณภาพสูง โดยที่มาของเกณฑ์อยู่ระหว่างคริสต์ศักราชที่ 1980-1987 ประเทศที่เป็นคู่แข่งกับสหรัฐอเมริกาได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องทำให้สหรัฐอเมริกาได้เผชิญกับปัญหาความสามารถในทางธุรกิจ สหรัฐอเมริกาจึงต้องการสนับสนุนด้านการบริหารจัดการให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น จึงสร้างเกณฑ์แห่งชาติที่มีชื่อว่า Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการของหน่วยงานสู่ระดับสากลรวมไปถึงการใช้เป็นแนวทางในการประเมินตนเองและเป็นพื้นฐานการติดตามรวมถึงประเมินผลการบริหารจัดการของหน่วยงานของรัฐ ในปัจจุบัน Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ได้รับความเชื่อมั่นว่าเป็นเกณฑ์ที่มีคุณภาพที่สุด โดยเกณฑ์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้กับทุกระดับชั้น ทุกประเภท ทุกองค์การไม่ว่าจะภาครัฐรวมไปถึงภาคเอกชน เป็นสาเหตุให้ประเทศต่างๆนำไปประยุกต์เป็นเกณฑ์รางวัลของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วยที่นำมาประยุกต์ใช้ให้ตรงกับบริบทของราชการไทยโดยมีชื่อเกณฑ์ว่า Prime Minister Quality Award (PMQA) ซึ่งมีลักษณะสำคัญของเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐโดยมีลักษณะสำคัญของเกณฑ์คือการมุ่งเน้นให้ส่วนราชการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ มีประเด็นที่สำคัญร่วมกัน ให้ได้ผลลัพธ์ที่มากกว่าวิธีปฏิบัติ เครื่องมือ หรือโครงสร้างส่วนราชการ มีการสนับสนุนเชิงระบบเพื่อให้เป้าหมายดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน อันนำไปสู่การแก้ไขในทุกด้าน ใช้กลยุทธ์ ระบบการบริหารการจัดการ และส่วนราชการโดยมีวิธีการใช้เกณฑ์หลักเป็น 2 ขั้นตอนคือ

ขั้นตอนแรก เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ PMQA โดยการวัดว่าสามารถตอบคำถามได้มากน้อยเท่าใดจากการศึกษาลักษณะสำคัญขององค์การ โดยการศึกษาหลักฐานพื้นฐานและที่มาของคำถามต่างๆหรือศึกษาค่านิยมหลัก 11 ข้อ โดยได้ว่า ต้องการกำหนดทิศทาง สร้างแรงผลักดักในการทำงาน อย่างมีวิสัยทัศน์ ให้ความสำคัญ กับประชาชนผู้ซึ่งได้รับและเสียผลประโยชน์ให้เกิดความพอใจในคุณภาพการบริการ การให้ความสำคัญเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้บุคคลและเครือข่ายมีความร่วมมือกันจากทั้งภายในและภายนอก ส่วนราชการที่ดีส่งผลให้มีการพัฒนา และขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นทำให้เข้ากับสภาวะปัจจุบันและ สนับสนุนให้เกิดการแก้ไขบริการ กระบวนการ และการปฏิบัติของส่วนราชการ ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างแท้จริง ผู้บริหารของส่วนราชการมีจริยธรรม มีความคิดที่จะรับผิดชอบต่อสาธารณะ และปฏิบัติงานโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์เป็นสำคัญ ซึ่งส่วนราชการจะพิจารณาว่าควรจะปรับปรุงในเรื่องได้บ้างจากจำนวนของค่านิยมหลักเหล่านี้ มองความเชื่อมโยงของระบบการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินงานภาพรวมจากการตรวจสอบชื่อหมวด หัวข้อ ประเด็น เนื่องจากส่วนราชการจะตรวจสอบว่าการดำเนินงานและการวัดผลนั้นได้คำนึงถึงมิติข้างต้นหรือไม่

ขั้นตอนที่สอง ใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินองค์การ ตอบคำถามในลักษณะสำคัญขององค์การที่เก็บรวบรวมมาให้ครบถ้วนที่สุดเพื่อใช้ประเมินการดำเนินงานของทั้ง 7 หมวด ดังนี้

1. การนำองค์การ

2. การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

3. ความสำคัญต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

5. การมุ่งเน้นบุคลากร

6. การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ

7. ผลลัพธ์การดำเนินการ

โดยอาศัยการกำหนดขอบเขตของการประเมินว่าครอบคุลมทั้งส่วนราชการ หน่วยงาน พื้นที่ย่อย แต่งตั้งกรรมการเพื่อรวบรวมข้อมูลในการตอบคำถาม รวมถึงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องในหมวด 7 การประเมินข้อมูลที่รวบรวมได้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินในการให้คะแนนเพื่อหาข้อบกพร่องในการดำเนินงานและการโยงสู่ผลลัพธ์และสรุปผลการประเมินและแจ้งให้ผู้บริหารส่วนราชการทราบถึงผลการประเมิน รวมไปถึงการนำเอาผลการประเมินและโอกาสในการปรับปรุงที่มาจากการร่วมมือของผู้บริหารส่วนราชการกับกรรมการพิจารณาไปจัดทำเป็นแผนเพื่อพัฒนาส่วนราชการต่อไป จากข้อวิธีการใช้เกณฑ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของวิธีการใช้เกณฑ์ก็คือค่านิยมและหลักการ ที่ซึ่งเป็นที่มาของคำถามต่างๆในเกณฑ์ที่นำไปใช้ในการประเมินการปฏิบัติงานขององค์การหรือหมวดต่างๆและเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ส่วนราชการควรใช้การประเมินเพื่อเสริมสร้างจุดแข็งและใช้โอกาสในการแก้ไขในการพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้กับส่วนราชการ และเมื่อส่วนราชการพร้อมอาจยื่นเอกสารขอรับการประเมินเพื่อขอรับรางวัลจาก ก.พ.ร. หรือหน่วยงานภายนอกต่อไป ซึ่งเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมีโครงสร้าง มีโครงสร้างความสัมพันธ์ของระบบที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ ประกอบด้วยเกณฑ์ 6 หมวด ( การนำองค์การ , การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ , การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย , การวัดและวิเคราะห์อีกทั้งการจัดการความรู้ , การมุ่งเน้นบุคลากร , การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ) ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินการต่อในหมวด 7 ( ผลลัพธ์การดำเนินการ ) ซึ่งสามารถแบ่งตามรูปแบบการปฏิบัติการเป็นกลุ่มย่อยได้ดังนี้ กลุ่มแรก ลักษณะสำคัญขององค์การ ชี้ให้เห็นถึงลักษณะและอธิบายวิธีการปฏิบัติของส่วนราชการซึ่งเป็นทางที่ครอบคลุมระบบการจัดการผลการดำเนินการโดยรวม กลุ่มที่สอง การนำองค์การ ( การนำองค์การ , การวางแผนยุทธศาสตร์ และการมุ่งเน้นประชาชนผู้ซึ่งได้รับผลประโยชน์และเสียผลประโยชน์ ) มุ่งเน้นความสำคัญว่าการนำองค์การโดยใช้ยุทธศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็น ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ประโยชน์และส่วนเสียเสียประโยชน์ โดยผู้บริหารของส่วนราชการต้องกำหนดแนวคิดในการสร้างความยั่งยืนให้ส่วนราชการ กลุ่มที่สาม ผลลัพธ์ ประกอบด้วย ( การเน้นบุคลากร การเน้นระบบการปฏิบัติ และผลลัพธ์การดำเนินการ ) กลุ่มที่สี่ พื้นฐานของระบบ ( การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ) มีความสำคัญและทำให้ส่วนราชการมีการจัดการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพและมีการแก้ไขผลการดำเนินการและเพิ่มความสามารถการแข่งขันโดนใช้ข้อมูลจริงและใช้ความรู้ จากที่กล่าวมาข้างต้น เกณฑ์ PMQA ทั้ง 7 หมวดมีหัวข้อและประเด็นซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสามกลุ่มตามประเภทของข้อมูลที่ส่วนราชการต้องอธิบายทำให้เกิดลำดับโครงสร้างคำถามคือ ลักษณะสำคัญขององค์การ หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ และหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์

เกณฑ์คะแนนของคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยให้คะแนนตามหมวดรวมกันทั้งหมด 7 หมวดนั้นเท่ากับ 1000 คะแนน

โดยสามารถแบ่งคะแนนตามแต่ละหมวดและหัวข้อได้ดังนี้

หมวดที่ 1 การนำองค์การ มี 120 คะแนน ประกอบด้วย การนำองค์การโดยผู้บริหารองส่วนราชการ 70 คะแนน การกำกับดูแลองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม 50 คะแนน

หมวดที่ 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ มี 80 คะแนน ประกอบด้วย การจัดทำยุทธศาสตร์ 40 คะแนน การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ 40 คะแนน

หมวดที่ 3 การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มี 110 คะแนน ประกอยด้วย สารสนเทศผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 50 คะแนน การสร้างความผูกพัน 60 คะแนน ,

หมวดที่ 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการคามรู้ มี 100 คะแนน ประกอบด้วย การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงผลการดำเนินการของส่วนราชการ 50 คะแนน การจัดการความรู้ สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 50 คะแนน

หมวดที่ 5 การมุ่งเน้นบุคลากร มี 90 คะแนน ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมด้านบุคลากร 40 คะแนน ความผูกพันของบุคลากร 50 คะแนน

หมวดที่ 6 การมุ่งเน้นระบบการปฏิบัติการ มี 100 คะแนน ประกอบด้วย กระบวนการทำงาน 60 คะแนน ประสิทฺธิผลการปฏิบัติการ 40 คะแนน

หมวดที่ 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ มี 400 คะแนน ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านประสิทธิผลและการบรรลุพันธกิจ 60 คะแนน ผลลัพธ์ด้านให้ความสำคัญผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 70 คะแนน ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร 70 คะแนน ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล 70 คะแนน ผลลัพธ์ด้านงบประมาณ การเงิน และการเติบโต 60 คะแนน ผลลัพธ์ด้านประสิทฺผลของกระบวนการและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน 70 คะแนน

เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ มีความสำคัญอย่างยิ่งด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ ให้ความสำคัญกับข้อกำหนดที่อาจจะมีผลต่อการดำเนินการและผลลัพธ์ที่สำคัญในส่วนของราชการ หากพบว่ามีสารสนเทศที่ขัดแย้ง ไม่เพียงพอ หรือสูญเสียไป ส่วนราชการสามารถนำมาเป็นประเด็นเพื่อที่จะนำไปวางแผนปรับปรุงในระบบงานได้และสุดท้ายองค์การสามารถกำหนดบริบทในการเนื้อหาชองคำตอบต่างๆ ในหมวดที่ 1 – 7


อ้างอิง[แก้]

[1] [2] [3] [4] [5]

  1. รศ.รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม, เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ, 21 กุมภาพันธ์ 2560
  2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ2560, เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ.2558, 21 กุมภาพันธ์ 2560
  3. สำนักเลขธิการวุฒิสภา, การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ, 23 เมษายน 2560
  4. น.อ.รศ.นเรศ เพ็ชรนิน, การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ, 25 เมษายน 2560
  5. บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์, การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ, 26 เมษายน 2560