ผู้ใช้:Fah Free

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประกิต วาทีสาธกกิจ[แก้]

'ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประกิต วาทีสาธกกิจ (เกิด 28 มีนาคม พ.ศ. 2487) เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน) หรือที่เรียกกันว่า คุณหมอนักรณรงค์ เป็นอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด  หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ พ.ศ. 2530-2538 อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2541- 2547) เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร (เม.ย. – ก.ย. 2549)  และที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุข  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ก.พ. 2550 – ม.ค. 2551)


ประวัติ[แก้]

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เติบโตมาในครอบครัวคนจีน  เมื่อเรียนถึงชั้นประถมปีที่ 4 ต้องเลิกเรียน เนื่องจากทางบ้านไม่มีเงินส่ง จึงต้องออกมาช่วยงานค้าขายท่ีบ้าน เมื่ออายุได้ 15 ปีทางบ้านเริ่มมีรายได้ดีขึ้น ตัดสินใจเรียนกวดวิชา จนสอบเทียบชั้นมัธยมปีท่ี 1 - 3 ได้ เมื่อสมัครเรียนต่อชั้นมัธยม ปีที่ 4 - 6 สามารถสอบเทียบผ่านได้ในเวลา 1 ปี ระหว่างเรียนทํางานทางบ้านไปด้วย เมื่อต่อช้ันมัธยม 7 - 8 ก็สอบเทียบได้เช่นกัน จากนั้นจึงตัดสินใจเรียนทางวิชาชีพ โดยสอบเข้าเรียนต่อแพทย์ได้ จึงได้เรียนแพทย์ ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 19 


ด้วยเริ่มต้นชีวิตในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ทำให้ลักษณะนิสัยที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ มีความพยายามในการทําหน้าท่ีทั้งในด้าน การงานและส่วนตัวอย่างดีที่สุด รวมไปถึงการเป็นคนสมถะ เรียบง่าย ซื่อสัตย์ และมี ระเบียบวินัย ทําให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต ประสบความสําเร็จสูงสุดในชีวิต ทั้งสามารถส่งเสียน้องๆ 4 คนเรียนหนังสือจนจบชั้นมหาวิทยาลัย และส่งตัวเองไปฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อจบแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต ได้รับการเชิญชวนให้เป็นอาจารย์แพทย์ที่จุฬาฯ แต่เห็นว่า เงินเดือนของข้าราชการน้ันน้อย ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของน้องท่ียังเรียนอยู่ จึงได้ตัดสินใจไปทํางานและเรียนต่อที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ประกอบกับในช่วงนั้นเกิดสงครามเวียดนาม ประเทศสหรัฐอเมริกาต้องการแพทย์จํานวนมาก ในระหว่างปี พ.ศ. 2513 - 2516 นายแพทย์ประกิตได้ไปฝึกอบรมด้านอายุรศาสตร์ท่ัวไปท่ี New Jersey College of Medicine จนกระทั่งได้ American Board of Internal Medicine จากนั้นไปเรียนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดที่ โรงพยาบาลในเครือของ New York University จนจบ ในปี พ.ศ. 2518 

ด้วยความที่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เป็นคนเรียบง่าย  มีอัธยาศัยไมตรี มีความเป็นกันเองและเป็นมิตรกับผู้คน เป็นนักบริหารท่ีแก้ปัญหาได้รวดเร็วกล้าตัดสินใจ ซึ่งยึดหลักการทำงานว่า“Honesty is the best policy” 

การศึกษา[แก้]

  • อายุ 15 - 16 ปี สอบเทียบได้ชั้น ม.1 ถึง ม.3 (เทียบเท่าประถมศึกษา ปีที่ 5 ถึง 7)
  • อายุ 16 - 17 ปี สอบเทียบได้ชั้น ม.4 ถึง ม.6 (เทียบเท่าประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึง 3)
  • อายุ 17 - 18 ปี สอบเทียบได้ชั้น ม.7 ถึง ม.8 (เทียบเท่ามัธยมศึกษา ปีที่ 4 ถึง 5 สมัยก่อนประถมศึกษาเริ่ม ป.1 ถึง ป.4 มัธยมศึกษาตอนต้น เริ่ม ม.1 ถึง ม.6 มัธยมศึกษาตอนปลายเริ่ม ม.7 ถึง ม.8)
  • อายุ 19 ปี สอบเข้าคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เตรียมแพทย์) ตอนนั้น ฝันอยากเรียนสูง ๆ เพื่อจะได้มีอาชีพ เพราะที่บ้านไม่มีกิจการอะไร อยากเรียนแพทย์เพราะว่าผลการเรียนดี ใคร ๆ ก็เชียร์ให้เรียนแพทย์ ทางบ้านไม่มีเงินทุนที่จะทำอะไร จึงคิดว่าเรียนแพทย์จบแล้วจะได้มีงานทำเลย
  • พ.ศ. 2512   แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง)  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2516 Diplomate American Board of Internal Medicin (เทียบเท่าปริญญาเอก) สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2518   ประกาศนียบัตร Fellow in Pulmonary Disease  สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2523   หนังสืออนุมัติผู้มีความรู้ความชำนาญ แพทยสภาสาขาอายุรศาสตร์(เทียบเท่าปริญญาเอก)
  • พ.ศ. 2532   หนังสืออนุมัติผู้มีความรู้ความชำนาญ  แพทยสภาสาขาอายุรศาสตร์ระบบทางเดินหายใจ
  • พ.ศ. 2540   หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ. รุ่นที่ 39) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
  • พ.ศ. 2550   หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง(ปปร.รุ่นที่ 10)วิทยาลัยการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า    

รับราชการ [แก้]

 ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต  ได้รับการแนะนําให้รู้จักกับอาจารย์ยศวีร์ สุขุมาลจันทร์ ซึ่ดำรงตําแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยโรคปอดที่ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ชักชวนให้เข้ามาเป็น อาจารย์ในหน่วยโรคปอดเพิ่มอีกคนหน่ึง จึงได้รับการบรรจุ เข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2519

เมื่อกลับมาเป็นอาจารย์ ที่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ 2 สมัย จากนั้นได้ดํารงตําแหน่งคณบดี ที่น่าภาคภูมิใจคือการเป็นผู้นําในการ รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กระทั่งประเทศไทยเป็นประเทศแนวหน้าของโลกที่มีแนวทางปฏิบัติในการป้องกันพิษภัยของบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรม เป็นท่ียอมรับของนานาชาติ จนได้รับรางวัลเหรียญเกียรติยศจากองค์การอนามัยโลก ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต ได้ช่วยให้คนจํานวนมากพ้นความทุกข์ทรมานท่ีเกิดจากผลร้ายของบุหรี่ท่ีมีต่อสุขภาพของทั้งคนสูบและคน ที่อยู่รอบตัว 

  • พ.ศ. 2519 – 2520  อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2520 – 2523  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2523 – 2530  รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2530 – 2549  ศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


บทบาทของหมอนักรณรงค์[แก้]

เมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในภาควิชาอายุรศาสตร์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต  มีความสนใจในด้านโรคติดเชื้อในปอดและวัณโรคปอดเป็นหลัก จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2529 ศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งดํารงตําแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ในขณะน้ัน ได้แนะนําและชักชวนให้มาทํางานด้านการ รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เพราะเล็งเห็นว่า การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมท่ีแพร่หลายในคนไทย และไม่มีหน่วยงานใดที่ดําเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้คนไทยสูบบุหหรี่มากขึ้น ต่อมาเมื่อศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธ์ิ  รับตําแหน่งคณบดี ด้วยความร่วมมือของศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี จึงได้เกิดโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ข้ึน ได้มอบหมายให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เป็นผู้ดําเนินการ เปิดโครงการที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นคร้ังแรก ได้จัดให้มีการสัมมนาโดยมี พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะน้ันร่วมด้วย 


ในงานมีนำสื่อมวลชนพบปะ สัมภาษณ์และดูคนไข้โรคถุงลมโป่งพองและโรคหลอดเลือดหัวใจท่ีเป็นผลกระทบทางสุขภาพ โดยตรงจากการสูบบุหรี่ ปรากฏว่าได้ผลตอบรับดีมาก สามารถขยายองค์ความรู้ให้ประชาชนได้รับทราบในวงกว้าง ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต จึงทุ่มเทอย่างมากกับการรณรงค์ เพื่อให้คนไทยพ้นจากความเจ็บป่วยและความตายจากการสูบบุหรี่ รู้ข้อมูลอันตราย ผลร้ายของบุหรี่ต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยจริงเป็นตัวอย่าง เพื่อสื่อถึงความทุกข์ทรมานที่ ได้รับจากพิษภัยของบุหรี่ ขณะเดียวกัน ต้องต่อสู้กับอิทธิพลของกลุ่ม นายทุนทั้งในและต่างประเทศ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต ยึดมั่นปรัชญาการทำงานเสมอมาว่า “ความถูกต้องย่อมชนะความไม่ถูกต้อง” เพื่อเดินหน้าต่อสู้ต่อไป 


นอกจากพยายามให้คนตระหนักถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่แล้ว ช่วงที่ ศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธ์ิ ดํารงตําแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการผลักดันมาตรการทางกฎหมาย ท่ีแม้แต่ในต่างประเทศก็ไม่สามารถฝ่าด่านอิทธิพลผู้ผลิตและผู้จําหน่าย บุหรี่ได้  โดยปี พ.ศ. 2535 ได้มีการออกกฎหมายห้ามโฆษณาบุหรี่ และผลักดันจนเกิด พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ขึ้น เป็นครั้งแรกที่กําหนดให้สถานที่สาธารณะต่างๆ เป็นเขตปลอดบุหรี่ ในขณะท่ีประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกา ยังมีการสูบบุหรี่ในท่ีสาธารณะอย่างแพร่หลาย 

  รวมถึงมีการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่เป็นระยะ ส่งผลให้อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 และ อัตราการสูบบุหหรี่ในเพศชายลดลงจากร้อยละ 70 เหลือร้อยละ 50 จนกระทั่งประเทศไทยเป็นประเทศ “ตัวอย่าง” ของโลกของ ความสําเร็จของการณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้สนับสนุนให้มูลนิธิเพื่อการไม่สูบบุหรี่เป็นองค์กรหลัก 

 

  • พ.ศ. 2523 – 2529   หัวหน้าโครงการอบรมแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์
  • พ.ศ. 2525 – 2529   ประธานคณะอนุกรรมการโครงการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัด และแพทย์ประจำบ้าน ของคณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี
  • พ.ศ. 2537 – 2538   ผู้ประสานงานพัฒนาการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก และคลินิกคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ. 2526 – 2529   กรรมการบริหารหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ. 2530 – 2538   หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ. 2539 – 2541   กรรมการประจำคณะ จากคณาจารย์ประจำ
  • พ.ศ. 2539 – 2541   ประธานสภาอาจารย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ. 2541 – 2547   คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ. 2543 – 2547   กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงาน[แก้]

ในการประสานงานด้านการรณรงค์ควบคุมการสูบบุหรี่ให้กับ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมูลนิธิฯ [./Https://med.mahidol.ac.th/ram/th/TextualArchives/venerablepersons-th-4 ] ยังได้รับคัดเลือก จากองค์การอนามัยโลกให้เป็นองค์กรประสานงานการร่างกรอบ อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ และได้นํากิจกรรม ของมูลนิธิฯ ไปเผยแพร่ในนานาประเทศในวันไม่สูบบุหหรี่โลกปี พ.ศ. 2541 นอกจากรางวัลเหรียญเกียรติยศจากองค์การอนามัยโลกแล้ว ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตยังได้รับรางวัลผู้มีผลงานในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ดีเด่นของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก จากสมาพันธ์ควบคุมการบริโภค ยาสูบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และรางวัลผู้นําที่เป็นแบบอย่างในการ ควบคุมการบริโภคยาสูบจาก American Cancer Society 

ด้านงานภาควิชาอายุรศาสตร์ เมื่อศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตกลับจากต่างประเทศช่วงแรก ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเรียน การสอน ได้ริเริ่มกิจกรรม morning report (ซึ่งต่อมาได้ ปรับเปลี่ยนเป็น noon report) ซึ่งเป็นกิจกรรมท่ีแพทย์ประจําบ้าน รายงานผู้ป่วยท่ีรับไว้ในโรงพยาบาลตอนอยู่เวรในคืนก่อน จึงเข้าไปเก่ียวข้องกับแพทย์ประจําบ้านค่อนข้างมาก จึงมีการริเริ่ม โครงการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัดและแพทย์ประจําบ้านของคณะฯ ซึ่งศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เข้ามารับตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาตร์ ในปี พ.ศ. 2530 ให้ความสําคัญกับงานด้านการเรียนการสอน โดยเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการของภาควิชาทุกคร้ัง

ตำแหน่งหน้าที่อื่น ๆ และกิจกรรมที่เคยทำ ข้าราชการการเมือง[แก้]

  • เม.ย. – ก.ย. 2549 สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร
  • ก.พ.2550 – ม.ค. 2551 ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล[แก้]

  • พ.ศ.2523 – 2529 หัวหน้าโครงการอบรมแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์
  • พ.ศ.2525 – 2529 ประธานคณะอนุกรรมการโครงการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัด และแพทย์ประจำบ้าน ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ.2537 – 2538 ผู้ประสานงานพัฒนาการเรียนการสอนระดับปรีคลินิกและคลินิกคณะ แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ.2526 – 2529 กรรมการบริหารหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ.2530 – 2538 หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ.2539 – 2541 กรรมการประจำคณะ จากคณาจารย์ประจำ
  • พ.ศ.2539 – 2541 ประธานสภาอาจารย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ.2541 – 2547 คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • พ.ศ.2543 – 2547 กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล

แพทยสภา[แก้]

  • พ.ศ.2525 – 2529 กรรมการในคณะอนุกรรมการกลางฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของแพทยสภา
  • พ.ศ.2526 – 2534 กองบรรณาธิการแพทยสภาสาร
  • พ.ศ.2541 – 2547 กรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย[แก้]

  • พ.ศ.2529 – 2536 กรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2530 – 2538 กรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ สาขาอายุรศาสตร์
  • พ.ศ.2529 – 2531 เลขานุการคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย[แก้]

  • พ.ศ.2532 – 2534 กรรมการคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ สาขาโรคระบบทางเดินหายใจ
  • พ.ศ.2522 – 2526 กรรมการสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2523 – 2525 เลขาธิการสมาคมแพทย์โรคทรวงอกอเมริกันแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2523 – 2532 ผู้ช่วยบรรณาธิการ วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก
  • พ.ศ.2521 – ปัจจุบัน กรรมการกลางสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย

กระทรวงการคลัง[แก้]

  • พ.ศ.2539 – 2542 ประธานคณะทำงานจัดหาข้อเสนอมาตรการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงการคลัง
  • พ.ศ.2543 รองประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ......

ประวัติสำคัญอื่น ๆ[แก้]

กระทรวงสาธารณสุข

  • พ.ศ.2532 – 2533 ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขในการเจรจาปัญหานำเข้าบุหรี่ กับสหรัฐอเมริกา ภายใต้กฎหมายการค้า มาตรา 301 และที่ประชุมว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการค้า (แกตต์)
  • พ.ศ.2532 – 2536 กรรมการคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ
  • พ.ศ.2536 – 2543 กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ
  • พ.ศ.2532 – 2536 กรรมการบริหาร สมาพันธ์ควบคุมการบริโภคยาสูบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกส์
  • พ.ศ.2534 – 2539 กรรมการคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติด้านยา
  • พ.ศ.2534 – 2539 ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมให้มีการใช้ยาที่เหมาะสม คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
  • พ.ศ.2536 – 2538 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์)
  • พ.ศ.2541 – 2543 กรรมการที่ปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงสาธารณสุข (นายคำรณ ณ ลำพูน)
  • พ.ศ.2544 – พ.ค.2549 ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการจัดทำแผนควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติ ตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535
  • พ.ศ.2544 – พ.ค.2549 ประธานอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การควบคุมการบริโภคยาสูบและเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับโทษพิษภัยของบุหรี่
  • พ.ศ.2544 –พ.ค.2549 อนุกรรมการจัดทำแผนคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535
  • พ.ศ.2546 – พ.ค.2549 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ
  • พ.ศ.2546 – พ.ค.2549 อนุกรรมการพิจารณามาตรการการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการดำเนินการติดป้ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  • พ.ศ.2546 – พ.ค.2549 คณะกรรมการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
  • พ.ศ.2547 – พ.ค.2549 คณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • พ.ศ.2550 รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญคนที่สอง ร่างพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ..สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • พ.ศ.2550 – 2551 คณะที่ปรึกษาอาวุโสนายแพทย์มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ.2551 หัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมภาคีสมาชิกใหญ่กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบครั้งที่ 3
  • พ.ศ.2552 หัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับในการดำเนินการระหว่างประเทศ ตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ.2552-2553 คณะผู้แทนไทยในการเจรจาร่างพิธีสารการควบคุมยาสูบผิดกฎหมายอนุสัญญา ควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลก
  • พ.ศ.2555-2556 เลขาธิการเครือข่ายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ ( สสส.นานาชาติ)
  • พ.ศ.2554-2558 ประธานเครือข่ายโรคไม่ติดต่อ ( Thai NCD Net)
  • พ.ศ.2554 – 2558 ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและจัดทำร่างกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ.2557 – 2558 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน

สำนักนายกรัฐมนตรี[แก้]

  • พ.ศ.2541 – 2543 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ.2545 – ก.ค. 2547 รองประธานกรรมการคนที่สอง คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  • พ.ศ.2546 – ก.ค. 2547 คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ประธานคณะอนุกรรมการด้านการมีส่วนร่วม
  • พ.ศ.2548 – 2549 ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  • พ.ศ.2550 ประธานคณะทำงานศึกษาการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • พ.ศ.2550 ประธานคณะกรรมการอำนวยการ แผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ทบวงมหาวิทยาลัย[แก้]

  • พ.ศ.2534 – 2538 กรรมการคณะกรรมการสอบไล่ภายนอก คณะแพทยศาสตร์รังสิต

องค์กรเอกชน[แก้]

องค์การอนามัยโลก[แก้]

  • * พ.ศ.2539 – 2545 คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านบุหรี่และสุขภาพ องค์การอนามัยโลก
  • * พ.ศ.2544 - 2546 ที่ปรึกษา Bangladesh Anti-Tobacco Alliance (BATA) ประเทศบังคลาเทศ

ผลงานทางวิชาการ[แก้]

  • * งานแต่งและเรียบเรียงตำราทั้งหมด 12 เรื่อง
  • * งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร 35 เรื่อง
  • * รับเชิญบรรยายวิชาการในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับบุหรี่และสุขภาพรวมกว่า 60 ครั้ง
  • * ได้รับเชิญให้เป็นผู้นิพนธ์ในหนังสือที่จัดพิมพ์โดยธนาคารโลก (พ.ศ.2546) Tobacco Control Policy Strategies: Success & Setbacks หัวข้อ Tailoring Tobacco Control Efforts to the Country; The Example of Thailand เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับประเทศต่าง ๆ ในการควบคุมยาสูบ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

  • พ.ศ.2532 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
  • พ.ศ.2535 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
  • พ.ศ.2538 มหาวชิรมงกุฎ (มวม.)
  • พ.ศ.2543 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (มปช.)
  • พ.ศ.2544 เหรียญจักรพรรดิมาลา

เกียรติประวัติและรางวัลที่เคยได้รับ[แก้]

  • พ.ศ.2532 เป็นผู้แทนประเทศไทย การประชาพิจารณ์ที่จัดโดยสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา USTR ที่กรุงวอชิงตันดีซี พ.ศ. 2532
  • พ.ศ.2533 ให้การต่อกรรมาธิการวุฒิสภาและสภาคองเกรสสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ.2533 ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศจากสมาพันธ์ควบคุมการบริโภคยาสูบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Asian and Pacific Association for Tobacco Control) ในฐานะเป็นผู้ที่มีผลงานในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ดีเด่นของประเทศไทยและภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โดยเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลนี้ (วันที่ 6 เมษายน 2533)
  • พ.ศ.2534 ได้รับการคัดเลือกจากกองบรรณาธิการนิตยสาร Fitness ให้เป็นบุคคลแห่งปี 2534 ในฐานะที่ได้รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่อย่างแข็งขัน
  • พ.ศ.2535 ได้รับรางวัลเหรียญ (Tobacco or Health) จากองค์การอนามัยโลก ในฐานะที่มีผลงานรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ดีเด่นของประเทศไทย
  • พ.ศ.2536 ได้รับโล่เกียรติยศจากกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะที่มีผลงานในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เป็นอย่างดียิ่ง (วันที่ 31 พฤษภาคม 2536)
  • พ.ศ.2536 ได้รับโล่เกียรติยศจากสมาคมศิษย์เก่าสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นนักสาธารณสุขดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิชาการประจำปี 2536 (วันที่ 17 พฤษภาคม 2536)
  • พ.ศ.2543 ได้รับรางวัล Luther L. Terry Awards จาก American Cancer Society ซึ่งเป็นรางวัลระดับโลกที่ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2543 สำหรับบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการรณรงค์ ควบคุมการสูบบุหรี่ระดับโลก ในฐานะ Outstanding Individual Leadership in Tobacco Control และเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ (วันที่ 10 สิงหาคม 2543)
  • พ.ศ.2544 ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล-บีบราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ในฐานะผู้ได้อุทิศตนปฏิบัติงานเพื่อเป้าหมายการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนโดยส่วนรวม
  • พ.ศ.2544 ได้รับเกียรติบัตร Fellow of Royal College of Physicians of London (FRCP)จาก Royal College of Physicians แห่งประเทศสหราชอาณาจักร (วันที่ 13 มิถุนายน 2544)
  • พ.ศ.2545 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากสมาคมไทย เพื่อการส่งเสริมความเข้าใจระหว่าง

ประเทศ ในฐานะผู้บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม และส่งเสริมความเข้าใจดีระหว่างประเทศกับนานาชาติ (วันที่ 27 ธันวาคม 2545)

  • พ.ศ.2546 ได้รับมอบรางวัล 2003 Award for Community Ledership จาก Rhonda Galbally
 อดีตผู้จัดการสำนักงานสร้างเสริมสุขภาพวิคตอเรียที่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
 (ตุลาคม 2546)
  • พ.ศ.2548 ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2548
  • พ.ศ.2551 ได้รับพระราชทานรางวัลเกียรติยศจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในฐานะบุคคลดีเด่น แห่งชาติ ระดับนโยบายด้านสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ จากสมาคมสุขศึกษาพลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย ประจำปี 2551
  • พ.ศ.2552 ได้รับรางวัลบลูมเบิล์กด้านการควบคุมยาสูบโลก ด้านความเป็นเลิศด้านการเตือนภัยอันตรายจากบุหรี่โดยเฉพาะฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่จากมูลนิธิบลูมเบิรล์ก วันที่ 9 มีนาคม 2552)
  • พ.ศ.2552 ได้รับพระราชทานรางวัลบุคคลดีเด่นผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบแก่สาธารณสุขไทย ในงาน 90 ปี การสาธารณสุขไทยเพื่อคนไทยสุขภาพดี (วันที่ 21 มีนาคม 2552)
  • พ.ศ.2555 ได้รับการยกย่องและเชิดชูเกียรติเป็น”บุคคลคุณภาพแห่งปี 2012 ด้านสาธารณสุข โดยมูลนิธิมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.), Foundation of Science and Technology Council of Thailand ( FSTI) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / Ministry of Science and Technology (วันที่ 19 ตุลาคม 2555)
  • พ.ศ.2556 ได้รับรางวัล มหิดลวรานุสรณ์ 2555 ของ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งปะเทศไทยนำระบรมราชูปถัมภ์ (วันที่ 11 มีนาคม 2556)
  • พ.ศ.2556 รับรางวัลเหรียญและโล่ประกาศเกียรติคุณในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ในการคุ้มครองสุขภาพชาวเวียดนามจากกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม วันที่ 23 เมษายน 2556 ณ กรุงฮานอย
  • พ.ศ.2556 รางวัลนักสร้างเสริมสุขภาพดีเด่นการประชุมสมาพันธุ์นานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสุขศึกษา ( IUHPE ) ครั้งที่ 21 วันที่ 25 – 29 สิงหาคม 2556 ณ พัทยา ประเทศไทย
  • พ.ศ.2557 ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวรประจำปี การศึกษา 2557


ตำแหน่งปัจจุบัน    [แก้]

  1. เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
  2. คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ  กระทรวงสาธารณสุข
  3. ที่ปรึกษาสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ  กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข
  4. คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

อ้างอิง[แก้]

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ - คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ประวัติ และผลงาน http://www.ashthailand.or.th/th/portfolio.php

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี - ราชกิจจานุเบกษา<ref> www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/B/035/1.PDF