ผู้ใช้:Chotika Banjongpru/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบริหารภาครัฐในอดีต[แก้]

การบริหารภาครัฐอดีต คือการบริหารงานภาครัฐและการจัดการดูแลระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งมีระบบการปกครองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนมาถึงปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเรื่องการบริหารภาครัฐ โดยมีการปฏิรูปประเทศในหลายรูปแบบ ซึ่งกว่าจะมาถึงในปัจจุบัน

ความหมายของการบริหาร[แก้]

การบริหาร หมายถึง ความสามัคคีของมนุษย์ซึ่งมีความพยายามในการจัดการในเรื่องต่างๆให้ประสบผลสำเร็จและได้ผลตามที่ต้องการ ซึ่งจากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า การบริหารต้องมีมนุษย์มากกว่าหนึ่งคนหรืออย่างน้อยสองคนขึ้นไป ซึ่งในการทำงานจะต้องใช้ความพยายามและมีการประสานงานร่วมกัน ถ้าไม่ทำสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ หรือถ้าทำคนเดียวก็จะไม่ประสบผลสำเร็จตามที่หวังไว้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การเข็นครกขึ้นภูเขาคนเดียวเข็นไม่ไหวต้องช่วยกันสองคนและต้องเข็นไปในทิศทางเดียวกันด้วย[1]

ความเป็นมาของการบริหารราชการของไทย[แก้]

จุดเริ่มต้นในการบริหารประเทศไทยนั้นเริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ที่มีการแบ่งอำนาจและกระจายอำนาจโดยการแบ่งหน้าที่การปกครองเพื่อเป็นการครอบคลุมความเป็นอยู่ของราษฎรในยุคสมัยนั้นโดยการส่งคนที่สนิทใจใกล้ชิดที่สุดหรือส่วนมากจะเป็นพระโอรส ออกไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ต่อมาในยุคสมัยอยุธยาได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารขึ้นมาโดยเริ่มจากการเปลี่ยนแบบการปกครองซึ่งจากสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกเป็นการปกครองอย่างใกล้ชิด แต่พอมาในยุคสมัยอยุธยาเป็นการการปกครองแบบเทวราชา ซึ่งเป็นการปกครองแบบให้เห็นกษัตริย์นั้นเป็นครึ่งเทพมาปกครอง ซึ่งทางอยุธยานั้นได้รับอิทธิพลมาจากขอม ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์และประชาชนดูห่างกันโดยสิ้นเชิง ส่วนในด้านการบริหารของสมัยอยุธยาจะเหมือนกันกับสมัยสุโขทัย แต่จะมีความแตกต่างตรงที่สมัยอยุธยาจะมีการแบ่งน้าที่ละเอียดขึ้น โดยการแบ่งเป็นกรม อย่างเช่น กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา และแบ่งหน้าที่ให้แต่ละคนได้รับผิดชอบ ในทางด้านของสมัยกรุงธนบุรีนั้นในด้านการบริหารไม่ได้มีอะไรมากนัก การบริหารของกรุงธนบุรีนั้นจะคล้ายกับยุคสมัยอยุธยา เพราะในสมัยกรุงธนบุรีมีการปกครองเพียง 15 ปี เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการปกครองที่น้อยมากสำหรับการปกครองของสมัยกรุงธนบุรีนั้น ต่อมาที่สมัยรัตนโกสินทร์การบริหารของสมัยนี้มีจุดเปลี่ยนอย่างมากมาย มีการปกครองครองโดย 9 กษัตริย์ด้วยกัน ซึ่งในแต่ละพระองค์ที่ปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้นได้ปรับเปลี่ยนการบริหารอย่างมาย จึงทำให้ปัจจุบันในประเทศนั้นพัฒนาอย่างมาก

การบริหารราชการในแต่ละยุค[แก้]

การปกครองสมัยสุโขทัย[แก้]

การปกครองของอาณาจักรสุโขทัยเป็นการปกครองแบบ พ่อปกครองลูก โดย พ่อขุนรามคำแหง กล่าวคือ ผู้นำจะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ดูแลความทุกข์และสุขของประชาชน คอยแก้ไขปัญหาต่างๆให้กับประชาชน เวลาที่ประชาชนมีปัญหา คอยรับฟังเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนและคอยแก้ไขปัญหาและข้อโต้แย้งต่างๆให้ประชาชน พ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้นำที่ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความสงบสุข ในด้านการขอบเขตบริหารสุโขทัยถือว่ามีการกระจายอำนาจสูง สามารถสรุปได้เป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้ 4 แบบ คือ การปกครองในราชธานี เมืองลูกหลวง เมืองท้าวพระยามหานคร และเมืองออกหรือเมืองขึ้น

  1. ราชธานีการปกครองเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของกษัตริย์โดยตรง ถึงแม้กษัตริย์จะมีอำนาจสิทธิขาดในการตัดสินชี้ขาดในทุกๆเรื่อง แต่หลักฐานจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยทำให้นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าประชาชนในราชธานีมีเสรีภาพค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะในสังคมหรือเศรษฐกิจเนื่องจากราชธานีเป็นศูนย์กลางปกครองที่สำคัญที่สุดของราชอาณาจักร ราชธานีจึงตั้งอยู่ใจกลางอาณาจักรและมีเมืองสำคัญอันดับรองๆล้อมรอบ
  2. เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เมืองลูกหลวงเป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยราชธานีชั้นในสุด ในสมัยสุโขทัย เมืองลูกหลวง ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย (ทางเหนือ) เมืองสองแคว(ทางทิศตะวันออก) เมืองนครชุม (ทางทิศตะวันตก) และเมืองสระหลวง(ทางทิศใต้)กษัตริย์มักส่งคนใกล้ชิดที่สุด(ส่วนมากจะเป็นพระโอรส) ออกไปปกครองเมืองเหล่านี้เพื่อเป็นการบริหารแผ่นดิน การที่กษัตริย์ส่งเลือดเนื้อเชื้อไขของพระองค์เองไปดูแลเมืองเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ไว้เนื้อเชื้อใจญาติสนิทมากกว่าคนอื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อกษัตริย์เสด็จสวรรคต เจ้าปกครองเมืองลูกหลวงมักจะยกทัพเข้ามาในราชธานีเพื่อแย่งชิงราชสมบัติกันเป็นสงครามใจกลางเมืองเป็นนิจ
  3. เมืองท้าวพระยามหานคร เมืองเหล่านี้ถูกล้อมรอบราชธานีถัดจากเมืองลูกหลวงออกไปอีกชั้นหนึ่ง กษัตริย์มักให้เจ้าเมืองที่ปกครองเมืองเหล่านี้ดูแลเมืองหลังจากที่แผ่พระราชอำนาจไปครอบงำแล้ว หากมีการแข็งข้อ ก็จะส่งทัพไปปราบแล้วก็จะทรงแต่งตั้งขุนนางที่ทรงวางพระทัยไปดูแลแทน
  4. เมืองออกหรือเมืองขึ้น เมืองเหล่านี้เป็นของชาวต่างชาติ ต่างภาษาการแผ่พระราชอำนาจมักจะเป็นการแต่งงานมากกว่าการรบ เป็นเหมือนการผูกสัมพันธมิตรมากกว่าจะไม่มีการสู้รบตบตีกัน เป็นความสัมพันธ์ที่จะสวามิภักดิ์ต่อกัน ยกตัวอย่างเช่น เมืองหงสาวดีของมอญและเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น[2]

การปกครองสมัยอยุธยา[แก้]

อาณาจักรของอยุธยาก้าวขึ้นมาเป็นอาณาที่รุ่งเรืองอำนาจภายหลังจากที่อาณาจักรสุโขทัยล่มสลาย อยุธยามีอายุนานถึง 417 ปี เป็นเวลาการปกครองที่ยาวนานมาก บทบาทการปกครองของกษัตริย์ในอาณาจักรอยุธยาได้มีการเปลี่ยนไปเป็น "เทวราชา" หรือสมมติเทพของอิทธิพลขอม (อิทธิพลนี้จะถือให้กษัตริย์นั้นเป็นเหมือนเทพเจ้าแบ่งชาติมาเกิดเป็นมนุษย์) ซึ่งการปกครองในรูปแบบนี้ทำให้กษัตริย์และประชาชนได้มีความใกล้ชิดกันน้อยลงกว่าการปกครองในรูปแบบของยุคสมัยของสุโขทัย การปกครองของอยุธยาแบ่งอกเป็นสามช่วง คือช่วงก่อนการปฏิรูปการปกครอง (พ.ศ. 1893-1991) ช่วงปฏิรูปการปกครองสมัยบรมไตรโลกนาถถึงพระเพทราชา (พ.ศ. 1991-2231) และช่วงการปฏิรูปการปกครองพระเพทราชาจนถึงการเสียกรุงครั้งที่ 2 (2231-2310) การจัดขอบเขตของสมัยอยุธยาตอนต้นจะมีลักษณะคล้ายๆกับสมัยสุโขทัย คือมีการแบ่งเป็นการปกครองในราชธานี เมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครและเมืองประเทศราช

  1. ราชธานี มีขอบเขตการปกครองค่อนข้างกว้างและพระมหากษัตริย์ก็ทรงมีสถานภาพเป็นสมมติเทพ กษัตริย์จึงทรงมีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองราชธานี ดังนั้น พระองค์ทรงใช้อำนาจการปกครองผ่านทางข้าราชการและขุนนางค่อนข้างมาก

สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียกระบบการปกครองภายในราชธานีสมัยอยุธยาตอนต้น "จตุสดมภ์" แบ่งอำนาจการปกครองให้กรม 4 กรมเป็นผู้ดูแลภายใต้การควบคุมงานของเสนาบดีประจำกรม กรมทั้งสี่นี้ได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา

  • กรมเวียง (บางทีเรียกว่ากรมเมือง) มีหน้าที่ในการดูแลความสงบสุขภายในราชธานี โดยถ้ามีผู้กระทำความผิดก็จะจับผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เสนาบดีผู้รับผิดชอบเรื่องนี่คือ "ขุนเวียง" หรือ "ขุนเมือง"
  • กรมวัง มีหน้ารับผิดชอบในเรื่องเกี่ยวกับราชสำนัก และการพิจารณาคดีความต่างๆ ถ้าในปัจจุบันก็จะเป็นเหมือนผู้พิพากษา เสนาบดีที่ดูแลกรมวังมีตำแหน่งเป็น ขุนวัง
  • กรมคลัง มีหน้าที่หารายได้ให้ทางราชการเพื่อนำมาใช้ในยามสงบและในช่วงสงคราม เสนาบดีประจำกรมคลังเรียกว่า "ขุนคลัง"
  • กรมนา มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับเกษตรกรรมซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักของประชาชน กรมนาจะมีสิทธิในการที่จะเป็นผู้ที่ถือคองที่ดินและคอยเก็บภาษีจากการทำการเกษตร เช่นการเก็บ "หางข้าว" ภาษีที่เป็นข้าวเปลือกเอาไปใส่ฉางหลวงเพื่อใช้ในสงคราม เสนาบดีผู้ดูแลกรมนามีตำแหน่งคือ ขุนนา
  1. เมืองหน้าด่าน ในบางครั้งมักจะถูกเรียกว่าเมืองลูกหลวง มักจะตั้งอยู่รอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ ระยะเวลาการเดินทางจากราชธานีไปยังเมืองเหล่านี้เท่ากับ 2 วัน

เมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยา ได้แก่ ลพบุรีทางทิศเหนือ นครนายกทางทิศตะวันออก พระประแดงทางทิศใต้ และสุพรรณบุรีทิศตะวันตก ซึ่งกษัตริย์จะส่งเชื้อพระวงศ์ที่ไว้เนื้อเชื้อใจที่สุดไปปกครองเมืองเหล่านี้เช่นเดียวกันกับการปกครองของสมัยสุโขทัย ระบบแบนี้ก็จะนำไปสู่การแย่งชิงราชสมบัติของบรรดาของเจ้าเมืองหน้าด่านเมื่อหลังที่กษัตริย์สวรรคตเช่นเดียวกัน

  1. เมืองชั้นใน อยู่รอบราชธานีถัดออกจากเมืองหน้าด่าน เมืองเหล่านี้ไม่ได้ไกลจากราชธานีจนเกินไปกษัตริย์ยังคงสามารถปกครองได้ โดจะส่งผู้รั้งเมืองจากเมืองหลวงไปดูแลและปกครองโดยตรง ตัวอย่างเมืองชั้นในสมัยอยุธยา เช่น ราชบุรี สิงห์บุรี และปราจีนบุรี
  2. เมืองพระยามหานคร บางครั้งเรียกว่าเมืองชั้นนอก ล้อมรอบด้วยราชธานีถัดออกไปจากเมืองหน้าด่านและเมืองชั้นใน มีหน้าที่เสียภาษีและก็จะคอยดูแลการเกี่ยวการเกณฑ์ทหารของผู้คนในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม เมืองเหล่านี้มักมีเจ้าเมืองสืบเชื้อสายต่อกันมา ดังนั้นกษัตริย์จึงปล่อยให้เมืองเก่าปกครองดูแลต่อไป อย่างไรก็ตาม กรณีที่เจ้าเมืองอ่อนหรือแข็งข้อกับราชธานี กษัตริย์ก็จะส่งขุนนางไปปกครองแทน เมืองพระยามหานครในสมัยอยุธยา เช่น นครราชสีมา จันทบุรี และสงขลา เป็นต้น
  3. เมืองประทศราช เป็นเมืองที่อยุธยาสามารถตีกลับมาเป็นของตัวเองได้ เนื่องจาเมืองเหล่านี้อยู่ไกลกันมาก กษัตริย์จึงมีการให้ปล่อยปกครองกันเอง อย่างไรก็ตามเมืองเหล่านี้ต้องส่งเครื่องบรรณาการ อย่างเช่น พวกต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาให้กับทางราชธานีเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อกษัตริย์ หัวเมืองประเทศราชได้แก่ เขมร และสุโขทัย[3]

การปกครองสมัยกรุงธนบุรี[แก้]

การปกครองของสมัยกรุงธนบุรีนั้นไม่ได้มีอะไรมากมายเท่าไหร่ เพราะจากการที่ศึกษาความเป็นมาของกรุงธนบุรีแล้ว การบริหารราชการสมัยกรุงธนบุรีนั้นจะเหมือนกับการปกครองของสมัยอยุธยา การปกครองของสมัยกรุงธนบุรีนั้นเป็นราชธานีที่มีอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้น และมีกษัตริย์เพียงแค่องค์เดียวนั้นก็คือพระเจ้าตากสินหรือเป็นที่รู้จักกันอีกในนาม "พระเจ้ากรุงธนบุรี" ที่ทำหน้าที่ปกครองให้กับยุคสมัยนี้ สมัยของกรุงธนบุรีได้มีการควบคุมไพร่ โดยการ สักเลก ที่ข้อมือให้กับไพร่ทุกคนเพื่อที่จะได้นับจำนวนของไพร่ได้อย่างแม่นยำ[4]

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์[แก้]

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เริ่มจากการที่ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ทรงปราบจราจลในกรุงธนบุรีและหลังจากนั้นก็ทรงแต่งตั้งราชวงศ์จักรีขึ้นมา และทรงขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงย้ายจากฝั่งธนบุรี มาอยู่ทางฝั่งกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของในแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนในการย้ายฝั่งนั้นมีสาเหตุ คือ

  1. พระราชวังของกรุงธนบุรีมีพื้นที่แคบไป
  2. ไม่อยากให้ราชธานีแบ่งกันเป็น 2 ฝั่ง
  3. พื้นที่ฝั่งกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม สามารถที่จะขยายพื้นที่ได้อย่างกว้างขวาง
  4. ฝั่งธนบุรีเป็นพื้นที่คละคลุ้ง น้ำสามารถกัดเซาะได้ง่ายและสามารถทำให้พื้นที่หน้าดินเสียหายได้ง่ายเช่นกัน

การบริหารราชการของสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น[แก้]

การบริหารราชการรัตนโกสินทร์ตอนต้น อาจจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ สมัยรัชกาลที่ 1- รัชกาลที่ 3 และสมัยรัชกาลที่ 4

  1. การบริหารรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 การบริหารจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยาตอนปลายและสมัยธนบุรี ซึ่งสามารถอธิบายการบริหารได้ดังนี้
  • การปกครองส่วนกลาง ได้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ สมุหพระกลาโหมมีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้และชายทะเลตะวันออกทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน มียศเป็นพระยามหาเสนาบดี ส่วนสมุหนายกมีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน มียศเป็นพระยาจักรีศรีองครักษ์ ส่วนกรมอื่นๆก็ยังคงใช้แบบจตุสดมภ์เช่นเดิม แต่จะมีการปรับปรุงของโครงสร้างกรมคลังหรือกรมท่าโดยจะแบ่งเป็น กรมท่าซ้าย จะเป็นท่าเรือของฝรั่งและเรือของแขก ส่วนทาง กรมท่าขวาจะเป็นของท่าเรือของจีน
  • การปกครองส่วนภูมิภาค จะแบ่งเป็นราชธานีหรือเมืองหลวง หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองภาคเหนือและหัวเมืองภาคอีสานอยู่ในความดูแลของสมุหนายก หัวเมืองภาคใต้อยู่ภายใต้ความดูแลของสมุหกลาโหม ส่วนหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออกอยู่ในความดูแลของกรมท่า หัวเมืองชั้นนอกแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นเอก โทและตรี เจ้าเมืองชั้นเอกแต่งตั้งจากทางราชธานี
  • ทางด้านประเทศราช กษัตริย์ทรงให้ปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชย์บรรรณาการให้แก่กษัตริย์ หากฝ่าฝืนหรือขัดข้อง พระมหากษัตริย์จะมีอำนาจในการถอดถอนทันที

2.การบริหารรัชกาลที่ 4 สมัยรัชกาลนี้จะถูกคุกคามโดยมหาอำนาจตะวันตกและลัทธิล่าอาณานิคม จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบการปกครองให้ทันสมัยเพื่อเป็นการรับมือจากการคุกคาม โดยจะรับแนวคิดของทางประเทศตะวันตกเป็นแนวทางในการปรับปรุง โดยมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพการบริหารและใช้เทคโนโลยีใหม่ๆจากตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากเท่าไหร่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงสวรรคตก่อน แต่นั้นก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ[5]

การบริหารสมัยรัชกาลที่ 5[แก้]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนการปฏิรูปการปกครองไปอย่างมาก เพราะทรงเห็นว่าเป็นหนทางหนึ่งที่จะทรงช่วยรักษาเอกราชของบ้านเมืองไว้ได้ ซึ่งช่วงนั้นมีการขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของตะวันตกเพราะขณะนั้นเพื่อนบ้านข้างเคียงได้ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกทั้งสิ้น การที่ปรับปรุงการปกครองให้ทันสมัยทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เจริญ สามารถปกครองดูแลพัฒนาบ้านเมืองได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น เพราะเหตุนี้จึงทำให้สายตาของชาวต่างชาติมองประเทศไทยต่างจากประเทศอื่นๆ และในการวางนโยบายทางการฑูตทางชาติตะวันตกต่างๆอย่างเหมาะสม ทางด้านชาวยุโรปเป็นชาติที่เจริญและให้เกียรติและยกย่องพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติต่างๆ อย่างเช่น เพื่อไม่ให้ไทยเป็นชนชาติที่ป่าเถื่อน อย่างเช่น ให้ข้าราชการสวมเสื้อผ้าในขณะเข้าเฝ้า นอกจากนั้น ยังได้รับการผ่อนผันที่จะไม่ยึดดินแดน แต่ก็เสียดินแดนเพียงน้อยนิดไม่มาก แต่ยังคงรักษาเอกราชไว้ได้เป็นส่วนมาก จึงส่งผลให้ประเทศรักษาเอกราชได้จนถึงปัจจุบัน[6] และในเรื่องที่สำคัญอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปในรัชกาลที่ 5 นั้นก็คือ การเลิกทาส เพราะเนื่องจากการที่รัชกาลที่ 5 ทรงรับเอาวัฒนธรรมของของชาติตะวันตกมาและทรงปรับเปลี่ยนการปฏิรูปในหลายๆด้านรวมถึงการให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนโดยการที่ยกเลิกระบบทาส ซึ่งการเลิกทาสก็ไม่ได้จะยกเลิกกันเลยทีเดียว การยกเลิกทาสนั้นต้องค่อยยกเลิกไป โดยการตราพระราชบัญญัติการจำกัดอายุเกษียณของอายุทาส ทาสคนใดอายุครบกำหนดเกษียณในการเป็นทาส ผู้นั้นจะกลายเป็นไททันที

การบริหารสมัยรัชกาลที่ 6[แก้]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6 ทรงมีพระราชดำริในการที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเท่าเทียมกับต่างชาติ และทรงมีพระปรีชาสามารถในการวางแผนในการที่จะพัฒนาประเทศในหลายๆด้าน เช่นด้านการศึกษา และพระองค์ทรงให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา และประกาศให้การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษา และการเปลี่ยนแปลงที่อีกสำคัญอีกอย่างก็คือการเปลี่ยนสัญลักษณ์ธงประจำชาติจากเดิมคือ รูปช้าง เปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์แบบปัจจุบัน พระองค์ทรงอยากให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการที่จะพัฒนาประเทศ พระองค์จึงทรงก่อตั้งองค์การลูกเสือและเสือป่าขึ้น อีกทั้งส่วนเสริมให้มีการจัดตั้งดุสิตธานีขึ้นเพื่อทดลองการปกครองแบบ ประชาธิปไตย และนำผลที่ได้มาปรับใช้ในการบริหารประเทศ ส่วนทางเศรษฐกิจส่งเสริมให้มีการจัดตั้งคลังออมสินขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จกการประหยัดอดออมและเก็บสะสมทรัพย์ของตนเอง และจัดตั้งบริษัทปูนซีเมนต์ไทยขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ไม่เพียงเท่านี้พระองค์ทรงพัฒนาดานการคมนาคมโดยการปรับปรุงและขยายกิจการเกี่ยวกับรถไฟให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยอีกด้วย

การบริหารสมัยรัชกาลที่ 7[แก้]

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ในตลอดที่ท่านทรงครองราชย์อยู่นั้น พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย ทั้งในเรื่องการศึกษาและศาสนา ในด้านการศึกษาพระองค์ทรงปฏิรูประบบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย และทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตร ส่วนในทางด้านศาสนา พระองค์ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทย ที่มีชื่อเรียกว่า พระไตรปิฎกสยามรัฐ พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายที่ใช้ระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งก่อนที่พระองค์จะส่งเปลี่ยนการปกครอง พระองค์ทรงได้มีพระราชดำริในการมอบประชาธิปไตยให้กับประชาชน แต่ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญนั้นทรงได้ถูกคัดค้านจากทางขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทั้้งหลาย จนกระทั่ง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังจากนั้นพระองค์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวรและเป็นฉบับแรกของประเทศไทย ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475[7]

การบริหารสมัยรัชกาลที่ 8[แก้]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8] ในช่วงของรัชกาลที่พระองค์ทรงปกครองอยู่นั้น อยู่ในช่วงสงครามระหว่างสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงทำให้ส่วนใหญ่พระองค์ทรงจะประทับอยู่แต่ในต่างประเทศเพื่อศึกษาเล่าเรียน โดยพระองค์นั้นเสด็จกลับประเทศไทยครั้งแรกหลังจากที่เสด็จครองราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 13 พรรษาเท่านั้น และในครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2488 โดยในการเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 2 พระองค์ทรงเสด็จฯตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล ในช่วงที่พระองค์ทรงประทับอยูที่ประเทศไทยนั้น พระองค์ทรงเสด็จไปเยี่ยมประชาชนในหลายจังหวัดและในหลายที่ และทรงพระราทานปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยต่างๆ และทรงได้เสด็จประพาสสำเพ็ง ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างคนไทยและคนจีนหลังจากเกิดความร้าวฉาน ในการบริหารและปกครองประเทศในรัชกาลที่ 8 ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพราะว่าพระองค์ทรงสวรรคตในวัยเพียง 20 ปี ระบบการบริหารและการปกครองจะเหมือนกันกับรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ระยะการปกครองของพระองค์นั้นมีระยะในการครองราชย์สมบัติเพียงทั้งสิ้นแค่ 12 ปีเท่านั้น[8]

การบริหารสมัยรัชกาลที่ 9[แก้]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลเดชรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงทำหน้าที่ในการบริหารประเทศโดยการจัดตั้งโครงการกว่า 2000 โครงการให้แก่ประชาชนคนไทย ซึ่งส่วนมากพระองค์จะทรงเน้นการบริหารเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นส่วนมาก เพราะพระองค์ให้ความสำคัญแก่ประชาชนชาวไทยอย่างมาก พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยความเป็นธรรมที่สุด และพระองค์ก็ยังทรงได้ประทานแนวคิดให้กับประชาชนในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง และ เกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้พึ่งพาตนเองและใช้ชีวิตอยู่บนความพอเพียง พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านจากระบอบทหารเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยได้โดยตลอดรอดฝั่งในช่วงปี พ.ศ. 2530 และทรงได้หยุดการการกบฏ อย่างเช่นในปี 2524 และปี 2528 พระองค์ทรงแต่งตั้งหัวหน้าคณะยึดอำนาจหลายคณะ เช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงปี 2500 กับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ในปี 2540[9] การบริหารของพระองค์ต่างทำให้ประชาชนชาวไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีมากถ้าเทียบกับสมัยรัชกาลที่ผ่านมา พระองค์ทรงบริหารงานโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ทรงปกครองประเทศโดยความเป็นธรรมที่สุด เมื่อมีปัญหาอันใดเกิดขึ้น พระองค์ก็จะทรงคิดหาวิธีในการแก้ไขสถานการณ์นั้นหรือบางทีจะแบ่งหน้าที่ให้กับข้าราชการเพื่อเป็นการให้การดูแอย่างทั่วถึงเพื่อเป็นความดูแลความสงบสุขของประเทศไทย

กระบวนทัศน์เดิมในระบบราชการไทย[แก้]

กระบวนการทัศน์เดิมของระบบราชการไทยที่สำคัญ คือ ระบบเจ้าขุนมูลนายกระบวนการนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ กล่าวคือ ข้าราชการในยุคนั้นเปรียบว่าประชาชนอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของข้าราชการ ซึ่งนำไปสู่การมองว่าการให้บริการประชาชน คือสิ่งที่ ข้าราชการบริจาคให้ โดยลักษณะของระบบเจ้าขุนมูลนายสรุป 11 ประการ ดังนี้

  1. การดำเนินงานล่าช้า ระบบราชการมีขนาดใหญ่ มีข้าราชการจำนวนมาก มีงบประมาณในการบริหารประเทศมากมาย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตในวงราชการ คือ ต้องมีการปฏิบัติงานหลายขั้นตอนและเคร่งคัดมากขึ้น และมีระบบตรวจสอบขึ้นเรื่อยๆ
  2. มุ่งรักษาสถานภาพ ในยุคเดิมมักเดิมมักจะพยายามรักษาสถานภาพของตนเองไว้ให้ดีที่สุด พยายามไม่เปลี่ยนแปลงอะไร เนื่องจากอาจจะต้องการกระทบกับคนอื่นหรืองานอื่นที่ไม่จำเป็น
  3. ยึดกฎระเบียบตายตัว การปฏิบัติงานในยุคดั้งเดิมปฏิบัติงานโดยยึดกฎหมายอย่างเคร่งครัด ไม่ยืดหยุ่นและบางครั้งจะสร้างกฎเกณฑ์เพิ่มขึ้นจากที่เคยมีอยู่
  4. แบ่งการทำงานชัดเจนเกินไป ข้าราชการไม่ได้เป็น Knowledge workers จะมีความรู้และทักษะในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากระบบแต่ก่อนมีการทำงานชัดเจน มุ่งให้แต่ละคนทำงานเฉพาะส่วนที่ได้รับผิดชอบเท่านั้น ไม่สามารถทำงานตามภารกิจที่ได้รับมอบอจึงทำให้งานบางงานมีคนว่างงาน ในขณะที่บางคนมากเกินไป
  5. สายการบังคับบัญชา การบริหารงามีลักษณะเป็นรูปแบบพีระมิด กล่าวคือ มีสายการบังคับบัญชาที่ยาวและใช้เวลามากโดยไม่จำเป็น
  6. เน้นการควบคุม การบริหารงานมีการควบคุมอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก ไม่มีความไว้วางใจ บางหน่วยงาจะรวมศูนย์การอนุมัติ อนุญาตไว้ที่หัวหน้าหน่วยงานเท่านั้น เพื่อสร้างความสำคัญให้กับตนเอง
  7. ทำงานตามสายงานอย่างเข้มงวด ข้าราชการจะต้องทำงานสายตรงกับสายการทำงานหรือผู้บังคับบัญชาของตนเองโดยตรงเท่านั้น เป็นกระบวนการแยกส่วนชัดเจน ไปได้ทำงานเชื่อมโยงประสานกับหน่วยงานอื่นใดใดในลักษณะองค์รวม ทำให้ข้าราชการแต่ละสายงานมีการแข่งขันมากขึ้น และปัดความรับผิดชอบเมื่อเกิดปัญหาการทำงานขึ้น
  8. ไม่มีมาตรฐานงาน ข้าราชการจะปฏิบัติงานโดยไม่มีมาตรฐานการทำงานว่างงานแต่ละชิ้นจะเสร็จภายในระยะเวลาเท่าใด การทำงานเป็นแบบทำเรื่อยๆ ไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองมาในขณะที่งานนั้นไม่มีคุณภาพ
  9. เช้าชาม-เย็นชาม พฤติกรรมการทำงานของข้าราชการบางคนไม่อุทิศตัวให้กับราชการรับราชการเป็นงานอดิเรก ให้เสร็จไปวันๆ หรือแบบ "เช้าชาม-เย็นชาม" รวมทั้งใช้เวลาราชการในการแสวงหารายได้พิเศษส่วนตัว
  10. ไม่ใช้เทคโนโลยี ระบบราชการไม่ค่อยสนใจที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ ในการปฏิบัติงานจะเน้นการใช้แรงานบุคคลมากกว่า การไม่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้เกิดปัญหาเรื่องการทำงานล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพ
  11. ผลกระทบต่อหน่วยงานราชการ ระบบราชการยึดติดกับกระบวนการทัศน์เก่า ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบราชการที่สำคัญ คือ ประชาชนเกิดวิกฤตศรัทธา การบริหารและการบริการล่าช้าการปฏิบัติงานขาดความยืดหยุ่น หน่วยงานราชการปรับเปลี่ยนไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมขาดการเกื้อหนุนในการทำงาน ข้าราชการเกิดความเชื่อ และนำไปสู่ความท้อถอยในการทำงาน [10]

โครงสร้างเดิมของระบบบริหารราชการแผ่นดิน[แก้]

สมัยรัตนโกสินทร์ก่อนที่จะมีการปฏิรูปใหญ่ในสมัยลันเกล้าฯ พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 5 ท่านทรงใช้โครงสร้างเดิมของระบบบริหารของสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยามาตลอดเป็นส่วนใหญ่ การบริหารราชการแบบส่วนกลางจะใช้แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภายใต้ระบบจตุสดมภ์ จะใช้ระบบแบบ "กินเมือง" เพื่อใช้ในการบริหารราชการในหัวเมือง และใช้ระบบราชาธิราช ในการปกครองประเทศราช[11]

  1. อนันต์ เกตุวงศ์,การบริหารการพัฒนา,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,หน้า 26-27,ISBN 1-3-0001-23
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒน์,การเมืองการปกครอง:หลายมิติ,หน้า 4
  3. ศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ วงศ์สุรวัฒณ์,การเมืองการปกครอง:หลายมิติ,หน้า 5-7
  4. พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์,พัฒนาการการบริหารภาครัฐของไทย:จากอดีตสู่อนาคต,สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คลังนานวิท,ปี 2559,หน้า 6-7
  5. พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์,พัฒนาการการบริหารภาครัฐของไทย:จากอดีตสู่อนาคต,สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา,ปี 2559,หน้า 7-9
  6. https://sites.google.com/site/54pa02/smay-ratnkosinthr
  7. https://sites.google.com/site/kingofth/phra-rach-prawati-phra-mha-ksatriy-mharach-thiy/rachkal-thi-7-phrabath-smdec-phra-pkkela-cea-xyu-haw
  8. http://www.photoontour.com/SpecialPhotos_HTML/data_king_family/Chakri_Dynasty/king_8.htm
  9. https://sites.google.com/site/wanpccchon/xeksar-prakxb-kar-reiyn-1/wicha-prawatisastr-thiy-5/rachkal-thi-9
  10. อาจารย์อาวุธ วรรณวงศ์,การบริหารภาครัฐ,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช,พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ.2552,หน้า 24-25,ISBN 974-645-749-7
  11. วรเดช จันทรศร,การปรับปรุงและปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินของไทย,สำนักพิมพ์ บริษัท อินเนอร์เพลส จำกัด,พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2549, หน้า 1,ISBN 974-85748-7-3