ผู้ใช้:ChaiyakulPa

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สารกัมมันตภาพรังสี[แก้]

การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ได้ทำให้เกิดความกังวลร่วมกันของคนทั่วโลกที่มาพร้อมคำถามถึงผลกระทบที่ตามมา รวมทั้งคุณและโทษของกัมมันตภาพรังสี โดยบทความนี้ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยาและรังสีรักษาจากศูนย์มะเร็งฮอไรซัน นพ.อภิชาต พานิชชีวลักษณ์.


สารกัมมันตรังสี

"สารกัมมันตรังสี คือธาตุที่มีคุณสมบัติในการปล่อยคลื่นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าหรือกัมมันตภาพรังสีออกจากตัวเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาจนกว่าจะหมดอายุ"

นพ.อภิชาติกล่าวว่า "เมื่อกล่าวถึงสารกัมมันตรังสี หลายคนอาจะนึกกลัว แต่ก็ใช่ว่าสารกัมมันตรังสีจะก่อให้เกิดอันตรายเพียงอย่างเดียว โดยในชีวิตประจำวัน เรามีการนำเอาสารกัมมันตภาพรังสีมาใช้ประโยชน์มากมายหลายด้านด้วยกัน ทั้งในด้านการแพทย์ ในภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตร"

กัมมันตภาพรังสีกับร่างกาย[แก้]

การแผ่รังสีของสารกัมมันตรังสีเป็นปรากฎการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถสังเกตุได้ด้วยตาเปล่า มันจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตได้ โดยอันตรายที่เกิดขึ้นนั้นมาจากคุณสมบัติที่สามารถแตกตัวเป็นไอออน (Ionizing Radiation) เมื่อรังสีผ่านเข้าไปใยเนื้อเยื่อของร่างกาย ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเซลล์ถึงในระดับดีเอ็นเอ โดยทำให้โมเลกุลภายในเซลล์และระบบการทำงานของเซลล์นั้นเปลี่ยนแปลงไป.

การได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย มีความเป็นไปได้ 2 กรณี

  • การได้รับรังสีจากสารกัมมันตรังสีจากภายนอก(External Exposure) โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นจะรุนแรงมากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของรังสี ระยะเวลาในการสัมผัสกับรังสี และระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดรังสีกับผู้ได้รับรังสี.
  • การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายโดยตรง(Internal Exposure) กรณีนี้มักเกิดขึ้นกับกรณีของการเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันภาพรังสีที่มีสภาพเป็นก๊าซ ของเหลว หรือฝุ่นละอองจากแหล่งเก็บสารกัมมันตรังสีหรือที่เก็บกากสารกัมมันตรังสีซึ่งส่งผลใฟ้มีการฟุ้งกระจายไปในอากาศ หรือปนเปื้อนกับแหล่งน้ำ และเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าไปหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสี เป็นต้น.

กัมมันตรังสีกับโรคมะเร็ง[แก้]

สารกัมมันตรังสีนั้นสามารถแตกตัวเป็นไออนได้ จึงจัดได้ว่าเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งชนิดหนึ่ง โดยที่ผ่านมามีการศึกษาและบันทึกผลสุขภาพของผู้ที่ได้รับรังสีในปริมาณสูงจากอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิล ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิ และผู้ที่ทำงานในเหมืองแร่ยูเรเนียม พบว่าการได้รับรังสีในปริมาณที่สูงมีความสัมพันธ์ต่อความเสื่ยงโรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งต่อมธัยรอยด์ มะเร็งเต้านม และมะเร็งกระเพาะอาหาร

“กัมมันตภาพรังสีเป็นหนึ่งในสาเหตุของมะเร็งบางชนิดก็จริง แต่ก็ในทางการแพทย์ เราก็ไดันำสารกัมมันตรังสี และรังสีมาใช้เพื่อการรักษาโรคมะเร็งด้วยเช่นกัน อาทิเช่น การใช้รังสีรักษา และการฝังแร่กัมมันตรังสีไว้ภายในร่างกาย โดยมีเป้าหมายเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งลงเพื่อให้ง่ายต่อการผ่าตัด หรือควบคุมการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ” และการนำคุณสมบัติของสารกัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์นั้นต้องอยู่ภายใต้ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการป้องกันอันตรายจากรังสี (ICRP) ซึ่งยึดหลักให้ผู้ปฏิบัติงาน และสาธารณชน ได้รับรังสีน้อยที่สุดโดยอาศัย 3 มาตรการป้องกันที่สำคัญ คือ ใช้เวลาปฏิบัติงานให้สั้นที่สุด รักษาระยะห่างจากรังสีให้มากที่สุด และจัดให้มีเครื่องกำบังที่เหมาะสม.

“ปัจจุบันเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก ทำให้แพทย์สามารถใช้ประโยชน์จากสารกัมมันตรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็งได้มากชนิดขึ้น ใช้รังสีรักษามะเร็งได้อย่างตรงจุด แม่นยำและสร้างความเสียหายต่อเซลล์ข้างเคียงน้อยลง อีกทั้งยังสามารถควบคุมความเข้มข้นของรังสีให้เหมาะสมสำหรับสภาวะของผู้ป่วยแต่ละรายภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัยสูงสุด”


ข้อมูลอ้างอิง: บทความสุขภาพ, Bumrungrad International Hospital.