ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:CADT DPU/หน้าทดลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์[แก้]

วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (College of Aviation Development and Training) ชื่อย่อ: CADT ได้ก่อตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในการประชุมครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เพื่อดำเนินการผลิต พัฒนา และฝึกอบรมบุคลากรด้านการบิน ให้มีความรู้ ประสบการณ์ และทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมการบินของประเทศ ภูมิภาคและของโลก โดยมี นาวาอากาศตรี ผศ.ดร.วัฒนา มานนท์ เป็นคณบดี ทำการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีจำนวน 2 หลักสูตร และหลักสูตรอบรมระยะสั้น (IATA Certified Courses)

วิสัยทัศน์[แก้]

วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้เป็นมาตรฐาน มีประสบการณ์ และทัศนคติที่พร้อมสู่การปฏิบัติตามความต้องการของอุตสาหกรรมการบินระดับนานาชาติ

พันธกิจ[แก้]

  1. ผลิตพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรในอุตสาหกรรมการบินที่มีคุณภาพเป็นมาตรฐาน และสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางด้านการบินของไทย
  2. เผยแพร่องค์ความรู้ คำแนะนำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของระบบขนส่งทางอากาศของไทย
  3. พัฒนาวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็ง มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

เอกลักษณ์[แก้]

องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เป็นเลิศทางด้านวิชาการ และการบริการวิชาการเพื่ออุตสาหกรรมการบินที่เข้มแข็ง และยั่งยืน

วัฒนธรรมองค์กร[แก้]

“CADT Family” กัลยาณมิตร คิดก้าวหน้า ใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา พัฒนาต่อเนื่อง

หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน[แก้]

  1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบิน (Aviation Business) ชื่อย่อ: ศศ.บ.(ธุรกิจการบิน) [Bachelor of Arts (Aviation Business) / B.A. (Aviation Business)] สาขาวิชาธุรกิจการบิน เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานบริการ พบปะผู้คน เพราะการเรียนการสอนจะเน้นในเรื่องการบริการเป็นหลัก จบมาสามารถทำงานบริการในอุตสาหกรรมการบิน เช่น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานต้อนรับภาคพื้น งานคลังสินค้า และงานส่วนต่างๆ ของสายการบิน และองค์กรการบิน เช่น AOT
  2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบินและการอำนวยการบิน: ชื่อย่อ: ศศ.บ.(การจัดการเทคโนโลยีการบินและการอำนวยการบิน) [Bachelor of Arts (Aviation Technology Management and Flight Operation) / B.A. (Aviation Technology Management and Flight Operation)] เป็นหลักสูตร 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ เน้นการเรียนการสอนในเรื่องของการบริหาร จัดการ จบมาสามารถทำงาน เช่น เจ้าหน้าที่อำนวยการบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ และนักบิน
  3. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการการบิน ชื่อย่อ: บธ.ม. (กลุ่มวิชาการจัดการการบิน) [Master of Business Administration (Aviation Management) / M.B.A. (Aviation Management)
  4. หลักสูตรอบรมระยะสั้น ดำเนินการโดยสถาบันการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  (DAA) ประกอบด้วยหลักสูตรที่เป็น IATA Certified Courses และหลักสูตรฝึกอบรมทั่วไป ได้แก่ Aviation Security Awareness: AVSEC หลักสูตร Aviation Safety Fundamentals หลักสูตร Human Factors and Safety Management Fundamentals หลักสูตร Overview of the Air Transportation System หลักสูตร Aviation Law: Fundamentals หลักสูตร Introduction to Air Law & Regulations หลักสูตร Safety Management Systems (SMS) - Fundamentals หลักสูตร Airline Customer Service Fundamentals หลักสูตร Train the Trainer (หลักสูตรวิทยากรมืออาชีพ) หลักสูตร Crew Resource Management (การบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการบิน) ชมรมเยาวชนการบิน (Youth Flying Club) และหลักสูตร นักบินหนึ่งวัน สานฝันอาชีพน้องๆ One-day Pilot
[1]

ความโดดเด่น[แก้]

หลักสูตรต่าง ๆ ของ CADT ทั้งสาขาวิชาธุรกิจการบิน สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน และการอบรมด้านการบินต่างๆ มีความโดดเด่นเนื่องจากเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ความสามารถทางวิชาชีพหรือด้านปฏิบัติการ (Operation) และมีห้องปฏิบัติการในการเรียนการสอนต่าง ๆ ครบครัน เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ตรงในสายงานด้านการบิน ไม่ว่าจะเป็น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานต้อนรับภาคพื้น งานคลังสินค้าทางอากาศ งานการตลาดในธุรกิจการบิน เป็นต้น โดยวิทยาลัยมี ห้องฝึกปฏิบัติที่ใช้ในการศึกษาภาคปฏิบัติงานบริการบนเครื่องบินสำหรับนักศึกษาเป็นเครื่องบินแบบ A300-600 รวมทั้งห้องปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น ห้องฝึกปฏิบัติการสำรองที่นั่งด้วยระบบ Amadeus ห้องฝึกปฏิบัติการ Aerodrome Simulator ห้องฝึกปฏิบัติการ Flight Operation และห้องฝึกบินด้วยเครื่องช่วยฝึกบิน (Flight Simulator) Boeing 737-800NG จำนวน 1 เครื่อง และCessna 172-G1000 จำนวน 2 เครื่อง โดยรายวิชาทั้งหมดนั้นมีอาจารย์ผู้สอนที่มีประสบการณ์ตรงในสายงานด้านอุตสาหกรรมการบินเป็นผู้อำนวยการเรียนการสอน

     นอกจากนี้สำหรับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบินและการอำนวยการบิน เป็นหลักสูตร 2 ภาษา ที่จัดทำเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านการบินเพื่อให้มีความรู้เป็นมาตรฐาน และการเป็นศูนย์กลางด้านการบินของไทย โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวมีความรู้ ความสามารถได้มาตรฐานโดยเฉพาะมีความรู้ความสามารถทางการใช้ภาษาอังกฤษ จึงได้จัดการเรียนการสอนเป็นสองภาษา ซึ่งสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบินฯ นั้นเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพหรือด้านปฏิบัติการ (Operation) โดยผ่านการฝึกงานในสถานประกอบการหรือสหกิจศึกษา ที่สำคัญหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรีของประเทศไทย ที่มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านอำนวยการบิน (Flight Operation Management) เน้นในด้านการปฏิบัติการด้านอำนวยการบิน และเมื่อสำเร็จการศึกษาจะมีองค์ความรู้เพื่อสอบใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ในตำแหน่งพนักงานอำนวยการบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     หลักสูตรระดับปริญญาตรี ทั้ง 2 หลักสูตร ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยเป็นไปตามเกณฑ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ และสามารถทำการกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ (กยศ.)

ความร่วมมือและพันธมิตร[แก้]

ทางด้านความสัมพันธ์ และการร่วมมือกับองค์กรในอุตสาหกรรมการบินนั้น ทาง CADT ได้ทำการลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ (MOU) กับหน่วยงาน และองค์กรในอุตสาหกรรมการบินต่าง ๆ เช่น บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทคิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สายการบิน MJets และบริษัท พัทยาเอวิเอชั่น จำกัด เป็นต้น รวมถึงได้สร้างความสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือกับองค์กรด้านการบินต่าง ๆ อีกมากมาย อาทิเช่น สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สายการบินไทย สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ และสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค เป็นต้น

นอกจากนี้ CADT ยังได้สร้างความร่วมมือกับภาคการศึกษาทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้ และสร้างประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่ดีให้กับนักศึกษา โดยทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ CADT ได้ลงนามข้อตกลงทางวิชาการกับ Sanya University, Sanya Aviation and Tourism College และ Yunnan College of Foreign Affairs andForeign Languages ประเทศจีน

เมื่อเดือนมีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ทางวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT) ได้รับการรับรองจาก สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ให้เป็น ศูนย์ฝึกอบรม IATA Authorized Training Center (ATC) ประจำประเทศไทย ในการจัดคอร์สฝึกอบรมต่างๆของ IATA ซึ่งผู้สำเร็จการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากทาง IATA

ค่าเทอม[แก้]

ชั้นปี ภาคการเรียนที่ 1 ภาคการเรียนที่ 2 รวม (ต่อปีการศึกษา)
1 51,000 37,000 88,000
2 37,000 37,000 74,000
3 37,000 37,000 74,000
4 37,000 37,000 74,000
รวมค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 4ปี (8ภาคการศึกษา) 310,000
ค่าเล่าเรียนต่อเทอมโดยเฉลี่ย 38,750

*สามารถทำการกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ (กยศ.)

การสมัครเรียน[แก้]

เอกสารที่ใช้ในการสมัคร[แก้]

  1. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป
  2. สำเนาบัตรประชาชน
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน
  4. ใบแสดงผลการศึกษา หรือ ใบรับรองผลการศึกษา

ค่าใช้จ่ายในการสมัคร[แก้]

  1. กรณีไม่กู้ จ่ายค่าเทอมเบื้องต้น 10,000 บาท
  2. กรณียื่นกู้ กยศ.1 หรือ กยศ.2 (กรอ.เดิม) ทั้งรายใหม่และรายเก่า จ่ายค่ามัดจำสิทธิ์การกู้ 2,000 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่าเทอมก่อน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน https://cadt.dpu.ac.th/
  • เว็บไซต์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://www.dpu.ac.th/
  • เว็บไซต์สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ https://www.daatraining.com/

อ้างอิง[แก้]